วัคซีน rVSV-ZEBOV

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัคซีน rVSV-ZEBOV
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าเออร์เวโบ (Ervebo)
ชื่ออื่นV920[1]
AHFS/Drugs.comProfessional Drug Facts
ข้อมูลทะเบียนยา
ช่องทางการรับยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
รหัส ATC
  • None
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • US: ℞-only
  • In general: ℞ (Prescription only)
ตัวบ่งชี้
DrugBank
ChemSpider
  • none
สารานุกรมเภสัชกรรม

วัคซีน rVSV-ZEBOV (อังกฤษ: Recombinant vesicular stomatitis virus-Zaire Ebola virus, rVSV-ZEBOV vaccine, Ebola Zaire vaccine live หรือ V920 vaccine มีตัวย่อ rVSV-ZEBOV) มีชื่อการค้าว่า Ervebo (เออร์เวโบ) เป็นวัคซีนสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันโรคไวรัสอีโบลาอันมีเหตุจากไวรัสอีโบลาแซร์ (เรียกสั้น ๆ ว่า ไวรัสอีโบลา)[2][3][4][5] เมื่อใช้กับคนรอบข้างผู้ติดโรค (ring vaccination) rVSV-ZEBOV พบว่าช่วยป้องกันการระบาดโรคในระดับสูง[6][7][8] ราว ๆ ครึ่งหนึ่งของผู้ได้วัคซีนจะมีผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ตั้งแต่เบา ๆ จนถึงปานกลางรวมทั้งปวดหัว ล้า และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ[6]

rVSV-ZEBOV เป็นวัคซีนไวรัสมีดีเอนเอลูกผสม (recombinant DNA) ที่ไวรัสยังสามารถถ่ายแบบดีเอนเอต่อได้ (replication-competent)[9] ประกอบด้วยไวรัส VSV (vesicular stomatitis virus) ในวงศ์ย่อย Rhabdoviridae ซึ่งก่อโรคปากอักเสบเป็นตุ่มพอง (vesicular stomatitis) ในสัตว์โดยไวรัสได้ผ่านพันธุวิศวกรรมให้แสดงออกไกลโคโปรตีนของไวรัสอีโบลาเพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อไวรัสอีโบลา[2]

วัคซีนได้รับอนุมัติให้ใช้ทางการแพทย์ในสหภาพยุโรปและสหรัฐในปี 2019[3][10][11] นักวิทยาศาสตร์แคนาดาที่แหล็บจุลชีววิทยาแห่งชาติแคนาดา (NML) ซึ่งเป็นส่วนของสำนักงานสาธารณสุขแห่งชาติแคนาดา (PHAC) ได้สร้างวัคซีนนี้ขึ้น[12] PHAC ได้ให้สิทธิอนุญาตแก่บริษัทเล็ก ๆ คือนิวลิงก์เจเนติกส์ (NewLink Genetics) เพื่อพัฒนาวัคซีน ผู้ต่อมาให้สิทธิอนุญาตแก่บริษัทยักษ์ใหญ่คือ เมอร์ค ในปี 2014[13] วัคซีนได้ใช้ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเมื่อโรคไวรัสอีโบลาระบาดในปี 2018[14] แล้วต่อมาใช้อย่างกว้างขวางในการระบาดทั่วของอีโบลาในคีวู พ.ศ. 2561–62 (ติดกับทะเลสาบคีวู) คือได้ให้วัคซีนแก่คน 9 หมื่นคน[8]

การแพทย์[แก้]

คนเกือบ 800 คนได้รับวัคซีน VSV-EBOV เป็นมาตรการฉุกเฉินโดยให้คนรอบข้างผู้ติดโรค (ring vaccination) เมื่อไวรัสอีโบลาได้ระบาดในประเทศกินีปี 2016[15] ในปี 2017 เมื่อโรคไวรัสอีโบลาเกิดระบาดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก กระทรวงสาธารณสุขของประเทศก็อนุมัติให้ใช้วัคซีนเป็นมาตรการฉุกเฉิน[16][17] แม้จะไม่ได้ให้วัคซีนโดยทันที[18]

ประสิทธิผล[แก้]

ในเดือนเมษายน 2019 หลังจากให้วัคซีนเป็นจำนวนมากเมื่อโรคระบาดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก องค์การอนามัยโลกได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเบื้องต้น โดยร่วมงานกับสถาบันงานวิจัยชีวเวชแห่งชาติของประเทศ เกี่ยวกับประสิทธิผลของโปรแกรมให้วัคซีนแบบให้คนรอบข้างผู้ติดโรค (ring vaccination) และกล่าวว่า วัคซีน rVSV-ZEBOV-GP มีประสิทธิผลระงับการระบาดของไวรัสอีโบลาในอัตราร้อยละ 97.5 เทียบกับเมื่อไม่ให้วัคซีน[7][8]

