ข้ามไปเนื้อหา

สถานีย่อย:ดาราศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


รู้จักกับดาราศาสตร์
รู้จักกับดาราศาสตร์
[แก้ไข]    

ดาราศาสตร์ (Astronomy) คือ วิชาวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการสังเกตและอธิบายธรรมชาติของดาวและวัตถุท้องฟ้า ศึกษาต้นกำเนิด วิวัฒนาการ สมบัติทางกายภาพและทางเคมี ของวัตถุต่าง ๆ รวมทั้งปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สามารถสังเกตการณ์ได้ในท้องฟ้า เช่น อุปราคา ดาวหาง ดาวตก เป็นต้น

ดาราศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งในจำนวนไม่มากนัก ที่นักสมัครเล่นยังคงมีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการค้นพบและเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ อาทิ ดาวหาง การเปลี่ยนแปลงความสว่างของดาวแปรแสง บางคนอาจเข้าใจผิด นำดาราศาสตร์ไปปะปนกับโหราศาสตร์ หรือคิดว่าสองอย่างนี้เป็นสิ่งเดียวกัน แม้ว่าศาสตร์ทั้งสองจะมีจุดกำเนิดร่วมกัน แต่ปัจจุบันมีความแตกต่างกันอย่างมาก นักดาราศาสตร์ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ แต่นักโหราศาสตร์ไม่ใช้

บทความแนะนำ
บทความแนะนำ
[แก้ไข]    
ภาพวาดของดาวเคราะห์นอกระบบ HD 189733 b
ภาพวาดของดาวเคราะห์นอกระบบ HD 189733 b

ดาวเคราะห์นอกระบบ (อังกฤษ: extrasolar planet หรือ exoplanet) คือ ดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ และอยู่ในระบบดาวเคราะห์อื่นที่ไม่ใช่ระบบสุริยะเดียวกันกับโลก นับถึงวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2014 มีการตรวจค้นพบและยืนยันการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบรวมทั้งสิ้นแล้วมากกว่า 1800 ดวง (1821 ดวง ในระบบดาวเคราะห์ 1135 แห่ง ในจำนวนนี้ 467 แห่งประกอบด้วยดาวเคราะห์มากกว่าหนึ่งดวง และถูกบรรจุไว้ในสารานุกรมดาวเคราะห์นอกระบบ โดยส่วนมากพบจากการตรวจวัดด้วยวิธีความเร็วแนวเล็งและกระบวนการทางอ้อมต่าง ๆ มากกว่าวิธีการถ่ายภาพโดยตรง ดาวเคราะห์นอกระบบส่วนใหญ่เป็นดาวเคราะห์แก๊สยักษ์คล้ายกับดาวพฤหัสบดี ซึ่งน่าจะเป็นผลจากกระบวนวิธีในการตรวจจับนั่นเอง แต่ผลการตรวจจับในระยะหลังมีแนวโน้มจะพบดาวเคราะห์นอกระบบขนาดเล็กลง ปัจจุบันมีการค้นพบดาวเคราะห์หินขนาดเบาเป็นจำนวนมากกว่าจำนวนดาวเคราะห์แก๊สยักษ์แล้ว

ดาวเคราะห์นอกระบบเริ่มเป็นหัวข้อตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักดาราศาสตร์โดยทั่วไปเชื่อว่าดาวเคราะห์นอกระบบมีอยู่จริง แต่ไม่อาจทราบได้ว่ามันมีลักษณะเช่นไร หรือคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเพียงใด การตรวจพบดาวเคราะห์นอกระบบครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1995 ด้วยวิธีตรวจวัดด้วยความเร็วแนวเล็ง ค้นพบดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ที่มีคาบการโคจร 4 วันอยู่รอบดาว 51 เพกาซี นับแต่นั้นก็ตรวจพบดาวเคราะห์นอกระบบเพิ่มมากขึ้น เมื่อถึงปี ค.ศ. 2000 ก็มีการตรวจพบเพิ่มขึ้นทุกปีมากกว่าปีละ 15 ดวง และมีการตรวจพบเพิ่มขึ้นถึง 61 ดวงในปี ค.ศ. 2007 ประมาณการว่า อย่างน้อย 10% ของดวงดาวที่มีลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์จะต้องมีดาวเคราะห์บริวาร โดยสัดส่วนที่แท้จริงอาจสูงกว่านั้น การค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบทำให้เกิดคำถามขึ้นอีกว่า จะมีบางดวงที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิตหรือไม่

ภาพยอดเยี่ยม
ภาพยอดเยี่ยม
[แก้ไข]    

ภาพถ่ายสีของดาวพลูโตจากยาน นิวฮอไรซันส์ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 ยานฮอไรซันส์ออกเดินทางจากโลกตั้งแต่ปี 2549 ใช้แรงเหวี่ยงจากแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีเพื่อขับเคลื่อนการเดินทางสู่แถบไคเปอร์ ยานบินผ่านดาวพลูโตและดาวบริวารอีก 5 ดวงของพลูโตเป็นระยะเวลาประมาณ 30 นาที และได้ถ่ายภาพพื้นผิวของดาวเหล่านั้นส่งข้อมูลกลับมายังโลก อันจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ทำความเข้าใจกับระบบสุริยะของเราได้มากขึ้น

วันนี้ในอดีต/อนาคต
วันนี้ในอดีต/อนาคต
[แก้ไข]    
ยังไม่มีข้อมูล (เพิ่มข้อมูล)
กลุ่มดาว
กลุ่มดาว
[แก้ไข]    

กลุ่มดาวพิณ เป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายชื่อกลุ่มดาวสมัยใหม่ 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กลุ่มดาวนี้มีขนาดเล็ก แต่หาง่ายเพราะมีดาวฤกษ์สว่างอย่างดาวเวกา ซึ่งเป็นปลายด้านหนึ่งของสามเหลี่ยมฤดูร้อน สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในช่วงฤดูร้อนของซีกโลกเหนือ คือระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน เมื่อถึงฤดูใบไม้ร่วงจะทันเห็นในตอนเย็นอยู่จนถึงเดือนพฤศจิกายน

ค้นหา
ค้นหา
[แก้ไข]    
แวดวงดาราศาสตร์
แวดวงดาราศาสตร์
[แก้ไข]    
ยานนิวฮอไรซันส์
ยานนิวฮอไรซันส์
ดิถีจันทร์
ดิถีจันทร์
[แก้ไข]    
ดิถีของดวงจันทร์ในวันนี้
วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
ข้างขึ้น ตอนปลาย

คิดเป็นร้อยละ 56 ของดวงจันทร์ทั้งดวง

คุณทำได้
คุณทำได้
[แก้ไข]    
สถานีย่อยอื่น
สถานีย่อยอื่น
[แก้ไข]