ครุย
ครุย เป็นเสื้อคลุมประเภทหนึ่ง มีลักษณะหลวม ยาวถึงเข่าหรือทั้งตัว ใช้สวมหรือคลุมทับด้านนอก ทั้งชายและหญิงในยุโรปใส่ครุยกันมาตั้งแต่ยุคกลางตอนต้นจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 เดิมเคยใส่เฉพาะราชสำนักเท่านั้น แต่ปัจจุบันสามารถใช้สวมใส่เพื่อแสดงตำแหน่งฐานะในอาชีพ เช่น ผู้พิพากษา ในวงวิชาการ ครุยยังใช้เพื่อแสดงวิทยฐานะอีกด้วย
ประวัติ
[แก้]ต้นกำเนิดที่แท้จริงของครุยยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด ถึงแม้ว่ามีสมมติฐานน่าเป็นสินค้านำเข้าจากเปอร์เซียและ/หรืออินเดีย[1] บันทึกแรกสุดที่กล่าวถึงมาจากทูตฝรั่งเศสตอนไปพบสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใน ค.ศ. 1685 และตอนทูตสยามไปประเทศฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1686 แสดงภาพพระมหากษัตริย์สยามกับทูตสวมเสื้อผ้าแบบนี้ คำว่าครุยยังคงมีใช้ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตามหลักฐานที่กล่าวถึงในกฎหมายตราสามดวงใน ค.ศ. 1804 ว่าห้ามข้าราชการรุ่นเล็กสวมใส่มันเด็ดขาด[2]
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประมวลครุยเพิ่มให้ใช้ตามพระราชกำหนดใน พ.ศ. 2455 ซึ่งกำหนดประเภทและยศต่าง ๆ ที่ราชวงศ์และข้าราชการมีสิทธิที่จะสวมใส่[3] ต่อมาพระองค์ยังทรงอนุญาตให้ใช้ในชุดวิชาการของโรงเรียนมหาดเล็ก (วชิราวุธวิทยาลัย) ใน ค.ศ. 2456 กับเนติบัณฑิตยสภาประจำสยามใน พ.ศ. 2458[4][5] ต่อมามีการนำมาใช้เป็นชุดจบปริญญาประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2473[6] ตั้งแต่ ค.ศ. 2510 เป็นต้นมา บางมหาวิทยาลัยผลิดครุยเป็นของตนเอง และคำนี้กลายเป็นความหมายของชุดศาลหรือวิชาการทั่วไป
การใช้งาน
[แก้]ตามธรรมเนียม ครุยใช้บ่งบอกสถานะกษัตริย์หรือขุนนาง และสวมใส่เฉพาะผู้ชายเท่านั้น สมาชิกของพระราชวงศ์จะสวมใส่ครั้งแรกในพระราชพิธีโสกันต์ (พิธีโกนจุก)[a] พระมหากษัตริย์จะฉลองพระองค์ในโอกาสพิเศษ เช่น พิธีราชาภิเษก พระราชพิธีต่าง ๆ หรือเมื่อมีแขกพิเศษมาเยี่ยมเยือน[7] นอกจากนี้ เหล่านาค—สามเณรที่เตรียมตัวไปเป็นอุปสมบท—เป็นกลุ่มเดียวที่สามารถสวมครุยได้โดยไม่สนระดับชั้นทางสังคม
รายงานจากพระราชกฤษฎีกาประจำปี 2455 บุคคลมีสิทธิที่จะสวมครุยตามลำดับชั้น ตำแหน่ง หรือตามพระบรมราชานุญาตเพิ่มเติม ตำแหน่งเหล่านี้ได้แก่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าชั้นสามขึ้นไป และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยชั้นสองขึ้นไป ผู้พิพากษาสามารถสวมในเครื่องแบบเต็มยศตามพระราชพิธี; ข้าราชการคนอื่น ๆ สามารถสวมได้ในพิธีที่มีการดำเนินการพิเศษหรือในพิธีจำเพาะ[3][8] ปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนัก ถึงแม้ว่าจะยังคงมีการใช้ครุยในพิธีแรกนาขวัญทุกปีและพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก็ตาม
ปัจจุบัน ครุยสามารถระบุได้ง่ายที่สุดเป็นครุยวิทยฐานะในมหาวิทยาลัยไทยบางแห่ง เช่น จุฬาลงกาณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้นำมาใช้นานและโดดเด่นที่สุด โดยจะสวมทับชุดเดรสมหาวิทยาลัย (มักเป็นราชปะแตนและกางเกงขาวสำหรับผู้ชาย เสื้อเชิ้ตสตรีขาวและกระโปรงสีกรมท่าสำหรับผู้หญิง) โดยไม่มีหมวก สำหรับนักศึกษาวุฒิปริญญาตรี หรือชุดสูทกับเน็คไทสำหรับนักศึกษาวุฒิปริญญาโท
ภาพ
[แก้]ครุยพระราชวงศ์
[แก้]-
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประจำ พ.ศ. 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ทรงฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ และชฎาห้ายอด
-
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาทเชิงงอน ภาพถ่ายในช่วง ค.ศ. 1851
-
ภาพวาดที่มีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์
-
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในฉลองพระองค์ครุยกรองทองในพระราชพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งอยู่ในช่วงเคลื่อนตัวจากพระบรมมหาราชวังไปยังวัดพระแก้วในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493
