ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลเบอร์ตันอัลเบียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบอร์ตันแอลเบียน
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลเบอร์ตันอัลเบียน
ฉายาบรูว์เออส์
ก่อตั้ง1950; 74 ปีที่แล้ว (1950)
สนามสนามกีฬาปีเรลลี
เบอร์ตัน-อะพอน-เทรนต์
สแตฟฟอร์ดเชอร์
ความจุ6,912
ประธานเบน โรบินสัน (เอ็มบีอี)
ผู้จัดการMartin Paterson
ลีกอีเอฟแอลลีกวัน
2022–23อันดับ 15
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลเบอร์ตันอัลเบียน (อังกฤษ: Burton Albion Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพของอังกฤษ ตั้งอยู่บริเวณถนนพรินเซส เมืองเบอร์ตัน-อะพอน-เทรนต์ เทศมณฑลสแตฟฟอร์ดเชอร์ ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับอีเอฟแอลลีกวัน

สโมสรเคยสร้างผลงานเลื่อนชั้น 2 ฤดูกาลติดต่อกัน โดยเป็นแชมป์ฟุตบอลลีกทู ในฤดูกาล 2014–15 ภายใต้การคุมทีมของจิมมี โฟลยด์ ฮัสเซิลบังก์ อดีตกองหน้าทีมชาติเนเธอร์แลนด์ของสโมสรลีดส์ยูไนเต็ดและเชลซี ก่อนจะมาได้ตำแหน่งรองแชมป์ฟุตบอลลีกวัน ในฤดูกาล 2015–16 ภายใต้การคุมทีมของไนเจล คลัฟ

ปัจจุบันสโมสรใช้สนามเหย้าคือสนามปีเรลลี (เดินทางไปสนามไพรด์พาร์กของสโมสรฟุตบอลดาร์บีเคาน์ตีด้วยรถไฟเพียง 53 นาที) โดยย้ายมาจากสนามอีตันพาร์กตั้งแต่ปี ค.ศ.2005 และคุมทีมโดย จิมมี โฟลยด์ ฮัสเซิลบังก์ ผู้จัดการทีมชาวดัตช์

สโมสรฟุตบอลเบอร์ตันอัลเบียน มีชื่อเล่นว่า บรูว์เออส์ (Brewers) ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษหมายถึงคนผลิตเบียร์ ชื่อเล่นนี้มีที่มาจากประวัติศาสตร์ของเมืองเบอร์ตันที่มีโรงงานผลิตเบียร์เป็นอุตสาหกรรมหลักขึ้นชื่อของเมือง โดยส่งออกเบียร์เป็นปริมาณถึงร้อยละ 25 ของเบียร์ที่ส่งออกจากสหราชอาณาจักรทั้งหมด

ประวัติ

[แก้]

ยุคแรก

[แก้]

ประวัติศาสตร์ในอดีตของสโมสรฟุตบอลที่ตั้งอยู่ในเมืองเบอร์ตัน-อะพอน-เทรนต์ ส่วนใหญ่จะมีปัญหาทางการเงินและต้องต่อสู้เพื่อให้มีสภาพคล่อง เนื่องจากเมืองนี้เป็นเมืองที่นิยมกีฬารักบี้เป็นหลักมาอย่างยาวนาน โดยสโมสรฟุตบอลในเมืองเบอร์ตันในยุคแรก ๆ คือ สโมสรฟุตบอลเบอร์ตันสวิฟต์, เบอร์ตันทาวน์, เบอร์ตันวอนเดอเรอส์ และ เบอร์ตันยูไนเต็ด แต่ละสโมสรล้วนมีอายุขัยการดำเนินกิจการที่ไม่นานนัก และต้องยุบสโมสรไปในเวลาต่อมา