ผลข้างเคียง[แก้]

ผลข้างเคียงรวมทั้งปวดหัว เป็นไข้ ล้า ปวดเมื่อยข้อและกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ ข้ออักเสบ ผื่น และเหงื่อออกผิดปกติ[6][19][20][2] ส่วนปัญหาเฉพาะที่ฉีดยารวมทั้งเจ็บปวดและบวมแดง[2]

เคมีชีวภาพ[แก้]

rVSV-ZEBOV เป็นไวรัส VSV (vesicular stomatitis virus) ที่มีดีเอ็นเอลูกผสม (recombinant DNA) โดยลดความรุนแรง (attenuated) และยีนไกลโคโปรตีนหุ้มไวรัสธรรมชาติ คือ P03522 ได้แทนที่ด้วยยีน P87666 ของไวรัสอีโบลาสายพันธุ์ Kikwit 1995 Zaire strain[19][21][22] บริษัทสวิส IDT Biologika เป็นผู้ผลิตวัคซีนเพื่อการทดลองระยะที่ 1[23][24] บริษัทเมอร์คเป็นผู้ผลิตวัคซีนเพื่อการทดลองระยะที่ 3 โดยใช้เซลล์เวโร (Vero cell)[A] ที่บริษัทได้ใช้อยู่แล้วเพื่อผลิตวัคซีนป้องกันโรตาไวรัส[28][29]

ประวัติ[แก้]

บริเวณที่ "ไวรัสอีโบลาแอฟริกาตะวันตก" ได้เริ่มต้นแล้วติดต่อในประเทศข้างเคียง ในที่สุดทำให้คนติดโรค 28,000 รายโดยร้อยละ 45 เสียชีวิต

สำนักงานสาธารณสุขแห่งชาติแคนาดา (PHAC) ได้สร้างวัคซีนนี้ขึ้นและ PHAC ก็ได้สิทธิบัตรในปี 2003[12][30] ระหว่างปี 2005-2009 มีการทดลองในสัตว์ 3 งานที่ได้ตีพิมพ์ ทั้งหมดได้ทุนจากรัฐบาลแคนาดาและสหรัฐ[24] ในปี 2005 การฉีดวัคซีน EBOV หรือ MARV ในกล้ามเนื้อครั้งหนึ่งพบว่า ทำให้ภูมิคุ้มกันในลิงแสมตอบสนองโดยมีผลป้องกันอย่างสมบูรณ์ต่อการติดเชื้อไวรัสอีโบลา (EBOV) และไวรัสมาร์บวร์ค (MARV) เฉพาะโรค ๆ ที่ปกติทำให้ถึงตาย[31][32]

ในปี 2010 PHAC ได้ให้สัญญาอนุญาตทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับวัคซีนแก่บริษัทสหรัฐเล็ก ๆ คือ Bioprotection System ซึ่งเป็นบริษัทสาขาของนิวลิงก์เจเนติกส์ โดยได้เงินตอบแทน 205,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6.7 ล้านบาท) และค่าสิทธิในอัตราร้อยละที่เป็นเลขโดดน้อย ๆ[33] บริษัทนิวลิงก์ได้ทุนมาจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (จากสำนักงาน Defense Threat Reduction Agency) เพื่อพัฒนาวัคซีนหลายอย่าง[12][34][35]

การระบาดใหญ่สุดของไวรัสอีโบลาได้เกิดในเดือนธันวาคม 2013 ในประเทศกินีในแอฟริกาตะวันตก[36] วันที่ 12 สิงหาคม องค์การอนามัยโลกตัดสินว่า การให้วัคซีน RVSV-ZEBOV (ซึ่งตอนนั้นยังไม่ได้ทดสอบในมนุษย์) แก่ผู้ติดไวรัสอีโบลาเป็นเรื่องถูกจริยธรรม รัฐบาลแคนาดาจึงได้บริจาควัคซีน 500 เข็มต่อองค์การ[37][38] จนถึงเดือนตุลาคม 2014 บริษัทนิวลิงก์ก็ยังไม่ได้ผลิตวัคซีนและก็ไม่มีแผนทดลองในมนุษย์ จึงมีการร้องให้รัฐบาลแคนาดาบอกเลิกสัญญา[33] นิวลิงก์จึงได้ตั้งคณะกรรมการอำนวยการจากองค์กรที่มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้ง PHAC, สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐและองค์การอนามัยโลก เพื่อวางแผนการทดลองทางคลินิกของวัคซีน[39][40]

