ดาบพิฆาตอสูร
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ดาบพิฆาตอสูร | |
ปกหนังสือมังงะการ์ตูนดาบพิฆาตอสูร เล่มที่ 1 ฉบับภาษาไทย | |
鬼滅の刃 (Kimetsu no Yaiba) | |
---|---|
ชื่อภาษาอังกฤษ | Demon slayer |
แนว | ผจญภัย,[1] ดาร์กแฟนตาซี[2] |
มังงะ | |
เขียนโดย | โคโยฮารุ โกโตะเกะ |
สำนักพิมพ์ | ชูเอฉะ |
สำนักพิมพ์ภาคภาษาอังกฤษ | Viz Media สยามอินเตอร์คอมิกส์ |
นิตยสาร | โชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ |
กลุ่มเป้าหมาย | โชเน็ง |
วางจำหน่ายตั้งแต่ | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 – 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 |
จำนวนเล่ม | 23 เล่ม 23 เล่ม |
อนิเมะโทรทัศน์ | |
กำกับโดย | ฮารุโอะ โซโตะซากิ |
อำนวยการโดย | ฮิคารุ คนโดะ อะคิฟุมิ ฟุจิโอะ มาซาโนริ มิยาเกะ ยูมะ ทาคาฮาชิ |
เขียนบทโดย | ยูโฟเทเบิล (Ufotable) |
ดนตรีโดย | ยูกิ คาจิอูระ โก ชิอินะ |
สตูดิโอ | ยูโฟเทเบิล (Ufotable) |
ถือสิทธิ์โดย | มิวส์ คอมมิวนิเคชัน (ออนไลน์) การ์ตูนคลับ |
ฉาย | 6 เมษายน พ.ศ. 2562 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2567 (ฟูจิ) 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2567 (มิวส์) 6 มีนาคม พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน (ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี) |
ตอน | 63 ตอน |
อนิเมะ | |
กำกับโดย | ฮารุโอะ โซโตะซากิ |
สตูดิโอ | ยูโฟเทเบิล (Ufotable) |
ดาบพิฆาตอสูร (ญี่ปุ่น: 鬼滅の刃; โรมาจิ: Kimetsu no Yaiba; ทับศัพท์: คิเม็ตสึ โนะ ไยบะ) เป็นซีรีส์หนังสือการ์ตูนของประเทศญี่ปุ่น เขียนเรื่องโดย โคโยฮารุ โกโตเกะ เนื้อหากล่าวถึงคามาโดะ ทันจิโร่ เด็กหนุ่มผู้กลายเป็นนักล่าอสูรหลังจากครอบครัวของตนถูกอสูรฆ่าตายทั้งหมด ยกเว้นเพียงน้องสาวที่ชื่อเนซึโกะเท่านั้นที่ได้กลายเป็นอสูรไป เขาจึงตั้งปณิธานว่าจะหาทางทำให้น้องสาวกลับมาเป็นมนุษย์ดังเดิมให้ได้ การ์ตูนชุดนี้เริ่มตีพิมพ์เป็นรายตอนในนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ มาตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 และสำนักพิมพ์ชูเอฉะได้จัดพิมพ์ในรูปแบบหนังสือการ์ตูนรวมเล่ม (ทังโคบง) แล้ว จำนวน 19 เล่ม ณ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 และจัดจำหน่ายในประเทศไทย โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์
หนังสือการ์ตูนชุดนี้มีการพิมพ์ซ้ำแล้ว 25 ล้านเล่ม ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ส่วนการ์ตูนแอนิเมชั่นทางโทรทัศน์ก็ได้รับรางวัลหลายรายการจากเวทีการประกวด 2019 Newtype Anime Awards
