โบสถ์วีส
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
โบสถ์การจาริกแสวงบุญแห่งวีส * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
โบสถ์วีส | |
ประเทศ | เยอรมนี |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | (i) (iii) |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2526 (คณะกรรมการสมัยที่ 7) |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
โบสถ์วีส (อังกฤษ: Wies church; เยอรมัน: Wieskirche) หรือ โบสถ์การจาริกแสวงบุญแห่งวีส (อังกฤษ: Pilgrimage Church of Wies; เยอรมัน: Wallfahrtskirche auf der Wies) ตั้งอยู่ในเขตไวล์ไฮม์-โชนเกา อยู่บริเวณเชิงเทือกเขาแอลป์ ใกล้เมืองชไตน์กาเดิน (Steingaden) ในรัฐไบเอิร์น ทางใต้ของประเทศเยอรมนี
ประวัติ
[แก้]วันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1738 เป็นวันแรกที่มีคำกล่าวอ้างว่า ประชาชนได้เห็นน้ำพระเนตร หลั่งจากพระเนตรของรูปไม้กางเขนแกะสลักไม้ของพระเยซู หรือที่เรียกกันว่าพระมหาไถ่ถูกเฆี่ยน (Scourged Saviour) เรื่องเล่าแห่งปาฏิหาริย์ในครั้งนั้น เป็นเหตุให้มีนักแสวงบุญเดินทางไปจารึกบุญ เยี่ยมชม และอธิษฐานขอพรจากรูปแกะสลักพระเยซูอย่างมากมาย ด้วยความเชื่อที่ว่ารูปแกะสลักนี้สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ในปีค.ศ. 1740 ได้จัดสร้างชาเปลขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานรูปแกะสลักนี้โดยเฉพาะ แต่เนื่องด้วยขนาดของอาคารที่เล็กเกินกว่าที่จะรองรับจำนวนของนักแสวงบุญที่เดินทางมาจารึกบุญ จึงได้มีการตัดสินใจสร้างโบสถ์วีสแห่งนี้ขึ้น
รูปทรงสถาปัตยกรรมภายนอกมีลักษณะการตกแต่งค่อนข้างเรียบ ภายในเป็นทำให้เป็นทรงรูปไข่แม้ว่าตัวสิ่งก่อสร้างจะเป็นสี่เหลี่ยม และเน้นการตกแต่งภายในด้วยปูนปั้นตระกูลโรโกโกเวสโซบรุน ที่เต็มไปด้วยรายละเอียดอย่างวิจิตรตามแบบฉบับของศิลปะโรโกโก การตกแต่งภายในออกแบบโดย โดมีนีคุส ซิมเมอร์มัน ผู้เป็นศิลปินสำคัญของสมัยศิลปะโรโกโก และถือกันว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของศิลปีนท่านนี้ โดมีนีคุส ซิมเมอร์มันได้ทุ่มเทสร้างโบสถ์แห่งนี้ เป็นเวลา 11 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ 1745 จนถึงปี ค.ศ. 1754 ก่อนที่จะเสียชีวิตลง
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็มีข่าวลือว่าทางรัฐบาวาเรียจะขายหรือทุบวัดทิ้งระหว่างสมัยการปฏิรูปที่ดิน ที่โบสถ์รอดมาได้ก็เพราะการประท้วงจากชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณนั้น แต่หลักฐานเท่าที่หลงเหลืออยู่พบว่าคณะกรรมการผู้พิจารณาการยุบอารามตั้งใจจะรักษาเอาวัดแสวงบุญนี้ไว้แม้ว่าแอบบอตของแอบบีชไตน์กาเดินจะประท้วงเรื่องค่าใช้จ่ายก็ตาม[1]
มรดกโลก
[แก้]โบสถ์วีสได้รับเลือกโดยองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในปี ค.ศ. 1983 จากนั้นได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1985-1991
ข้อแนะนำ
[แก้]ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี จะมีการจัดแสดงดนตรีคลาสสิกที่โบสถ์วีส เป็นช่วงที่เหมาะสำหรับการเยี่ยมชมโบสถ์แห่งนี้
รูปภาพ
[แก้]-
ทิวทัศน์ภายนอก -
ทิวทัศน์ภายนอก
ค.ศ. 2004 -
แท่นบูชาเอก (Main altar) -
แท่นบูชาเอก -
รูปแกะสลักพระมหาไถ่ถูกเฆี่ยน -
รูปปั้นใต้แท่นเทศน์ -
รูปปั้นเหนือแท่นเทศน์ -
รูปปั้น -
พระจิต (Holy ghost) -
รูปปั้นนักบุญ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Stutzer, Dietmar; Fink, Alois (1982), Die irdische und die himmlische Wies, Rosenheim: Rosenheimer Verlag, pp. 99–100, ISBN 3-475-52355-8
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์โบสถ์วีส (ภาษาเยอรมัน)
- เว็บไซด์โบสถ์วีส ภาษาอังกฤษ
- โบสถ์วีสที่เว็บไซต์ของยูเนสโก (ภาษาอังกฤษ)
- เว็บไซต์บรรยายรูปพระมหาไถ่ถูกเฆี่ยน เก็บถาวร 2008-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ภาษาอังกฤษ)