ในเดือนตุลาคม 2014 นิวลิงก์ก็เริ่มการทดลองทางคลินิกระยะ 1 ของวัคซีนในอาสาสมัครผู้มีสุขภาพดีเพื่อประเมินการตอบสนองของภูมิต้านทาน ระบุผลข้างเคียง และกำหนดขนาดยา[34][41][42] ซึ่งทำในประเทศกาบอง เคนยา เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐ และแคนาดา[43][44] ในเดือนพฤศจิกายน 2014 บริษัทได้ให้อนุญาตผูกขาดของวัคซีนแก่บริษัทเมอร์ค[13] โดยได้เงินตอบแทน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1,600 ล้านบาท) บวกค่าสิทธิ[45]

งานศึกษาระยะ 1 เริ่มด้วยขนาดสูงซึ่งเป็นเหตุเกิดข้ออักเสบและปฏิกิริยาทางผิวหนังในคนบางพวก และก็พบไวรัสของวัคซีนที่ไขข้อของคนที่มีปัญหา การทดลองจึงยุติเพราะเหตุนั้น แล้วแนะนำให้ใช้ขนาดน้อยกว่า[46]

ในเดือนมีนาคม 2015 การทดลองทางคลินิกระยะ 2 และระยะ 3 จึงเริ่มในประเทศกินีพร้อม ๆ กัน การทดลองระยะ 2 มุ่งที่แพทย์พยาบาลผู้ทำงานกับผู้ติดโรค ในขณะที่การทดลองระยะ 3 ให้วัคซีนแก่คนรอบข้างผู้ติดโรค (ring vaccination)[47][48] รายงานขององค์การอนามัยโลกปี 2015 ในวารสารเดอะแลนซิตเสนอว่า วัคซีนมีประสิทธิศักย์ (efficacy) สูง จึงยกเลิกกลุ่มควบคุมเพราะเหตุทางจริยธรรม และจะขยายจำนวนอาสาสมัคร[49] แต่รายงานในวารสารเดอะแลนซิตปี 2018 ต่อมาก็ได้ตั้งข้อสงสัยในรูปแบบการทดลองและประสิทธิศักย์สูงที่พบในงานศึกษานี้[50]

ในเดือนมกราคม 2016 องค์กรพันธมิตรวัคซีน GAVI Alliance ได้เซ็นสัญญากับบริษัทเมอร์ค ซึ่งเมอร์คได้ตกลงจะให้วัคซีน VSV-EBOV แก่องค์กรเมื่อไวรัสอีโบลาเกิดระบาดในอนาคต โดยได้เงินตอบแทน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 176 ล้านบาท) ซึ่งบริษัทจะใช้ทำการทดลองทางคลินิกและยื่นเรื่องให้องค์กรควบคุมเพื่ออนุมัติวัคซีน ในเวลาเดียวกัน บริษัทได้ยื่นเรื่องแก่องค์การอนามัยโลกตามโปรแกรม Emergency Use Assessment and Listing (EUAL) เพื่อให้สามารถใช้วัคซีนได้เมื่อเกิดโรคระบาด[51] ซึ่งก็ได้ใช้เป็นมาตรการฉุกเฉินในประเทศกินีในเดือนมีนาคม 2016[15] การทดลองระยะ 3 ในประเทศกินีต่อมาจึงได้ตีพิมพ์ในเดือนธันวาคม 2016 ซึ่งสื่อได้เผยแพร่อย่างกว้างขวางว่า วัคซีนปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเกือบเต็มร้อย[52][53] แม้ในเวลานั้นก็ยังไม่มีวางขายทั่วไปในตลาด[54]

ในเดือนเมษายน 2017 คณะกรรมการแพทยศาสตรบัณฑิตยสถานแห่งชาติสหรัฐ (NAM) ได้ตีพิมพ์งานทบทวนการรับมือกับการระบาดของไวรัสอีโบลา โดยกล่าวถึงว่า วัคซีนแคนดิเดตได้คัดเลือกเพื่อทดลองทางคลินิกด้วยวิธีเช่นไร ได้ออกแบบการทดลองและดำเนินการอย่างไร และทบทวนข้อมูลที่ได้จากการทดลอง คณะกรรมการพบดว่า ข้อมูลที่ได้จากการทดลองในประเทศกินีระยะ 3 ตีความได้ยากเพราะเหตุหลายอย่าง รวมทั้งการทดลองไม่มีกลุ่มที่ใช้ยาหลอก เพราะได้เว้นไปเพราะเหตุทางจริยธรรมโดยที่ทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้องรวมทั้งคณะกรรมการเองด้วยก็เห็นด้วยกับการตัดสินใจที่ทำ จึงเหลือแต่กลุ่มที่ให้วัคซีนทีหลังเป็นกลุ่มควบคุม แต่กลุ่มนี้ก็เลิกไปเช่นกันหลังจากการวิเคราะห์ในระหว่างานพบว่าวัคซีนให้ผลป้องกันในระดับสูง จึงทำให้ผลการทดลองไม่มีกำลังทางสถิติ คณะกรรมการพบว่า ถ้าวิเคราะห์ด้วยวิธี intention-to-treat analysis (การวิเคราะห์ความตั้งใจจะรักษา) วัคซีน rVSV-ZEBOV อาจไม่มีประสิทธิศักย์เลย แต่ก็เห็นด้วยกับผู้ทำงานศึกษาในเดือนธันวาคม 2016 ว่า ยาน่าจะมีประสิทธิศักย์บางส่วน แต่ก็ลงความเห็นว่า ข้ออ้างว่าวัคซีนมีประสิทธิศักย์มากหรือ 100% ไม่มีหลักฐาน[52]

