ข้ามไปเนื้อหา

เฟรนช์พอลินีเชีย

พิกัด: 17°32′S 149°34′W / 17.533°S 149.567°W / -17.533; -149.567
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก French Polynesia)
เฟรนช์พอลินีเชีย
Polynésie française (ฝรั่งเศส)
Pōrīnetia Farāni (ตาฮีตี)
ธงชาติเฟรนช์พอลินีเชีย
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของเฟรนช์พอลินีเชีย
ตราแผ่นดิน
คำขวัญTahiti Nui Mare'are'a,
"Liberté, Égalité, Fraternité"
เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ
ที่ตั้งของเฟรนช์พอลินีเชีย
เมืองหลวงปาเปเอเต
17°34′S 149°36′W / 17.567°S 149.600°W / -17.567; -149.600
เมืองใหญ่สุดฟาอา
ภาษาราชการภาษาฝรั่งเศสและภาษาตาฮีตี
เดมะนิมชาวเฟรนช์พอลินีเชีย
การปกครองดินแดนในภาวะพึ่งพิง ระบบรัฐสภา
• ประธานาธิบดีฝรั่งเศส
แอมานุแอล มาครง
• ประธานาธิบดีเฟรนช์พอลินีเชีย
เอดัวร์ ฟริตช์
• ข้าหลวงใหญ่
เรอเน บีดาล
สภานิติบัญญัติสมัชชา
แห่งเฟรนช์พอลินีเชีย
เขตสังกัดโพ้นทะเลฝรั่งเศส
• วันบัสตีย์ (Bastille Day)
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2332
พื้นที่
• รวม
4,167 ตารางกิโลเมตร (1,609 ตารางไมล์) (~164)
12
ประชากร
• ก.ค. 2549 ประมาณ
260,338 (180)
• สำมะโนประชากร พ.ย. 2545
245,405
65 ต่อตารางกิโลเมตร (168.3 ต่อตารางไมล์) (~104)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2546 (ประมาณ)
• รวม
4.58 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (162)
17,500 ดอลลาร์สหรัฐ (2546) (59)
เอชดีไอ (2558)0.790
สูง · 80 Non-UN members (not calculated by UNDP)
สกุลเงินฟรังก์ซีเอฟพี (CPF France) (XPF)
เขตเวลาUTC-10
รหัสโทรศัพท์689
โดเมนบนสุด.pf

เฟรนช์พอลินีเชีย[1] (อังกฤษ: French Polynesia; ฝรั่งเศส: Polynésie française; ตาฮีตี: Pōrīnetia Farāni) เป็นดินแดนของฝรั่งเศสในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ มีฐานะเป็น "เขตรัฐบาลกลางโพ้นทะเล" พร้อมกับ "ประเทศโพ้นทะเล" ซึ่งเป็นตำแหน่งเฉพาะตัว ประกอบด้วยกลุ่มเกาะหลายเกาะในภูมิภาคพอลินีเชีย เกาะที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ตาฮีตีในหมู่เกาะโซไซตี ซึ่งยังเป็นเกาะที่มีผู้อยู่อาศัยมากที่สุดและเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของดินแดน (ปาเปเอเต) อีกด้วย และแม้จะไม่ได้อยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่เกาะกลีแปร์ตอนก็ถูกบริหารโดยเฟรนช์พอลินีเชีย

ภูมิศาสตร์

[แก้]

หมู่เกาะเฟรนช์พอลินีเชียมีเนื้อที่ (ทางบก) ทั้งหมด 4,167 ตารางกิโลเมตร (1,622 ตารางไมล์) กระจายอยู่บนมหาสมุทรเป็นพื้นที่ 2,500,000 ตารางกิโลเมตร (965,255 ตารางไมล์) ประกอบด้วยกลุ่มของเกาะมากมายหลายเกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดและมีคนอาศัยอยู่มากที่สุดคือ ตาฮีตี

หมู่เกาะต่าง ๆ ได้แก่

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ฝรั่งเศสปกครองหมู่เกาะนี้ตั่งแต่ พ.ศ. 2332 หมู่เกาะนี้จึงกลายเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสนับแต่นั้นโดยมีชื่อว่าเฟรนซ์โปลินิเซีย ต่อมาเฟรนโปลินิเซียได้รับการเลื่อนฐานะเป็นดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2547 ดินแดนนี้จึงได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นประเทศโพ้นทะเลของฝรั่งเศสโดยรัฐบาลฝรั่งเศสอนุญาตให้เฟรนโปลินิเซียมีประธานาธิบดีได้ ประธานาธิบดีคนแรกของเฟรนโปลินิเซียคือนายกาสตง ตง ซองโดยได้ดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2547

การเมืองการปกครอง

[แก้]

การบริหาร

[แก้]

ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2489-2546 เฟรนช์พอลินีเชียมีฐานะเป็นดินแดนโพ้นทะเล (overseas territory, ฝรั่งเศส: territoire d'outre-mer หรือ TOM)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ได้ยกเป็นอาณานิคมโพ้นทะเล (overseas collectivity, ฝรั่งเศส: collectivité d'outre-mer หรือ COM)

และตามพระราชบัญญัติลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ได้กำหนดให้เฟรนช์พอลินีเชียมีฐานะพิเศษอีกฐานะเรียกว่า ประเทศโพ้นทะเล (overseas country, ฝรั่งเศส: pays d'outre-mer หรือ POM) เพื่อเน้นความเป็นอิสระในการปกครองตนเองของดินแดน

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

เฟรนช์พอลินีเชียแบ่งออกเป็น 5 เขตการบริหารย่อย (administrative subdivisions, ฝรั่งเศส: subdivisions administratives) ได้แก่

แผนที่เฟรนช์พอลินีเชีย

นอกจากตาฮีตีแล้ว ยังมีอะทอลล์ (เกาะปะการัง) เกาะ และกลุ่มเกาะที่มีความสำคัญในเฟรนช์พอลินีเชียอื่น ๆ อีก ได้แก่ บอราบอรา ฮีวาอัว วาฮีเน ไมเอา มาอูปีตี เมเฮเตีย มูเรอา นูกูฮีวา ไรอาเตอา ตาฮา เตเตียรัว ตูบูไอ และตูไป

กองทัพ

[แก้]

กองกำลังกึ่งทหาร

[แก้]

เศรษฐกิจ

[แก้]

เฟรนช์พอลินีเชียมีการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับปานกลาง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสินค้าเข้า การท่องเที่ยว และความช่วยเหลือทางการเงินจากฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ สิ่งอำนวยความสะดวกต่อการท่องเที่ยวได้รับการพัฒนาและนำมาใช้ประโยชน์ได้บนเกาะหลัก ๆ ลูกยอ (noni fruit) จากหมู่เกาะแห่งนี้ถูกค้นพบว่ามีสรรพคุณทางการแพทย์ และผู้คนทั่วไปก็สามารถที่จะหางานที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการเกษตรประเภทนี้ได้

การท่องเที่ยว

[แก้]

ประชากรศาสตร์

[แก้]

เชื้อชาติ

[แก้]

ประชากรทั้งหมดของดินแดนเฟรนช์พอลินีเชียเมื่อปี พ.ศ. 2545 มีจำนวน 245,405 คน เป็นชาวโพลินีเซียนร้อยละ 83 ชาวผิวขาวร้อยละ 12 และชาวเอเชียตะวันออกร้อยละ 5 (ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน) ในปี พ.ศ. 2545 ร้อยละ 69 ของชาวเฟรนช์พอลินีเชียอาศัยอยู่บนเกาะตาฮีตีเพียงเกาะเดียว ส่วนเขตเมืองปาเปเอเตซึ่งเป็นเมืองหลวงนั้น มีประชากร 127,635 คน

ภาษา

[แก้]

ศาสนา

[แก้]

กีฬา

[แก้]

โครงสร้างพื้นฐาน

[แก้]

คมนาคม และ โทรคมนาคม

[แก้]

คมนาคม

[แก้]

ในขณะที่ถนนสายหลักนั้นได้รับการลาดยางและบำรุงรักษาอย่างดี แต่ถนนสายรองกลับไม่เป็นเช่นนั้น การจราจรก็เป็นไปอย่างเร่งรีบ ยานพาหนะทุกชนิดและคนเดินเท้าต่างแย่งกันใช้พื้นที่บนถนนแคบ ๆ มีการกำหนดทางม้าลายบนพื้นถนนและกฎหมายท้องถิ่นก็กำหนดให้ยานยนต์หยุดให้คนเดินเท้าด้วย แต่อย่างไรก็ตาม มันก็ไม่ได้รับการปฏิบัติเสมอไป นักท่องเที่ยวจึงควรใช้ความระมัดระวังขณะขับรถ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน

โทรคมนาคม

[แก้]

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

[แก้]

การศึกษา

[แก้]

ฝรั่งเศสเป็นผู้จัดการศึกษาในดินแดนแห่งนี้ เฟรนช์พอลินีเชียมีมหาวิทยาลัย 1 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเฟรนช์พอลินีเชีย (Université de la Polynésie Française: UPF, "University of French Polynesia") ตั้งอยู่ในฟาอา, ตาฮีตี เป็นมหาวิทยาลัยขนาดเล็กที่มีนักศึกษาอยู่ประมาณ 2,000 คน และมีนักวิจัย 60 คน ลุยส์ เปลต์เซอร์ (Luise Peltzer) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมของเฟรนช์พอลินีเชีย ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยมาเป็นเวลา 5 ปี

สาธารณสุข

[แก้]

สวัสดิการสังคม

[แก้]

วัฒนธรรม

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

17°32′S 149°34′W / 17.533°S 149.567°W / -17.533; -149.567