สโมสรฟุตบอลเอ็กซิเตอร์ซิตี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พิกัดภูมิศาสตร์: 50°43′51″N 3°31′15″W / 50.7307°N 3.5208°W / 50.7307; -3.5208

เอ็กซิเตอร์ซิตี
Exeter City FC
ชื่อเต็มExeter City Football Club
ฉายาThe Grecians, City
ก่อตั้งค.ศ. 1904 (ในชื่อเซนต์ ซิดเวล ยูไนเต็ด)
สนามเซนต์เจมส์พาร์ค, เอ็กซิเตอร์
Ground ความจุ8,541 คน[1]
ประธานจูเลียน แท็กก์
ผู้จัดการอังกฤษ แม็ตต์ เทย์เลอร์
ลีกลีกวัน
2021–22ลีกทู, อันดับที่ 2 (เลื่อนชั้น)
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

สโมสรฟุตบอลเอ็กซิเตอร์ซิตี (อังกฤษ: Exeter City Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลระดับอาชีพ ตั้งอยู่ที่เมืองเอ็กซิเตอร์ ในประเทศอังกฤษ ปัจจุบันลงทำการแข่งขันอยู่ในระดับอีเอฟแอลลีกวัน และมีชื่อเล่นว่า เดอะกรีเชียนส์(The Grecians) ปัจจุบัน เอ็กซิเตอร์ซิตีเป็นเพียง 1 ใน 4 สโมสรในระดับฟุตบอลลีกของอังกฤษ ที่แฟนบอลถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันเป็นเจ้าของสโมสรผ่านกองทุนรวมผู้สนับสนุนสโมสร

ประวัติ[แก้]

สโมสรฟุตบอลเอ็กซิเตอร์ซิตี ถูกก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1904 จากการควบรวมของสองสโมสรฟุตบอลที่มีอยู่ก่อนหน้านั้นในเมืองเอ็กซิเตอร์ ประกอบด้วย สโมสรฟุตบอลเอ็กซิเตอร์ยูไนเต็ด(ปี ค.ศ. 1890- ค.ศ. 1904) และสโมสรฟุตบอลเซนต์ซิดเวลส์ยูไนเต็ด โดยเลือกใช้สนามเหย้าของสโมสรเอ็กซิเตอร์ยูไนเต็ด คือสนามเซนต์เจมส์พาร์ค(มีชื่อเหมือนกันกับสนามเหย้าของสโมสรนิวคาสเซิลยูไนเต็ด และสโมสรแบร็คลีย์ทาว์น) เป็นสนามเหย้าของทีม และใช้ชุดแข่งสีเขียว-ขาว ของสโมสรเซนต์ซิดเวลส์ยูไนเต็ด พร้อมทั้งเริ่มทำการลงแข่งขันในฟุตบอลลีกเดวอนตะวันออก ก่อนจะเปลี่ยนสีชุดแข่งเป็นเสื้อลายทางสีแดง-ขาวในปี ค.ศ. 1910

สโมสรฟุตบอลเอ็กซิเตอร์ซิตี ได้เดินทางออกทัวร์ไปยังทวีปอเมริกาใต้ ในปีค.ศ. 1914 และลงทำการแข่งขันทั้งหมดจำนวน 8 เกม กับทีมในประเทศอาร์เจนตินา และประเทศบราซิล โดยที่มีนัดประวัติศาสตร์ในเกมสุดท้ายของทัวร์ เป็นการลงเล่นพบกับฟุตบอลทีมชาติบราซิล ซึ่งเป็นการลงแข่งขันฟุตบอลอย่างเป็นทางการครั้งแรกของทีมชาติบราซิล เหตุการณ์เกิดขึ้นในวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ที่สนามเอสตาดิโอ ดาส ลารานเจราส สนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลฟลูมิเนนเซ ในกรุงรีโอเดจาเนโร[2][3]

