ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวยิวในประเทศไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
[[หมวดหมู่:ชาวยิว]]
[[หมวดหมู่:ชาวยิว]]
[[หมวดหมู่:กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย]]

[[en:History of the Jews in Thailand]]
[[tr:Tayland'daki Yahudilerin tarihi]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:23, 9 มีนาคม 2556

ประวัติศาสตร์ชาวยิวในประเทศไทยนั้นมีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ด้วยการมาถึงของครอบครัวชาวยิวแบกแดดจำนวนหนึ่ง ถึงแม้ว่าชาวยิวในประเทศไทยปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่จะประกอบด้วยชาวยิวอัชเคนาซิ ซึ่งเป็นผู้ลี้ภัยจากรัสเซีย และสหภาพโซเวียตในเวลาต่อมา นอกจากนี้ ยังมีชาวยิวเปอร์เซียอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศเพื่อหนีการไล่ล่าและสังหารในอิหร่าน ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980

ชาวยิวที่ตั้งรกรากถาวรในประเทศไทยส่วนใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยชาวยิวไม่เกิน 1,000 คน อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณถนนข้าวสาร) ถึงแม้ว่าประชาคมชาวยิวที่มีขนาดเล็กกว่าและมีธรรมศาลายิวจะมีอยู่ในจังหวัดภูเก็ต จังหวัดเชียงใหม่ และเกาะสมุย ในช่วงวันหยุดของชาวยิว จำนวนชาวยิวในบริเวณดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก (เป็นหลายพัน) เนื่องจากมีชาวยิวเดินทางเข้ามาในช่วงวันหยุดเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอิสราเอลและสหรัฐอเมริกา ตามการขอจัดตั้งธรรมศาลายิวสองแห่งขึ้นในกรุงเทพมหานคร เบธ อีลิเชวาและอีเวน เชน, ราไบโยเซฟ ชาอิม คันทอร์ ได้ดำรงตำแหน่งราไบถาวรคนแรกในกรุงเทพมหานคร ใน พ.ศ. 2536 เขาอาศัยอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ในปีเดียวกับที่สมาคมชาวยิวแห่งประเทศไทยได้รับการก่อตั้งขึ้น และเป็นสมาชิกชาบัด

ชาบัดในกรุงเทพมหานคร

ชาบัดในกรุงเทพมหานครเป็นชาบัดเฮ้าส์ขนาดใหญ่[1] ซึ่งบริการให้แก่นักท่องเที่ยวหนุ่มสาวชาวอิสราเอลเป็นส่วนใหญ่[2] สถานที่ดังกล่าวเป็นศูนย์บรรเทาภัยพิบัติที่สำคัญหลังจากเหตุการณ์สึนามิเมื่อ พ.ศ. 2547[3] นอกจากนี้ ยังได้เสิร์ฟมื้ออาหารชาบัตให้แก่นักท่องเที่ยวชาวยิวหลายร้อยคนต่อสัปดาห์ และอีกหลายร้อยคนในช่วงเทศกาลปัสกา[4]

การศึกษา

ปัจจุบัน มีการศึกษาชาวยิวครบวงจรในกรุงเทพมหานคร นับตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมทั้งเยชิวานิกายออร์โธด็อกซ์ที่เพิ่งเปิดใหม่ด้วย หลังจากที่ได้มีการขอรัฐบาลมาเป็นเวลาหลายปี ในที่สุดรัฐบาลก็อนุญาตให้มีการก่อตั้งสุสานชาวยิวได้[5]

อ้างอิง

  1. Inside Bangkok’s Chabad House As Hanukkah begins we tour the city’s Jewish-only sanctuary, where the wine flows and phone calls home are free, Richard S. Ehrlich, http://www.cnngo.com/bangkok/none/inside-bangkoks-chabad-house-191691#ixzz19bf2njtQ, CNN, December 11, 2009.
  2. World Wide Web; How did a small Hasidic court become a phenomenon that is fomenting something of a revolution in the Jewish world? The 4,000 Chabad emissaries who convened in New York offer a simple answer: energy, motivation, love and tolerance, Yair Ettinger, Haaretz, December 3, 2010, http://www.haaretz.com/weekend/magazine/world-wide-web-1.328607
  3. January 6, 2005, Report From Phuket Faith and Tsunami: A Rescue Mission, Jewish Journal http://www.jewishjournal.com/articles/item/report_from_phuket_faith_and_tsunami_a_rescue_mission_20050107/
  4. Rebbe’s army soldiers on, Sue Fishkoff , November 30, 2008, JTA, http://jta.org/news/article/2008/11/30/1001259/what-keeps-the-rebbes-army-going
  5. The Jews of Khao San Road

แหล่งข้อมูลอื่น