ข้ามไปเนื้อหา

เอชไอดี (รถจักร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
HITACHI 8FA-36C / HID
รถจักรดีเซลไฟฟ้า HID 4517 กำลังวิ่งผ่านสถานีการเคหะ
ประเภทและที่มา
ประเภทเครื่องยนต์รถจักรดีเซลไฟฟ้า
ผู้สร้างฮิตาชิ
หมายเลขตัวรถ4501 – 4522
โมเดล8FA-36C
จำนวนผลิต22 คัน
คุณลักษณะ
การกำหนดค่า:
 • AARCo-Co
ช่วงกว้างราง1,000 mm (3 ft 3 38 in)
เส้นผ่าศูนย์กลางล้อ914 mm (36.0 in)
รัศมีโค้งแคบ156 m (512 ft)
ฐานล้อ3,700 mm (150 in) ต่อ 1 โบกี้
ความยาว19.900 m (783.5 in)
ความกว้าง2.780 m (109.4 in)
ความสูง3.870 m (152.4 in)
น้ำหนักกดเพลา15 ตัน ต่อเพลา (U15)
น้ำหนักเปล่า86.5 ตัน
น้ำหนักทำงาน90 ตัน
ความจุเชื้อเพลิง5,000 ลิตร
ความจุน้ำมันหล่อลื่น265 ลิตร
ความจุน้ำยาหล่อเย็น375 ลิตร
ความจุทราย500 ลิตร
เครื่องยนต์ใหม่: Cummins KTA50-L x 2 (ลดเสตจเทอร์โบ)
เดิม: Cummins KTTA50-L x 2
พิสัยรอบต่อนาที700 - 1800 รอบต่อนาที
ชนิดเครื่องยนต์4 จังหวะ V16 Diesel
Aspirationเทอร์โบชาร์จเจอร์
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสลับHE 43477-04NR x 2
มอเตอร์ลากจูงHS 21241-01R x 6
ขนาดลูกสูบ156mm x 159mm
ระบบเบรคทั้งหมดWestinghouse 18-LAAV-1 (ลมอัด)
Dynamic Brake (ไม่ใช้งานแล้ว)
เครื่องปั้มลมอัดKnorr VV450/150-3 x 2 ที่ 1800 rpm (3200 ลิตร)
ค่าประสิทธิภาพ
ความเร็วสูงสุด100 km/h (62 mph)
กำลังขาออก2,500 แรงม้า (1,900 กิโลวัตต์) ที่ 1,800 รอบต่อนาที
แรงฉุด:
 • เริ่มต้น265 kN (60,000 lbf)
 • ต่อเนื่อง174 kN (39,000 lbf) ที่ 32.1 km/h (20 mph)
การบริการ
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ประจำการครั้งแรกพ.ศ. 2538
ปลดประจำการ1 คัน (4502)
การจัดการประจำการในปัจจุบัน 21 คัน

ฮิตาชิ 8เอฟเอ-36ซี (HITACHI 8FA-36C) หรือ เอชไอดี (HID) มักถูกเรียกสั้น ๆ ด้วยชื่อยี่ห้อว่าฮิตาชิ รถจักร เอชไอดี เป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่นหนึ่งของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่สั่งนำเข้ามาเพื่อใช้ในการทำบวนรถโดยสารและขบวนรถสินค้า โดยสั่งซื้อจาก บริษัท ฮิตาชิ ที่ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2536 จำนวนทัังสิ้น 22 คัน[1]

รถจักร HID หมายเลข 4511 ที่สถานีเมือง ยังคงใช้ตะแกรงแบบดั้งเดิมจากญี่ปุ่น

รถจักร เอชไอดี ในช่วงแรกมีบทบาทกับการรถไฟแห่งประเทศไทยในด้านการทำขบวนรถโดยสารทางไกล เช่น ขบวนรถด่วนพิเศษ CNR ขบวนด่วนพิเศษ ขบวนรถด่วน ขบวนรถเร็ว รถนำเที่ยวในบางโอกาส อีกทั้งยังทำรถสินค้า (ในอดีตเคยทำขบวนรถสินค้า ICD แต่ในภายหลังได้รถจักร CSR และ QSY มาแทนที่) ปัจจุบันรถจักร เอชไอดี ได้ถูกลดบทบาทลงอย่างมาก ตามอายุและสภาพการใช้งานของตัวรถจักร ซึ่งสามารถพบเห็นได้ตามขบวนรถด่วน(บางขบวน) ขบวนรถเร็ว(บางขบวน) ขบวนรถธรรมดา ขบวนรถชานเมือง ขบวนรถท้องถิ่น(บางขบวน) และรถสินค้า(บางขบวน) โดยประเภทขบวนรถทั้งหมดที่ว่ามาขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความจำเป็นในการพร้อมใช้งานเพื่อทำขบวนนั้นๆ ไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด[2]