สโมสรฟุตบอลเบอร์ตันอัลเบียน ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1950 และเข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลลีกเมืองเบอร์มิงแฮม ซึ่งเป็นลีกฟุตบอลระดับสมัครเล่น โดยมีเร็ก เวสตัน เป็นผู้จัดการทีมคนแรก ในปีแรกที่ส่งทีมเข้าแข่งขันสโมสรเบอร์ตันอัลเบียน ใช้สนาม ลอยด์ฟาวดรีกราวน์ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถนนเวลลิงตันเป็นสนามเหย้า และลงแข่งขันอย่างเป็นทางการเป็นนัดแรกเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ.1950 พบกับสโมสรฟุตบอลกลอสเตอร์ซิตี โดยสโมสรได้ใช้สนามแห่งนี้นาน 8 ฤดูกาล จนกระทั่งในเดือนกันยายน ค.ศ. 1958 สโมสรได้ย้ายไปใช้สนาม อีตันพาร์ก ที่สร้างขึ้นบริเวณถนนดาร์บี เป็นสนามเหย้าเพื่อรองรับจำนวนผู้ชมในสนามที่เพิ่มมากขึ้น จากการที่สโมสรได้เลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในระดับเซาเทิร์นฟุตบอลลีก

ค.ศ.1998 สโมสรสร้างความฮือฮาในวงการฟุตบอลอังกฤษ เมื่อไนเจล คลัฟ อดีตนักเตะทีมชาติอังกฤษ ย้ายจากแมนเชสเตอร์ซิตีมาร่วมทีมในฐานะผู้เล่น-ผู้จัดการทีม และพาสโมสรคว้าตำแหน่งรองแชมป์เซาเทิร์นฟุตบอลลีกพรีเมียร์ดิวิชัน ในฤดูกาล 1999–00 และ 2000–01

ฤดูกาล 2001–02 สโมสรฟุตบอลเบอร์ตันอัลเบียน ได้ถูกโอนย้ายไปเล่นในนอร์เทิร์นพรีเมียร์ลีก (เอ็นพีแอล) เนื่องจากการแบ่งเขตที่ตั้งของแต่ละสโมสร และเพียงแค่ฤดูแรกสโมสรก็คว้าแชมป์ได้สำเร็จ พร้อมกับคว้าสิทธิ์เลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในฟุตบอลคอนเฟอเรนซ์ซึ่งเป็นลีกระดับกึ่งอาชีพ

ปี ค.ศ. 2005 สนามอีตันพาร์กที่ใช้มาอย่างยาวนานถึง 47 ปี ได้ถูกทุบทิ้งเพื่อสร้างสนามเหย้าแห่งใหม่ ด้วยงบประมาณ 7.2 ล้านปอนด์ โดยสนามแห่งใหม่นี้มีชื่อว่า สนามกีฬาปีเรลลี ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับโรงงานปีเรลลี ผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ของโลกจากประเทศอิตาลี ที่มาตั้งสาขาการผลิตที่เมืองเบอร์ตัน-อะพอน-เทรนต์ในอังกฤษ

เอฟเอคัพกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

[แก้]

หนึ่งในการแข่งขันอันน่าจดจำของสโมสรที่สนามปีเรลลี เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ.2006 ในการแข่งขันเอฟเอคัพ รอบ 3 โดยสโมสรภายใต้การคุมทีมของไนเจล คลัฟ ที่ขณะนั้นลงเล่นในลีกฟุตบอลคอนเฟอเรนซ์สามารถยันเสมอสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดจากพรีเมียร์ลีก ได้ด้วยผล 0–0 ทำให้ต้องเล่นกลับไปเล่นรีเพลย์ที่สนามโอลด์แทรฟฟอร์ด ก่อนจะแพ้กลับไป 5–0 จากการยิงของหลุยส์ ซาฮา, คีแรน ริชาร์ดสัน, ไรอัน กิกส์ และ 2 ประตูของจูเซปเป รอสซี โดยการแข่งขันนัดดังกล่าวมีแฟนบอลของเบอร์ตันอัลเบียน เข้าไปเชียร์ในสนามมากกว่า 11,000 คน สร้างสถิติเป็นการแข่งขันนัดที่มีแฟนบอลทีมเยือนเข้าไปชมการแข่งขันมากที่สุดในสนามโอลด์แทรฟฟอร์ด

คว้าแชมป์ฟุตบอลคอนเฟอเรนซ์

[แก้]

หลังสร้างชื่อในนัดที่แข่งกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สโมสรเบอร์ตันอัลเบียนกลายเป็นทีมแกร่งประจำฟุตบอลลีกคอนเฟอเรนซ์ โดยในฤดูกาล 2007–08 สโมสรสามารถคว้าอันดับ 5 ในลีก พร้อมกับได้สิทธิ์แข่งขันในรอบเพลย์ออฟเพื่อเลื่อนชั้นขึ้นสู่ฟุตบอลลีกทู ซึ่งเป็นก้าวแรกในลีกอาชีพอังกฤษ แต่กลับต้องตกรอบเพลย์ออฟไปอย่างน่าเสียดาย

