โรงเรียนมารีย์วิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มารีย์วิทยา)
โรงเรียนมารีย์วิทยา
Saint Mary's College
/Marie Vithaya School
Marie Vithaya School
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นม.ว. (MV)
ประเภทเอกชน
คำขวัญศึกษาดี มีคุณธรรม
สถาปนา9 เมษายน พ.ศ. 2499 (67 ปี 356 วัน)
ผู้ก่อตั้งบาทหลวงมารีอุส หลุยส์ เบรย์ และเซอร์โยเซฟ อันนา คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
สี  ฟ้า -   ขาว -   แดง
เพลงมาร์ชมารีย์,มาร์ชสดุดีมารีย์วิทยา,มาร์ชมารีย์วิทยา,มาร์ชมารีย์วิทยา นครราชสีมา,เพลงAve Maria
ดอกไม้ดอกราชพฤกษ์(คูณ)
เว็บไซต์[1]

โรงเรียนมารีย์วิทยา (อักษรย่อ: ม.ว. /MV) เป็นสถานศึกษาเอกชนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2499 โดยบาทหลวงมารีอุส หลุยส์ เบรย์ และเซอร์โยเซฟ อันนา (อธิการิณีคนแรกของโรงเรียนมารีย์วิทยา) เริ่มเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 โดยคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร เปิดสอนครอบคลุมทุกระดับชั้นตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

โรงเรียนมารีย์วิทยาตั้งอยู่ ณ เลขที่ 386 ถนนมุขมนตรี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา บนพื้นที่ขนาด 31 ไร่ 2 งาน 6.5 ตารางวา ของกรมธนารักษ์

 

ประวัติของโรงเรียน[แก้]

บาทหลวงมารีอุส หลุยส์ เบรย์ เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนมารีย์วิทยา โดยได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2499 เปิดทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 โดยให้คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร เข้ามาดำเนินงานบริหารงาน เปิดสอนระดับประถมศึกษา มีนักเรียนจำนวน 210 คน ครู 6 คน และเซอร์ 3 คน โดยมีเซอร์โยโซฟอันนา ดำรงตำแหน่งอธิการิณี และเซอร์อัลฟองส์ เดอ แซงปีแอร์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการและครูใหญ่ ปี พ.ศ. 2502 โรงเรียนมารีย์วิทยาได้เปิดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 1,700 คน และครู 35 คน ในปีนี้โรงเรียนมารีย์วิทยาได้รับการรับรองวิทยฐานะให้เทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล ทางโรงเรียนได้สร้างห้องสมุด ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องสังคมศึกษา และสนามกีฬา ในปี พ.ศ. 2506 โรงเรียนได้เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับพระกรุณาธิคุณจาก ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จทรงเปิดศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น (To Be Number One Friend Corner) และทรงเป็นประธานในการแสดงคอนเสิร์ต To Be Number One ด้วย

ประตูทางเข้า โรงเรียนมารีย์วิทยา นครราชสีมา ในยุคแรก
ป้ายชื่อโรงเรียนและประตูโรงเรียน สมัยที่ 2 (ประมาณ 30-40 ปีที่แล้ว)

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน[แก้]

ตราประจำโรงเรียน รูปพระแม่มารีย์อยู่ในวงกลมรอบ ๆ ด้านข้างภายในวงกลมมีชื่อโรงเรียนอยู่ด้านหน้า และชื่อจังหวัดอยู่ ด้านหลังของรูปพระแมํมารีย์ใช้รูปพระแม่มารีย์เป็นเครื่องหมายโรงเรียน โดยโรงเรียนมารีย์วิทยายึดพระแม่มารีย์เป็น องค์อุปถัมภ์ทุกคนที่เรียนโรงเรียนนี้ ได้ชื่อว่าเป็น “ลูกมารีย์” ลูกมารีย์พึงยึดคุณธรรมของพระแม่มารีย์เป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิต

สีประจำโรงเรียน
  ฟ้า หมายถึง พระแม่มารีย์ผู้เป็นองค์อุปถัมภ์ของโรงเรียน
  ขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
  แดง หมายถึง ความรัก

คติพจน์[แก้]

“ ซื่อสัตย์ เสียสละ ”

เอกลักษณ์ลูกมารีย์[แก้]

“ สะอาด มารยาทดี มีวินัย ใจกตัญญู ”

อัตลักษณ์ลูกมารีย์[แก้]

“ รัก-เมตตา ซื่อสัตย์ กตัญญู อยู่อย่างพอเพียง ”

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน[แก้]

