เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ในรัชกาลที่ 4
เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ | |
---|---|
เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ในชุดแฟนซีฝรั่ง | |
เกิด | พ.ศ. 2381 |
เสียชีวิต | 8 กันยายน พ.ศ. 2456 (75 ปี) |
คู่สมรส | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
บุตร | • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเจริญรุ่งราษี • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากาญจนากร |
บิดามารดา | นายศัลวิไชย (ทองคำ ณ ราชสีมา) น้อย ปาณิกบุตร |
เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ (บางแห่งสะกดว่า สังวาล)[1][2][3] (สกุลเดิม: ณ ราชสีมา; พ.ศ. 2381 – 8 กันยายน พ.ศ. 2456) เป็นพระสนมโท[2]ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน 3 แรม 2 ค่ำ ปีกุน พ.ศ. 2381 เป็นธิดาของนายศัลวิไชย (ทองคำ ณ ราชสีมา) กับน้อย ศัลยวิชัย (สกุลเดิม ปาณิกบุตร)[2]
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ท่านป้าของท่านซึ่งก็คือธิดาของเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน ณ ราชสีมา) จึงนำท่านมาถวายตัวเข้ารับราชการฝ่ายใน โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเรียกท่านว่า "หนูสังวาลย์" [4] มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 4 พระองค์ คือ
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเจริญรุ่งราษี
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากาญจนากร
เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ มีอาการป่วยเป็นโรคบิด ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อเวลา 15.35 น. วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2456 ที่วัง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ สิริอายุ 75 ปี ต่อมาในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2456 เวลา 16.00 น.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปยังวังของกรมหลวงสรรพสาสตรศุภกิจเพื่อพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ [5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า [6]
- เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2 (ม.ป.ร.2)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เรื่องนางนพมาศ หรือ ตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม, กรมหลวงสรรพศาตรศุภกิจ และพระองค์เจ้ากาญจนากร พิมพ์แจกในงานศพเจ้าจอมมารดาสังวาล รัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๕๗
- ↑ 2.0 2.1 2.2 กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 58. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2014-03-14.
- ↑ ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์. 2554, หน้า 305
- ↑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. คาถาพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามพระราชโอรสธิดา. พระนคร:ราชบัณฑิตยสภา. 2472, หน้า 45
- ↑ ข่าวอสัญกรรมเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ในรัชกาลที่ 4
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐, ตอน ๓๕, ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖, หน้า ๓๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๒, ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๕๗๐
- ส. พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดา. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บำรุงสาส์น, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2530. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-245-584-8