ฤดูกาล 2008–09 ขณะที่สโมสรกำลังเป็นผู้นำของลีก โดยมีช่วงที่ทำคะแนนทิ้งห่างอันดับสองมากถึง 19 คะแนน ไนเจล คลัฟ ผู้จัดการทีมที่อยู่กับสโมสรมาอย่างยาวนานถึง 11 ปี ได้ย้ายไปคุมทีมที่ใหญ่กว่าอย่างดาร์บีเคาน์ตี ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 และสโมสรได้แต่งตั้งให้รอย แม็กฟาร์แลนด์ อดีตกองหลังทีมชาติอังกฤษ เป็นผู้จัดการทีมชั่วคราวในช่วงที่เหลือของฤดูกาลแทน ด้วยแต้มที่ทิ้งห่างอยู่มาก บริษัทรับพนันในอังกฤษจึงลงความเห็นว่าสโมสรน่าจะคว้าแชมป์ลีกพร้อมกับได้เลื่อนชั้นสู่ฟุตบอลลีกทูเป็นที่แน่นอนแล้ว จึงได้จ่ายเงินพนันล่วงหน้าให้กับลูกค้าทุกรายที่พนันว่าสโมสรเบอร์ตันอัลเบียนจะคว้าแชมป์ไปในเดือนกุมภาพันธ์

แต่แล้วสถานการณ์ในการเลื่อนชั้นกลับดูเหมือนจะผลิกผัน เมื่อในเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน สโมสรค่อย ๆ ถูกลดช่องว่างในตารางคะแนนลง จากผลงานที่ย่ำแย่ในท้ายฤดูกาล โดยชนะเพียงแค่ 6 นัดจาก 16 นัดหลังสุด และแพ้ถึง 8 นัด สโมสรต้องลุ้นระทึกอย่างหนักในการเลื่อนชั้นในนัดสุดท้ายของฤดูกาลเมื่อต้องการชัยชนะในการการันตีตำแหน่งแชมป์ แต่กลับแพ้ต่อสโมสรทอร์คีย์ยูไนเต็ดไป 2–1 ในขณะเดียวกันสโมสรเคมบริดจ์ ยูไนเต็ด คู่แข่งในการแย่งตำแหน่งแชมป์ ก็ทำได้เพียงแค่เสมอกับสโมสรอัลทริงแฮมไป 0–0 ทำให้เบอร์ตันอัลเบียนคว้าแชมป์ฟุตบอลคอนเฟอเรนซ์พร้อมกับได้เลื่อนชั้นสู่ฟุตบอลลีกทูในที่สุด

2009–ปัจจุบัน: เข้าสู่ฟุตบอลลีกและจุดสูงสุดในระดับเดอะแชมเปียนชิป

[แก้]

ฤดูกาล 2009–10 นับเป็นฤดูกาลแรกที่สโมสรได้เข้ามาในระบบฟุตบอลลีกหรือลีกอาชีพ หลังจากคว้าแชมป์ฟุตบอลคอนเฟอเรนซ์ และมีการเปลี่ยนแปลงในทีมอีกครั้งเมื่อ พอล เพสชิโซลิโด อดีตดาวเตะทีมชาติแคนาดา ของสโมสรสโตกซิตีและฟูแลมได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ของสโมสรแทนที่รอย แม็คฟาร์แลนด์

สโมสรได้ลงแข่งขันในระดับลีกอาชีพเป็นนัดแรกเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2009 ในนัดที่ออกไปแพ้ให้กับสโมสรชรูส์บรีทาวน์ 3–1 ที่สนามกีฬานิวเมโดว์ โดยเกร็ก เพียร์สัน ได้รับการบันทึกว่าเป็นนักฟุตบอลคนแรกของสโมสรที่ยิงประตูได้ในระดับลีกอาชีพ[1]ต่อมาสโมสรพบกับชัยชนะบนลีกอาชีพเป็นครั้งแรกในนัดที่เปิดบ้านเอาชนะสโมสรฟุตบอลมอร์แคมบ์ 5–2 ที่สนามปีเรลลี และจบฤดูกาลแรกด้วยอันดับที่ 13 ก่อนที่ในฤดูกาลต่อมาสโมสรมีผลงานที่ตกต่ำลงและจบฤดูกาลด้วยอันดับ 19