ในเดือนเมษายน 2019 หลังจากได้ติดตามการให้วัคซีนคนรอบข้างผู้ติดโรคในการระบาดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ผลเบื้องต้นแสดงว่า วัคซีนมีประสิทธิผลระงับการระบาดของอีโบลาร้อยละ 97.5 เทียบกับเมื่อไม่ได้ให้วัคซีน[7][8] ในเดือนกันยายน 2019 องค์การอาหารและยาสหรัฐได้รับใบสมัครอนุญาตเวชภัณฑ์ทางชีวภาพ (Biologics License Application) เพื่อทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนอย่างรีบด่วน[55]

ในเดือนตุลาคม 2019 สำนักงานเวชกรรมยุโรป (EMA) ได้แนะนำให้อนุญาตวางตลาดอย่างมีเงื่อนไข (conditional marketing authorization) แก่วัคซีน rVSV-ZEBOV-GP[56][57][58] ในเดือนพฤศจิกายน 2019 คณะกรรมาธิการยุโรปจึงได้อนุมัติให้อนุญาตวางตลาดอย่างมีเงื่อนไขแก่วัคซีนเออร์เวโบ[3][59] และองค์การอนามัยโลกก็ได้รับรองวัคซีนอีโบลาล่วงหน้า (prequalified) เป็นครั้งแรก[60]

ในเดือนธันวาคม 2019 เออร์เวโบก็อนุมัติให้ใช้ในสหรัฐ[10] การอนุมัติให้ใช้สำหรับสำหรับบุคคลอายุ 18 ปีหรือยิ่งกว่าได้หลักฐานจากงานศึกษาในประเทศกินีเมื่อโรคระบาดในปี 2014-2016[10] เป็นงานศึกษาแบบสุ่มที่คนข้างเคียงผู้ยืนยันทางแหล็บว่าได้ติดโรคไวรัสอีโบลา และคนข้างเคียงของคนข้างเคียงอีกทีหนึ่งรวมกัน 3,537 คนได้รับวัคซีนเออร์เวโบ "ทันที" หรือ "ช้าไป 21 วัน"[10] การออกแบบที่น่าสนใจนี้มุ่งระบุเครือข่ายสังคมและตำแหน่งที่อยู่ซึ่งอาจเป็นที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงาน ของคนไข้เมื่อมีอาการของโรค หรือครอบครัวที่ได้มาพบเจอกับคนไข้ในช่วงที่ป่วยหรือตาย[10] เมื่อเทียบกรณีคนติดโรคในบรรดา 2,108 คนผู้ได้วัคซีนทันที กับคนอีก 1,429 คนที่ได้วัคซีนแบบล่าช้า เออร์เวโบพบว่ามีประสิทธิผลเต็มร้อยในการป้องกันกรณีโรคอีโบลาที่เกิดอาการ 10 วันหรือยิ่งกว่าหลังได้วัคซีน[10] คือไม่มีคนได้วัคซีนที่เกิดอาการหลัง 10 วันจากวันที่ได้วัคซีนในกลุ่มที่ได้ทันที เทียบกับกรณีติดโรค 10 คนในกลุ่มที่ได้วัคซีนล่าช้าไป 21 วัน[10]

ในงานศึกษาต่อ ๆ มา การตอบสนองของร่างกายทางสารภูมิต้านทานเหตุเออร์เวโบได้ประเมินในคนประเทศไลบีเรีย 477 คน บวกอีกประมาณ 500 คนในเซียร์ราลีโอน บวกอีกประมาณ 900 คนในแคนาดา สเปน และสหรัฐ[10] แล้วพบว่า การตอบสนองทางภูมิต้านทานในคนประเทศแคนาดา สเปน และสหรัฐก็คล้ายกับบุคคลในไลบีเรียและเซียร์ราลีโอน[10] ความปลอดภัยของวัคซีนได้ประเมินกับคนประมาณ 15,000 คนในแอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ[10] ผลข้างเคียงมากสุดก็คือจุดที่ฉีดเจ็บหรือบวมแดง ปวดหัว เป็นไข้ ปวดเมื่อยตามข้อและกล้ามเนื้อ และล้า[10] องค์การอาหารและยาสหรัฐจึงได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนเออร์เวโบแก่บริษัทเมอร์ค[10] ต่อมาบริษัทจึงยุติการพัฒนาวัคซีนแบบ rVSV ที่เกี่ยวข้องกันสำหรับไวรัสมาร์บวร์ค (rVSV-MARV) และไวรัสอีโบลาซูดาน (rVSV-SUDV) แล้วคืนสิทธิสำหรับวัคซีนเหล่านี้แก่ PHAC แต่ความรู้ในการพัฒนาวัคซีน rVSV ที่บริษัทได้ด้วยทุนของ GAVI ก็ยังเป็นของบริษัทที่คนอื่นไม่สามารถใช้เพื่อพัฒนาวัคซีน rVSV อื่น ๆ ได้[61]

