วัคซีนเชื้อลดฤทธิ์
วัคซีนเชื้อลดฤทธิ์ (อังกฤษ: attenuated vaccine, live attenuated vaccine) เป็นวัคซีนที่ทำจากเชื้อจุลชีพก่อโรคโดยลดศักยภาพก่อโรคของเชื้อ แต่เชื้อก็ยังสามารถแพร่พันธุ์ได้อยู่ คือยังเป็น ๆ อยู่ (live)[1] วัคซีนนี้ต่างกับวัคซีนเชื้อตาย (inactivated vaccine)
วัคซีนลดฤทธิ์สามารถกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันตอบสนองอย่างเข้มแข็งโดยคงอยู่นาน[2] เมื่อเทียบกับวัคซีนที่ฆ่าแล้ว วัคซีนที่ลดฤทธิ์ก่อภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งกว่า คงยืนกว่า และตอบสนองเร็วกว่า[3][4][5] วัคซีนลดฤทธิ์ทำงานโดยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารภูมิต้านทานและเซลล์ภูมิคุ้มกันที่จำโรค (memory immune cells) เพื่อตอบสนองต่อจุลชีพก่อโรคโดยเฉพาะ ๆ[6] ตัวอย่างวัคซีนลดฤทธิ์ที่สามัญรวมวัคซีนโรคหัด หัดเยอรมัน ไข้เหลือง และไข้หวัดใหญ่บางประเภท[2]
การพัฒนา
[แก้]ไวรัสลดฤทธิ์
[แก้]ไวรัสสามารถลดฤทธิ์โดยวิธีการทางวิวัฒนาการที่เรียกว่า serial passage คือการส่งไวรัสผ่านเซลล์ถูกเบียนต่าง ๆ เป็นอนุกรม เช่นส่งผ่าน[7][8]
- เนื้อเยื่อที่เลี้ยงไว้
- ไข่ที่มีตัวอ่อน (มักเป็นไข่ไก่)
- สัตว์เป็น ๆ
ไวรัสก่อโรคดั้งเดิมจะนำไปติดเซลล์ถูกเบียนอื่น ๆ และเพราะความผันแปรได้ทางพันธุกรรมหรือเพราะการกลายพันธุ์ที่สร้างขึ้น อนุภาคไวรัสส่วนน้อยส่วนหนึ่งก็จะติดเซลล์ถูกเบียนชนิดใหม่[8][9] สายพันธุ์นี้จะขยายพันธุ์และวิวัฒนาการต่อไปภายในเซลล์ใหม่ แล้วไวรัสก็จะค่อย ๆ เสียประสิทธิภาพการก่อโรคในเซลล์ดั้งเดิมเพราะความกดดันทางวิวัฒนาการ[A][8][9] กระบวนการเช่นนี้ทำให้ไวรัสปรับตัวเข้ากับเซลล์ถูกเบียนใหม่จนกระทั่งไม่ก่อโรคต่อคนที่ได้วัคซีนเป็นไวรัสนี้[9] ซึ่งทำให้ภูมิคุ้มกันสามารถกำจัดไวรัสได้ง่ายกว่า แล้วสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันแบบจำโรค ซึ่งป้องกันการติดเชื้อไวรัสคล้าย ๆ กันที่เกิดในธรรมชาติ[9]
ไวรัสยังสามารถลดฤทธิ์โดยวิธีการทาง reverse genetics[10] ที่สร้างไวรัสลดฤทธิ์โดยผสมยีนของไวรัสพันธุ์ที่ต้องการป้องกัน กับไวรัสพันธุ์คล้ายกันแต่ที่ลดฤทธิ์แล้ว[11] การลดฤทธิ์โดยวิธีพันธุศาสตร์ยังใช้ในการสร้างไวรัสสลายเนื้องอก (oncolytic virus) ได้อีกด้วย[12]
แบคทีเรียลดฤทธิ์
[แก้]แบคทีเรียก็สามารถลดฤทธิ์โดยนำไปผ่านเซลล์ถูกเบียนอื่น ๆ เช่นเดียวกันกับที่ทำกับไวรัส[13] การน๊อกเอ๊าท์ยีนอาศัยผลที่ได้จากวิธีการทาง reverse genetics ก็ใช้ได้ด้วย[14]
การให้วัคซีน
[แก้]วัคซีนลดฤทธิ์สามารถให้ได้หลายวิธี
- การฉีด
- ใต้ผิวหนัง (เช่น วัคซีน MMR, วัคซีนโรคอีสุกอีใส และวัคซีนไข้เหลือง)[15]
- ใต้หนังกำพร้า (เช่น วัคซีนวัณโรค วัคซีนโรคฝีดาษ)[15]
- ทางเยื่อเมือก
- ทางจมูก (เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ลดฤทธิ์ที่ยังเป็น)[16][15]
- ทางปาก (เช่น วัคซีนโปลิโอที่ให้ทางปาก, วัคซีนอหิวาตกโรคแบบลูกผสม ลดฤทธิ์ ยังเป็นอยู่, วัคซีนไข้รากสาดน้อยที่ให้ทางปาก, วัคซีนโรตาไวรัสที่ให้ทางปาก)[15][17]
กลไก
[แก้]วัคซีนทำงานโดยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเซลล์ต่าง ๆ เช่น CD8+ (Cytotoxic T cell) และ CD4+ T lymphocytes (เซลล์ทีเฮลเปอร์) หรือโมเลกุลต่าง ๆ เช่น สารภูมิต้านทาน ที่เฉพาะเจาะจงกับจุลชีพก่อโรค[6] เซลล์หรือโมเลกุลที่ว่าสามารถป้องกันหรือลดโรคโดยฆ่าเซลล์ที่ติดเชื้อหรือสร้างไซโตไคน์คือ Interleukin[6] วัคซีนแต่ละอย่างจึงก่อผลโดยเฉพาะ ๆ ที่ไม่เหมือนกัน[6] วัคซีนแบบลดฤทธิ์ที่ยังเป็นมักช่วยสร้างเซลล์ CD8+ และสารภูมิต้านทานที่อาศัยเซลล์ T[6] วัคซีนยังคงมีประสิทธิผลตราบเท่าที่ร่างกายยังดำรงการมีเซลล์เหล่านี้[6] วัคซีนลดฤทธิ์ที่ยังเป็นสามารถสร้างภูมิคุ้มกันระยะยาว อาจถึงตลอดชีวิต โดยไม่ต้องให้วัคซีนหลายครั้ง[9][6] และยังสร้างการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันระดับเซลล์ ที่ไม่ได้อาศัยสารภูมิต้านทานอย่างเดียว แต่อาศัยเซลล์ภูมิต้านทานเช่น เซลล์ T หรือ macrophage ด้วย[9]
