ข้ามไปเนื้อหา

ทางรถไฟสายเวียงจันทน์–บ่อเต็น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางรถไฟสายเวียงจันทน์–บ่อเต็น
รถไฟ CR200J สถานีนครหลวงเวียงจันทน์
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออื่น
  • ทางรถไฟสายลาว–จีน
  • รถไฟสายคุนหมิง–สิงคโปร์ ส่วนลาว
ชื่อลำลองທາງລົດໄຟບໍ່ເຕັນ-ນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນ / ລົດໄຟ ລາວ ຈີນ (ลาว)
磨万铁路 / 中老鐵路老撾段 (จีน)
สถานะเปิดให้บริการ
เจ้าของบริษัท รถไฟลาว–จีน จำกัด
ที่ตั้งประเทศลาว
ปลายทาง
เชื่อมต่อจากทางรถไฟสายอฺวี้ซี–บ่อหาน
เชื่อมต่อไปรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (สายอีสาน) (โครงการ)
จำนวนสถานี20
การดำเนินงาน
รูปแบบ
ผู้ดำเนินงานChina Railway Kunming Group[1]
ขบวนรถCR200J, HXD3C
ผู้โดยสารต่อวัน1,000–2,600[2]
ประวัติ
ปีที่เริ่ม25 ธันวาคม ค.ศ. 2016 (2016-12-25)[3]
เปิดเมื่อ3 ธันวาคม ค.ศ. 2021 (2021-12-03)[4][5]
แล้วเสร็จ12 ตุลาคม ค.ศ. 2021 (2021-10-12)[6]
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง422[7] กิโลเมตร (262 ไมล์)
จำนวนทางวิ่งทางเดี่ยว
ลักษณะทางวิ่งทางยกระดับ และระดับดิน
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ
ระบบจ่ายไฟ25 kV 50 Hz AC จ่ายไฟเหนือหัว
ความเร็ว160 กม/ชม (รถเร็ว EMU)
120 กม/ชม (รถธรรมดาและรถสินค้า)[3]
แผนที่เส้นทาง

ทางรถไฟสายคุนหมิง–บ่อหาน (จีน)
อุโมงค์มิตรภาพจีน–ลาว
km
0
บ่อเต็น
12
นาเตย
28
นาหม้อ
นาทอง
67
เมืองไซ
นาคก
113
เมืองงา
ห้วยหาน
แม่น้ำโขง
167
หลวงพระบาง
เซียงเงิน
ศาลาภูคูน
239
เมืองกาสี
บ้านผาแดง
283
วังเวียง
วังคี
342
โพนโฮง
บ้านสะกา
เวียงจันทน์เหนือ
406
นครหลวงเวียงจันทน์
เวียงจันทน์ใต้
ท่านาแล้ง
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1
สายตะวันออกเฉียงเหนือ (ไทย)

ทางรถไฟสายเวียงจันทน์–บ่อเต็น หรือ ทางรถไฟสายจีน–ลาว เป็นทางรถไฟขนาดรางสแตนดาร์ดเกจ 1.435 เมตร (4 ฟุต 8 1/2 นิ้ว) ระยะทาง 414 กิโลเมตร เชื่อมต่อระหว่างด่านบ่อหาน เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา ประเทศจีน กับประเทศลาวที่บ่อเต็น ผ่านเมืองหลวงพระบาง และสิ้นสุดที่นครหลวงเวียงจันทน์ โดยปลายทางทิศเหนือเชื่อมต่อกับทางรถไฟสายคุนหมิง–บ่อหาน ส่วนปลายทางทิศใต้เชื่อมกับทางรถไฟสายหนองคาย–ท่านาแล้ง โดยเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายคุนหมิง–สิงคโปร์ เริ่มโครงการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2559 เปิดให้บริการในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564[8]

ประวัติ

[แก้]
สถานีนครหลวงเวียงจันทน์

มีการกล่าวถึงทางรถไฟเชื่อมระหว่างประเทศลาวกับจีนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2544 โดยนักการเมืองลาวและจีนร่วมกันยืนยันแผนการสร้างใน พ.ศ. 2552 แต่มีเหตุการณ์ทุจริตของกระทรวงการรถไฟของประเทศจีนเกิดขึ้น การเริ่มสร้างทางรถไฟสายนี้จึงเลื่อนออกไปจนถึง พ.ศ. 2559[9]

เงินทุนก่อสร้าง

[แก้]

ทางรถไฟสายนี้ได้รับการก่อสร้างและบริหารงานโดยโดยบริษัท รถไฟลาว–จีน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างรัฐบาลของลาว–จีนในสัดส่วน 30:70 ตามลำดับ บริษัทฯใช้งบประมาณในการก่อสร้างโครงการนี้ทั้งสิ้น 37,425 ล้านหยวน[10][11] ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าว ร้อยละ 60 มาจากการก่อหนี้ของบริษัท (กู้ยืมจากธนาคารเพื่อการส่งเสริมการส่งออกนำเข้าของจีน), ร้อยละ 40 มาจากส่วนทุนของบริษัท[12]

