อหิวาตกโรค
อหิวาตกโรค (Cholera) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Asiatic cholera, epidemic cholera[1] |
![]() | |
ผู้ป่วยอหิวาตกโรคมีภาวะขาดน้ำรุนแรง เห็นได้จากมีตาลึกโหล มือเหี่ยวแห้ง | |
สาขาวิชา | Infectious disease |
อาการ | Large amounts of watery diarrhea, vomiting, muscle cramps[2][3] |
ภาวะแทรกซ้อน | Dehydration, electrolyte imbalance[2] |
การตั้งต้น | 2 hours to 5 days after exposure[3] |
ระยะดำเนินโรค | A few days[2] |
สาเหตุ | Vibrio cholerae spread by fecal-oral route[2][4] |
ปัจจัยเสี่ยง | Poor sanitation, not enough clean drinking water, poverty[2] |
วิธีวินิจฉัย | Stool test[2] |
การป้องกัน | Improved sanitation, clean water, hand washing, cholera vaccines[2][5] |
การรักษา | Oral rehydration therapy, zinc supplementation, intravenous fluids, antibiotics[2][6] |
ความชุก | 3–5 million people a year[2] |
การเสียชีวิต | 28,800 (2015)[7] |
อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า[8] (อังกฤษ: cholera) คือ โรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae ที่ลำไส้เล็ก ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียนเป็นหลัก เรียกว่า "ลงราก" จึงเรียกโรคนี้ว่า "โรคลงราก" ก็มี และถ้าเกิดแก่สัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ วัว ควาย เรียก "กลี" ร่างกายจะขับน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก ในผู้ป่วยรุนแรงอาจทำให้มีผิวสีออกเทา-น้ำเงินได้ การแพร่เชื้อเกิดขึ้นจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ติดเชื้อเป็นหลัก ซึ่งผู้นั้นแม้ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้
ความรุนแรงของอาการท้องร่วงและอาเจียนสามารถนำไปสู่ภาวะขาดน้ำและเสียสมดุลเกลือแร่อย่างรวดเร็ว กระทั่งเสียชีวิตในบางราย การรักษาหลักคือการชดเชยสารน้ำโดยการกิน ซึ่งมักทำโดยให้ดื่มสารละลายชดเชยการขาดน้ำและเกลือแร่ ถ้าไม่ได้ผลหรือได้ผลเร็วไม่เพียงพอหรือดื่มไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ สำหรับผู้ป่วยบางรายที่เป็นรุนแรงอาจใช้ยาปฏิชีวนะช่วยเพื่อลดระยะเวลาและความรุนแรงของการป่วย
พ.ศ. 2553 มีผู้ป่วยอหิวาตกโรคทั่วโลกประมาณ 3-5 ล้านคน เสียชีวิตประมาณ 100,000-130,000 คนต่อปี โรคนี้เป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อโรคแรก ๆ ที่มีการศึกษาด้วยวิธีทางระบาดวิทยา
สาเหตุ[แก้]

เกิดจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า วิบริโอ คอเลอเร (Vibrio Cholerae) sero group O1, หรือ O139, biotypes Classical และ เอลเทอร์ (EL Tor) วิบริโอ El Tor แต่ละ biotype มี serotypes inaba, Ogawa และ Hikojima (พบน้อยมาก)
การถ่ายทอดโรค[แก้]
โดยการกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรค หรือพิษของเชื้ออหิวาตกโรคปะปนอยู่ เช่น อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารสุกๆ ดิบๆ ซึ่งเกิดจากการจากอุจจาระหรืออาเจียนของผู้ป่วย แพร่กระจายอยู่ในอาหารและน้ำดื่ม โดยมีแมลงวันเป็นพาหะนำโรค
ระยะเวลาฟักตัว[แก้]
ผู้ที่ได้รับเชื้อ จะเกิดอาการได้ตั้งแต่ 24 ชั่วโมง ถึง 5 วัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะเกิดอาการภายใน 1 - 2 วัน
อาการ[แก้]
- เป็นอย่างไม่รุนแรง พวกนี้มักหายภายใน 1 วัน หรืออย่างช้า 5 วัน มีอาการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ วันละหลายครั้ง แต่จำนวนอุจจาระไม่เกินวันละ 1 ลิตร ในผู้ใหญ่อาจมีปวดท้องหรือ คลื่นไส้อาเจียนได้
- เป็นอย่างรุนแรง อาการระยะแรก มีท้องเดิน มีเนื้ออุจจาระมาก ต่อมามีลักษณะเป็นน้ำซาวข้าว เพราะว่ามีมูกมาก มีกลิ่นเหม็นคาว ถ่ายอุจจาระได้โดยไม่มีอาการปวดท้อง บางครั้งไหลพุ่งออกมาโดยไม่รู้สึกตัว มีอาเจียนโดยไม่คลื่นไส้ อุจจาระออกมากถึง 1 ลิตร ต่อชั่วโมง และจะหยุดเองใน 1 - 6 วัน ถ้าได้น้ำและเกลือแร่ชดเชยอย่างเพียงพอ แต่ถ้าได้น้ำและเกลือแร่ทดแทนไม่ทันกับที่เสียไป จะมีอาการขาดน้ำอย่างมาก ลุกนั่งไม่ไหว ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีเลย อาจมีอาการเป็นลม หน้ามืด จนถึงช็อค ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดอาการท้องเสีย[แก้]
- งดอาหารที่มีรสจัดหรือเผ็ดร้อน หรือ ของหมักดอง
- ดื่มน้ำชาแก่แทนน้ำ บางรายต้องงดอาหารชั่วคราว เพื่อลดการระคายเคืองในลำไส้
- ดื่มน้ำเกลือผง สลับกับน้ำต้มสุก ถ้าเป็นเด็กเล็กควรปรึกษาแพทย์
- ถ้าท้องเสียอย่างรุนแรง ต้องรีบนำส่งแพทย์ด่วน
การป้องกัน[แก้]
- รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ และดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก ภาชนะที่ใส่อาหารควรล้างสะอาด ทุกครั้งก่อนใช้ หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง สุก ๆ ดิบ ๆ อาหารที่ปรุงทิ้งไว้นาน ๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม
- ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนกินอาหาร หรือก่อนปรุงอาหาร และหลังขับถ่าย
- ไม่เทอุจจาระ ปัสสาวะและสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำลำคลอง หรือทิ้งเรื่ยราด ต้องถ่ายลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ และกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยการเผาหรือฝังดิน เพื่อป้องกันการแพร่ของเชื้อโรค