ความปลอดภัย
[แก้]วัคซีนลดฤทธิ์ที่ยังเป็นกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ และคงยืนอยู่นาน[2] เพราะจุลชีพลดฤทธิ์แล้ว ปกติจึงไม่กลับคืนไปยังสภาพก่อโรคแล้วทำให้ติดโรค[18] อนึ่ง ในบรรดาวัคซีนลดฤทธิ์ที่ยังเป็น 5 อย่างที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ คือ วัคซีนวัณโรค วัคซีนโปลิโอที่ให้ทางปาก วัคซีนโรคหัด วัคซีนโรตาไวรัส และวัคซีนไข้เหลือง ผลไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงก็มีน้อยมาก[18] แต่ก็เหมือนกับยาและหัตถกรรมทางแพทย์อื่น ๆ วัคซีนก็ไม่ได้ผลหรือปลอดภัยเต็มร้อย[19]
บุคคลที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (เช่น ติดเชื้อเอชไอวี ทำเคมีบำบัด มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหลายอย่างร่วมกัน) ปกติไม่ควรรับวัคซีนลดฤทธิ์ที่ยังเป็น เพราะอาจไม่เกิดภูมิคุ้มกันเพียงพออย่างปลอดภัย[2][18][20][21] แต่คนที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่องก็ยังสามารถรับวัคซีนลดฤทธิ์ เพราะไม่ได้เพิ่มโอกาสแพร่เชื้อ ยกเว้นวัคซีนโปลิโอที่ให้ทางปาก[21]
เพื่อความปลอดภัยไว้ก่อน วัคซีนลดฤทธิ์ที่ยังเป็นไม่ควรให้แก่หญิงมีครรภ์[18][22] เพราะแม่มีโอกาสแพร่เชื้อไปยังทารก[22] โดยเฉพาะก็คือ วัคซีนโรคอีสุกอีใสและวัคซีนไข้เหลืองปรากฏว่ามีผลไม่พึงประสงค์ต่อทารกในครรภ์และทารกที่กินนมแม่[22]
วัคซีนลดฤทธิ์ที่ยังเป็นบางอย่างยังมีผลไม่พึงประสงค์แบบเบาแต่สามัญเนื่องกับช่องทางที่ให้[22] ยกตัวอย่าง เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบลดฤทธิ์แต่ยังเป็นซึ่งให้ทางจมูกสัมพันธ์กับอาการคัดจมูก[22] เทียบกับวัคซีนเชื้อตาย วัคซีนลดฤทธิ์ที่ยังเป็นมักเกิดความผิดพลาดในกระบวนการผลิต ขนส่ง และแจกจำหน่าย เพราะต้องแช่เย็นอย่างเข้มงวดและต้องเตรียมวัคซีนอย่างระมัดระวังก่อนให้[2][18][20]
ประวัติ
[แก้]ประวัติของการพัฒนาวัคซีนได้เริ่มขึ้นเมื่อแพทย์ชาวอังกฤษเอดเวิร์ด เจนเนอร์ ได้สร้างวัคซีนฝีดาษขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18[23] คือหมอพบว่า การปลูกฝีให้กับมนุษย์ด้วยไวรัสฝีดาษของสัตว์ (วงศ์ Poxviridae) ทำให้มนุษย์มีภูมิคุ้มกันต่อโรคฝีดาษมนุษย์ ซึ่งจัดเป็นโรคที่สร้างความเสียหายมากที่สุดอย่างหนึ่งในประวัติศาสตร์[24][25] แม้วัคซีนฝีดาษดั้งเดิมบางครั้งจะจัดว่าเป็นวัคซีนลดฤทธิ์เพราะยังเป็นอยู่ แต่ถ้าเข้มงวดก็ไม่ใช่ เพราะไม่ได้ทำมาจากไวรัสฝีดาษมนุษย์โดยตรง คือทำมาจากไวรัสฝีดาษในวัวควาย (cowpox)[26][27]
การค้นพบว่าจุลชีพก่อโรคสามารถลดฤทธิ์ได้เกิดในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อนักจุลชีววิทยาชาวฝรั่งเศสหลุยส์ ปาสเตอร์ สร้างไวรัสลดฤทธิ์จากอหิวาตกโรคในไก่[26] ซึ่งต่อมาเขาได้ใช้ความรู้นี้พัฒนาวัคซีนแอนแทรกซ์แล้วแสดงประสิทธิภาพของมันในการทดลองที่ทำเป็นสาธารณะ[28] หลังจากนั้น เขาและเพื่อนร่วมงาน (Émile Roux) จึงได้พัฒนาวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า โดยเพาะเชื้อไวรัสในกระต่าย แล้วทำเนื้อเยื่อประสาทที่ติดโรคให้แห้ง[28]