ว่าด้วยส่วนทุนของบริษัทฯ จำนวน 14,970 ล้านหยวน เป็นส่วนที่รัฐบาลลาวต้องร่วมลงเงิน 4,491 ล้านหยวนเพื่อถือหุ้น 30% ในบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลลาวไม่สะดวกลงเงินเองทั้งหมดตามจำนวนดังกล่าว จึงลงเงินเองเพียงส่วนหนึ่ง อีกส่วนกู้ยืมจากธนาคารเพื่อส่งเสริมการส่งออกนำเข้าของจีนจำนวน 3,000 ล้านหยวน ซึ่งถูกคิดดอกเบี้ยร้อยละ 2.3 ต่อปีเป็นเวลาสามสิบปี[12]

เส้นทาง

[แก้]

ทางรถไฟสายลาว–จีน เป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายคุนหมิง–สิงคโปร์ โดยในเส้นทางรถไฟลาว–จีน มีแนวเส้นทางเชื่อมต่อมาจากทางรถไฟสายคุนหมิง–บ่อหาน จุดเริ่มต้นของเส้นทางเริ่มจากชายแดนด่านบ่อหานของเขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา ประเทศจีน และเชื่อมเข้ากับด่านบ่อเต็น ประเทศลาว ผ่านแขวงหลวงน้ำทา แขวงอุดมไซ แขวงหลวงพระบาง แขวงเวียงจันทน์ และสิ้นสุดที่นครหลวงเวียงจันทน์[13]

ลักษณะของเส้นทาง

[แก้]

ทางรถไฟสายลาว–จีน มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีภูเขาหินปูนจำนวนมาก และมีที่ตั้งอยู่บริเวณกระดูกสันหลังอินโดจีน มีปริมาณน้ำฝนที่สูงในแต่ละปี รวมทั้งเป็นอาณาบริเวณที่มีระเบิดกระจัดกระจายจึงมีประชากรอยู่อาศัยน้อย [14][15] เส้นทางทั้งหมดเป็นอุโมงค์ร้อยละ 47 และเป็นสะพานรถไฟร้อยละ 15 โดยคิดเป็นอุโมงค์จำนวน 75 แห่งและสะพานรถไฟจำนวน 167 แห่ง บริเวณพรมแดนระหว่างประเทศจีนและลาว มีทางอุโมงค์ความยาว 9,680 เมตร อยู่ในประเทศลาว 7,170 เมตร และอยู่ในประเทศจีน 2,510 เมตร โดยรวมแล้ว ทางรถไฟสายนี้มีสถานีทั้งหมด 21 สถานี ประกอบด้วยสถานีขนส่งผู้โดยสารจำนวน 10 สถานี และสถานีขนส่งสินค้าจำนวน 11 สถานี ทางรถไฟลาว–จีนมีสถานีโดยสารปลายทางสิ้นสุดที่สถานีนครหลวงเวียงจันทน์[16]

รายชื่อสถานี

[แก้]

รถไฟลาวจีน ประกอบด้วยสถานีสำหรับผู้โดยสาร 10 สถานี

สถานี ระยะทาง
จากเวียงจันทน์
แขวง
10 บ่อเต็น ບໍ່ເຕັນ Bo Ten 406 กม. หลวงน้ำทา
09 นาเตย ນາເຕີຍ Na Trey 394 กม.
08 นาหม้อ ນາໝໍ້ Namor 378 กม. อุดมไซ
07 เมืองไซ ເມືອງໄຊ Meuang Xay 339 กม.
06 เมืองงา ເມືອງງາ Meuang Nga 293 กม.
05 หลวงพระบาง ຫຼວງພະບາງ Luangprabang 239 กม. หลวงพระบาง
04 กาสี ກາສີ Kasi 167 กม. เวียงจันทน์
03 วังเวียง ວັງວຽງ Vangvieng 123 กม.
02 โพนโฮง ໂພນໂຮງ Phonhong 64 กม.
01 นครหลวงเวียงจันทน์ ນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນ Vientiane 0 กม. นครหลวงเวียงจันทน์

ค่าโดยสาร

[แก้]

ค่าโดยสารบางส่วน ขาเดียวจากสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ ในสกุลเงินกีบลาว

ต้นทาง ปลายทาง รถเร็ว EMU รถธรรมดา
ชั้นธุรกิจ ชั้นหนึ่ง ชั้นสอง ตู้นั่ง ตู้นอน
เวียงจันทน์ โพนโฮง 264,000 144,000 93,000 66,000 159,000
วังเวียง 504,000 273,000 171,000 123,000 300,000
หลวงพระบาง 975,000 522,000 330,000 234,000 579,000
เมืองงา 1,194,000 639,000 402,000 288,000 708,000
เมืองไซ 1,380,000 738,000 465,000 330,000 819,000
บ่อเต็น 1,650,000 882,000 555,000 396,000 981,000

รูปแบบโครงการ

[แก้]