- ระวังไม่ให้น้ำเข้าปาก เมื่อลงเล่นหรืออาบน้ำในลำคลอง
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นอหิวาตกโรค
- สำหรับผู้ที่สัมผัสโรคนี้ ควรรับประทานยาที่แพทย์ให้จนครบ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อtextbook
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อWHO2010
- ↑ 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCDC2015Pro
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อFink2016
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อLancet2012
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCDC2014Zinc
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGBD2015De
- ↑ อัลบี, ซาร่าห์. ธวัชชัย ดุลยสุจริต, แปล. อึ เล่าประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : มติชน, 2554. ISBN 978-974-02-0847-1. หน้า 130.
- Colwell RR (1996). "Global climate and infectious disease: the cholera paradigm". Science. 274 (5295): 2025–31. doi:10.1126/science.274.5295.2025. PMID 8953025.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help) - Drasar, B. S.; Forrest, Bruce D., บ.ก. (1996). Cholera and the ecology of Vibrio cholerae. Springer. p. 355. ISBN 0412612208.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Furuque, Shah M.; Nair, G. Balakrish, บ.ก. (2008). Vibrio Cholerae: Genomics and Molecular Biology. Horizon Scientific Press. p. 218. ISBN 1904455336.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Jermyn, William S.; O'Shea, Yvonne A.; Quirke, Anne Marie; Boyd, E. Fidelma (2006). "Genomics and the Evolution of Pathogenic Vibrio Cholerae". ใน Chan, Voon L.; Sherman, Philip M.; Bourke, Billy (บ.ก.). Bacterial genomes and infectious diseases. Humana Press. p. 270. ISBN 158829496X.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Mintz ED, Guerrant RL (2009). "A lion in our village--the unconscionable tragedy of cholera in Africa". N. Engl. J. Med. 360 (11): 1060–3. doi:10.1056/NEJMp0810559. PMID 19279337.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help) - Pardio Sedas, Violeta T. (2008). "Impact of Climate and Environmental Factors on the Epidemiology of Vibrio choerae in Aquatic Ecosystems". ใน Hofer, Tobias N. (บ.ก.). Marine Pollution: New Research. Nova Science publishers. p. 448. pp. 221–254. ISBN 1604562420.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Ryan, Kenneth J.; Ray, C. George, บ.ก. (2003). Sherris medical microbiology: an introduction to infectious diseases (4th ed.). ISBN 0838585299.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|unused_data=
ถูกละเว้น (help) - Wachsmuth, Kaye; Blake, Paul A.; Olsvik, Ørjan, บ.ก. (1994). Vibrio cholerae and cholera: molecular to global perspectives. ASM Press. p. 465. ISBN 1555810675.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help)
หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]
- Crump JA, Bopp CA, Greene KD; และคณะ (2003). "Toxigenic Vibrio cholerae serogroup O141-associated cholera-like diarrhea and bloodstream infection in the United States". J. Infect. Dis. 187 (5): 866–8. doi:10.1086/368330. PMID 12599062.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help); ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน|author=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - Steinberg EB, Greene KD, Bopp CA, Cameron DN, Wells JG, Mintz ED (2001). "Cholera in the United States, 1995-2000: trends at the end of the twentieth century". J. Infect. Dis. 184 (6): 799–802. doi:10.1086/322989. PMID 11517445.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: อหิวาตกโรค |
- "อหิวาตกโรค: คำถามที่ถามกันบอย." ( Archived 2012-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) - Centers for Disease Control and Prevention
- Cholera Archived 2020-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - World Health Organization (อังกฤษ)
- Map of recent international outbreaks (อังกฤษ)
- What is Cholera? - Centers for Disease Control and Prevention (อังกฤษ)
- Cholera information for travelers - Centers for Disease Control and Prevention (อังกฤษ)
- Steven Shapin, "Sick City: Maps and mortality in the time of cholera", The New Yorker May 2006. A review of Steven Johnson, “The Ghost Map: The story of London’s most terrifying epidemic — and how it changed science, cities, and the modern world” (อังกฤษ)
- Cholera Epidemic in NYC in 1832 New York Times 15 April 2008 (อังกฤษ)
- The Cholera Timebomb in The DRC - slideshow by The First Post (อังกฤษ)
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
![]() |
บทความเกี่ยวกับแพทยศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:แพทยศาสตร์ |