ดาวแปรแสง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดาวแปรแสง (อังกฤษ: variable star) คือดาวฤกษ์ ที่มีความสว่างเปลี่ยนแปลงอย่างมาก แตกต่างจากดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในท้องฟ้าที่มีกำลังส่องสว่างเกือบคงที่ ดวงอาทิตย์ของเรา เป็นตัวอย่างที่ดีของดาวฤกษ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของความสว่างน้อยมาก (โดยปกติเปลี่ยนแปลงประมาณ 0.1% ในวัฏจักรสุริยะ 11 ปี) ดาวแปรแสงมีทั้งที่เปลี่ยนแปลงความสว่างจาก ปัจจัยภายใน และ ปัจจัยภายนอก ตัวอย่างดาวฤกษ์ดวงที่เห็นได้ชัดเจนคือ "ดาวบีเทลจุส" ในกลุ่มดาวนายพราน

การสังเกตดาวคู่[แก้]

ดาวคู่ เป็นดาวสองดวงที่โคจรรอบกันและกัน เมื่อเกิดการบังกันทำให้ความสว่างโดยรวมเปลี่ยนแปลงเป็นคาบ เราสามารถวิเคราะห์ดาวคู่ได้โดยการวัดแสงและสเปกโทรโฟโตเมตรี การสังเกตความสว่างของดาวคู่เทียบกับดาวฤกษ์ที่มีความสว่างคงที่ ทำให้สามารถวาดกราฟความสว่างออกมาได้ ดาวแปรแสงที่มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงความสว่างอย่างสม่ำเสมอจะมีคาบและแอมพลิจูดแน่นอน อย่างไรก็ตาม ค่าที่วัดได้อาจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ เมื่อเวลาผ่านไป จุดในกราฟที่ดาวมีความสว่างสูงสุด เรียกว่า จุดสูงสุด (maxima) อีกจุดที่มีความสว่างน้อยที่สุดเรียกว่า จุดต่ำสุด (minima)

การจัดประเภท[แก้]

ดาวแปรแสงสามารถแบ่งได้เป็น 2 พวกคือ intrinsic หรือ extrinsic

  • ดาวแปรแสงชนิด Intrinsic : คือดาวฤกษ์ที่มีการแปรแสงเกิดจากความเปลี่ยนแปลงของคุณสมบัติทางกายภาพภายในของดาวเอง สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อยได้แก่
    • Pulsating variables, คือดาวฤกษ์ที่มีการขยายขนาดรัศมีใหญ่ขึ้นอันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวิวัฒนาการตามอายุของดาว
    • Eruptive variables, คือดาวฤกษ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันที่พื้นผิวของดาว เช่น การเกิด flare หรือการพวยพุ่งของมวลดาว
    • Cataclysmic หรือ explosive variables, คือดาวฤกษ์ที่กำลังเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลง cataclysmic เช่น การเกิดโนวา หรือ ซูเปอร์โนวา
  • ดาวแปรแสงชนิด Extrinsic : คือดาวฤกษ์ที่มีการแปรแสงเกิดจากคุณสมบัติภายนอกของดาว เช่น การหมุน การเกิดคราส แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่
    • การเกิดคราสของดาวคู่หรือดาวแฝด ซึ่งจากมุมมองบนโลกจะมองเห็นดาวฤกษ์บังกันและกันเป็นบางครั้งตามรอบของการโคจร
    • ดาวแปรแสงจากการหมุน คือดาวฤกษ์ที่มีการแปรแสงอันเกิดการปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการหมุนของดาว ตัวอย่างเช่น ดาวฤกษ์ที่มีจุดมืดขนาดใหญ่มาก ๆ จะส่งผลต่อความสว่างที่ปรากฏออกมา หรือดาวฤกษ์ที่มีอัตราการหมุนรอบตัวเองเร็วมากก็สามารถมองเห็นเป็นรูปทรงอย่างไข่ได้

ดาวแปรแสงชนิด Intrinsic[แก้]