การขนส่งระบบรางในประเทศลาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การขนส่งระบบรางในประเทศลาว
การดำเนินการ
บริษัทรถไฟประจำชาติบริษัท รถไฟลาว–จีน จำกัด
ผู้ดำเนินการหลักกลุ่มรถไฟจีนคุนหมิง
การรถไฟแห่งประเทศไทย
โครงข่ายเส้นทาง
ระยะทางทั้งหมด425 km (264 mi)
ติดตั้งไฟฟ้า422 km (262 mi)
ขนาดความกว้างราง
ขนาดความกว้างราง1,435 mm (4 ft 8 12 in)
1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ422 กิโลเมตร (262 ไมล์)
1,000 mm (3 ft 3 38 in) มีเตอร์เกจ3 กิโลเมตร (1.9 ไมล์)
ระบบจ่ายไฟฟ้า
ระบบจ่ายไฟฟ้าหลัก25 kV 50 Hz AC
422 กิโลเมตร (262 ไมล์)

การขนส่งระบบรางในประเทศลาว ในปัจจุบันประเทศลาวมีทางรถไฟทั้งหมด 2 เส้นทาง ประกอบด้วยทางรถไฟสายลาว–จีนหรือทางรถไฟสายนครหลวงเวียงจันทน์–บ่อเต็น และทางรถไฟเชื่อมโครงข่ายจากประเทศไทยช่วงหนองคาย–ท่านาแล้ง–คำสะหวาด

ประวัติ[แก้]

ในอดีตระหว่าง พ.ศ. 2436–2484 ลาวเคยมีทางรถไฟสายดอนเดด–ดอนคอนขณะที่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส เป็นทางรถไฟระยะสั้นอยู่ทางตอนใต้ของลาว ระยะทาง 7 กิโลเมตร เป็นรางขนาด 600 มิลลิเมตร ใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าผ่านเขตน้ำตกและเกาะแก่งของแม่น้ำโขงที่แยกเป็นจำนวนย่อยหลายสาย ปัจจุบันอยู่บริเวณชายแดนลาว–กัมพูชาในแขวงจำปาศักดิ์ ยังเหลือร่องรอยทางรถไฟ ซากสะพาน และหัวรถจักร[1] นอกจากนี้ฝรั่งเศสยังมีแผนจะสร้างทางรถไฟจากเมืองท่าแขกไปเชื่อมกับทางรถไฟเหนือ–ใต้ของเวียดนามที่สถานีรถไฟเตินเอิ๊ป แต่ได้มีการยกเลิกในเวลาต่อมา ปัจจุบันรัฐบาลลาวได้นำเส้นทางนี้กลับมาในแผนของโครงการทางรถไฟลาว–เวียดนามช่วงเวียงจันทน์–ท่าแขก–ท่าเรือน้ำลึกหวุงอ๋าง

เส้นทาง[แก้]

ทางรถไฟเชื่อมไทย[แก้]

ทางรถไฟเชื่อมไทยเป็นทางรถไฟความกว้างรางขนาด 1 เมตร เชื่อมต่อจากโครงข่ายทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือช่วงกรุงเทพมหานคร–หนองคาย มีสถานีรถไฟทั้งสิ้น 3 สถานี เปิดให้บริการแล้วช่วงหนองคายท่านาแล้ง เมื่อ พ.ศ. 2552 ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร และกำลังก่อสร้างส่วนต่อขยายอีก 1 สถานีช่วงท่านาแล้ง–คำสะหวาด ระยะทาง 7.5 กิโลเมตร เส้นทางรถไฟใช้ในการขนส่งโดยสารและการขนสินค้า นอกจากนี้ในพื้นที่ย่านสถานีท่านาแล้งยังมีแผนพัฒนาโครงการท่าเรือบกท่านาแล้ง[2]

ทางรถไฟเชื่อมจีน[แก้]

ทางรถไฟเชื่อมจีนเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟสายคุนหมิง–สิงคโปร์ อยู่ในแนวเส้นทางของทางรถไฟลาว–จีนช่วงนครหลวงเวียงจันทน์–บ่อเต็น ระยะทาง 414 กิโลเมตร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยจุดเริ่มต้นแนวเส้นทางเริ่มจากบริเวณด่านบ่อเต็น ประเทศลาว ผ่านแขวงหลวงน้ำทา แขวงอุดมไซ แขวงหลวงพระบาง แขวงเวียงจันทน์ และสิ้นสุดที่นครหลวงเวียงจันทน์ มีสถานีรถไฟทั้งสิ้น 10 สถานี

ทางรถไฟเชื่อมเวียดนาม[แก้]

ทางรถไฟเชื่อมเวียดนามอยู่ในโครงการทางรถไฟลาว–เวียดนาม มีระยะทางทั้งสิ้น 452 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือเวียงจันทน์–ท่าแขก ระยะทาง 312.81 กิโลเมตร และท่าแขก–ท่าเรือน้ำลึกหวุงอ๋าง ระยะทาง 139.19 กิโลเมตร เส้นทางนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลลาวกับรัฐบาลเวียดนามเพื่อรองรับเส้นทางการขนส่งสินค้าจากทางรถไฟลาว–จีนไปยังท่าเรือน้ำลึกหวุงอ๋าง แนวเส้นทางรถไฟเริ่มจากนครหลวงเวียงจันทน์ขนานไปกับทางหลวงหมายเลข 13 (ใต้) ผ่านแขวงบอลิคำไซ ถึงเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปทางตะวันออกเข้าสู่เวียดนามที่ด่านชายแดนนาเพ้า–จาลอ ขึ้นสู่จังหวัดกว๋างบิ่ญและจังหวัดห่าติ๋ญ มีปลายทางที่ท่าเรือน้ำลึกหวุงอ๋าง[3]

การเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน[แก้]

  • ไทย ไทย - มี - เปิดใช้บริการ - ขนาดความกว้างราง 1,000 mm (3 ft 3 38 in)
  • จีน จีน - มี - เปิดใช้บริการ - ขนาดความกว้างราง 1,435 mm (4 ft 8 12 in)
  • เวียดนาม เวียดนาม - ไม่มี - กำลังก่อสร้าง
  • กัมพูชา กัมพูชา - ไม่มี

อ้างอิง[แก้]