ต่อมาในปีค.ศ. 1920 เอ็กซิเตอร์ซิตี ได้รับคำเชิญจากฟุตบอลลีก ให้เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งของฟุตบอลลีกดิวิชันสาม และทำการแข่งขันอยู่ในระดับฟุตบอลลีกนานถึง 83 ปี ก่อนที่จะตกชั้นไปเล่นในฟุตบอลคอนเฟเรนซ์ในปีค.ศ. 2003 และด้วยปัญหาเรื่องฐานะทางการเงินของสโมสร และคดีความของผู้บริหารเดิม กองทุนรวมของผู้สนับสนุนได้เข้าถือกรรมสิทธิ์ของสโมสร ต่อมาในเดือนมกราคม ค.ศ. 2005 เอ็กซิเตอร์ซิตี ได้รับการจับสลากให้พบกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในรายการฟุตบอลถ้วยเอฟเอคัพ และเป็นทีมเยือนฟุตบอลนอกลีกที่สามารถไปยันผลเสมอ 0-0 ที่สนามโอลด์แทรฟฟอร์ด ก่อนกลับมาเล่นนัดเหย้าที่สนามเซนต์เจมส์พาร์ค ซึ่งรายได้ส่วนแบ่งจากการแข่งขันทั้งสองนัด ได้ช่วยเหลือฐานะทางการเงินที่ย่ำแย่ของสโมสรในขณะนั้นได้ เอ็กซิเตอร์ซิตีสามารถกลับขึ้นมาเล่นในระดับฟุตบอลลีกได้อีกครั้งหนึ่งในปีค.ศ. 2008 ภายใต้การคุมทีมของ พอล ทิสเดล ด้วยการเอาชนะสโมสรฟุตบอลเคมบริดจ์ยูไนเต็ด 1-0 ในการแข่งขันเพลย์ออฟรอบชิงชนะเลิศที่สนามเวมบลีย์[4] และจบฤดูกาลในอันดับที่สองของลีกทูในฤดูกาลถัดมา ทำให้สามารถเลื่อนชั้นเป็นปีที่สองติดต่อกัน[5] ขึ้นไปทำการแข่งขันในลีกวัน ก่อนจะตกชั้นกลับมายังลีกทูในปีค.ศ. 2012 ต่อมา วันที่ 1 มิถุนายน 2018 หลังจากที่สโมสรไม่สามารถตกลงสัญญาใหม่กับพอล ทิสเดลได้ แม็ตต์ เทย์เลอร์ ผู้ฝึกสอนทีมชุดอายุต่ำกว่า 23 ปี และอดีตกัปตันทีมจึงเข้ามาเป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ และทำให้พอล ทิสเดล กลายเป็นผู้จัดการทีมที่คุมทีมยาวนานที่สุดในฟุตบอลอังกฤษทั้ง 4 ดิวิชั่น ณ เวลานั้น รวม 12 ปี[6][7] วันที่ 26 เมษายน 2022 เอ็กซิเตอร์ซิตี ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในลีกวัน หลังเอาชนะ บาร์โรว์ 2-1 และจบฤดูกาลในอันดับที่ 2[8]


สโมรสรคู่แข่ง[แก้]

สโมสรฟุตบอลเอ็กซิเตอร์ซิตี มีสโมสรฟุตบอลคู่แข่งในย่านมณฑลเดวอน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ ประกอบด้วยสโมสรฟุตบอลพลีมัธอาร์ไกล์ และสโมสรฟุตบอลทอร์คีย์ยูไนเต็ด[9] เกมการแข่งขันที่เป็นคู่การพบกันระหว่างสโมสรทั้งสามจะถูกเรียกว่า เดวอนดาร์บี[10][11]

แฟนบอลของสโมสร[แก้]

ในปัจจุบัน แฟนบอลของเอ็กซิเตอร์ซิตีต่างถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันเป็นเจ้าของสโมสร ผ่านช่องทางกองทุนรวมผู้สนับสนุนสโมสร และมีแฟนบอลบางส่วนที่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น คริส มาร์ติน นักร้องนำวงโคลด์เพลย์[12] เอเดรียน เอ็ดมอนด์สัน นักแสดงและศิลปินตลก[13] 'อัลฟอนโซ' เรย์มอนด์ ชาร์แลนด์ มือกลองของวงเดอะฮูซิเออร์ส[14] โนเอล เอ็ดมอนดส์ ผุ้ประกาศและดีเจวิทยุบีบีซีเรดิโอวัน รวมถึงนักร้องชื่อดัง โจส สโตน ซึ่งเติบโตและอาศัยอยู่ในเดวอนมาตั้งแต่อายุ 8 ปี ได้ร่วมลงชื่อเป็นสมาชิกกองทุนรวมผู้สนับสนุนสโมสร และได้รับการเปิดตัวกับแฟนบอลในเกมการแข่งขันฟุตบอลลีกคัพ ที่เอ็กซิเตอร์ซิตีพบกับ ลิเวอร์พูล[15][16] ในปีค.ศ. 2002 ราชาเพลงป็อบไมเคิล แจ็กสันได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการกิตติมศักดิ์ของสโมสร และได้มาโชว์ตัวที่สนามเซนต์เจมส์พาร์คพร้อมกับยูริ เกลเลอร์ ผู้มีชื่อเสียงด้านการโชว์พลังจิต ซึ่งเป็นกรรมการของสโมสรด้วย[17]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]