หนังสือการ์ตูนชุดนี้ ได้มีการนำไปดัดแปลงสร้างเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นทางโทรทัศน์ โดยสตูดิโอยูโฟเทเบิล (Ufotable) โดยผลิตเป็นแอนิเมชั่นฉายรายสัปดาห์บนโทรทัศน์ ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2562 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2567 รวมถึงมีการนำบางบทมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ ได้แก่ภาพยนตร์ ดาบพิฆาตอสูร เดอะมูฟวี่: ศึกรถไฟสู่นิรันดร์ เป็นเนื้อเรื่องต่อจากตอนจบของฤดูกาลที่ 1 โดยใช้เนื้อเรื่อง ศึกรถไฟสู่นิรันดร์ เป็นโครงเรื่อง ฉายในโรงภาพยนตร์ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563 และเป็นภาพยนตร์อนิเมะและและภาพยนตร์ญี่ปุ่นที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล และภาพยนตร์ไตรภาค ดาบพิฆาตอสูร เดอะมูฟวี่: ศึกปราสาทไร้ขอบเขต เป็นเนื้อเรื่ององก์สุดท้ายของดาบพิฆาตอสูรคือ ศึกปราสาทไร้ขอบเขต และ ศึกก่อนรุ่งสาง มาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ไตรภาคจำนวน 3 พาร์ท โดยพาร์ทที่ 1 มีกำหนดฉายในปี พ.ศ. 2568
เนื้อเรื่อง
[แก้]เรื่องราวเกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นยุคไทโช คามาโดะ ทันจิโร่ เป็นเด็กหนุ่มผู้มีจิตใจอ่อนโยนและเฉลียวฉลาด ในฐานะลูกชายคนโตของครอบครัวคนเผาถ่าน เขาจึงเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการหารายได้เลี้ยงดูครอบครัวจากการเผาถ่านไปขายหลังจากพ่อของเขาเสียชีวิต ทุกสิ่งทุกอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีอสูรบุกเข้ามาสังหารคนในครอบครัวของทันจิโร่ จนหมดสิ้นเหลือแต่เพียงเขาและน้องสาวที่ชื่อเนซึโกะเท่านั้น เนซึโกะที่รอดตายมาได้กลับกลายเป็นได้รับเลือดของอสูรจนกลายเป็นอสูรไป ทว่าก็น่าประหลาดใจที่เธอยังคงมีความรู้สึกนึกคิดและการแสดงอารมณ์อย่างมนุษย์ยิ่งคงหลงเหลืออยู่ หลังจากที่ทันจิโร่ได้ต่อสู้กับโทมิโอกะ กิยู นักล่าอสูรที่เดินทางผ่านมาและต้องการจะฆ่าเนซึโกะที่กลายเป็นอสูรไปแล้ว แต่เมื่อกิยูเห็นเนซึโกะปกป้องทันจิโร่ที่เป็นมนุษย์ กิยูได้จึงไว้ชีวิตเนซึโกะ และเขาจึงทำให้เนซึโกะหมดสติ และเขาจึงให้เนซึโกะคาบกระบอกไม้ไผ่ เอาไว้ในปากของเธอตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้เธอทำร้ายมนุษย์ ทันจิโร่จึงตัดสินใจที่จะเป็นนักล่าอสูรตามคำชักชวนของกิยู เพื่อหาทางทำให้น้องสาวกลับมาเป็นมนุษย์ และกำจัดอสูรที่ฆ่าครอบครัวของเขาให้จงได้[3]
รูปแบบสื่อ
[แก้]มังงะ
[แก้]ผู้เขียนเรื่องและภาพเรื่องคือ โคโยฮารุ โกโตะเกะ หนังสือการ์ตูนเรื่องนี้เริ่มในปี พ.ศ. 2559 ตีพิมพ์ครั้งที่ 11 ของชูเอะชะ นิตยสารโชเน็งจัมพ์รายสัปดาห์ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559[4] บริษัทชูเอะชะเริ่มออกตัวซีรีส์หนังสือการ์ตูนพร้อมกันในภาษาอังกฤษ บนบริการของมังงะเซอร์วิส ในปี พ.ศ. 2562 หนังสือการ์ตูนมังงะนี้ได้รับการรวบรวมเป็นหนังสือเล่ม (ทังโคบง) กับเล่มแรกกำลังเผยแพร่เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559[5] ณ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 หนังสือมังงะได้ปล่อยเป็น 19 เล่ม[6] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ก็ประกาศว่ามีเล่มที่ 20 ที่ล่าช้าไปสองสัปดาห์เนื่องจากความกังวลของการระบาดไวรัสโควิด 19[7] ในปี พ.ศ. 2564 ก็ได้มีการออกเล่มสุดท้ายคือเล่มที่ 23 ถือว่าจบโดยบริบูรณ์
