ข้ามไปเนื้อหา

Nepenthes attenboroughii

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Nepenthes attenboroughii
หม้อล่างของ N. attenboroughii ที่แสดงรูปร่างทรงระฆังและฝาหม้อที่ตั้งขึ้น
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: พืช (Plantae)
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Nepenthaceae
สกุล: Nepenthes
สปีชีส์: N.  attenboroughii
ชื่อทวินาม
Nepenthes attenboroughii
A.S.Rob., S.McPherson & V.Heinrich (2009)

Nepenthes attenboroughii เป็นพืชกินสัตว์ในสกุลหม้อข้าวหม้อแกงลิง ชื่อถูกตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์ เดวิด เอดเทนบอร์ราวฟฮิไอ (En:David Attenboroughii) พิธีกรสารคดีชื่อดังของบีบีซีในประเทศอังกฤษ ผู้สนใจและกระตือรือร้นต่อสกุลนี้ หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้มีหม้อทรงระฆังหงายทั้งหม้อล่างและบน แต่หม้อบนแคบกว่า ฝาตั้งขึ้น[1]

ตัวอย่างต้นแบบของ N. attenboroughii ถูกเก็บจากยอดเขาวิกเทอร์เรีย (Victoria) ที่เป็นภูเขาแบบอัลตราเมฟิก(ดินลูกรัง) ใจกลางพาลาวัน (Palawan) ในประเทศฟิลิปปินส์

ประวัติทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

Nepenthes attenboroughii ถูกค้นพบโดย เอลาซ์ตแทร์ เอส. โรบินสัน (Alastair S. Robinson) , สทีวาร์ต อาร์. แม็กเฟอร์สัน (Stewart R. McPherson) และ โวล์กเกอร์ บี. ไฮน์ริก (Volker B. Heinrich) ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 ระหว่างการสำรวจในระยะเวลาสองเดือนของคณะสำรวจเพื่อบันทึกบัญชีรายชื่อความแตกต่างของหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่พบทั่วประเทศฟิลิปปินส์[2]

การพรรณารูปแบบของ N. attenboroughii ถูกตีพิมพ์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 ใน Botanical Journal of the Linnean Society (วารสารพฤกษศาสตร์ของสมาคมลินเนียส) ตัวอย่างที่ชื่อ A.S.Rob., S.McPherson & V.Heinrich AR001 ถูกตั้งให้เป็นตัวอย่างต้นแบบแรก และถูกเก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้ของมหาวิทยาลัยพาลาวัน (PPC) เมืองปูเออร์โต ปรินเซซา (Puerto Princesa) [1]

หม้อใบกระจุก (เยาว์วัย) ของ N. attenboroughii แสดงถึงรูปทรงระฆังของชนิดนี้เมื่อมันสูงเพียงสองถึงสามนิ้ว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

Nepenthes attenboroughii มีลำต้นตั้งตรงจากพื้นหรือเป็นไต่เป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นอาจหนาถึง 3.5 ซม. เป็นวงกลมเมื่อตัดขวางและสูงได้ถึง 1.5 ม.[1]

ใบและหม้อ

[แก้]

ใบคล้ายกับแผ่นหนังและไร้ก้านหรือเสมือนมีก้าน ใบกระจุกยาว 30 ซม.กว้าง 10 ซม. ส่วนใบในลำต้นเลื้อยไต่ยาว 40 ซม.กว้าง 15 ซม. ใบรูปขอบขนานถึงรูปรี ยอดมนและสอบเรียวสั้นที่ฐาน ก้านใบโอบลำต้นสองในสามของเส้นรอบวงและเป็นครีบ 2-3 ซม.[1]

Nepenthes attenboroughii เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่มีหม้อขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในสกุล[1] หม้อล่างเปราะและเป็นรูประฆังหงายสูง 30 ซม. กว้าง 16 ซม. สายดิ่งแบนยาว 30-40 ซม. เส้นผ่านสูนย์กลาง 4-9 มม. ทำให้มันคล้ายกับครึ่งวงกลมในภาคตัดขวาง

หม้อบนคล้ายหม้อล่างโดยทั่วไปเป็นรูปกรวยสูง 25 ซม.กว้าง 12 ซม.

ช่อดอก

[แก้]

Nepenthes attenboroughii มีช่อดอกแบบแบบช่อกระจะยาว 80 ซม.[1]

นิเวศวิทยา

[แก้]

เท่าที่รู้หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้พบได้ที่ยอดเขาวิกเทอร์เรียในพาลาวันเท่านั้น ทำให้มันเป็นพืชถิ่นเดียว มันขึ้นท่ามกลางต้นไม้เตี้ยๆสูง 0.8-1.8 ม. กระจัดกระจายบนดินแบบอัลตราเมฟิก[1] และไม่พบหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นในบริเวณนั้น[1]

เหยื่อ

[แก้]
หม้อล่างของN. attenboroughii เป็นที่อาศัยของลูกน้ำจำนวนมาก

หม้อของ N. attenboroughii เปิดออกเนื่องจากฝาของมันตั้งขึ้น ด้วยเหตุนี้บ่อยครั้งจึงเต็มไปด้วยของเหลว โดยของเหลวเหนียวจะอยู่ส่วนล่างและน้ำจะอยู่ด้านบนซึ่งของเหลวทั้งสองไม่ได้ผสมเข้าด้วยกัน ของเหลวส่วนบนจึงเป็นที่อาศัยของสัตว์อิงอาศัย โดยเฉพาะลูกน้ำ และหม้อของพืชชนิดนี้ได้ประโยชน์จากสัตว์ที่อิงอาศัย โดยเหยื่อของมันนั้นก็คือซากสลายถูกสร้างโดยสัตว์ที่อาศัยในของเหลวในหม้อ[1]

ญาติใกล้ชิด

[แก้]

Nepenthes attenboroughii เป็นญาติใกล้ชิดกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นในพาลาวัน ได้แก่ N. mantalingajanensis และ N. mira, จนถึง N. peltata จากมินดาเนา, และรวมถึง N. rajah จากบอร์เนียว[1]

ความสัมพันธุ์ของหม้อข้าวหม้อแกงลิงขนิดนี้กับหม้อข้าวหม้อแกงลิงจากบอร์เนียวและมินดาเนาได้รับการยอมรับจากการสังเกตในการระบุบลักษณะของ N. mira[3] และสนับสนุนในการระบุบประเภทของ N. attenboroughii มากขึ้นโดยหลักฐานทางภูมิศาสตร์ของโลกในด้านธรณีวิทยา ด้วยหลักฐานนี้ผู้แต่งให้เหตุผลว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ถูกพบบนดินอัลตราเมฟิกในพาลาวันและมินดาเนามากกว่าเพื่อน มันเหมือนเกิดขึ้นจากผลของการแพร่และพัฒนาจากที่มีบรรพบุรุษร่วมกันในบอร์เนียว[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 Robinson, A.S., A.S. Fleischmann, S.R. McPherson, V.B. Heinrich, E.P. Gironella & C.Q. Peña 2009. A spectacular new species of Nepenthes L. (Nepenthaceae) pitcher plant from central Palawan, Philippines. Botanical Journal of the Linnean Society 159 (2) : 195–202.
  2. European botanists find new Palawan plant. Manila Bulletin, October 16, 2007.
  3. Cheek, M.R. & M.H.P. Jebb 1999. Nepenthes (Nepenthaceae) in Palawan, Philippines. Kew Bulletin 54 (4) : 887–895.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]