ส่วนเทคนิคการเพาะไวรัสซ้ำ ๆ ในที่เพาะเลี้ยงแล้วสะกัดเอาสายพันธุ์ที่ก่อโรคได้น้อยกว่าเริ่มที่แพทย์ชาวฝรั่งเศส Albert Calmette และนักวิทยาภูมิคุ้มกันชาวฝรั่งเศส Camille Guérin ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้พัฒนาวัคซีนวัณโรคลดฤทธิ์ที่เรียกว่าวัคซีนบีซีจี[23] ต่อมา เทคนิคนี้ก็ได้ใช้เพื่อพัฒนาวัคซีนไข้เหลือง (โดย Jean Laigret และ Max Theiler เป็นต้น)[23][26][29] ซึ่งวัคซีนหนึ่งที่พัฒนาขึ้นได้ผลดีมาก จึงได้ช่วยจัดตั้งแนวปฏิบัติและกฎควบคุมวัคซีนอื่น ๆ ต่อมา รวมทั้งการเพาะไวรัสในเนื้อเยื่อเป็นหลัก (เช่น ในตัวอ่อนของไก่) ไม่เพาะในสัตว์ และระบบที่ใช้สต๊อกไวรัสลดฤทธิ์แล้วดั้งเดิมโดยไม่ใช้ไวรัสที่สืบ ๆ มา เพื่อลดความแปรปรวนในการพัฒนาวัคซีน และลดโอกาสเกิดผลที่ไม่พึงประสงค์[26][29]
ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีงานของนักไวรัสวิทยาเด่น ๆ มากมาย และได้เกิดวัคซีนลดฤทธิ์ที่ทำสำเร็จหลายอย่างรวมทั้งวัคซีนโปลิโอ วัคซีนโรคหัด วัคซีนโรคคางทูม และวัคซีนโรคหัดเยอรมัน[30][31][32][33]
ข้อดีและข้อเสีย
[แก้]ข้อดี
[แก้]- เลียนการติดเชื้อตามธรรมชาติได้ดี[34][35]
- มีประสิทธิภาพก่อปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันอย่างเข้มแข็งโดยทั้งสารภูมิต้านทานและเซลล์ภูมิคุ้มกัน[34][35][3]
- สร้างภูมิคุ้มกันเป็นระยะยาวหรือตลอดชีวิต[34][35][4]
- มักต้องใช้เพียงแค่หนึ่งหรือสองโดส[34][35][5]
- สร้างภูมิต้านทานได้เร็ว[3][4][5]
- ราคาถูก (เทียบกับการรักษาอื่น ๆ)[36][37]
- อาจมีผลป้องกันโรคอื่น ๆ (non-specific effect) เป็นผลพลอยได้[38]
ข้อเสีย
[แก้]- ในกรณีที่มีน้อย โดยเฉพาะเมื่อให้วัคซีนในกลุ่มประชากรไม่พอ การกลายพันธุ์ที่เกิดเมื่อไวรัสลดฤทธิ์ขยายพันธุ์โดยธรรมชาติ หรือการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างไวรัสกับไวรัสอื่น ๆ ที่เป็นญาติกัน อาจทำให้ไวรัสลดฤทธิ์กลับคืนสภาพกลายเป็นไวรัสดั้งเดิม หรือกลายเป็นสายพันธุ์ใหม่ซึ่งอาจก่อโรคและติดต่อได้[34][39]
- มักไม่แนะนำให้ใช้ในบุคคลที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องเพราะเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจรุนแรง[34][40][41]
- สายพันธุ์ที่ยังเป็นอยู่มักต้องเก็บรักษาดีมาก เช่น แช่เย็นหรือให้อาหารใหม่ ทำให้ขนส่งไปยังเขตห่างไกลได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง[34][42]
รายการวัคซีนลดฤทธิ์
[แก้]ที่ปัจจุบันใช้อยู่
[แก้]วัคซีนแบคทีเรีย
[แก้]- วัคซีนแอนแทรกซ์[43]
- วัคซีนอหิวาตกโรค[44]
- วัคซีนกาฬโรค[45]
- วัคซีน Salmonella[46]
- วัคซีนวัณโรค[47]
- วัคซีนไข้รากสาดน้อย[48]
วัคซีนไวรัส
[แก้]- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ลดฤทธิ์ที่ยังเป็น (Live attenuated influenza vaccine, LAIV)[49]
- วัคซีนไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น[50]
- วัคซีนโรคหัด[51]
- วัคซีนโรคคางทูม[52]
- วัคซีน MR (โรคหัดและหัดเยอรมัน)[53]
- วัคซีน MMR (โรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน )[54]
- วัคซีน MMRV (โรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน และอีสุกอีใส)[54]
- วัคซีนโปลิโอ[55]
- วัคซีนโรตาไวรัส[56]
- วัคซีนโรคหัดเยอรมัน[57]
- วัคซีนฝีดาษ[58]
- วัคซีนโรคอีสุกอีใส[59]
- วัคซีนไข้เหลือง[60]
- วัคซีนงูสวัด[61]
กำลังพัฒนา
[แก้]วัคซีนแบคทีเรีย
[แก้]- วัคซีนป้องกันเชื้อ Enterotoxigenic Escherichia coli ซึ่งเป็นแบคทีเรียก่ออาการท้องร่วงหลัก ๆ อย่างหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนา[62]