ครุยตำแหน่ง
[แก้]"ครุยขุนนาง"
[แก้]-
เจ้าพนักงานภูษามาลาที่อยู่บนพระมหาพิชัยราชรถสวมครุยขุนนางกับลอมพอก บนพระมหาพิชัยราชรถประคองพระโกศทองใหญ่ทรงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งกระทำพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555
-
เจ้าพนักงานเคลื่อนพระที่นั่งราเชนทรยานที่เชิญพระอัฐิของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ผ่านราชวัติในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555
-
เจ้าพนักงานเคลื่อนราชรถน้อยนำพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งมีสมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารประทับอ่านพระอภิธรรมอยู่บนนั้น ในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
-
ภาพวาดฝรั่งเศสที่แสดงทูตสยาม รวมโกษาปาน สวมครุยขุนนางและลอมพอก ขณะพบกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1687
-
ภาพวาดฝรั่งเศสที่แสดงทูตสยามสวมครุยขุนนางและลอมพอก ขณะมอบพระราชสาส์นของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแด่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1687
"ครุยเสนามาตย์"
[แก้]-
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในตอนนั้นสวมครุยเสนามาตย์ชั้นเอก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแต่งกายตามประเพณีของข้าราชการพลเรือนสามัญในสมัยโบราณ และปัจจุบันยังคงใช้ในเชิงพิธีอยู่
-
ชัย ชิดชอบสวมครุยเสนามาตย์ชั้นโท ผู้ที่สามารถสวมชุดนี้จะต้องเป็นผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าชั้นแรกหรือชั้นสองเท่านั้น
ครุยวิทยฐานะ
[แก้]-
ครุยวิทยฐานะจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยฉลองพระองค์
-
บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชสวมครุยวิทยฐานะ
-
บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสวมครุยในฐานะครุยและเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัย
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ พิธีโกนจุก เป็นพิธีที่จะทำตอนอายุ 11 หรือ 13 ปี เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าได้เปลี่ยนจากวัยเด็กไปยังวัยรุ่นและผู้ใหญ่แล้ว
อ้างอิง
[แก้]- ↑ มะสะลุม (5 December 2004). "มะงุมมะงาหรา". Osotho. 45 (5). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2012. สืบค้นเมื่อ 25 August 2012.
- ↑ Memorial Hall of Chulalongkorn University (17 March 2011). "ครุย: ความหมายและความเป็นมา (Khrui: meaning and history)". Memorial Hall of Chulalongkorn University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 25 August 2012.
- ↑ 3.0 3.1 "พระราชกำหนดเสื้อครุย" (PDF). Royal Gazette. 28: 141–6. 2 July 1912. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 25 August 2012.
- ↑ Chongkol, Sawat. "ฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก". ของดีหอประวัติ. Memorial Hall of Chulalongkorn University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2012. สืบค้นเมื่อ 25 August 2012.
- ↑ "พระราชกำหนดเสื้อครุยเนติบัณฑิต" (PDF). Royal Gazette. 31: 537–8. 28 February 1915. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-20. สืบค้นเมื่อ 25 August 2012.
- ↑ "พระราชกำหนดเสื้อครุยบัณฑิต ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2473" (PDF). Royal Gazette. 47: 92–5. 6 July 1930. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 25 August 2012.
- ↑ Pakdeecharean, Penluck (7 July 2009). "กรุผ้าโบราณ เผ่าทอง ทองเจือ (Paothong Thongchua's historical clothing collection)". Krungthep Turakij. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-21. สืบค้นเมื่อ 25 August 2012.
- ↑ "พระราชกำหนดเสื้อครุยเพิ่มเติม" (PDF). Royal Gazette. 31: 422–3. 11 November 1914. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 25 August 2012.