นวนิยายไลต์โนเวล
[แก้]นวนิยายไลต์โนเวลได้มีการสิทธิคือ ดาบพิฆาตอสูร: ความสุขแห่งดอกไม้ (ญี่ปุ่น: 鬼滅の刃 しあわせの花; โรมาจิ: Kimetsu no Yaiba Shiawase no Hana) เขียนแต่งนิยายโดย โคโยฮารุ โกโตเกะ และ ยาจิมะ อายะ ตีพิมพ์นิยายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 บันทึกชีวิตของทันจิโร่และเซ็นอิตสึก่อนที่จะเริ่มซีรีส์หลัก เช่นเดียวกับการมองเข้าไปในชีวิตของอะโอะอิและคะนะโอะ[8] นอกจากนี้ยังมีบทเดียวของจักรวาลสำรองที่ตัวละครในซีรีส์กำลังเข้าร่วมโรงเรียนมัธยม
นวนิยายไลต์โนเวลที่ 2 ได้มีการสิทธิคือ ดาบพิฆาตอสูร: หนึ่งปีกแห่งผีเสื้อ (ญี่ปุ่น: 鬼滅の刃 片羽の蝶; โรมาจิ: Kimetsu no Yaiba Katahane no Chō) เขียนแต่งนิยายโดย โคโยฮารุ โกโตเกะ และ ยาจิมะ อายะ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2562 รายละเอียดชีวิตของโคโจ ชิโนะบุ และคะนะเอะ ก่อนและไม่นานหลังจากนั้นพวกเธอเข้าร่วมเหล่านักล่าอสูร หลังจากฮิเมะจิมะ เกียวเม ช่วยชีวิตพวกเขา[9][10]
อนิเมะ
[แก้]โทรทัศน์ซีรีส์อนิเมะ ถูกดัดแปลงโดยสตูดีโอยูโฟเทเบิล (Ufotable) ถูกประกาศในการตีพิมพ์ครั้งที่ 27 ของโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2561[11] ซีรีส์อนิเมะได้ออกอากาศเมื่อวันที่ 6 เมษายน - 28 กันยายน พ.ศ. 2559 ออกอากาศในช่อง โตเกียว เอ็มเอ็กซ์, กุนมะทีวี (GTV), โทชิกิทีวี (GYT), สถานีโทรทัศน์นิปปอนบีเอส (BS11) และช่องโทรทัศน์อื่น ๆ ของประเทศญี่ปุ่น[12][13] อนิเมะเรื่องนี้กำกับโดย โซะโตะซากิ ฮารุโอะ กับสคริปต์เรื่องราวโดยทีมงานยูโฟเทเบิล ผู้ประพันธ์เพลงประกอบเรื่องอนิเมะคือ คะจิอุระ ยูกิ และชีอีนะ โก และดีไซน์ตัวละครคือ มัตสึชิมะ อะคิระ โปรดิวเซอร์คือ คนโดะ ฮิคะรุ[14] ในเพลงเปิดประกอบเรื่องคือเพลง กุเรนเกะ (ญี่ปุ่น: 紅蓮華; โรมาจิ: Gurenge แปล: ดอกบัวสีแดง) ศิลปินโดย ลิซ่า (โอะริเบะ ริซะ)[15] ในขณะช่วงเพลงประกอบจบในเรื่องคือ ฟอร์มดิเอจ (อังกฤษ: Form the edge) ศิลปินโดยฟิคชั่นจังค์ชั่น (FictionJunction) ร้องคู่กับลิซ่า[16] ในเพลงจบของเรื่องสำหรับตอนที่ 19 คือ คามะโดะ ทันจิโร่ โนะ อุตะ (ญี่ปุ่น: 竈門炭治郎のうた; โรมาจิ: Kamado Tanjirō no Uta แปล: บทเพลงของคามาโดะ ทันจิโร่) ศิลปินโดย ชีอินะ โก พร้อมเนื้อเรื่องโดย นะคะกะวะ นามิ ซีรีส์อนิเมะนี้มี 26 ตอน[17] อนิเพล็กซ์ออฟอเมริกา (Aniplex of America) ได้รับประกาศใบอนุญาตลิขสิทธิ์เพื่อซื้อลิขสิทธิ์อนิเมะเรื่องนี้[18] ได้รับการสตรีมบน ครันชี่โรล, ฮูลู และฟูนิเมชั่นนาว[19] อนิเมะแล็บได้แคสท์อนิเมะเรื่องนี้ในประเทศออสเตรเลียและนิวซิแลนด์[20] ในประเทศไทย มีมิวส์ คอมมิวนิเคชันเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์หลัก ออกอากาศฉบับตอนซีรีส์ในหลายช่องทางหลัก อาทิ ทรูไอดี เอไอเอส เพลย์ เน็ตฟลิกซ์ ดิสนีย์+ ฮอตสตาร์ แอมะซอน ไพร์ม วิดีโอ และทางช่องการ์ตูนคลับ ทั้งนี้การ์ตูนคลับยังเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ซีรีส์สำหรับการออกอากาศผ่านช่องทางฟรีทีวีในประเทศไทยอีกด้วย