โรคไวรัสอีโบลาในปี 2018[แก้]

การระบาดทั่วของอีโบลาในกีวู พ.ศ. 2561–62 - กราฟแสดงจำนวนคนที่ได้วัคซีน rVSV-ZEBOV ในเขตโรคระบาดของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก[62]

การระบาดของไวรัสอีโบลาของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกปี 2018[แก้]

เมื่อไวรัสอีโบลาได้ระบาดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเดือนพฤษภาคม 2018 ก็ได้ใช้วัคซีน ZEBOV[63] การติดตามคนผู้สัมผัสกับผู้ติดโรค 1,706 คน (แล้วได้ให้วัคซีนแก่คนรอบข้างผู้ติดโรคเป็น ring vaccination จำนวน 3,330 คน) ในที่สุดก็ไม่เหลือผู้ติดโรคเลยเมื่อถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2018[64] หลังจากกำหนด 42 วันที่ไม่มีใครติดโรคใหม่เลย การระบาดก็จัดว่ายุติในวันที่ 24 กรกฎาคม[65][66][67][68]

การระบาดของไวรัสอีโบลาที่เขตคีวู[แก้]

ในวันที่ 1 สิงหาคม โรคไวรัสอีโบลาได้เกิดระบาดในเขตคีวูเหนือในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก หลังจาก 6 เดือน จำนวนคนติดโรค (รวมทั้งที่น่าจะเป็นและสงสัย) รวม 1,615 คนโดยเสียชีวิต 930 คน[69] โดยเหตุการณ์ความรุนแรงในเขตนี้ได้ช่วยกระจายไวรัส[70][71][72]

ผลงานเบื้องต้นแสดงว่า การให้วัคซีนแก่คนรอบข้างผู้ติดโรค (ring vaccination) มีประสิทธิผลลดการระบาดของโรคอย่างดียิ่ง[7][8]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. เซลล์เวโร (Vero cell) เป็นสายพันธุ์ของเซลล์สายหนึ่งที่ใช้ในการเพาะเซลล์[25] สายพันธุ์ได้สกัดมาจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวของไตลิงแอฟริกาสกุล Chlorocebus (เรียกว่าลิงแอฟริกาเขียว) ตัวหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นที่มหาวิทยาลัยชิบะได้พัฒนาสายพันธุ์นี้ขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 1962[26] ชื่อคือ เวโร มาจากคำย่อภาษาเอสเปรันโตว่า verda reno ซึ่งแปลว่า ไตสีเขียว ส่วนคำว่า vero ในภาษาโดยตรงหมายความว่า "ความจริง"[27]

อ้างอิง[แก้]

