วัคซีนไข้เหลือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัคซีนโรคไข้เหลือง เป็นวัคซีนสำหรับป้องกันไข้เหลือง[1] ไข้เหลืองเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่พบในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ ประมาณ 99% ของผู้ที่ได้รับวัคซีนจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ภายในหนึ่งเดือนและดูเหมือนว่าภูมิค้มกันนี้จะมีผลไปตลอดชีวิต วัคซีนนี้สามารถใช้เพื่อควบคุมการระบาดของโรคได้ วิธีการให้วัคซีนคือการฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง[1]

องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้มีการให้วัคซีนตามกำหนดการให้วัคซีนในทุกประเทศที่พบโรคนี้ได้ทั่วไป โดยทั่วไปคือเมื่อทารกอายุระหว่างเก้าถึงสิบสองเดือน ผู้ที่เดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคก็ควรจะเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเช่นกัน[1] ซึ่งโดยมากไม่จำเป็นต้องให้วัคซีนเพิ่มอีกหลังจากการได้รับวัคซีนครั้งแรก[2]

โดยทั่วไปวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลืองเป็นวัคซีนที่ปลอดภัย ซึ่งรวมถึงสำหรับผู้ที่ติดเชื้อ HIV แต่ไม่มีอาการของโรค ผลข้างเคียงเล็กน้อยอาจได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน มีไข้ และเกิดผื่นผิวหนัง การแพ้ขั้นรุนแรงจากการฉีดวัคซีนพบได้เพียงแปดรายจากหนึ่งล้านรายเท่านั้น อาการทางประสาทขั้นรุนแรงนั้นเกิดขึ้นในสี่รายจากหนึ่งล้านราย และอาการอวัยวะล้มเหลวเกิดขึ้นในสามรายจากหนึ่งล้านราย และมีแนวโน้มว่ามีความปลอดภัยสำหรับผู้ที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ และดังนั้นจึงแนะนำให้ใช้ในกลุ่มผู้ที่อาจติดเชื้อ[1] แต่ไม่ควรให้วัคซีนแก่ผู้ที่มีการกดการทำงานของภูมิคุ้มกัน[3]

วัคซีนโรคไข้เหลืองมีการใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2526[4] วัคซีนนี้อยู่ในทะเบียนยาที่จำเป็นขององค์การอนามัยโลก โดยเป็นยารักษาโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดซึ่งจำเป็นต่อระบบสุขภาพขั้นพื้นฐาน[5] นับตั้งแต่ปี 2557 ราคาขายส่งของวัคซีนนี้อยู่ที่ระหว่าง 4.30 ถึง 21.30 เหรียญสหรัฐฯ[6] ราคาในสหรัฐอเมริกาคือตั้งแต่ 50 ถึง 100 เหรียญสหรัฐฯ[7] วัคซีนนี้ผลิตจากเชื้อไวรัสของโรคไข้เหลืองซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Vaccines and vaccination against yellow fever. WHO position paper -- June 2013" (PDF). Releve epidemiologique hebdomadaire / Section d'hygiene du Secretariat de la Societe des Nations = Weekly epidemiological record / Health Section of the Secretariat of the League of Nations. 88 (27): 269–83. 5 July 2013. PMID 23909008.
  2. Staples, JE; Bocchini JA, Jr; Rubin, L; Fischer, M; Centers for Disease Control and Prevention, (CDC) (19 June 2015). "Yellow Fever Vaccine Booster Doses: Recommendations of the Advisory Committee on Immunization Practices, 2015". MMWR. Morbidity and mortality weekly report. 64 (23): 647–50. PMID 26086636.
  3. "Yellow Fever Vaccine". CDC. December 13, 2011. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.
  4. Norrby E (November 2007). "Yellow fever and Max Theiler: the only Nobel Prize for a virus vaccine". J. Exp. Med. 204 (12): 2779–84. doi:10.1084/jem.20072290. PMC 2118520. PMID 18039952.
  5. "WHO Model List of EssentialMedicines" (PDF). World Health Organization. October 2013. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
  6. "Vaccine, Yellow Fever". International Drug Price Indicator Guide. สืบค้นเมื่อ 6 December 2015.[ลิงก์เสีย]
  7. Hamilton, Richart (2015). Tarascon Pocket Pharmacopoeia 2015 Deluxe Lab-Coat Edition. Jones & Bartlett Learning. p. 318. ISBN 9781284057560.