ในฤดูกาล 2011–12 สโมสรยังคงมีผลงานในลีกที่ไม่ค่อยดีนัก และประสบกับช่วงเวลาที่ไม่ชนะทีมใดถึง 17 นัดติดต่อกัน ทำให้พอล เพสชิโซลิโด ผู้จัดการทีมถูกปลดออกจากตำแหน่งในช่วงท้ายของฤดูกาล และสโมสรได้แต่งตั้งให้ แกรี โรเว็ต ผู้ช่วยของเขาทำหน้าที่ผู้จัดการทีมชั่วคราวไปจนจบฤดูกาล โดยโรเว็ตสามารถพาทีมรอดตกชั้นได้ด้วยการจบฤดูกาลที่อันดับ 17 ต่อมาฤดูกาล 2012–13 สโมสรได้แต่งตั้งให้ แกรี โรเว็ต เป็นผู้จัดการทีมอย่างเป็นทางการ และเขาสามารถทำให้ทีมมีผลงานดีขึ้นจนสามารถคว้าอันดับ 4 ในตารางคะแนนพร้อมกับได้สิทธิแข่งขันในรอบเพลย์ออฟเพื่อเลื่อนชั้นขึ้นสู่ฟุตบอลลีกวัน แต่กลับพ่ายแพ้ต่อสโมสรแบรดฟอร์ดซิตี ตกรอบไปอย่างน่าเสียดาย โดยที่ในฤดูกาลต่อมาสโมสรได้แข่งขันในรอบเพลย์ออฟอีกครั้ง และสามารถผ่านเข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศก่อนจะแพ้ให้กับฟลีตวูด ทาวน์ 1–0

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2014 แกรี โรเว็ต ย้ายไปรับงานคุมทีมที่เบอร์มิงแฮม ซิตี โดยตำแหน่งผู้จัดการทีมถูกแทนที่ด้วยจิมมี โฟลยด์ ฮัสเซิลบังก์ผู้จัดการทีมชาวดัตช์​ และเพียงแค่ฤดูกาลแรกของเขา ก็สามารถสร้างผลงานอันยอดเยี่ยมด้วยการพาสโมสรคว้าแชมป์ฟุตบอลลีกทูได้สำเร็จ พร้อมกับพาสโมสรเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในฟุตบอลลีกวันเป็นครั้งแรก[2][3] โดยในฤดูกาล 2015–16 เบอร์ตัน อัลเบียนที่เพิ่งเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในฟุตบอลลีกวัน สามารถสร้างความประหลาดใจเมื่อชนะในลีกถึง 13 นัด จากการแข่งขัน 20 นัดแรก และขึ้นนำเป็นจ่าฝูงของลีก ต่อมาในเดือนธันวาคม ค.ศ.2015 จิมมี โฟลยด์ ฮัสเซิลบังก์ ที่กำลังทำผลงานอย่างยอดเยี่ยมได้ขอลาออกจากทีมเพื่อไปรับงานคุมทีมควีนส์พาร์ก เรนเจอส์ในฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป โดยตำแหน่งผู้จัดการทีมถูกแทนที่โดยไนเจล คลัฟ อดีตผู้จัดการทีมของสโมสรที่กลับมาคุมทีมอีกครั้งและสามารถพาทีมจบฤดูกาลด้วยตำแหน่งรองแชมป์ลีกวัน พร้อมกับเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในระดับอีเอฟแอลแชมเปียนชิป​ได้สำเร็จ สร้างสถิติเลื่อนชั้น 2 ฤดูกาลติดต่อกัน[4]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]
ณ วันที่ 11 มกราคม 2024

