ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มังกรหยก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2526)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Calearm99 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 195: บรรทัด 195:
==อ้างอิง==
==อ้างอิง==
{{reflist}}
{{reflist}}
* {{zh icon}}[http://www.bastillepost.com/hongkong/article/1779187-%E7%BF%BB%E6%8B%8D7%E6%AC%A1-%E9%82%A3%E4%BA%9B%E5%B9%B4%E7%9A%84%E3%80%8A%E5%B0%84%E9%9B%95%E3%80%8B%E4%BD%A0%E9%8D%BE%E6%84%8F%E9%82%8A%E5%80%8B%EF%BC%9F "มังกรหยก2526 เป็นเวอร์ชันที่คลาสิคที่สุด:]
* {{zh icon}}[https://topick.hket.com/article/1805435/%E6%AD%B7%E4%BB%A3%E3%80%8A%E5%B0%84%E9%B5%B0%E8%8B%B1%E9%9B%84%E5%82%B3%E3%80%8B%E9%9B%BB%E8%A6%96%E5%8A%87%20%20%20%E9%82%8A%E5%80%8B%E6%98%AF%E4%BD%A0%E7%9A%84%E6%88%90%E9%95%B7%E5%9B%9E%E6%86%B6%EF%BC%9F บทวิจารณ์ อึ้งยุคแต่ละยุค] โดย [[Hket]]


==แหล่งข้อมูลอื่น==
==แหล่งข้อมูลอื่น==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:47, 2 สิงหาคม 2561

มังกรหยก
ปกดีวีดี
ประเภทกำลังภายใน
เขียนโดยกิมย้ง (original story)
เฉิน กิวหยิง
เฉิง หว่าบิว
กำกับโดยหวังเทียนหลิน
ตู้ ฉีฟง
อู๋ ยัตฟาน
เหล่า สียัก
เสี่ยว หินไฟ
ชิง เสี่ยวถัง (กำกับฉากต่อสู้)
แสดงนำหวง เย่อหัว
อง เหม่ยหลิง
เหมียว เฉียวเหว่ย
หยาง พ่านพ่าน
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องโจเซฟ กู่
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด1. Tit Huet Dam Sum (鐵血丹心)
2. Yat Sang Yau Yi Yi (一生有意義)
3. Sai Kan Chi Chung Nei Ho (世間始終你好)
ขับร้องโดย "หลอเหวิน" และ "เจินหนี"
ประเทศแหล่งกำเนิดฮ่องกง
ภาษาต้นฉบับกวางตุ้ง
จำนวนตอน60 (uncut) 59 (cut)
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้าง"หวังเทียนหลิน"
สถานที่ถ่ายทำฮ่องกง
ความยาวตอน42 นาที/ตอน
บริษัทผู้ผลิตTVB
ออกอากาศ
เครือข่ายTVB Jade
ออกอากาศ21 กุมภาพันธ์ –
22 กรกฎาคม 1983
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
มังกรหยก ภาค 2 ตอน จอมยุทธอินทรี

"มังกรหยก ภาค1" (อังกฤษ: The Legend of conder heroes) เป็นละครโทรทัศน์ภาคแรกที่มีทั้งหมด 3 ภาคด้วยกัน เป็นการดัดแปลงมาจากวรรณกรรมชิ้นเอกของ กิมย้ง เรื่อง มังกรหยก มังกรหยกเวอร์ชันนี้ถูกสร้างเป็นละครครั้งที่สอง โดยสถานีโทรทัศน์ ทีวีบี ของ ฮ่องกง เป็นเวอร์ชันที่ดำเนินเรื่องไม่ตรงตามประพันธ์เดิม เพราะมีการแต่งเติมบทละครเพิ่มเติมออกไปเพื่อให้ผู้ชมดูสนุกมากขึ้น และเป็นเวอร์ชันที่ถูก ยกย่องว่า "คลาสสิกที่สุด" และ ประสบความสำเร็จมากที่สุดเท่าที่มีการสร้างมา ด้วยเรตติ้งคนดูที่สูงถึง 99% ในประเทศฮ่องกง และมังกรหยกชุดนี้ยังได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงทั่วเอเชียทั้งในประเทศ จีน ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย อีกทั้งยังได้รับรางวัล ละครชุดยอดนิยม ในเทศกาลงาน "นิวยอร์กฟิล์มเฟสติวัล" จาก ย่านไชน่าทาวน์ ใน ประเทศ สหรัฐอเมริกา อีกด้วย นำแสดงโดย หวง เย่อหัว, อง เหม่ยหลิง, เหมียว เฉียวเหว่ย, หยาง พ่านพ่าน ออกอากาศครั้งแรกทางช่อง TVB ในฮ่องกง จากความสำเร็จสูงสุดของ ละครชุดนี้ ทำให้ดาราสาว อง เหม่ยหลิง ได้รับการยกย่องว่าเป็น อึ้งย้ง ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด มาจนถึงปัจจุบัน [1][2][3]