วัคซีนไวรัส
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ เหตุอะไรก็ได้ที่ลดความสำเร็จทางการสืบพันธุ์ของส่วนหนึ่งในประชากรสิ่งมีชีวิต มีโอกาสสร้างความกดดดันทางวิวัฒนาการ (evolutionary pressure) หรือความกดดันทางการคัดเลือก (selective pressure)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Badgett, Marty R.; Auer, Alexandra; Carmichael, Leland E.; Parrish, Colin R.; Bull, James J. (October 2002). "Evolutionary Dynamics of Viral Attenuation". Journal of Virology. 76 (20): 10524–10529. doi:10.1128/JVI.76.20.10524-10529.2002. ISSN 0022-538X. PMC 136581. PMID 12239331.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Vaccine Types | Vaccines". www.vaccines.gov. สืบค้นเมื่อ 2020-11-16.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Gil, Carmen; Latasa, Cristina; García-Ona, Enrique; Lázaro, Isidro; Labairu, Javier; Echeverz, Maite; Burgui, Saioa; García, Begoña; Lasa, Iñigo; Solano, Cristina (2020). "A DIVA vaccine strain lacking RpoS and the secondary messenger c-di-GMP for protection against salmonellosis in pigs". Veterinary Research. 51 (1): 3. doi:10.1186/s13567-019-0730-3. ISSN 0928-4249. PMC 6954585. PMID 31924274.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Tretyakova, Irina; Lukashevich, Igor S.; Glass, Pamela; Wang, Eryu; Weaver, Scott; Pushko, Peter (2013-02-04). "Novel Vaccine against Venezuelan Equine Encephalitis Combines Advantages of DNA Immunization and a Live Attenuated Vaccine". Vaccine. 31 (7): 1019–1025. doi:10.1016/j.vaccine.2012.12.050. ISSN 0264-410X. PMC 3556218. PMID 23287629.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Zou, Jing; Xie, Xuping; Luo, Huanle; Shan, Chao; Muruato, Antonio E.; Weaver, Scott C.; Wang, Tian; Shi, Pei-Yong (2018-09-07). "A single-dose plasmid-launched live-attenuated Zika vaccine induces protective immunity". EBioMedicine. 36: 92–102. doi:10.1016/j.ebiom.2018.08.056. ISSN 2352-3964. PMC 6197676. PMID 30201444.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 Plotkin's vaccines. Plotkin, Stanley A., 1932-, Orenstein, Walter A.,, Offit, Paul A. (Seventh ed.). Philadelphia, PA. 2018. ISBN 978-0-323-39302-7. OCLC 989157433.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ Jordan, Ingo; Sandig, Volker (2014-04-11). "Matrix and Backstage: Cellular Substrates for Viral Vaccines". Viruses. 6 (4): 1672–1700. doi:10.3390/v6041672. ISSN 1999-4915. PMC 4014716. PMID 24732259.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Nunnally, Brian K.; Turula, Vincent E.; Sitrin, Robert D., บ.ก. (2015). Vaccine Analysis: Strategies, Principles, and Control (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). doi:10.1007/978-3-662-45024-6. ISBN 978-3-662-45023-9. S2CID 39542692.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 Hanley, Kathryn A. (December 2011). "The double-edged sword: How evolution can make or break a live-attenuated virus vaccine". Evolution. 4 (4): 635–643. doi:10.1007/s12052-011-0365-y. ISSN 1936-6426. PMC 3314307. PMID 22468165.
