สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์
ช่วงเวลาคริสต์ศตวรรษที่ 4 – ค.ศ. 1453

สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ หรือ สถาปัตยกรรมไบแซนทีน (อังกฤษ: Byzantine architecture; /bī-ˈzanˌtēn/[1]) หรือ สถาปัตยกรรมบีเซินทีน (/ˈbɪzənˌtin/[2]) เป็นสถาปัตยกรรมที่เริ่มประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 5 ลักษณะอาคารส่วนใหญ่เป็นโดมคลุมบนเนื้อที่กลม สี่เหลี่ยม หรือรูปหลายเหลี่ยม บางครั้งมีการจัดรูปทรงภายนอกเป็นโดมหลายอัน ต่างขนาดกัน ลดหลั่นกันไป โดยส่วนใหญ่ยึดหลักสมดุลชนิด 2 ข้างเท่ากันรอบแกนใดแกนหนึ่ง เช่น โบสถ์เซนต์มาร์ค ที่เวนิส ประเทศอิตาลี

ยุคไบแซนไทน์มักเริ่มตันขึ้นใน ค.ศ. 330 เมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชย้ายเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันไปยังบิแซนเทียม ซึ่งในภายหลังได้กลายเป็นคอนสแตนติโนเปิล จนกระทั่งการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ใน ค.ศ. 1453 อย่างไรก็ตาม ในขั้นต้นยังไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่างจักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรวรรดิโรมัน สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ยุคแรกมีลักษณะเฉพาะและดูแยกไม่ออกจากสถาปัตยกรรมโรมันยุคก่อน คำศัพท์นี้ได้รับการแนะนำโดยนักประวัติศาสตร์ยุคใหม่ เพื่อระบุจักรวรรดิโรมันยุคกลาง ในขณะที่มีการวิวัฒนาการเป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะและวัฒนธรรมที่โดดเด่น โดยศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหลวงใหม่แห่งคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันนี้คืออิสตันบูล) มากกว่าโรมและบริเวณโดยรอบ

อ้างอิง[แก้]

  • ผุสดี ทิพทัส, หลักเบื้องต้นในการจัดองค์ประกอบในงานสถาปัตยกรรม,สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช,2530
  1. merriam-webster.com. Byzantine. [Online]. Available: <http://www.merriam-webster.com/dictionary/byzantine> (Accessed: 29 March 2009).
  2. Dictionary.com (2009). Byzantine. [Online]. Available: <http://dictionary.reference.com/browse/byzantine>. (Accessed: 29 March 2009).