ข้ามไปเนื้อหา

เอทีอาร์ (รถดีเซลราง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอทีอาร์ (ATR)
รถดีเซลรางเอทีอาร์ ที่สถานีกรุงเทพ
ประจำการพ.ศ. 2528 - ปัจจุบัน
ผู้ผลิตโตกิวคาร์ คอร์เปอเรชัน, ประเทศญี่ปุ่น
เข้าประจำการพ.ศ. 2528
จำนวนที่ผลิต12 คัน
จำนวนในประจำการ11 คัน
จำนวนที่ปลดระวาง1 คัน
หมายเลขตัวรถกซม.ป.2101 - 2112
ความจุผู้โดยสาร62 ที่นั่ง/คัน
โรงซ่อมบำรุงโรงรถดีเซลรางกรุงเทพ, โรงรถดีเซลรางสมุทรสาคร (สายวงเวียนใหญ่—มหาชัย)
สายที่ให้บริการสายตะวันออก, สายตะวันออกเฉียงเหนือ, สายชานเมืองแม่กลอง(สายวงเวียนใหญ่—มหาชัย), สายใต้ (เฉพาะขบวนรถพิเศษนำเที่ยว)
คุณลักษณะ
วัสดุตัวถังสแตนเลสสตีล
ความยาว20.800 เมตร
ความกว้าง2.815 เมตร
ความสูง3.730 เมตร
จำนวนประตู4 ประตู (แบบบานเดียว)
รูปแบบการจัดวางล้อ1A-2
ความเร็วสูงสุด100 กม./ชม.[1]
น้ำหนัก36.28 ตัน[2]
น้ำหนักกดเพลา9.7 ตัน
เครื่องยนต์Cummins N855-R2
กำลังขับเคลื่อน235 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที
แรงฉุดลากไฮดรอลิก
ชุดส่งกำลังVoith T211R
ระบบปรับอากาศMitsubishi CU41
ระบบเบรกลมอัด 2 สูบ
มาตรฐานทางกว้าง1.000 เมตร


เอทีอาร์ (ATR) (อังกฤษ: Air conditioner Tokyu Railcar) เป็นรถดีเซลรางปรับอากาศแบบไม่มีห้องขับ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย สั่งซื้อจากบริษัท โตกิวคาร์ คอร์เปอเรชัน, ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 [3][4] เพื่อนำมาวิ่งเป็นขบวนรถด่วนดีเซลรางปรับอากาศ โดยใช้งานร่วมกับรถดีเซลรางทีเอชเอ็น (THN) และ เอ็นเคเอฟ (NKF) โดยเฉพาะ[5]

ประวัติ

[แก้]

หลังจากการใช้งานรถดีเซลรางรุ่นต่าง ๆ ในการทำขบวนรถชานเมือง รถโดยสารระยะสั้น เป็นที่น่าพึงพอใจ เนื่องจากมีความคล่องตัวในการใช้งาน ทำความเร็วได้ดี และ ได้รับความนิยมจากผู้โดยสารมากขึ้น การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงเริ่มมีแนวคิดจัดหารถรถดีเซลรางสำหรับวิ่งทางไกลให้บริการระหว่างเมือง ที่มีระยะทางเกินกว่า 300 กิโลเมตรแบบรถ อินเตอร์ซิตี้ ในต่างประเทศ เพื่อให้สอดคลองกับความนิยมของผู้โดยสารที่มากขึ้น [6]

ในปี พ.ศ.2526 - 2528 จึงได้มีการสั่งซื้อ ทีเอชเอ็น (THN) และ เอ็นเคเอฟ (NKF) เพื่อนำมาใช้งานสำหรับรถชานเมือง และ วิ่งให้บริการระหว่างเมืองมากขึ้น โดยได้สั่งซื้อ เอทีอาร์ (ATR) เข้ามาด้วยในปี พ.ศ. 2528 เพื่อนำมาใช้วิ่ง"ขบวนรถด่วนดีเซลรางปรับอากาศ" เป็นตัวเลือกในการเดินทางให้ผู้โดยสารในยุคนั้น

โดยขบวนรถด่วนดีเซลรางปรับอากาศที่ใช้ เอทีอาร์ (ATR) ในช่วงแรก มีด้วยกัน 3 เส้นทาง ประกอบด้วย กรุงเทพ-พิษณุโลก, กรุงเทพ-ขอนแก่น, กรุงเทพ-สุรินทร์ โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เปิดประมูลสัมปทานการเดินรถดีเซลรางเอทีอาร์ (ATR) และมีเอกชนหลายบริษัทสนใจประมูลหลายเส้นทาง หลังจากเปิดให้บริการก็เป็นที่นิยมของผู้โดยสารเป็นอย่างมาก

ข้อมูลทั่วไป

[แก้]
  • ประเภท : รถดีเซลรางปรับอากาศแบบไม่มีห้องขับ
  • ชื่อรุ่น : ATR (Air conditioner Tokyu Railcar)
  • รุ่นเลขที่: กซม.ป.2101 - 2112
  • เครื่องยนต์  : Cummins N855-R2
  • กำลังขับเคลื่อน : 235 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที
  • ระบบขับเคลื่อน : ใช้เครื่องถ่ายทอดกำลังแบบไฮดรอลิค (Hydraulic Torque Converter)
  • ความเร็วสูงสุด : 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • ระบบปรับอากาศ Mitsubishi CU41
  • น้ำหนักตัวรถ : 36.28 ตัน (น้ำหนักรถเปล่า) 37.70 ตัน (น้ำหนักขณะทำขบวน)
  • น้ำหนักกดเพลา : 9.7 ตัน
  • ประตูขึ้น-ลงรถ : ประตูอัตโนมัติแบบบานเดียว 4 ประตู ข้างละ 2 ประตู
  • จำนวนที่นั่ง : 62 ที่นั่ง/คัน
  • ผู้ผลิต : โตกิวคาร์ คอร์เปอเรชัน, ประเทศญี่ปุ่น
  • ปีที่เข้าประจำการ: ช่วงวันที่ 10 มิถุนายน - 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2528