- ↑ Nogales, Aitor; Martínez-Sobrido, Luis (2016-12-22). "Reverse Genetics Approaches for the Development of Influenza Vaccines". International Journal of Molecular Sciences. 18 (1): 20. doi:10.3390/ijms18010020. ISSN 1422-0067. PMC 5297655. PMID 28025504.
- ↑ Hoffmann, Erich; Krauss, Scott; Perez, Daniel; Webby, Richard; Webster, Robert (2002). "Eight-plasmid system for rapid generation of influenza virus vaccines" (PDF). Vaccine. 20: 3165–3170.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Gentry, GA (1992). "Viral thymidine kinases and their relatives". Pharmacology & Therapeutics. 54 (3): 319–55. doi:10.1016/0163-7258(92)90006-L. PMID 1334563.
- ↑ "Immunology and Vaccine-Preventable Diseases" (PDF). CDC.
- ↑ Xiong, Kun; Zhu, Chunyue; Chen, Zhijin; Zheng, Chunping; Tan, Yong; Rao, Xiancai; Cong, Yanguang (2017-04-24). "Vi Capsular Polysaccharide Produced by Recombinant Salmonella enterica Serovar Paratyphi A Confers Immunoprotection against Infection by Salmonella enterica Serovar Typhi". Frontiers in Cellular and Infection Microbiology. 7: 135. doi:10.3389/fcimb.2017.00135.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 Herzog, Christian (2014). "Influence of parenteral administration routes and additional factors on vaccine safety and immunogenicity: a review of recent literature". Expert Review of Vaccines (ภาษาอังกฤษ). 13 (3): 399–415. doi:10.1586/14760584.2014.883285. ISSN 1476-0584. PMID 24512188. S2CID 46577849.
- ↑ Gasparini, R.; Amicizia, D.; Lai, P. L.; Panatto, D. (2011). "Live attenuated influenza vaccine--a review". Journal of Preventive Medicine and Hygiene. 52 (3): 95–101. ISSN 1121-2233. PMID 22010534.
- ↑ Morrow, W. John W. (2012). Vaccinology : Principles and Practice. Sheikh, Nadeem A., Schmidt, Clint S., Davies, D. Huw. Hoboken: John Wiley & Sons. ISBN 978-1-118-34533-7. OCLC 795120561.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 "MODULE 2 - Live attenuated vaccines (LAV) - WHO Vaccine Safety Basics". vaccine-safety-training.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-12. สืบค้นเมื่อ 2020-11-16.
- ↑ "U.S. Vaccine Safety - Overview, History, and How It Works | CDC". www.cdc.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-09-09. สืบค้นเมื่อ 2020-11-16.
- ↑ 20.0 20.1 Yadav, Dinesh K.; Yadav, Neelam; Khurana, Satyendra Mohan Paul (2014-01-01), Verma, Ashish S.; Singh, Anchal (บ.ก.), "Chapter 26 - Vaccines: Present Status and Applications", Animal Biotechnology (ภาษาอังกฤษ), San Diego: Academic Press, pp. 491–508, doi:10.1016/b978-0-12-416002-6.00026-2, ISBN 978-0-12-416002-6, สืบค้นเมื่อ 2020-11-16
- ↑ 21.0 21.1 Sobh, Ali; Bonilla, Francisco A. (Nov 2016). "Vaccination in Primary Immunodeficiency Disorders". The Journal of Allergy and Clinical Immunology: In Practice (ภาษาอังกฤษ). 4 (6): 1066–1075. doi:10.1016/j.jaip.2016.09.012. PMID 27836056.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 Su, John R.; Duffy, Jonathan; Shimabukuro, Tom T. (2019), "Vaccine Safety", Vaccinations (ภาษาอังกฤษ), Elsevier, pp. 1–24, doi:10.1016/b978-0-323-55435-0.00001-x, ISBN 978-0-323-55435-0, สืบค้นเมื่อ 2020-11-17
- ↑ 23.0 23.1 23.2 Plotkin, Stanley (2014-08-26). "History of vaccination". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 111 (34): 12283–12287. Bibcode:2014PNAS..11112283P. doi:10.1073/pnas.1400472111. ISSN 1091-6490. PMC 4151719. PMID 25136134.