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK นิวซีแลนด์ Max Crocombe
2 DF อังกฤษ จอห์น เบรย์ฟอร์ด (กัปตันทีม​)​
3 DF อังกฤษ Steve Seddon (ยืมตัวจาก ออกซฟอร์ดยูไนเต็ด)
4 DF อังกฤษ เดจี โอชิลาจา
6 DF อังกฤษ คีแรน วัลเลซ
7 MF อังกฤษ ไบรน์ มอร์ริส
8 MF อังกฤษ โจ พาวล์
9 FW โมร็อกโก กัซซัน อะฮัดมี
10 FW อังกฤษ ลูคัส อคินส์
11 MF อังกฤษ จอห์นนี สมิธ
12 DF อังกฤษ แซม ฮิวจ์ (ยืมตัวจาก เลสเตอร์ ซิตี)
15 MF สาธารณรัฐไอร์แลนด์ โธมัส โอคอนเนอร์
16 MF สาธารณรัฐไอร์แลนด์ คอเนอร์ ชูห์เนสซี
17 FW อังกฤษ แดนนี โรว์
18 DF อังกฤษ เฟรเซอร์ เบลค-เทรซี
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
19 FW เวลส์ แอรอน อะมาดี-ฮอลโลเวย์
20 GK อังกฤษ คัลลัม ฮอว์คินส์
21 FW อังกฤษ แดเนียล เจบบิสัน (ยืมตัวจาก เชฟฟีลด์ ยูไนเต็ด)
22 DF ฝรั่งเศส วีลียาม โกโกโล
23 MF เวลส์ เทอร์รี่ เทย์เลอร์
24 GK อังกฤษ เบน การ์แรต
25 MF สาธารณรัฐไอร์แลนด์ เซียแรน กิลลิแกน
26 DF เวลส์ ไรอัน ลีค
27 FW อังกฤษ ทอม ฮิวเล็ตต์
28 GK อังกฤษ ดาเนียล มัวร์
29 MF อังกฤษ จาคอบ แมดด็อกซ์ (ยืมตัวจาก วีตอเรีย กีมาไรช์)
30 MF อังกฤษ เบน แรดคลิฟฟ์
37 DF อังกฤษ ทอม ฮาเมอร์
38 DF อังกฤษ ไมเคิล มานเซียนน์
44 FW อังกฤษ โจ ฮิวกิลล์ (ยืมตัวจาก แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด)

บุคคลากร

[แก้]

ผู้บริหาร

[แก้]
ตำแหน่ง บุคคล
ประธานสโมสร เบน โรบินสัน (เอ็มบีอี)
คณะกรรมการบริหาร แฟรงค์ สเปียส์
ฟิลิป บราวน์
ร็อบ บราวน์
เทอร์รี คลาร์ก
จอห์น วิลเลียมส์
เจซ ม็อกซี
ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด เฟลอร์ โรบินสัน

ทีมงานผู้ฝึกสอน

[แก้]
ตำแหน่ง บุคคล
ผู้จัดการทีม Martin Paterson​ อังกฤษ
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม ดีโน มามเรีย ตุรกี
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู แอนดี คุย อังกฤษ
ผู้จัดการทีมชุดเยาวชน แดน โรบินสัน อังกฤษ
ผู้ฝึกสอนฟิตเนส คริส เบียร์สลีย์ อังกฤษ

ข้อมูลสถิติของสโมสร

[แก้]

สถิติผู้ยิงประตู

[แก้]

ผู้ยิงประตูสูงสุดให้สโมสร

[แก้]

นับรวมทุกรายการ

# ชื่อ ช่วงเวลา ประตู จำนวนนัดที่ลงสนาม ค่าเฉลี่ย อ้างอิง
1 อังกฤษ ริชี บาร์เกอร์ 1960–62, 1963–67 159 270 0.58 [5]
2 อังกฤษ สแตน ราวด์ 1963–67 149 199 0.75 [6]
3 อังกฤษ ดาร์เรน สไตรด์ 1993–2010 124 646 0.19 [7]
4 อังกฤษ อารอน เว็บสเตอร์ 1998–2013 101 588 0.17 [8]
5 อังกฤษ ไซมอน เรดเฟิร์น 1987–97 86 457 0.19 [9]

ยิงประตูสูงสุดในระดับลีกอาชีพ

[แก้]

นับเฉพาะการแข่งขันในระดับฟุตบอลลีก:

# ชื่อ ช่วงเวลา จำนวนนัดที่ลงสนาม ประตู
1 อังกฤษ ลูคัส อคินส์ 2014–ปัจจุบัน 205 73
2 ไอร์แลนด์เหนือ บิลลี คี 2011–2014 95 37
3 อังกฤษ ฌอน ฮาร์รัด 2005–2011 62 31
4 สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ฌักส์ แมกโฮมา 2009–2013 155 26
5 สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก คัลวิน โซลา 2010–2013 79 25
6 อังกฤษ เกร็ก เพียร์สัน 2008–2012 89 19
7 อังกฤษ อารอน เว็บสเตอร์ 1998–2013 108 18
8 ไอร์แลนด์เหนือ อดัม แม็คเกิร์ก 2013–2015 71 15
9 อังกฤษ สจ๊วต บีวอน 2014–2017 97 13
10 อังกฤษ จัสติน ริชาร์ดส์ 2011–2013 48 12

จำนวนนัดที่ลงสนามและจำนวนประตูนับเฉพาะการแข่งขันในฟุตบอลลีก
อ้างอิง: Burton Albion, The Football League

สถิติยิงประตูอื่น ๆ

[แก้]
  • ยิงประตูมากที่สุดในหนึ่งฤดูกาล: สแตน ราวนด์ – 59 ประตู (ฤดูกาล 1965–66)[5]
  • ยิงประตูในฟุตบอลลีกมากที่สุดในหนึ่งฤดูกาล – ฌอน ฮาร์รัด – 21 ประตู (ฤดูกาล 2009–10)
  • ยิงแฮตทริกมากที่สุด: สแตน ราวด์ – 12 ครั้ง[6]
  • ยิงแฮตทริกมากที่สุดในฟุตบอลลีก – เกร็ก เพียร์สัน, ฌอน ฮาร์รัด, บิลลี คี – 1 ครั้ง

สถิติในการแข่งขัน[10]

[แก้]
  • อันดับที่ดีที่สุดของสโมสร: อันดับที่ 20 ฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป – ฤดูกาล 2016–17
  • ผลงานดีที่สุดใน เอฟเอคัพ : เข้าถึงรอบที่ 4
  • ผลงานดีที่สุดใน ฟุตบอลลีกคัพ : เข้าถึงรอบรองชนะเลิศ
  • ผลงานดีที่สุดใน เอฟเอโทรฟี : เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ
    • ฤดูกาล 1986–87 (พบกับ คิดเดอร์มินสเตอร์ แฮริเออร์)
  • ผลงานดีที่สุดใน ฟุตบอลลีกโทรฟี : เข้าถึงรอบที่ 2
  • ชนะคู่แข่งมากที่สุดเมื่อรวมทุกรายการ: 12–1 พบกับ โคลวิลล์ ทาวน์ – เบอร์มิงแฮม ซีเนียร์คัพ, 6 กันยายน 1954
  • แพ้คู่แข่งมากที่สุดเมื่อรวมทุกรายการ: 10–0 พบกับ บาร์เน็ต – เซาเทิร์นลีก (พรีเมียร์ดิวิชัน) , 7 กุมภาพันธ์ 1970
  • ชนะคู่แข่งมากที่สุดเมื่อนับเฉพาะในระดับฟุตบอลลีก: 6–1 พบกับ อัลเดอร์ช็อต ทาวน์ – ฟุตบอลลีกทู, 12 ธันวาคม 2009
  • แพ้คู่แข่งมากที่สุดเมื่อนับเฉพาะในระดับฟุตบอลลีก:
  • ชนะมากที่สุดในรายการเอฟเอคัพ: 0–4 พบกับ ฮาลิแฟ็กซ์ ทาวน์, 10 พฤศจิกายน 2007
  • แพ้มากที่สุดในรายการเอฟเอคัพ: 0–8 พบกับ บอร์นมัท, 17 พฤศจิกายน 1956
  • ชนะมากที่สุดในรายการฟุตบอลลีกคัพ: 2–4 พบกับ เลสเตอร์ ซิตี, 28 สิงหาคม 2012
  • แพ้มากที่สุดในรายการฟุตบอลลีกคัพ: 0–9 พบกับ แมนเชสเตอร์ ซิตี, 9 มกราคม 2019
  • แพ้มากที่สุดในรายการฟุตบอลลีกโทรฟี: 5–1 พบกับ เชสเตอร์ฟิลด์, 1 กันยายน 2009
  • มีการยิงประตูกันเยอะที่สุดในฟุตบอลลีก: 5–6 พบกับ เชลต์นัม ทาวน์ – ฟุตบอลลีกทู, 13 มีนาคม 2010