ในส่วนของฤดูกาลที่ 2 (ภาคศึกรถไฟสู่นิรันดร์ และภาคย่านเริงรมย์) ฤดูกาลที่ 3 (ภาคหมู่บ้านช่างตีดาบ) และฤดูกาลที่ 4 (ภาคการสั่งสอนของเสาหลัก) มิวส์ คอมมิวนิเคชัน ยังคงเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์หลักสำหรับการออกอากาศทางช่องทางออนไลน์หลากหลายช่องทาง อาทิ เน็ตฟลิกซ์ ทรูไอดี วิว อ้ายฉีอี้ วีทีวี ปิลิปิลิ ป๊อปส์ และแอมะซอน ไพร์ม วิดีโอ โดยการ์ตูนคลับเป็นผู้จัดทำเสียงพากย์ภาษาไทยให้กับทางมิวส์
ภาพยนตร์อนิเมะ
[แก้]ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2562 ตามออกอากาศตอนที่ 26 ทันที ต่อมาได้ประกาศภาพยนตร์อนิเมะชื่อว่า ดาบพิฆาตอสูร เดอะมูฟวี่: ศึกรถไฟสู่นิรันดร์ (ญี่ปุ่น: 鬼滅の刃 無限列車編; โรมาจิ: Kimetsu no Yaiba: Mugen Ressha-hen) พร้อมกับทีมงานและใช้บทบาทของตน[21] ภาพยนตร์นี้จะเป็นภาคต่อโดยตรงของซีรีส์อนิเมะซึ่งอิงกับบท "ศึกรถไฟสู่นิรันดร์" จากหนังสือซีรีส์มังงะ[22][23] ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2563 ได้ประกาศภาพยนตร์อนิเมะนี้จะออกเปิดตัวทั้งในระบบปกติและระบบไอแมกซ์ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563[24] โดยอนิเพล็กซ์และโตโฮ[25] ในประเทศไทย เอ็ม พิคเจอร์ เป็นผู้ถือลิขสิทธ์การแพร่ภาพในโรงภาพยนตร์ โดยเปิดตัวรอบพิเศษในโรงภาพยนตร์กรุงเทพไอแมกซ์ 6 สาขา และโรงภาพยนตร์เอสเอฟ ซีเนม่าสาขาที่ร่วมรายการในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ก่อนเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ระบบปกติทั่วประเทศในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยทำรายได้ในวันเปิดตัว 7.68 ล้านบาท ทำลายสถิติของภาพยนตร์ สแตนด์บายมี โดราเอมอน เพื่อนกันตลอดไป (5.4 ล้านบาท), วันพีซ สแตมปีด (5.37 ล้านบาท), รวมถึง หลับตาฝัน ถึงชื่อเธอ (3.41 ล้านบาท) ขึ้นเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันจากประเทศญี่ปุ่นที่ทำรายได้สูงสุดในวันเปิดตัวในไทย และยังทำลายสถิติของภาพยนตร์ เทเน็ท ขึ้นเป็นภาพยนตร์ระบบไอแมกซ์ 2 มิติที่ทำรายได้เปิดตัวสูงสุดใน พ.ศ. 2563 และ เป็นภาพยนตร์ระบบไอแมกซ์ที่ทำรายได้เปิดตัวเป็นอันดับสองใน พ.ศ. 2563 รองจาก มู่หลาน
ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ได้มีการประกาศเวิลด์ทัวร์ครั้งแรกของดาบพิฆาตอสูร สู่หมู่บ้านช่างตีดาบ เพื่อสอดรับกับการฉายซีรีส์ฤดูกาลที่ 3 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 ภาพยนตร์ดังกล่าวไม่เหมือนกับภาพยนตร์ ศึกรถไฟสู่นิรันดร์ ที่เป็นการนำเนื้อเรื่องจากต้นฉบับมาทำเป็นภาพยนตร์ก่อนดัดแปลงเป็นทีวีซีรีส์ในองค์แรกของฤดูกาลที่ 2 แต่เป็นการนำทีวีซีรีส์มารวบเป็นภาพยนตร์ความยาว 