รถจักร HID หมายเลข 4507 ขณะจอดอยู่หน้าโรงรถจักรบางซื่อ

ติดตั้งระบบ ATP (Automatic Train Protection) สำหรับรถจักร เอชไอดี โดยใช้ระบบ European Train Control System รูปแบบ On board (ECM-Progress Rail, Alstom) ให้กับหมายเลข 4514 4518 4519 4521 4522 ระบบนี้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในประเทศโซนยุโรปซึ่งเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยช่วยลดอุบัติเหตุการตกรางและเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินขบวนรถไฟภายในประเทศและนอกประเทศ ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยมีความสนใจที่จะติดตั้งระบบ ATP นี้ให้กับรถจักรเก่าเช่น Alsthom เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยให้กับหัวรถจักรและขบวนรถ[3][4]

รถจักร HID หมายเลข 4519 จอดชานชาลาที่ 12 (เนื่องจากชานชาลาที่ 1 และ 2 ขัดข้อง) กรุงเทพอภิวัฒน์ ทำ ข.109 ไปเชียงใหม่

รถจักร เอชไอดี เป็นรถจักรที่มี 2 เครื่องยนต์ ใช้เป็น Cummins KTA50-L 4 จังหวะ V16 เครื่องยนต์ดีเซล จำนวน 2 เครื่อง แต่ละเครื่องมีแรงม้า 1,250 แรงม้า เมื่อรวมแล้วจะได้ที่ 2,500 แรงม้า สามารถทำความเร็วได้สูงสุดที่ 100 กม./ชม. แคร่ของรถจักรนี้ มีทั้งหมด 2 แคร่ แต่ละแคร่มี 3 เพลา 6 ล้อ เมื่อนับแค่เพลารวมกันจะได้ 6 เพลา ในแต่ละเพลามีมอเตอร์ลากจูงหรือที่เรียกว่า Traction motor อยู่ทั้งหมดจำนวน 6 ลูก ซึ่งทำหน้าที่ขับเคลื่อนรถจักร เพื่อลากจูงขบวนรถโดยสารและรถสินค้าหนักได้ และเนื่องด้วยรถจักรนี้อายุมากแล้ว เมื่อทำรถสินค้าหนักขึ้นทางตอนภูเขา อาจเกิดอาการเครื่องร้อนได้ง่าย เมื่อเทียบกับรถจักรที่การรถไฟแห่งประเทศไทยมีใช้อยู่ในปัจจุบันเช่น CSR และ QSY เป็นต้น[1]

ในช่วงปี พ.ศ.2559 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดทำสีให้กับรถจักร เอชไอดี สีใหม่เกือบทั้งหมด เพื่อจะได้ลากจูงรถนอน CNR ใหม่ที่พึ่งนำเข้ามา ณ ตอนนั้น ปัจจุบันยังคงมีการทำนุบำรุง ซ่อมแซม และทำสีอยู่เสมอ เพื่อรักษาสภาพรถจักร[5]

รถจักรที่ประสบอุบัติเหตุ

[แก้]
หมายเลข ลักษณะอุบัติเหตุ ขบวนที่ทำ วันที่ สถานที่ ความเสียหาย สถานะปัจจุบัน อ้างอิง
†4502 ชนกับขบวนรถสินค้าน้ำมันที่ 541 (มาบตาพุดอุบลราชธานี) ขบวนรถสินค้าข้าวสารที่ 540 (บ้านเกาะแหลมฉบัง) วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2549 สถานีรถไฟมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ตัวรถ(โครงประธานหลัก) ตัดบัญชี [6]
4508 ชนกับรถบรรทุกแม็คโคร ขบวนรถเร็วที่ 109 (กรุงเทพอภิวัฒน์เชียงใหม่) วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2567 สถานีรถไฟชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ - รอวาระหนัก [7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ข้อมูลรถจักรดีเซลไฟฟ้า (Railway.co.th) เก็บถาวร 2019-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. รฟท.เปิดประมูลซ่อมใหญ่หัวรถจักร "ฮิตาชิ" 21 คัน วงเงิน 777 ล้านบาท เผยสภาพเก่าใช้งานตั้งแต่ปี 36 สืบค้นเมื่อ 2024-12-20
  3. โครงการออกแบบจัดหา และติดตั้งระบบ ATP บนรถจักรจำนวน 70 คัน สืบค้นเมื่อ 2024-12-20
  4. รฟท.ทุ่ม 452 ล้าน ติดตั้งระบบATP หัวรถจักร ลดอุบัติเหตุทางราง สืบค้นเมื่อ 2024-12-20
  5. พาชม Hitachi ทำสีใหม่ เพือให้เข้ากับรถโดยสารชุดใหม่ ที่กำลังจะมาถึง : State Railway of Thailand สืบค้นเมื่อ 2024-12-20
  6. โพสต์ของ รถไฟไทยดอทคอม - Rotfaithai Dot Com สืบค้นเมื่อ 2024-12-20
  7. เผยนาทีพ่วง 18 ล้อ ติดรางนครสวรรค์ รถไฟขบวน ข 109 กทม.-เชียงใหม่ ชนยับ พขร.ดับ 1-เจ็บ 5 สืบค้นเมื่อ 2019-04-13

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]