สถิติในการซื้อ-ขายผู้เล่น

[แก้]
  • ซื้อตัวแพงที่สุด: เลียม บอยซ์ ไอร์แลนด์เหนือ (จาก รอส เคาน์ตี) – 5 แสนปอนด์
  • ขายผู้เล่นแพงที่สุด: แจ็กสัน เออร์ไวน์ ออสเตรเลีย (ขายให้ ฮัลล์ ซิตี​ ปี 2017) – 2 ล้านปอนด์[11]

ผู้เล่นที่ติดทีมชาติ

[แก้]

ผู้เล่นที่ติดทีมชาติในช่วงที่เล่นให้กับสโมสร

เกียรติประวัติ

[แก้]
  • ฟุตบอลลีกวัน
    • รองแชมป์ (ฤดูกาล 2015–16)
  • ฟุตบอลลีกทู
    • แชมป์ (ฤดูกาล 2014–15)
  • ฟุตบอลคอนเฟอเรนซ์
    • แชมป์ (ฤดูกาล 2008–09)
  • นอร์เทิร์นพรีเมียร์ลีก
    • แชมป์ (ฤดูกาล 2001–02)
  • เซาเทิร์นฟุตบอลลีก (พรีเมียร์ดิวิชัน)
    • รองแชมป์ (ฤดูกาล 1999–00, 2000–01)
  • เอฟเอ โทรฟี
    • รองแชมป์ (ฤดูกาล 1986–87)
  • เซาเทิร์นลีกคัพ
    • แชมป์ (ฤดูกาล 1963–64, 1996–97, 1999–00)
    • รองแชมป์ (ฤดูกาล 1988–89)
  • นอร์เทิร์นพรีเมียร์ลีกชาเลนจ์คัพ
    • แชมป์ (ฤดูกาล 1982–83)
    • รองแชมป์ (ฤดูกาล 1986–87)
  • สแตฟฟอร์ดเชอร์ซีเนียร์คัพ
    • แชมป์ (ฤดูกาล 1955–56)
    • รองแชมป์ (ฤดูกาล 1976–77)
  • เบอร์มิงแฮมซีเนียร์คัพ
    • แชมป์ (ฤดูกาล 1953–54, 1996–97)
    • รองแชมป์ (ฤดูกาล 1969–70, 1970–71, 1986–87, 2007–08)