  1. Monath, TP; Fast, PE; Modjarrad, K; และคณะ (April 2019). "rVSVΔG-ZEBOV-GP (also designated V920) recombinant vesicular stomatitis virus pseudotyped with Ebola Zaire Glycoprotein: Standardized template with key considerations for a risk/benefit assessment". Vaccine: X. 1. 100009. doi:10.1016/j.jvacx.2019.100009. PMC 6668225. PMID 31384731.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Ervebo (Ebola Zaire Vaccine, Live) Suspension for intramuscular injection" (PDF). Merck Sharp & Dohme.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Ervebo EPAR". European Medicines Agency (EMA). 2019-10-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-29. สืบค้นเมื่อ 2020-03-29.
  4. Trad, MA; Naughton, W; Yeung, A; และคณะ (January 2017). "Ebola virus disease: An update on current prevention and management strategies". Journal of Clinical Virology. 86: 5–13. doi:10.1016/j.jcv.2016.11.005. hdl:10144/618818. PMID 27893999.
  5. Pavot, V (December 2016). "Ebola virus vaccines: Where do we stand?". Clinical Immunology. 173: 44–49. doi:10.1016/j.clim.2016.10.016. PMID 27910805.
  6. 6.0 6.1 6.2 Medaglini, D; Siegrist, CA (April 2017). "Immunomonitoring of human responses to the rVSV-ZEBOV Ebola vaccine". Current Opinion in Virology. 23: 88–94. doi:10.1016/j.coviro.2017.03.008. PMID 28460340.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Mole, Beth (2019-04-16). "As Ebola outbreak rages, vaccine is 97.5% effective, protecting over 90K people". Ars Technica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-24. สืบค้นเมื่อ 2019-04-17.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Ebola Ring Vaccination Results April 12, 2019 (PDF). World Health Organization (WHO) (Report). 2019-04-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-14. สืบค้นเมื่อ 2019-04-17.
  9. Marzi, Andrea; และคณะ (November 2011). "Vesicular Stomatitis Virus-Based Ebola Vaccines With Improved Cross-Protective Efficacy". Journal of Infectious Diseases. 204 (suppl 3): S1066–S1074. doi:10.1093/infdis/jir348. PMC 3203393. PMID 21987743. สืบค้นเมื่อ 2015-07-31.
  10. 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 10.10 10.11 "First FDA-approved vaccine for the prevention of Ebola virus disease, marking a critical milestone in public health preparedness and response". U.S. Food and Drug Administration (FDA) (Press release). 2019-12-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-20. สืบค้นเมื่อ 2019-12-19. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  11. "Ervebo". U.S. Food and Drug Administration (FDA). 2019-12-19. STN: 125690. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-29. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28.
  12. 12.0 12.1 12.2 Grady, Denise (2014-10-23). "Ebola Vaccine, Ready for Test, Sat on the Shelf". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-14. สืบค้นเมื่อ 2019-12-21.
  13. 13.0 13.1 "Merck & Co. Licenses NewLink's Ebola Vaccine Candidate". Genetic Engineering & Biotechnology News. 2014-11-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-02.
  14. McKenzie, David (2018-05-26). "Fear and failure: How Ebola sparked a global health revolution". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-26. สืบค้นเมื่อ 2018-05-26.
  15. 15.0 15.1 "WHO coordinating vaccination of contacts to contain Ebola flare-up in Guinea". World Health Organization (WHO). March 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-11. สืบค้นเมื่อ 2016-05-14.
  16. "Congo approves use of Ebola vaccination to fight outbreak". Reuters. 2017-05-29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-27. สืบค้นเมื่อ 2017-05-29.
  17. Maxmen, Amy (2017). "Ebola vaccine approved for use in ongoing outbreak". Nature. doi:10.1038/nature.2017.22024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-20.
  18. Ebola Virus Disease Democratic Republic of the Congo: External Situation Report 22 (PDF) (Report). World Health Organization (WHO) Regional Office for Africa. June 2017. hdl:10665/255645.
  19. 19.0 19.1 Martínez-Romero, C; García-Sastre, A (2015). "Against the clock towards new Ebola virus therapies". Virus Res. 209: 4–10. doi:10.1016/j.virusres.2015.05.025. PMID 26057711.
  20. Shuchman, M (May 2015). "Ebola vaccine trial in west Africa faces criticism". Lancet. 385 (9981): 1933–4. doi:10.1016/S0140-6736(15)60938-2. PMID 25979835.
  21. Choi, WY (January 2015). "Progress of vaccine and drug development for Ebola preparedness". Clin Exp Vaccine Res. 4 (1): 11–16. doi:10.7774/cevr.2015.4.1.11. PMC 4313103. PMID 25648233.
  22. Regules, JA; และคณะ (April 2015). "A Recombinant Vesicular Stomatitis Virus Ebola Vaccine - Preliminary Report". N Engl J Med. 376 (4): 330–341. doi:10.1056/NEJMoa1414216. PMC 5408576. PMID 25830322.
  23. "FAQs about the context of this clinical trial: Question 22". Hôpitaux Universitaires de Genève. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-16.
  24. 24.0 24.1 "The strange tale of Canada's ebola vaccine: Commercial rights to a vaccine worth $50 million were sold to a U.S. middleman for $205,000". The Star. 2014-11-25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-26.