- ↑ Eyler, John M. (October 2003). "Smallpox in history: the birth, death, and impact of a dread disease". Journal of Laboratory and Clinical Medicine. 142 (4): 216–220. doi:10.1016/s0022-2143(03)00102-1. ISSN 0022-2143. PMID 14625526.
- ↑ Thèves, Catherine; Crubézy, Eric; Biagini, Philippe (2016-09-15), Drancourt; Raoult (บ.ก.), "History of Smallpox and Its Spread in Human Populations", Paleomicrobiology of Humans (ภาษาอังกฤษ), American Society of Microbiology, vol. 4 no. 4, pp. 161–172, doi:10.1128/microbiolspec.poh-0004-2014, ISBN 978-1-55581-916-3, PMID 27726788, สืบค้นเมื่อ 2020-11-14
- ↑ 26.0 26.1 26.2 26.3 Galinski, Mark S.; Sra, Kuldip; Haynes, John I.; Naspinski, Jennifer (2015), Nunnally, Brian K.; Turula, Vincent E.; Sitrin, Robert D. (บ.ก.), "Live Attenuated Viral Vaccines", Vaccine Analysis: Strategies, Principles, and Control (ภาษาอังกฤษ), Berlin, Heidelberg: Springer, pp. 1–44, doi:10.1007/978-3-662-45024-6_1, ISBN 978-3-662-45024-6, สืบค้นเมื่อ 2020-11-14
- ↑ Minor, Philip D. (2015-05-01). "Live attenuated vaccines: Historical successes and current challenges". Virology (ภาษาอังกฤษ). 479–480: 379–392. doi:10.1016/j.virol.2015.03.032. ISSN 0042-6822. PMID 25864107.
- ↑ 28.0 28.1 Schwartz, M. (2008-07-07). "The life and works of Louis Pasteur". Journal of Applied Microbiology. 91 (4): 597–601. doi:10.1046/j.1365-2672.2001.01495.x. ISSN 1364-5072. PMID 11576293. S2CID 39020116.
- ↑ 29.0 29.1 Frierson, J. Gordon (June 2010). "The Yellow Fever Vaccine: A History". The Yale Journal of Biology and Medicine. 83 (2): 77–85. ISSN 0044-0086. PMC 2892770. PMID 20589188.
- ↑ Shampo, Marc A.; Kyle, Robert A.; Steensma, David P. (July 2011). "Albert Sabin—Conqueror of Poliomyelitis". Mayo Clinic Proceedings. 86 (7): e44. doi:10.4065/mcp.2011.0345. ISSN 0025-6196. PMC 3127575. PMID 21719614.
- ↑ Newman, Laura (2005-04-30). "Maurice Hilleman". BMJ : British Medical Journal. 330 (7498): 1028. doi:10.1136/bmj.330.7498.1028. ISSN 0959-8138. PMC 557162.
- ↑ Katz, S. L. (2009). "John F. Enders and measles virus vaccine--a reminiscence". Current Topics in Microbiology and Immunology. 329: 3–11. doi:10.1007/978-3-540-70523-9_1. ISBN 978-3-540-70522-2. ISSN 0070-217X. PMID 19198559.
- ↑ Plotkin, Stanley A. (2006-11-01). "The History of Rubella and Rubella Vaccination Leading to Elimination". Clinical Infectious Diseases (ภาษาอังกฤษ). 43 (Supplement_3): S164–S168. doi:10.1086/505950. ISSN 1058-4838. PMID 16998777.
- ↑ 34.0 34.1 34.2 34.3 34.4 34.5 34.6 Yadav, Dinesh K.; Yadav, Neelam; Khurana, Satyendra Mohan Paul (2014), "Vaccines", Animal Biotechnology (ภาษาอังกฤษ), Elsevier, pp. 491–508, doi:10.1016/b978-0-12-416002-6.00026-2, ISBN 978-0-12-416002-6, สืบค้นเมื่อ 2020-11-09
- ↑ 35.0 35.1 35.2 35.3 Vetter, Volker; Denizer, Gülhan; Friedland, Leonard R.; Krishnan, Jyothsna; Shapiro, Marla (2018-02-17). "Understanding modern-day vaccines: what you need to know". Annals of Medicine. 50 (2): 110–120. doi:10.1080/07853890.2017.1407035. ISSN 0785-3890. PMID 29172780. S2CID 25514266.