ทำเนียบผู้จัดการทีม

[แก้]
ณ วันที่ 17 เมษายน 2021
ชื่อ สัญชาติ ตั้งแต่ ถึง สถิติ
G W D L Win %
เร็ก เวสตัน อังกฤษ อังกฤษ มิถุนายน 1950 กรกฎาคม 1957
แซมมี ครูกส์ อังกฤษ อังกฤษ 1957 1957
บิลล์ ทาวน์เซนด์ อังกฤษ อังกฤษ 1957 1962
ปีเตอร์ เทย์เลอร์ อังกฤษ อังกฤษ 1962 1965
อเล็กซ์ เทต อังกฤษ อังกฤษ 1965 1970
ริชชี นอร์แมน อังกฤษ อังกฤษ 1970 1973
เคน กัทท์ริดจ์ อังกฤษ อังกฤษ 1973 1974
ฮาโรลด์ โบเดิล อังกฤษ อังกฤษ 1974 กุมภาพันธ์ 1976
มิค วอล์คเกอร์ อังกฤษ อังกฤษ 1976 1978
เอียน สโตรีย์-มัวร์ อังกฤษ อังกฤษ 1978 1981
นีล วอร์น็อก อังกฤษ อังกฤษ มกราคม 1981 กุมภาพันธ์ 1986
ไบรอัน ฟิดเลอร์ อังกฤษ อังกฤษ 1986 1988
วิค ฮาล็อม อังกฤษ อังกฤษ 1988 1988
บ็อบบี โฮป สกอตแลนด์ สกอตแลนด์ 1988 1988
คริส ไรท์ อังกฤษ อังกฤษ 1988 1989
เคน แบลร์ อังกฤษ อังกฤษ 1989 1990
แฟรงค์ อัพตัน (ชั่วคราว) อังกฤษ อังกฤษ 1990 1990
สตีฟ พาวล์ อังกฤษ อังกฤษ 1990 1991
ไบรอัน ฟิดเลอร์ อังกฤษ อังกฤษ 1991 1992
ไบรอัน เคนนิง อังกฤษ อังกฤษ 1992 1994
จอห์น บาร์ตัน อังกฤษ อังกฤษ 1994 กันยายน 1998
ไนเจล คลัฟ อังกฤษ อังกฤษ ตุลาคม 1998 6 มกราคม 2009 709 310 101 298 043.72
รอย แม็คฟาร์แลนด์ อังกฤษ อังกฤษ 6 มกราคม 2009 18 พฤษภาคม 2009 22 9 3 10 040.91
พอล เพสชิโซลิโด แคนาดา แคนาดา 18 พฤษภาคม 2009 17 มีนาคม 2012 102 33 26 43 032.35
แกรี โรเว็ท อังกฤษ อังกฤษ 17 มีนาคม 2012 27 ตุลาคม 2014 142 63 34 45 044.37
จิมมี โฟลยด์ ฮัสเซิลบังก์ เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 13 พฤศจิกายน 2014 4 ธันวาคม 2015 54 33 11 10 061.11
ไนเจล คลัฟ อังกฤษ อังกฤษ 7 ธันวาคม 2015 18 พฤษภาคม 2020 228 78 57 93 034.21
เจค บักซ์ตัน อังกฤษ อังกฤษ 18 พฤษภาคม 2020 29 ธันวาคม 2020 21 2 7 12 009.52
คริส เบียร์ดส์ลีย์ (ชั่วคราว) อังกฤษ อังกฤษ 30 ธันวาคม 2020 2 มกราคม 2021 1 0 0 1 000.00
จิมมี โฟลยด์ ฮัสเซิลบังก์ เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 2 มกราคม 2021 5 กันยายน 2022 19 12 3 4 063.16

ชุดแข่งที่ใช้และผู้สนับสนุน

[แก้]

[12]

ปี ผู้ผลิต ผู้สนับสนุนหลัก
1976–77 อาดิดาส ไม่มี
1977–78 - Plasplugs
1979–80 Umbro สหราชอาณาจักร ไม่มี
1980–86 IND Coope
1988–90 New Olympic
1990–92 Spall
1992–93 Hero
1993–94 ACE สหราชอาณาจักร
1994–95 TAG สหราชอาณาจักร
1995–02 BI Industries
2002–06 KNOTT (เหย้า)
Bison (เยือน)
2006
(เฉพาะในเอฟเอคัพ รอบ 3 พบแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด)
Paddy Power
2006–10 Roger Bullivant
2010–13 Mr. Cropper
2013–15 Anville Hire Ltd.
2015–16 Baytree Cars
2016–18 Tempobet
2018–ปัจจุบัน Prestec

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://news.bbc.co.uk/sport2/hi/football/eng_div_3/8187499.stm
  2. "Morecambe 1–2 Burton". BBC Sport. 18 April 2015. สืบค้นเมื่อ 21 April 2015.
  3. "Cambridge United 2 -3 Burton Albion". BBC Sport. 2 May 2015. สืบค้นเมื่อ 11 May 2016.
  4. Garry, Tom (8 May 2016). "Doncaster Rovers 0- Burton Albion". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 11 May 2016.
  5. 5.0 5.1 "Albion Oldboys: Richie Barker". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-08. สืบค้นเมื่อ 2015-10-29.
  6. 6.0 6.1 "Albion Oldboys: Stan Round". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-08. สืบค้นเมื่อ 2015-10-29.
  7. "Darren Stride Leaves Albion". Burton Albion FC. 10 May 2010. สืบค้นเมื่อ 12 August 2010.
  8. Aaron Staying With Albion
  9. "Albion Oldboys: Simon Redfern". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-08. สืบค้นเมื่อ 2015-10-29.
  10. http://www.burtonalbionfc.co.uk/club/history/
  11. "Derby complete Legzdins signing". BBC News. 1 July 2011.
  12. http://www.historicalkits.co.uk/Burton_Albion/burton-albion.html

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]