ณ วันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2022 [18]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
2 DF อังกฤษ เจค แคไพรซ์
3 DF อังกฤษ แจ็ค สปาร์คส์
4 DF อังกฤษ แซม สตับบส์
5 DF อังกฤษ แอเล็กซ์ ฮาร์ทริดจ์
6 MF อังกฤษ เรคีม ฮาร์เปอร์ (ยืมตัวจาก อิปสวิชทาวน์)
7 MF อังกฤษ แม็ตต์ เจย์ (กัปตัน)
8 MF อังกฤษ อาร์ชี คอลลินส์
9 FW อังกฤษ เจย์ สแตนส์ฟิลด์ (ยืมตัวจาก ฟูลัม)
10 FW อังกฤษ แซม นอมเบ
11 FW อังกฤษ แฮร์รี สมิทธ์ (ยืมตัวจาก เลย์ตันโอเรียนท์)
12 MF อังกฤษ โจชัว คีย์
14 MF ฝรั่งเศส ทิมโมธี ดิเองก์
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
15 MF แอฟริกาใต้ เค็กส์ ชอค (ยืมตัวจาก เซาแทมป์ตัน)
16 MF อังกฤษ แฮรรี ไคท์
17 MF อังกฤษ คายล์ เทย์เลอร์
18 GK อังกฤษ จามาล แบล็คแมน
19 FW อังกฤษ ซอนนี คอกซ์
20 FW จาเมกา เจวานี บราว์น
22 GK อังกฤษ แฮร์รี ลี
26 DF สาธารณรัฐไอร์แลนด์ เพียร์ซ สวีนนี (รองกัปตัน)
27 DF อังกฤษ โจนาธาน กราวนดส์
39 DF อังกฤษ ชีค เดียบาเต
40 GK อังกฤษ สก็อตต์ บราวน์

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
21 MF อังกฤษ โจช โคลลี (ยืมตัวไป แฮร์โรเกททาวน์)
32 FW อังกฤษ เนลสัน อิเซกวน (ยืมตัวไป ทอร์คีย์)
33 GK อังกฤษ แจ็ค อาร์เธอร์ (ยืมตัวไป ลาร์คฮอลล์ แอธเลติก)
DF อังกฤษ อาเมียร์ แดเนียลส์ (ยืมตัวไป แทวิสสต็อค)
DF อังกฤษ โจ โอคอนเนอร์ (ยืมตัวไป แทวิสสต็อค)


หมายเลขเสื้อที่ถูกยกเลิก[แก้]

9อังกฤษ อดัม สแตนส์ฟิลด์, กองหน้า (2006–10) – เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้เล่นที่เสียชีวิต.[19] หลังจากที่ยกเลิกเสื้อหมายเลข 9 เป็นเวลา 9 ฤดูกาล หลังจากฤดูกาล 2020-21 เป็นต้นไป เสื้อหมายเลขดังกล่าวจะใส่โดยผู้เล่นที่มาจากสถานฝึกสอนเยาวชนของสโมสรเท่านั้น[20][21] สำหรับฤดูกาล 2022-23 เสื้อหมายเลข 9 จะใส่โดยเจย์ สแตนส์ฟิลด์ ลูกชายของ อดัม สแตนส์ฟิลด์[22]

ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประจำสโมสร[แก้]

คณะผู้บริหารสโมสร[แก้]

Position Name
ประธานสโมสร และกรรมการฝ่ายการต่างประเทศ จูเลียน แท็กก์
ประธานกรรมการสโมสร นิค ฮอว์เคอร์
ผู้จัดการฝ่ายพาณิชย์ เดวิด คลัฟ
กรรมการ อีเลน เดวิส
กรรมการ ไคลฟ์ แฮร์ริสัน
ประธานกองทุนสโมสร นิค ฮอว์เคอร์
กรรมการ ปีเตอร์ โฮลด์ดิง
กรรมการ เดวิด ลี
กรรมการฝ่ายการเงิน คีธ เมสัน
รองกรรมการ แม็คควีนนี มัลฮอล์แลนด์
รองกรรมการ พอล มอร์ริช

ชุดผู้ฝึกสอน[แก้]