110 นาที ประกอบด้วย 2 ตอนสุดท้ายของภาคย่านเริงรมย์ รวมกับตอนที่ 1 ของภาคหมู่บ้านช่างตีดาบ ภาพยนตร์ดังกล่าวเข้าฉายในประเทศญี่ปุ่นวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 โดยในประเทศไทย มิวส์ คอมมิวนิเคชัน และ เอ็ม พิคเจอร์ เป็นผู้ถือลิขสิทธ์การแพร่ภาพในโรงภาพยนตร์ โดยออกฉายในประเทศไทยวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ได้มีการประกาศเวิลด์ทัวร์ครั้งที่สองในชื่อ ปาฏิหารย์แห่งสายสัมพันธ์ สู่การสั่งสอนของเสาหลัก เพื่อสอดรับกับการฉายซีรีส์ฤดูกาลที่ 4 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 ภาพยนตร์ดังกล่าวยังคงเป็นการนำทีวีซีรีส์มารวบเป็นภาพยนตร์ ประกอบด้วยตอนสุดท้ายของภาคหมู่บ้านช่างตีดาบ รวมกับตอนที่ 1 ของภาคการสั่งสอนของเสาหลัก ภาพยนตร์ดังกล่าวเข้าฉายในประเทศญี่ปุ่นวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ในประเทศไทย มิวส์ คอมมิวนิเคชัน เป็นผู้ถือลิขสิทธ์การแพร่ภาพในโรงภาพยนตร์ และให้ไฟว์สตาร์โปรดักชั่นเป็นผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ โดยออกฉายในประเทศไทยวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
และในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567 หลังจากการออกอากาศในตอนที่ 7 ของภาคการสั่งสอนของเสาหลักจบลงแบบทันที อะนิเพล็กซ์ได้มีการประกาศภาคสุดท้ายของซีรีส์ ศึกปราสาทไร้ขอบเขต จะถูกนำไปทำเป็นภาพยนตร์ไตรภาค โดยภาคแรกจากไตรภาคมีกำหนดฉายพร้อมกันทั่วโลกในปี พ.ศ. 2568 โดยในประเทศไทยโคลอมเบีย พิคเจอร์ ประเทศไทย (โซนี่ พิคเจอร์ ประเทศไทย) ในนามของครันซ์ชีโรล เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ตรงจากอะนิเพล็กซ์
วิดีโอเกม
[แก้]เกมมือถือชื่อว่า ดาบพิฆาตอสูร: ใบมีดดาบแห่งกลิ่นเลือด (ญี่ปุ่น: 鬼滅の刃 血風剣戟ロワイアル; โรมาจิ: Kimetsu no Yaiba: Keppū Kengeki Royale) ได้ประกาศและปล่อยตัวเกมเมื่อปี พ.ศ. 2563 โดยสำนักพิมพ์อนิเพล็กซ์ พร้อมกับผู้พัฒนาโดยบริษัทอนิเพล็กซ์ สาขาควาโทรเอ (Quatro A)[26] วิดีโอเกมนี้เผยแพร่โดยอนิเพล็กซ์และพัฒนาโดยคิวเบอร์คอนเน็คต์ทู (Cuberconnect2) ชื่อวิดีโอเกมว่า ดาบพิฆาตอสูร: สายลมเลือดแห่งระบำเทพอัคคี (ญี่ปุ่น: 鬼滅の刃 ヒノカミ血風譚; โรมาจิ: Kimetsu no Yaiba: Hinokami Chifūtan) สำหรับเพลย์สเตชัน 4 ได้มีการประกาศว่าจะปล่อยวิดีโอเกมนี้เมื่อปี พ.ศ. 2564[27][28][29]
อื่น ๆ
[แก้]แฟนบุ๊คของดาบพิฆาตอสูรได้ปล่อยตัวในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562[30] มีข้อมูลพื้นหลังในหลาย ๆ ตัวละครจากซีรีส์การ์ตูน
ภาพรวมอนิเมะ
[แก้]ปี | จำนวนตอน | วันที่ออกอากาศ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
วันแรก | วันสุดท้าย | เครือข่าย | ||||
1 | 26 | 6 เมษายน ค.ศ. 2019 | 28 กันยายน ค.ศ. 2019 | โตเกียวเอ็มเอ็กซ์ | ||
2 | 18 | 7 | 10 ตุลาคม ค.ศ. 2021 | 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021 | ฟูจิทีวี | |