- ↑ Minor, Philip D. (May 2015). "Live attenuated vaccines: Historical successes and current challenges". Virology. 479–480: 379–392. doi:10.1016/j.virol.2015.03.032. ISSN 1096-0341. PMID 25864107.
- ↑ Mak, Tak W.; Saunders, Mary E. (2006-01-01), Mak, Tak W.; Saunders, Mary E. (บ.ก.), "23 - Vaccines and Clinical Immunization", The Immune Response (ภาษาอังกฤษ), Burlington: Academic Press, pp. 695–749, ISBN 978-0-12-088451-3, สืบค้นเมื่อ 2020-11-14
- ↑ Benn, Christine S.; Netea, Mihai G.; Selin, Liisa K.; Aaby, Peter (September 2013). "A small jab - a big effect: nonspecific immunomodulation by vaccines". Trends in Immunology. 34 (9): 431–439. doi:10.1016/j.it.2013.04.004. PMID 23680130.
- ↑ Shimizu, H; Thorley, B; Paladin, FJ; และคณะ (December 2004). "Circulation of type 1 vaccine-derived poliovirus in the Philippines in 2001". J. Virol. 78 (24): 13512–21. doi:10.1128/JVI.78.24.13512-13521.2004. PMC 533948. PMID 15564462.
- ↑
Kroger, Andrew T; Sumaya, Ciro V; Pickering, Larry K; Atkinson, William L (2011-01-28). "General Recommendations on Immunization: Recommendations of the Advisory Committee on Immunization Practices (ACIP)". Morbidity and Mortality Weekly Report (MMWR). Centers for Disease Control and Prevention. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
{{cite news}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Cheuk, Daniel KL; Chiang, Alan KS; Lee, Tsz Leung; Chan, Godfrey CF; Ha, Shau Yin (2011-03-16). "Vaccines for prophylaxis of viral infections in patients with hematological malignancies". Cochrane Database of Systematic Reviews (3): CD006505. doi:10.1002/14651858.cd006505.pub2. ISSN 1465-1858. PMID 21412895.
- ↑ Levine, Myron M. (2011-12-30). ""IDEAL" vaccines for resource poor settings". Vaccine. Smallpox Eradication after 30 Years: Lessons, Legacies and Innovations (ภาษาอังกฤษ). 29: D116–D125. doi:10.1016/j.vaccine.2011.11.090. ISSN 0264-410X. PMID 22486974.
- ↑ Donegan, Sarah; Bellamy, Richard; Gamble, Carrol L (2009-04-15). "Vaccines for preventing anthrax". Cochrane Database of Systematic Reviews (2): CD006403. doi:10.1002/14651858.cd006403.pub2. ISSN 1465-1858. PMC 6532564. PMID 19370633.
- ↑ Harris, Jason B (2018-11-15). "Cholera: Immunity and Prospects in Vaccine Development". The Journal of Infectious Diseases. 218 (Suppl 3): S141–S146. doi:10.1093/infdis/jiy414. ISSN 0022-1899. PMC 6188552. PMID 30184117.
- ↑ Verma, Shailendra Kumar; Tuteja, Urmil (2016-12-14). "Plague Vaccine Development: Current Research and Future Trends". Frontiers in Immunology. 7: 602. doi:10.3389/fimmu.2016.00602. ISSN 1664-3224. PMC 5155008. PMID 28018363.
- ↑ Odey, Friday; Okomo, Uduak; Oyo-Ita, Angela (2018-12-05). "Vaccines for preventing invasive salmonella infections in people with sickle cell disease". Cochrane Database of Systematic Reviews. 12: CD006975. doi:10.1002/14651858.cd006975.pub4. ISSN 1465-1858. PMC 6517230. PMID 30521695.
- ↑ Schrager, Lewis K.; Harris, Rebecca C.; Vekemans, Johan (2019-02-24). "Research and development of new tuberculosis vaccines: a review". F1000Research. 7: 1732. doi:10.12688/f1000research.16521.2. ISSN 2046-1402. PMC 6305224. PMID 30613395.
- ↑ Meiring, James E; Giubilini, Alberto; Savulescu, Julian; Pitzer, Virginia E; Pollard, Andrew J (2019-11-01). "Generating the Evidence for Typhoid Vaccine Introduction: Considerations for Global Disease Burden Estimates and Vaccine Testing Through Human Challenge". Clinical Infectious Diseases. 69 (Suppl 5): S402–S407. doi:10.1093/cid/ciz630. ISSN 1058-4838. PMC 6792111. PMID 31612941.