  25. Sheets, Rebecca (2000-05-12). "History and Characterization of the Vero Cell Line (A Report prepared by CDR Rebecca Sheets, Ph.D., USPHS CBER/OVRR/DVRPA/VVB for the Vaccines and Related Biological Products Advisory Committee Meeting to be held on May 12, 2000 OPEN SESSION)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2003-04-03.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  26. Yasumura, Y; Kawakita, M (1963). "The research for the SV40 by means of tissue culture technique". Nippon Rinsho. 21 (6): 1201–1219.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  27. Shimizu, B (1993). Seno, K; Koyama, H; Kuroki, T (บ.ก.). Manual of selected cultured cell lines for bioscience and biotechnology (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Kyoritsu Shuppan. pp. 299–300. ISBN 4-320-05386-9.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  28. "NewLink, Merck sign Ebola vaccine licensing pact". FierceVaccine. 2014-11-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-27.
  29. "Merck to manufacture NewLink Ebola vaccine in-house". BioPharma Reporter. 2014-11-25.
  30. Published PCT Application WO2004011488: Recombinant vesicular stomatitis virus vaccines for viral hemorrhagic fevers, claiming priority to US provisional patent application serial number 60/398,552 filed on July 26, 2003.
  31. Baize, Sylvain (2005). "A single shot against Ebola and Marburg virus". Nature Medicine. 11 (7): 720–21. doi:10.1038/nm0705-720. PMID 16015361.
  32. Jones, Steven M. (2005). "Live attenuated recombinant vaccine protects nonhuman primates against Ebola and Marburg viruses". Nature Medicine. 11 (7): 786–90. doi:10.1038/nm1258. PMID 15937495.
  33. 33.0 33.1 Branswell, Helen (2014-10-20). "Canada urged to cancel Ebola vaccine licence, transfer rights to bigger company". CTVNews. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-29.
  34. 34.0 34.1 "Ebola outbreak: 1st human trials of Canadian vaccine start in U.S." CBC News. Associated Press. 2014-10-13. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-20.
  35. "Sole Redacted License Agreement for Recombinant Vesicular Stomatitis Virus Vaccines for Viral Hemorrhagic Fevers". Public Health Agency of Canada. 2014-10-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-22.
  36. Origins of the 2014 Ebola epidemic (Report). World Health Organization (WHO). January 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-23. สืบค้นเมื่อ 2016-10-08.
  37. "Exclusive: Canada to donate its own Ebola vaccine to WHO for use in Africa". Reuters. 2014-08-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-30.
  38. "Fact Sheet - VSV-EBOV - Canada's vaccine for Ebola". Public Health Agency of Canada. 2013-08-02. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-22.
  39. Van Arnum, Patricia (2014-10-21). "Pharmaceutical companies join the effort to develop and produce vaccines and treatments for the Ebola virus". DCAT. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-04.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  40. Branswell, Helen (2014-10-08). "Canadian Ebola vaccine license holder moving ahead with safety trials". Canadian Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-09. สืบค้นเมื่อ 2014-10-13.
  41. "A Phase 1 Randomized, Double-Blind, Placebo Controlled, Dose-Escalation Study to Evaluate the Safety and Immunogenicity of Prime-Boost VSV Ebola Vaccine in Healthy Adults". National Institute of Allergy and Infectious Diseases (NIAID). 2014-10-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-17. สืบค้นเมื่อ 2014-10-13.
  42. "FAQs about the context of this clinical trial: Question 10". Hôpitaux Universitaires de Genève. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-30.
  43. Table of vaccine clinical trials. World Health Organization (WHO) (Report). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-17. สืบค้นเมื่อ 2016-10-14.
  44. "Canadian Ebola vaccine development taken over by Merck". Reuters. 2014-11-24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-02.
  45. Medaglini, D; Harandi, AM; Ottenhoff, TH; Siegrist, CA; VSV-Ebovac, Consortium. (2015-12-09). "Ebola vaccine R&D: Filling the knowledge gaps". Science Translational Medicine. 7 (317): 317ps24. doi:10.1126/scitranslmed.aad3106. PMC 6858855. PMID 26659569.
  46. "Q&A on trial of Ebola Virus Disease vaccine in Guinea". World Health Organization (WHO). 2015-07-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-15. สืบค้นเมื่อ 2019-11-14.
  47. Gallagher, James (2015-07-31). "Ebola vaccine is 'potential game-changer'". BBC News Online. UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-30. สืบค้นเมื่อ 2015-07-30.
  48. Henao-Restrepo, Ana Maria; และคณะ (2015-07-31). "Efficacy and effectiveness of an rVSV-vectored vaccine expressing Ebola surface glycoprotein: interim results from the Guinea ring vaccination cluster-randomised trial". Lancet. 386 (9996): 857–866. doi:10.1016/S0140-6736(15)61117-5. PMID 26248676.
  49. Metzger, Wolfram G; Vivas-Martínez, Sarai (2018). "Questionable efficacy of the rVSV-ZEBOV Ebola vaccine". Lancet. 391 (10125): 1021. doi:10.1016/S0140-6736(18)30560-9. PMID 29565013.
  50. Hirshler, Ben; Kelland, Kate (2016-01-20). "Vaccines alliance signs $5 million advance deal for Merck's Ebola shot". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-05. สืบค้นเมื่อ 2016-01-20.