11 | 5 ธันวาคม ค.ศ. 2021 | 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 | ||||
3 | 11 | 9 เมษายน ค.ศ. 2023 | 18 มิถุนายน ค.ศ. 2023 |
รายชื่อตอน
[แก้]ซีซั่น 1: การเดินทางของคามาโดะ ทันจิโร่ (2019)
[แก้]ซีซั่น 2 : ศึกรถไฟสู่นิรันดร์ / ย่านเริงรมย์ (2021-2022)
[แก้]ซีซั่น 3 : หมู่บ้านช่างตีดาบ (2023)
[แก้]ซีซั่น 4 : การสั่งสอนของเสาหลัก (2024)
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Official Website for Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba". Viz Media. สืบค้นเมื่อ July 26, 2018.
- ↑ 「鬼滅の刃」4巻帯コメントは冨樫義博!LINEスタンプもリリース. Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). December 2, 2016. สืบค้นเมื่อ July 26, 2018.
- ↑ Chapman, Paul. "Hunters and Prey Join the Cast of Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba TV Anime". Crunchyroll (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 30 October 2019.
- ↑ Ressler, Karen (January 31, 2016). "Weekly Shonen Jump Launches 2 New Series in February". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ May 27, 2018.
- ↑ "鬼滅の刃 1". Shueisha (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ May 27, 2018.
- ↑ "鬼滅の刃 19". Shueisha (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ December 22, 2019.
- ↑ Sherman, Jennifer (April 9, 2020). "Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba, Other Jump Manga Delay New Volumes Due to COVID-19 Coronavirus Concerns". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ April 9, 2020.
- ↑ 「鬼滅の刃」公式ポータルサイト. kimetsu.com. สืบค้นเมื่อ 2019-10-06.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 「鬼滅の刃」公式ポータルサイト. kimetsu.com. สืบค้นเมื่อ 2019-10-06.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Sherman, Jennifer (August 9, 2019). "Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba Manga Gets 2nd Novel". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ November 25, 2019.
- ↑ Ressler, Karen (June 3, 2018). "Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba Manga Gets TV Anime by ufotable". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ June 3, 2018.
- ↑ Pineda, Rafael Antonio (August 3, 2018). "Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba Anime Premieres in Spring". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ August 3, 2018.
- ↑ Hodgkins, Crystalyn (February 28, 2019). "Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba Anime Premieres on April 6". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ February 28, 2019.