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 เซอร์โยเซฟ อันนา
2 เซอร์อัลฟองส์ สะอาด วรศิลป์ พ.ศ. 2499 - 2504
3 เซอร์คริสติน เดอ มารี รัตนา มารีย์พีรพงศ์ พ.ศ. 2504 - 2505
4 เซอร์โรซามีคาแอลลา ทองเทพ อุดมเดช พ.ศ. 2505 - 2509
5 เซอร์แมรี่สนิท ทรัพย์เย็น พ.ศ. 2510 - 2521
6 เซอร์มีแชล พูนสุข บุญหนา พ.ศ. 2521 - 2522
7 เซอร์เรอเน เดอ มารี อาภรณ์ แสงหิรัญ พ.ศ. 2522 - 2530
8 เซอร์โรส เดอ ลังฟังค์ เยซู วิภา เลค พ.ศ. 2530 - 2535
9 เซอร์อังตวน สุณากรรณ ศิวะบวร พ.ศ. 2535 - 2538
10 เซอร์ชอง บัปติส กาญจนา สุดประเสริฐ พ.ศ. 2539 - 2548
11 เซอร์สกอลัสติก วิภาดา สัณฐิติ พ.ศ. 2548 - 2554
12 เซอร์มารีโนแอล สายอรุณ ผิวเกลี้ยง พ.ศ. 2554 - 2560
13 เซอร์วีร์จีนี เทพิน เดชานนท์ พ.ศ. 2560 - 2566
14 เซอร์โยเซฟีนา ทิพย์วรรณ คำเหลา พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

สิ่งปลูกสร้างภายในโรงเรียน[แก้]

ปัจจุบัน[แก้]

บรรยากาศภายในห้องเรียนราวปี 251X
  • อาคารมารีอา มี 4 ชั้น โดยชั้นที่ 1 เป็นโรงอาหารและจัดคอนเสิร์ตหรือพิธีการต่างๆ ชั้นที่ 2 เป็นทางเดินซึ่งเชื่อมกับอาคารมารีอุส เซนต์แมรี่ และยอห์นปอล 2 ชั้นที่ 3 เป็นห้องสมุด และชั้นที 4 เป็นหอประชุม ไว้ทำพิธีการ หริอ จัดกิจกรรมหลายๆอย่าง
  • อาคารมารีอุส มี 6 ชั้น + ชั้นใต้ดิน เป็นอาคารเรียนของระดับ ม.ต้น และยังมีห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องโสตทัศนูปกรณ์ ส่วนชั้นที่ 1 เป็นโรงอาหาร และเป็นที่ทำการของแผนกธุรการ และการเงิน,ฝ่ายประชาสัมพันธ์,สำนักทะเบียน ส่วนชั้นที่ 6 เป็นหอพักของนักเรียนประจำชาย และชั้นใต้ดินไว้สำหรับการติวหรือสอบของนักเรียน
  • อาคารเซนต์แมรี่ (ใหม่) พึ่งสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2558 เป็นอาคารเรียนของระดับ ม.ปลาย และยังมีห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เหมือนกับอาคารมารีอุส ห้องสำหรับฝึกซ้อม เอแม็ท ครอสเวิร์ด คำคม และห้องสำหรับเรียนคำสอนของนักเรียนที่นับถือศาสนาคริสต์ และยังมีห้องดนตรีไทย ห้องซ้อมร้องเพลง ห้องวิชาการ ส่วนชั้นที่ 1 เป็นโรงอาหารและยังมีห้องศิลปะ ห้องโรเนียว ธนาคารโรงเรียน
  • อาคารยอห์นปอล 2 มี 6 ชั้น + ชั้นใต้ดิน เป็นอาคารเรียนสำหรับระดับก่อนอนุบาล อนุบาล และประถมต้น
  • อาคารเซนต์เมรี่อินเตอร์ มี 7 ชั้น เป็นอาคารเรียนของระดับประถมปลาย และเป็นห้องเรียนของแผนก English Program และยังมีห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์
  • อาคารอาแลงวังกาแวร์ มี 2 ชั้น ใช้เรียนวิชาพลศึกษา
  • อาคารปีเตอร์แอนต์ปอล มี 5 ชั้น ใช้เรียนวิชาพลศึกษา และเป็นหอพักสำหรับนักกีฬาช้างเผือก
  • อาคารเซนต์ปอล มี 4 ชั้น ใช้เป็นหอพักของนักเรียนประจำหญิง
  • อาคารยออากิม มี 2 ชั้น
  • อาสนวิหารแม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด ใช้ทำพิธีการในศาสนาคริสต์ เช่น พิธีมิสซา พิธีล้างบาป และอื่นๆ
  • สนามบาสเกตบอล
  • สนามฟุตบอล
  • สระว่ายน้ำเอ็มอาร์วี ใช้เรียนว่ายน้ำสำหรับนักเรียนระดับ ป.3-ป.6
  • ร้านค้าสวัสดิการ

อดีต[แก้]

  • อาคารเซนต์โยเซฟ มี 3 ชั้น
  • อาคารเซนต์แมรี่ (เดิม) มี 3 ชั้น

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

[1] [2] [3]

  1. "โรงเรียนมารีย์วิทยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-19. สืบค้นเมื่อ 2009-01-26.
  2. สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนมารีย์วิทยา
  3. โรงเรียนมารีย์วิทยา นครราชสีมา