  51. 52.0 52.1 Er, Busta; M, Mancher; Pa, Cuff; K, McAdam; G, Keusch (2017). "Integrating Clinical Research Into Epidemic Response: The Ebola Experience". National Library of Medicine. PMID 28696651.
  52. Geisbert, TW (2016-12-22). "First Ebola virus vaccine to protect human beings?". Lancet. 389 (10068): 479–480. doi:10.1016/S0140-6736(16)32618-6. PMID 28017402.
  53. Schnirring, Lisa (2016-12-27). "Ebola vaccine highly effective in final trial results". CIDRAP. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-17. สืบค้นเมื่อ 2016-12-28.
  54. "FDA Accepts Merck's Biologics License Application (BLA) and Grants Priority Review for V920, the Company's Investigational Vaccine for Ebola Zaire Virus" (Press release). 2019-09-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-20. สืบค้นเมื่อ 2019-09-17 – โดยทาง Business Wire.
  55. "Major milestone for WHO-supported Ebola vaccine". World Health Organization (WHO) (Press release). 2019-10-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-11. สืบค้นเมื่อ 2019-10-19.
  56. "First vaccine to protect against Ebola". European Medicines Agency (EMA) (Press release). 2019-10-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-11. สืบค้นเมื่อ 2019-11-11.
  57. "Ervebo". European Medicines Agency (EMA). 2019-10-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-15. สืบค้นเมื่อ 2019-11-15.
  58. "Merck's Ervebo [Ebola Zaire Vaccine (rVSVΔG-ZEBOV-GP) live] Granted Conditional Approval in the European Union" (Press release). Merck. 2019-11-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-11. สืบค้นเมื่อ 2019-11-11 – โดยทาง Business Wire.
  59. "WHO prequalifies Ebola vaccine, paving the way for its use in high-risk countries". World Health Organization (WHO) (Press release). 2019-11-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-15. สืบค้นเมื่อ 2019-11-13.
  60. "MSF's response to CEPI's policy regarding equitable access". Médecins Sans Frontières Access Campaign (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-18. In vaccine development, access to know how is important. Knowledge and expertise including but not limited to purification techniques, cell lines, materials, software codes and their transfer of this to alternative manufacturers in the event the awardee discontinues development of a promising vaccine is critically important. The recent example of Merck abandoning the development of rVSV vaccines for Marburg (rVSV-MARV) and for Sudan-Ebola (rVSV-SUDV) is a case in point. Merck continues to retain vital know-how on the rVSV platform as it developed the rVSV vaccine for Zaire-Ebola (rVSV-ZEBOV) with funding support from GAVI. While it has transferred the rights on these vaccines back to Public Health Agency of Canada, there is no mechanism to share know how on the rVSV platform with other vaccine developers who would like to also use rVSV as a vector against other pathogens.
  61. "EBOLA RDC - Evolution de la riposte contre l'épidémie d'Ebola dans les provinces du Nord Kivu et de l'Ituri au Lundi 31 décembre 2018". us13.campaign-archive.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-24. สืบค้นเมื่อ 2018-12-31.
  62. Berlinger, Joshua. "Congo to begin vaccinating against Ebola". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-25. สืบค้นเมื่อ 2018-07-02.
  63. "EBOLA RDC - Communication spéciale du Ministre de la Santé concernant l'évolution de la neuvième épidémie d'Ebola en RDC". us13.campaign-archive.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-22. สืบค้นเมื่อ 2018-07-02.
  64. Organization)), ((World Health; ((Regional Office for, Africa)) (2018). "Weekly Bulletin on Outbreak and other Emergencies: Week 26: 23 - 29 June 2018". Weekly Bulletin on Outbreaks and Other Emergencies: 1-23. hdl:10665/272981. License: CC BY-NC-SA 3.0 IGO.
  65. Schlein, Lisa. "Congo Ebola Outbreak Expected to End Next Week". VOA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-18. สืบค้นเมื่อ 2018-07-17.
  66. "Media Advisory: Expected end of Ebola outbreak". ReliefWeb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-24. สืบค้นเมื่อ 2018-07-23.
  67. "Ebola outbreak in DRC ends: WHO calls for international efforts to stop other deadly outbreaks in the country". World Health Organization (WHO) (Press release). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-10. สืบค้นเมื่อ 2018-07-24.
  68. "Outbreaks and Emergencies Bulletin, Week 17: 22 - 28 April 2019". WHO | Regional Office for Africa. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-24. สืบค้นเมื่อ 2019-04-29.
  69. "EBOLA RDC - Evolution de la riposte contre l'épidémie d'Ebola dans les provinces du Nord Kivu et de l'Ituri au Vendredi 4 janvier 2019". us13.campaign-archive.com (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-11. สืบค้นเมื่อ 2019-01-05.
  70. "Statement on disruptions to the Ebola response in the Democratic Republic of the Congo". World Health Organization (WHO). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-20. สืบค้นเมื่อ 2019-01-05.
  71. Mahamba, Fiston (2018-08-01). "Congo declares new Ebola outbreak in eastern province". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-24. สืบค้นเมื่อ 2019-01-05.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]