- ↑ Hodgkins, Crystalyn (November 24, 2018). "Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba Anime Reveals Staff, More Cast". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ November 24, 2018.
- ↑ Pineda, Rafael Antonio (March 24, 2019). "Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba Anime's Video Previews LiSA's Opening Song". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ March 24, 2019.
- ↑ Hodgkins, Crystalyn (April 13, 2019). "'FictionJunction feat. LiSA' Performs Ending Theme for Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba Anime". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ April 13, 2019.
- ↑ Luster, Joseph (April 19, 2019). "Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba Anime to Run for Two Cours". Crunchyroll News. สืบค้นเมื่อ April 19, 2019.
- ↑ Aniplex USA [@aniplexUSA] (February 14, 2019). "Enter the realm of the demons as Demon Slayer premieres April 2019! Don't miss this melancholy tale of humans and demons from studio ufotable and based on the popular manga by Koyoharu Gotouge serialized in Weekly Shonen Jump magazine" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ March 20, 2019 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ Sherman, Jennifer (April 2, 2019). "Aniplex of America Licenses We Never Learn: BOKUBEN, Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba Anime". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ April 3, 2019.
- ↑ "Demon Slayer - In Cinemas April 2". Madman Entertainment. สืบค้นเมื่อ March 21, 2019.
Be among the first in Australia to feast on a smorgasbord of Demon Slayer episodes, before it heads to AnimeLab for its weekly simulcast season.
- ↑ Loo, Egan (September 28, 2019). "Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba Anime Gets Sequel Film". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ September 28, 2019.
- ↑ Frye, Patrick (September 28, 2019). "Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba movie Infinite Train confirmed after ending of Demon Slayer Episode 26". Monsters and Critics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-28. สืบค้นเมื่อ September 28, 2019.
- ↑ Hodgkins, Crystalyn (October 20, 2019). "Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba Anime Film Reveals Teaser Video, 2020 Debut (Updated)". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ October 20, 2019.
- ↑ Frye, Patrick (April 10, 2020). "Demon Slayer movie release date confirmed for fall 2020 by Kimetsu no Yaiba Infinity Train trailer". Monsters and Critics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-10. สืบค้นเมื่อ April 10, 2020.
- ↑ Sherman, Jennifer (April 10, 2020). "Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba Anime Film Opens on October 16". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ April 10, 2020.
- ↑ Pineda, Rafael Antonio (March 15, 2020). "Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba Manga Gets Smartphone Game This Year". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ March 16, 2020.
- ↑ Hodgkins, Crystalyn (March 15, 2020). "Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba Manga Gets PS4 Game in 2021". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ March 15, 2020.
- ↑ Romano, Sal (March 15, 2020). "Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba games official announcement, portal website opened". Gematsu. สืบค้นเมื่อ April 5, 2020.
- ↑ Romano, Sal (March 22, 2020). "Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba – Hinokami Keppuutan developed by CyberConnect2; debut trailer, screenshots". Gematsu. สืบค้นเมื่อ April 5, 2020.
- ↑ 「鬼滅の刃」公式サイト │ 集英社. 「鬼滅の刃」公式サイト │ 集英社 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2019-10-06.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- การ์ตูนญี่ปุ่น
- มังงะชุด
- บทความเกี่ยวกับอนิเมะและมังงะที่ใช้ไอคอนธง
- บทความเกี่ยวกับอนิเมะและมังงะที่ไม่มีพารามิเตอร์เครือข่าย
- ดาบพิฆาตอสูร
- ตัวละครกลุ่มหก
- มังงะที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2559
- อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2562
- อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2564
- อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2567
- การ์ตูนญี่ปุ่นแนวศิลปะการต่อสู้
- โยไกในอนิเมะและมังงะ
- ปิศาจในอนิเมะและมังงะ
- สยามอินเตอร์คอมิกส์
- ยูโฟเทเบิล
- มิวส์ คอมมิวนิเคชัน
- ยุคไทโชในบันเทิงคดี
- บทความเกี่ยวกับ การ์ตูนญี่ปุ่น ที่ยังไม่สมบูรณ์