- ↑ Jefferson, Tom; Rivetti, Alessandro; Di Pietrantonj, Carlo; Demicheli, Vittorio (2018-02-01). "Vaccines for preventing influenza in healthy children". Cochrane Database of Systematic Reviews. 2: CD004879. doi:10.1002/14651858.cd004879.pub5. ISSN 1465-1858. PMC 6491174. PMID 29388195.
- ↑ Yun, Sang-Im; Lee, Young-Min (2014-02-01). "Japanese encephalitis". Human Vaccines & Immunotherapeutics. 10 (2): 263–279. doi:10.4161/hv.26902. ISSN 2164-5515. PMC 4185882. PMID 24161909.
- ↑ Griffin, Diane E. (2018-03-01). "Measles Vaccine". Viral Immunology. 31 (2): 86–95. doi:10.1089/vim.2017.0143. ISSN 0882-8245. PMC 5863094. PMID 29256824.
- ↑ Su, Shih-Bin; Chang, Hsiao-Liang; Chen, And Kow-Tong (2020-03-05). "Current Status of Mumps Virus Infection: Epidemiology, Pathogenesis, and Vaccine". International Journal of Environmental Research and Public Health. 17 (5): 1686. doi:10.3390/ijerph17051686. ISSN 1660-4601. PMC 7084951. PMID 32150969.
- ↑ "Observed Rate of Vaccine Reactions - Measles, Mumps and Rubella Vaccines" (PDF). World Health Organization Information Sheet. May 2014.
- ↑ 54.0 54.1 Di Pietrantonj, Carlo; Rivetti, Alessandro; Marchione, Pasquale; Debalini, Maria Grazia; Demicheli, Vittorio (2020-04-20). "Vaccines for measles, mumps, rubella, and varicella in children". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 4: CD004407. doi:10.1002/14651858.CD004407.pub4. ISSN 1469-493X. PMC 7169657. PMID 32309885.
- ↑ Bandyopadhyay, Ananda S.; Garon, Julie; Seib, Katherine; Orenstein, Walter A. (2015). "Polio vaccination: past, present and future". Future Microbiology. 10 (5): 791–808. doi:10.2217/fmb.15.19. ISSN 1746-0921. PMID 25824845.
- ↑ Bruijning-Verhagen, Patricia; Groome, Michelle (July 2017). "Rotavirus Vaccine: Current Use and Future Considerations". The Pediatric Infectious Disease Journal. 36 (7): 676–678. doi:10.1097/INF.0000000000001594. ISSN 1532-0987. PMID 28383393. S2CID 41278475.
- ↑ Lambert, Nathaniel; Strebel, Peter; Orenstein, Walter; Icenogle, Joseph; Poland, Gregory A. (2015-06-06). "Rubella". Lancet. 385 (9984): 2297–2307. doi:10.1016/S0140-6736(14)60539-0. ISSN 0140-6736. PMC 4514442. PMID 25576992.
- ↑ Voigt, Emily A.; Kennedy, Richard B.; Poland, Gregory A. (September 2016). "Defending against smallpox: a focus on vaccines". Expert Review of Vaccines. 15 (9): 1197–1211. doi:10.1080/14760584.2016.1175305. ISSN 1744-8395. PMC 5003177. PMID 27049653.
- ↑ Marin, Mona; Marti, Melanie; Kambhampati, Anita; Jeram, Stanley M.; Seward, Jane F. (2016-03-01). "Global Varicella Vaccine Effectiveness: A Meta-analysis". Pediatrics. 137 (3): e20153741. doi:10.1542/peds.2015-3741. ISSN 1098-4275. PMID 26908671. S2CID 25263970.
- ↑ Monath, Thomas P.; Vasconcelos, Pedro F. C. (March 2015). "Yellow fever". Journal of Clinical Virology. 64: 160–173. doi:10.1016/j.jcv.2014.08.030. ISSN 1873-5967. PMID 25453327.
- ↑ Schmader, Kenneth (2018-08-07). "Herpes Zoster". Annals of Internal Medicine. 169 (3): ITC19–ITC31. doi:10.7326/AITC201808070. ISSN 1539-3704. PMID 30083718. S2CID 51926613.
- ↑ Mirhoseini, Ali; Amani, Jafar; Nazarian, Shahram (April 2018). "Review on pathogenicity mechanism of enterotoxigenic Escherichia coli and vaccines against it". Microbial Pathogenesis. 117: 162–169. doi:10.1016/j.micpath.2018.02.032. ISSN 1096-1208. PMID 29474827.
- ↑ Kubinski, Mareike; Beicht, Jana; Gerlach, Thomas; Volz, Asisa; Sutter, Gerd; Rimmelzwaan, Guus F. (2020-08-12). "Tick-Borne Encephalitis Virus: A Quest for Better Vaccines against a Virus on the Rise". Vaccines. 8 (3): 451. doi:10.3390/vaccines8030451. ISSN 2076-393X. PMC 7564546. PMID 32806696.