ทางวิ่งและขบวนรถ

[แก้]
  • เป็นรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit)
  • แนวทางวิ่งมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ผ่านเทือกเขาสูงเป็นส่วนใหญ่ เป็นทางยกระดับ 175 กิโลเมตร มีการสร้างสะพาน 167 แห่ง และสะพานสูงข้ามหุบเหว 154 แห่ง ระยะทางรวม 67.15 กิโลเมตร มีการเจาะอุโมงค์ทะลุภูเขา 75 แห่ง ระยะทางเฉพาะที่เป็นอุโมงค์รวมมากกว่า 190 กิโลเมตร อุโมงค์ที่ยาวที่สุด ยาว 9.5 กิโลเมตร [17]
  • ขนาดราง 1.435 เมตร (European standard guage) โดยมีสายไฟฟ้าแรงสูงตีขนานอยู่เหนือราง ระบบรถไฟฟ้าใช้วิธีการรับไฟฟ้าจากด้านบนด้วยแพนโทกราฟ
  • ตู้โดยสารกว้าง 3.10 เมตร สูง 4.43 เมตร แบ่งความยาวของขบวนรถได้ 2 แบบ ขบวนยาวมีตู้โดยสารตั้งแต่ 11–20 ตู้ ยาวรวม 518 เมตร จุผู้โดยสารได้ 1,102 คน และขบวนสั้นมีตู้โดยสาร 9 ตู้ ยาวรวม 234 เมตร จุผู้โดยสารได้ 720 คน[18] ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ 25 กิโลโวลต์ 50 เฮิรตซ์[19]

ขบวนรถโดยสาร

[แก้]
รถไฟรุ่นฟู่ซิง CR200J ที่ผลิตจากประเทศจีน

รถไฟสายเวียงจันทน์−บ่อเต็น มีขบวนรถไฟเร็วพิเศษฟู่ซิง EMU รุ่น CR200J มีทั้งหมด 4 ขบวน ได้แก่ ขบวนล้านช้าง และขบวนแคนลาว ความเร็ววิ่งได้สูงสุด 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และความเร็วสูงสุดที่ให้บริการ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และใช้หัวรถจักรไฟฟ้า HXD3C มี 1 ขบวน เป็นขบวนรถไฟโดยสารธรรมดารวมถึงขบวนรถไฟขนสินค้าความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "中老铁路12月3日全线开通运营 昆明至万象约10小时可达". 荆楚网. 2021-12-02. 中老铁路开通初期,老挝段由老中铁路公司委托中国铁路昆明局集团公司运营维护
  2. "China-Laos Railway service progressin g". China Daily. 5 January 2022. สืบค้นเมื่อ 5 January 2022.
  3. 3.0 3.1 "Laos-China railway brings changes to Laos". China Daily. 7 August 2017.
  4. "Nong Khai plans for rail link with China". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 17 September 2021.
  5. "Laos hopes for economic boost from Chinese-built railway". The Star. 28 November 2021.
  6. 齐磊. "中老铁路全线铺轨完成 年内开通运营". cn.chinadaily.com.cn. สืบค้นเมื่อ 2021-10-20.
  7. "China-Laos Railway opens, putting Laos on track from landlocked to land-linked". Xinhua. สืบค้นเมื่อ 2021-12-04.
  8. รถไฟจีน-ลาว เปิดให้บริการวันนี้ (3 ธ.ค.) ควรรู้อะไรบ้าง? ก่อนตกขบวน
  9. "Land-locked Laos on track for controversial China rail link". 24 July 2017.
  10. [1]
  11. "Trains to arrive next month for trial run of Laos-China railway". 13 สิงหาคม 2021.
  12. 12.0 12.1 ธนาคารโลก (2020). "FROM LANDLOCKED TO LAND-LINKED UNLOCKING THE POTENTIAL OF LAO-CHINA RAIL CONNECTIVITY" (PDF).
  13. "ความคืบหน้าล่าสุด รถไฟหัวกระสุนลาว-จีน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-10. สืบค้นเมื่อ 2020-04-08.
  14. "ฮือฮา!ลาวสร้างรถไฟความเร็วสูงมูลค่า7,000ล้านดอลล่าห์ที่แรกของอาเซี่ยน". สืบค้นเมื่อ 2020-04-08.
  15. "อุโมงค์'ทางรถไฟลาว-จีน'เสร็จก่อน 43 วัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-24. สืบค้นเมื่อ 2020-04-08.
  16. "ข้อมูล "รถไฟจีน-ลาว" วรากรณ์ สามโกเศศ". bangkokbiznews.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-12-28. สืบค้นเมื่อ 2022-07-30.
  17. "ธันวาคม...เสียงหวูด "รถไฟลาว-จีน" ดังสนั่น". สืบค้นเมื่อ 2021-08-06.
  18. "เผยโฉม "ยักษ์เขียว Hulk" รถไฟจีน-ลาว ได้เห็นตัวจริงสิงหาคมนี้". สืบค้นเมื่อ 2021-08-06.
  19. "复兴号CR200J型电力动车组". สืบค้นเมื่อ 2021-08-06.