Position Name
ผู้จัดการทีมชุดใหญ่ อังกฤษ แม็ตต์ เทย์เลอร์
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม ไอร์แลนด์เหนือ เวย์น คาร์ไลส์
ผู้ฝึกสอนทีมชุดใหญ่ อังกฤษ เควิน นิโคลสัน
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู อังกฤษ สก็อตต์ บราวน์
ผู้ฝึกสอนสมรรถภาพ อังกฤษ คอนเนอร์ เดอร์บิดจ์
หัวหน้าสถานฝึกสอนเยาวชน และวิทยาศาสตร์การกีฬา อังกฤษ เจคอบ สเตนส์
ผู้ฝึกสอนผู้เล่นชุดอายุต่ำว่า 23 ปี อังกฤษ แดน กรีน
ผู้ฝึกสอนผู้เล่นชุดอายุต่ำว่า 18 ปี อังกฤษ แชด กริบเบิล
เลขาณุการสโมสร อังกฤษ แม็ทธิว ฮิกกินส์
แพทย์ประจำสโมสร อังกฤษ ดร.ปีเตอร์ ริอู
นักกายภาพทีมชุดใหญ่ อังกฤษ แกเร็ธ ลอว์
นักบำบัดการกีฬา อังกฤษ แดน ฟีสซี
ผู้จัดการชุดแข่ง อังกฤษ ลู พริง
หัวหน้าแมวมอง อังกฤษ มาร์คัส ฟลิตครอฟท์

อ้างอิง[แก้]

  1. "All You Need To Know About Exeter City". Exetercityfc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2011-10-23.
  2. Bellos, Alex (31 May 2004). "Grecians paved way despite kick in teeth". London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 15 May 2009.
  3. "Exeter fix dream date against Brazil". London: The Daily Telegraph. 23 April 2004. สืบค้นเมื่อ 20 May 2009.
  4. Whyatt, Chris (18 May 2008). "Exeter 1–0 Cambridge Utd". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 22 October 2013.
  5. "Rotherham 0–1 Exeter". BBC Sport. 2 May 2009. สืบค้นเมื่อ 22 October 2013.
  6. "Paul Tisdale leaves Exeter City after 12 years in charge of Devon club". BBC. 1 June 2018. สืบค้นเมื่อ 1 April 2019.
  7. "Club statement: Matt Taylor". Exeter City F.C. 1 June 2018. สืบค้นเมื่อ 1 June 2018.
  8. "Exeter 2-1 Barrow: Matt Taylor's Grecians secure automatic promotion to League One". Sky Sports. Sky Sports. สืบค้นเมื่อ 27 April 2022.
  9. "Rivalry Uncovered!" (PDF). Football Fan Census. สืบค้นเมื่อ 7 February 2012.
  10. "Goodman fuming after defeat". BBC Sport. 12 February 2003. สืบค้นเมื่อ 7 February 2012.
  11. "Boss excited at prospect of another Devon derby". Exeter Express & Echo. 30 August 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-05. สืบค้นเมื่อ 7 February 2012.
  12. Coldplay guitarist: 'I'd give it all up for Tottenham Hotspur'NME News. Retrieved 3 June 2010
  13. It’s fun down here... life outside the Premier League เก็บถาวร 2009-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนThe Independent. Retrieved 3 June 2010
  14. http://www.goal.com/en-gb/news/3269/league-two/2014/01/17/4546399/famous-fan-the-hoosiers-exeter-city
  15. Pride in defeat for Exeter City เก็บถาวร 2012-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Exeter Express and Echo (This Is Devon). Retrieved 25 August 2011
  16. Joss Stone Joins The Trust – Exeter City Football Club, The Official Website . Retrieved 26 August 2011
  17. Jackson made Exeter FC directorBBC News. 3 July 2002. Retrieved 1 May 2011
  18. "Exeter City Men's team". Exeter City Football Club. สืบค้นเมื่อ 3 September 2022.
  19. "Club Retires Number 9 Shirt". exetercityfc.co.uk. 20 August 2010. สืบค้นเมื่อ 22 August 2010.
  20. "Club Retires Number 9 Shirt". exetercityfc.co.uk. 20 สิงหาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2010. สืบค้นเมื่อ 22 August 2010.
  21. "Matt Taylor: "It feels fitting that the shirt should go to a home-grown player as we know how much this club meant to Adam and how highly the fans hold him in their memories."". Exeter City F.C. 12 August 2020. สืบค้นเมื่อ 12 August 2020.
  22. "Stansfield completes emotional Exeter loan". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 2 September 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]