ข้ามไปเนื้อหา

แทรปพิสต์-1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก TRAPPIST-1)
แทรปพิสต์-1[1]

ภาพสมมติของระบบแทรปพิสต์-1 และดาวบริวารทั้งเจ็ด
ข้อมูลสังเกตการณ์
ต้นยุคอ้างอิง       วิษุวัต
กลุ่มดาว กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ
ไรต์แอสเซนชัน 23h 06m 29.283s[2]
เดคลิเนชัน –05° 02′ 28.59″[2]
ความส่องสว่างปรากฏ (V) 18.80
คุณสมบัติ
ชนิดสเปกตรัมM8V[3]
M8.2V[note 1]
ดัชนีสี V-R2.33
ดัชนีสี R-I2.47
มาตรดาราศาสตร์
ความเร็วแนวเล็ง (Rv)−56.3 km/s
พารัลแลกซ์ (π)82.58 mas
ระยะทาง39.5 ± 1.3 ly
(12.1 ± 0.4 pc)
ความส่องสว่างสัมบูรณ์ (MV)18.4 ± 0.1
รายละเอียด
มวล0.08 ± 0.009 M
รัศมี0.114 ± 0.006 R
แรงโน้มถ่วงที่พื้นผิว (log g)~5.227[note 2][4]
กำลังส่องสว่าง (bolometric)0.000525±0.000036[5] L
กำลังส่องสว่าง (visual, LV)0.00000373[note 3] L
อุณหภูมิ2550 ± 55 K
ค่าความเป็นโลหะ0.04 ± 0.08
การหมุนตัว1.40 ± 0.05 วัน
ความเร็วในการหมุนตัว (v sin i)6 ± 2 km/s
ชื่ออื่น
2MASS J23062928-0502285, 2MASSI J2306292-050227, 2MASSW J2306292-050227, 2MUDC 12171
ฐานข้อมูลอ้างอิงอื่น
SIMBADdata

แทรปพิสต์-1 (อังกฤษ: TRAPPIST-1) หรือ 2MASS J23062928-0502285[4] เป็นดาวฤกษ์แคระเย็นจัด (ultra-cool dwarf star)[5] ตั้งอยู่ห่างออกไป 39.5 ปีแสง อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ

ทีมนักดาราศาสตร์นำโดยมีกาแอล ฌียง (Michaël Gillon) แห่งสถาบันดาราศาสตร์ฟิสิกส์และธรณีฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยลีแยฌ ประเทศเบลเยียม ใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กสำหรับตรวจจับการผ่านหน้าของดาวเคราะห์และดาวเคราะห์แรกเริ่ม (Transiting Planets and Planetesimals Small Telescope; TRAPPIST) ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์ในหอดูดาวลาซียาในทะเลทรายอาตากามา ประเทศชิลี[6][7][8] เพื่อสังเกตดาวฤกษ์และค้นหาดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์นี้ เทคนิคที่ใช้ค้นหาคือการตรวจสอบการเคลื่อนผ่านหน้าดาวฤกษ์ ทำให้พวกเขาค้นพบดาวเคราะห์ขนาดใกล้เคียงกับโลกจำนวน 3 ดวงโคจรรอบดาวฤกษ์แคระแดงดวงนี้ ดาวเคราะห์ชั้นในสุดสองดวงอยู่ใต้ภาวะไทดัลล็อกกับดาวฤกษ์แม่ คือจะหันหน้าเพียงด้านเดียวเข้าหาดาวฤกษ์แม่ตลอดเวลา ส่วนอีกหนึ่งดวงอยู่ในเขตอาศัยได้ (habitable zone)[7] ทีมนักดาราศาสตร์เฝ้าสังเกตการณ์ตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนถึงธันวาคม ค.ศ. 2015 และเผยแพร่การค้นพบของพวกเขาในวารสาร Nature ในเดือนพฤษภาคม 2016

ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2017 นักดาราศาสตร์ได้ออกประกาศเพิ่มเติมว่าค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบเพิ่มในระบบแทรปพิสต์-1 อีก 4 ดวง ทำให้จำนวนดาวเคราะห์ที่โคจรในระบบนี้มีทั้งสิ้นถึง 7 ดวง ในจำนวนนี้มีอย่างน้อย 3 ดวงที่โคจรอยู่ในเขตอาศัยได้[9][10]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. based on photometric spectral type estimation
  2. ความโน้มถ่วงพื้นผิว คำนวณโดยตรงจากความโน้มถ่วงสากลของนิวตัน ตามสมการ โดยที่ M คือมวลของวัตถุ, r คือรัศมีของวัตถุ และ G คือค่าคงที่ความโน้มถ่วง
  3. Taking the absolute visual magnitude of TRAPPIST-1 and the absolute visual magnitude of the Sun , the visual luminosity can be calculated by

อ้างอิง

[แก้]
  1. "TRAPPIST-1b". Open Exoplanet Catalogue. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 2 May 2016.
  2. 2.0 2.1 Cutri, R. M.; Skrutskie, M. F.; Van Dyk, S.; Beichman, C. A.; Carpenter, J. M.; Chester, T.; Cambresy, L.; Evans, T.; Fowler, J.; Gizis, J.; Howard, E.; Huchra, J.; Jarrett, T.; Kopan, E. L.; Kirkpatrick, J. D.; Light, R. M.; Marsh, K. A.; McCallon, H.; Schneider, S.; Stiening, R.; Sykes, M.; Weinberg, M.; Wheaton, W. A.; Wheelock, S.; Zacarias, N. (June 2003). "2MASS All Sky Catalog of point sources". VizieR Online Data Catalog. European Southern Observatory with data provided by the SAO/NASA Astrophysics Data System. 2246. Bibcode:2003yCat.2246....0C.
  3. Costa, E.; Mendez, R.A.; Jao, W.-C.; Henry, T.J.; Subasavage, J.P.; Ianna, P.A. (4 August 2006). "The Solar Neighborhood. XVI. Parallaxes from CTIOPI: Final Results from the 1.5 m Telescope Program". The Astronomical Journal. The American Astronomical Society. 132 (3): 1234. Bibcode:2006AJ....132.1234C. doi:10.1086/505706.
  4. 4.0 4.1 Viti, Serena; Jones,, Hugh R. A. (November 1999). "Gravity dependence at the bottom of the main sequence". Astronomy and Astrophysics. 351: 1028–1035. Bibcode:1999A&A...351.1028V. สืบค้นเมื่อ 6 May 2016.{{cite journal}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 Temperate Earth-sized planets transiting a nearby ultracool dwarf star] (pdf), European Southern Observatory
  6. "Could these newly-discovered planets orbiting an ultracool dwarf host life?". The Guardian. 2 May 2016.
  7. 7.0 7.1 "Three Potentially Habitable Worlds Found Around Nearby Ultracool Dwarf Star – Currently the best place to search for life beyond the Solar System". European Southern Observatory.
  8. "Three New Planets Are the Best Bets for Life". Popular Mechanics. 2 May 2016. สืบค้นเมื่อ 2 May 2016.
  9. "Temperate Earth-Sized Planets Found in Extraordinarily Rich Planetary System TRAPPIST-1". SpaceRef. 22 February 2017. สืบค้นเมื่อ 11 February 2017.[ลิงก์เสีย]
  10. "NASA telescope reveals largest batch of Earth-size, habitable-zone planets around single star". Exoplanet Exploration: Planets Beyond our Solar System (Press release). สืบค้นเมื่อ 22 February 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

พิกัด: Sky map 23h 06m 29.383s, −05° 02′ 28.59″