การใช้งาน

[แก้]

โดยทั่วไปจะสามารถใช้งานร่วมกับ ทีเอชเอ็น (THN), เอ็นเคเอฟ (NKF) โดยจะพ่วงไว้กลางขบวน แต่ก็ได้มีการดัดแปลงระบบให้สามารถใช้ร่วมกับ รถดีเซลรางอาร์เอช (RH) และ รถดีเซลรางอาร์เอชเอ็น (RHN) ได้อีกด้วย

รถดีเซลรางเอทีอาร์ ใช้งานร่วมเอ็นเคเอฟ

คันที่ถูกตัดบัญชี

[แก้]
  • หมายเลข 2103 ถูกไฟไหม้จนเสียหายทั้งคัน


บริษัทเอกชน ที่เคยได้รับสัมปทานการเดินรถดีเซลรางเอทีอาร์

[แก้]
  • บริษัท แก่นอินน์การท่องเที่ยว จำกัด (พ.ศ. 2528)[7]
  • บริษัท อาณาจักรการท่องเที่ยว/อาณาจักรโฮเต็ล จำกัด (พ.ศ. 2528)[7]
  • บริษัท เชิดชัยดีเซลราง จำกัด (พ.ศ. 2528)[7]
  • บริษัท ยูนิเวิร์สฟู้ดส์ จำกัด แผนกขอนแก่นดีเซลราง (พ.ศ. 2530)[7]

ขบวนรถที่พ่วงรถดีเซลรางเอทีอาร์

[แก้]
  • ขบวนรถด่วนที่ 71/72 กรุงเทพอภิวัฒน์ - อุบลราชธานี - กรุงเทพอภิวัฒน์
  • ขบวนรถด่วนที่ 75/78 กรุงเทพอภิวัฒน์ - หนองคาย - กรุงเทพอภิวัฒน์[a](ปัจจุบันขบวนรถด่วนที่ 78 งดให้บริการชั่วคราว)
  • ขบวนรถด่วนที่ 77/76 กรุงเทพอภิวัฒน์ - หนองคาย - กรุงเทพอภิวัฒน์[b](ปัจจุบันขบวนรถด่วนที่ 77 งดให้บริการชั่วคราว)
  • ขบวนรถเร็วที่ 105/106 กรุงเทพ - ศิลาอาสน์ - กรุงเทพ (ปัจจุบันงดให้บริการชั่วคราว)
  • ขบวนรถพิเศษนำเที่ยวที่ 909/910 กรุงเทพ(หัวลำโพง) - น้ำตกไทรโยคน้อย - กรุงเทพ(หัวลำโพง) (ถ้าใช้รถดีเซลรางทำขบวน)
  • ขบวนรถพิเศษนำเที่ยวที่ 911/912 กรุงเทพ(หัวลำโพง) - สวนสนประดิพัทธ์ - กรุงเทพ(หัวลำโพง)
  • ขบวนรถชานเมืองที่ 389/390 กรุงเทพ(หัวลำโพง) - ชุมทางฉะเชิงเทรา - กรุงเทพ(หัวลำโพง)
  • ขบวนรถชานเมือง สายวงเวียนใหญ่ - มหาชัย (หมายเลข 2101) มีพ่วงใน
    • ขบวน 4320/4322/4324/4326/4328(มหาชัย-วงเวียนใหญ่)
    • ขบวน 4321/4323/4325/4327/4329(วงเวียนใหญ่-มหาชัย)


อ้างอิง

[แก้]
  1. การรถไฟแห่งประเทศไทย. รถจักรและรถพ่วงประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : การรถไฟแห่งประเทศไทย. , พ.ศ.2533, หน้า 126.
  2. การรถไฟแห่งประเทศไทย. รถจักรและรถพ่วง การพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ จากอดีตสู่ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : การรถไฟแห่งประเทศไทย. , พ.ศ.2554, หน้า 78. ISBN 978-974-9848-99-9.
  3. การรถไฟแห่งประเทศไทย. รถจักรและรถพ่วงประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : การรถไฟแห่งประเทศไทย. , พ.ศ.2533, หน้า 126.
  4. การรถไฟแห่งประเทศไทย. รถจักรและรถพ่วง การพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ จากอดีตสู่ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : การรถไฟแห่งประเทศไทย. , พ.ศ.2554, หน้า 78. ISBN 978-974-9848-99-9.
  5. การรถไฟแห่งประเทศไทย. รถจักรและรถพ่วงประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : การรถไฟแห่งประเทศไทย. , พ.ศ.2533, หน้า 126.
  6. การรถไฟแห่งประเทศไทย. รถจักรและรถพ่วงประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : การรถไฟแห่งประเทศไทย. , พ.ศ.2533, หน้า 114.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=330&postdays=0&postorder=asc&start=0

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน