ความสุขของกะทิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน้าปก ความสุขของกะทิ โดย แพรวสำนักพิมพ์


ไฟล์:The happiness of kati (US).jpg
ความสุขของกะทิ ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา

ความสุขของกะทิ เป็นนวนิยายขนาดสั้นของ งามพรรณ เวชชาชีวะ ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ของประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2549[1] และได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2552 ในชื่อเดียวกัน โดยมีหนังสือภาคต่อของความสุขของกะทิ ชื่อว่า ความสุขของกะทิ ตอน ตามหาพระจันทร์ และ ความสุขของกะทิ ตอน ในโลกใบเล็ก

เนื้อเรื่อง[แก้]

ความสุขของกะทิ เล่าเรื่องราวของน้องกะทิ เด็กหญิงวัย 9 ขวบที่กำลังจะต้องสูญเสียแม่ ซึ่งป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง แม่รู้ตัวดีว่าไม่สามารถเลี้ยงดูกะทิได้ จึงฝากกะทิให้ตากับยายเลี้ยง กะทิเติบโตมาด้วยความรักของตาและยาย มีชีวิตอย่างสุขสบายในบ้านหลังน้อยริมคลองอันอบอุ่น

กะทิมีครอบครัวที่เอาใจใส่ ดูแลกะทิด้วยความรัก และความห่วงใยจากใจจริง เธอมีคุณตาที่เคยเป็นทนาย ซึ่งสามารถเรียกเสียงหัวเราะจากกะทิและครอบครัวได้อยู่เสมอๆ คุณยายของกะทิเป็นคนที่เคร่งครัด และหัวโบราณ แต่ถึงกระนั้นก็สอนกะทิเรื่องต่างๆนานา อาทิเช่น การทำอาหาร การอยู่ในสังคม เป็นต้น พี่ทองเป็นคนที่เข้าอกเข้าใจกะทิเป็นอย่างดี และเป็นคนที่มีบุญคุณต่อกะทิ เพราะว่าพี่ทองเคยช่วยชีวิตกะทิไว้ตอนกะทิเป็นเด็กเล็ก น้าฎา และน้ากันต์ซึ่งเป็นคนที่ห่วงใยกะทิ และคอยหาสิ่งดีๆให้กะทิอยู่เสมอๆ และเป็นคนที่พูดปลอบใจกะทิในยามที่กะทิเศร้าโศกเสียใจ และที่ขาดไม่ได้ก็คือ แม่ของกะทิ ที่ถึงแม้จะจากไปก่อนวัยอันควรแต่ก็จัดสิ่งต่างๆไว้ให้กะทิอย่างดิบดี ด้วยความรัก และเอาใจใส่จากใจ

ตัวละคร[แก้]

กะทิ
กะทิ หรือมีชื่อจริงว่า เด็กหญิง ณกมล พจนวิทย์ : เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 หลังเวลาเที่ยงคืน เป็นบุตรีของมารดาชาวไทย ชื่อ ณภัทร พจนวิทย์ กับ บิดาชาวพม่าที่ตั้งรกรากอยู่ในประเทศอังกฤษ[2][3][4]เมื่ออายุ 4 ขวบ ได้รับการเลี้ยงดูโดยตาและยาย ซึ่งอาศัยอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในชีวิตแรกเกิด กะทิ ได้รับการเลี้ยงดูจากมารดา และได้รับการช่วยเหลือเกื้อกูลโดยเหล่าญาติและเพื่อนของแม่กะทิ
แม่
แม่ของกะทิ มีชื่อจริงว่า ณภัทร พจนวิทย์ มีอายุประมาณ 30-40 ปี ทำงานเกี่ยวกับโฆษณา ก่อนที่แม่ของกะทิจะกลับมาที่ประเทศไทยอีกครั้ง ได้ทำงานที่ฮ่องกง เป็นที่สุดท้าย พร้อมกับตั้งครรภ์กะทิกลับมายังประเทศไทยด้วย เมื่อกะทิอายุได้ 9-11 ปี แม่ของกะทิเริ่มเกิดภาวะโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (motor neurone disease: ALS/MND) จึงเป็นจุดตัดสินใจหนึ่งที่แม่ของกะทิให้ตากับยายเป็นผู้เลี้ยงดู
ตา
พิทักษ์ อดีตทนายนักเรียนนอก วัย 65 ปี ที่หันหลังให้กับชีวิตเมืองกรุงมะกอก และย้ายกลับมาใช้ชีวิตเรียบง่ายในอยุธยา กับภรรยา และ “กะทิ” หลานสาว ที่ “ณภัทร” ลูกสาวคนเดียวฝากไว้ในความดูแล ชีวิตบั้นปลายของพิทักษ์จึงมีสีเข้มขึ้นกว่าที่เจ้าตัวคิดไว้ และทุกนาทีมีค่าเมื่อต้องประคับประคองชีวิตหนึ่งที่เพิ่งเริ่มต้นให้ออกก้าวเดิน
ยาย
ลัดดา อดีตเลขานายใหญ่โรงแรมห้าดาว วัย ๖๔ ปี ยายของ “กะทิ” ที่พอใจกับชีวิตเรียบง่าย รอยยิ้มของลัดดาหายไปเมื่อรับรู้ว่าลูกสาวคนเดียวมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน และภาระความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูหลานชวนให้ต้องใช้สติในการตัดสินใจ
พี่ทอง
ทอง หรือ สุวรรณ วินัยดี(หน้า ๘๐ ย่อหน้าที่ ๒)

เด็กวัด วัย ๑๔ ปี ทองกลายเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวกะทิโดยไม่รู้ตัว เมื่อเขาได้ช่วยชีวิตกะทิไว้ในวันฝนตก ทองมีนิสัยชอบช่วยผู้อื่นโดยธรรมชาติและโดยการอบรมของหลวงลุง เขารับกะทิเป็นน้องเล็กตั้งแต่วันแรกที่ได้เห็นเมื่อมารับบิณฑบาตกับหลวงตา และความรู้สึกนี้ไม่เคยแปรเปลี่ยนตามกาลเวลาเลย

ลุงตอง
ทิฆัมพร วงศ์ภิรมย์

ลุงตอง ลุงของกะทิ วัย ๓๙ ปี เป็นลูกพี่ลูกน้องของ “ณภัทร” แม่ของกะทิ โดยนิสัยเป็นคนใจดี รักพี่น้องและพวกพ้องมาก ผูกพันกับณภัทรมาตั้งแต่เล็ก เป็นคนมีอารมณ์ขันหยิกแกมหยอก แต่ลุงตองมีสายตาแหลมคมและมองโลกในมุมปรัชญาเสมอ

น้าฎา

หญิงสาววัย ๒๗ ปี เป็นเลขาฯ ให้ณภัทรและกลายเป็นมือขวาในทุกเรื่องให้เธอจนถึงวาระสุดท้าย หัวใจเธอสลายเมื่อรู้ว่าณภัทรป่วยหนัก แต่ก็เป็นเวลาที่ทำให้เธอได้รู้จักความเข้มแข็ง ความเสียสละ และรักแท้ที่แม่มีให้ลูก เธอไม่อาจห้ามใจผูกพันกับเพื่อนรุ่นน้องของณภัทรได้ และรู้ว่ามีโอกาสน้อยเหลือเกินที่เขาจะมองมา แต่นั่นก็เป็นความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ของเธอที่ได้ใกล้ชิดเขาในช่วงเวลาหนึ่ง

น้ากันต์

หนุ่มโสด พูดน้อย เก็บตัว รุ่นน้องที่สนิทสนมกับณภัทรตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย กันต์ชื่นชมในความเก่งและยกให้ณภัทรเป็นผู้หญิงในดวงใจ เขาพร้อมเสียสละความสุขส่วนตัวหากจะทำให้เพื่อนรุ่นพี่จากไปโดยสงบ และพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลกะทิ กันต์ไม่เคยมองหาหญิงคนไหน แม้จะมีสาวสวยน่ารักอยู่ใกล้ตัว จนเมื่อภาพความจริงคมชัดว่าชีวิตไม่ควรโดดเดี่ยวนัก เขาจึงถอนสายตาจากหญิงในดวงใจมายังหญิงใ

อ้างอิง[แก้]

  1. "งามพรรณ เวชชาชีวะ นักเขียนซีไรต์ 2006". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-13. สืบค้นเมื่อ 2009-01-11.
  2. [1]
  3. https://www.learners.in.th/posts/485481[ลิงก์เสีย]
  4. http://www.trendypda.com/modules/newbb/viewtopic.php?viewmode=thread&topic_id=6859&forum=9

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]