มังกรหยกเวอร์ชันนี้ ถือเป็นละครชุดของ มังกรหยก ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในนวนิยายของ "กิมย้ง" ที่ถูกนำมาสร้างเป็นละคร และยังเป็นละครที่เรตติ้งสูงที่สุดในชีวิตการเป็นผู้กำกับของผู้กำกับ "หวังเทียนหลิน" อีกด้วย ละครโทรทัศน์เรื่องนี้เป็นภาคแรก โดยมีภาค 2 ต่อคือเรื่อง มังกรหยก ภาค 2 ตอน จอมยุทธอินทรี ซึ่งดำเนินเรื่องราว ต่อเนื่องกัน

เนื้อเรื่อง

ก๊วยเชาเทียน และเอี้ยทิซิม สองพี่น้อง ได้คบหากับปรมาจารย์นักพรตสำนักช้วนจินก่า ชิว ชู่จี ทั้งสองกำลังจะมีบุตร ชิว ชู่จีจึงได้ทิ้งมีดสั้นวิเศษ 2 เล่ม ให้แก่ทั้งคู่ โดยสลักชื่อ เอี้ยคัง' และก๊วยเจ๋งไว้คนละด้าม ต่อมาอ้วนง้วนเลียกองค์ชายแห่งกิมก๊กถูกใจเปาเสียะเยาะ ภรรยาของเอี้ยทิซิม จึงวางแผนจ้างให้ขุนนางชาวฮั่นมาฉุดคร่าพาตัวไปให้ ก๊วยเชาเทียนถูกลูกหลงจนตายไป เอี้ยทิซิมไม่รู้เป็นตายร้ายดี หลีเพ้ง ภรรยาของก๊วยเชาเทียน ถูกขุนนางชั่วจับตัวเป็นตัวประกัน เปาะเสียะเยาะถูกอ้วนง้วนเลียกหลอกลวง จนยินยอมเป็นพระสนมให้เพื่อรักษา 'เอี้ยคัง' ลูกของตนเอาไว้ ด้านชิว ชู่จี มาช่วยสหายไม่ทัน จึงได้ตัดพ้อตัวเองว่าไม่เอาไหน และไล่ล่าขุนนางชั่ว จนไปขัดแย้งกับเจ็ดประหลาดแห่งกังหนำ และทั้งสองฝ่ายก็ไม่ยอมใคร แต่ชิว ชู่จีไม่อยากหักหาญน้ำใจกันไปมากกว่านี้ จึงได้คิดอุบายชุบเลี้ยงบุตรของสหายทั้งสองขึ้น และตกลงกับเจ็ดประหลาดแห่งกังน้ำว่า อีก 18 ปี ให้หลัง ให้พาบุตรของสหายที่ฝ่ายตนได้ฝึกมาประลองยุทธ์กันที่ดินแดนกังหนำ หลีเพ้งหาทางจนหลบหนีขุนนางชั่วมาได้ แต่เคราะห์กรรมกลับซัดพาไปอยู่ ณ ดินแดนมองโกล ที่นั่นเอง ที่ๆ ก๊วยเจ๋ง ได้ถือกำเนิดขึ้น

เมื่อก๊วยเจ๋งทายาทคนเดียวของสกุลก๊วยเติบโตเป็นหนุ่ม ได้รับการถ่ายทอดวิทยายุทธจากเจ็ดผู้กล้าแห่งกังหนำ เมื่อครบกำหนดวันประลองกับเอี้ยคัง เขาได้เดินทางออกจากมองโกล ระหว่างทาง เขาได้พบกับอึ้งย้ง ทั้งสองให้คำมั่นสัญญาในการจะเป็นคู่ชีวิต อีกทั้งยังร่วมผจญภัยในยุทธภพ ครั้งหนึ่งก๊วยเจ๋งได้รับการถ่ายทอดวิชาจากอั้งฉิกกง และได้รับคัมภีร์นพเก้าจากจิวแป๊ะทง ทำให้เขามีวิทยายุทธสูงล้ำยิ่งขึ้น ส่วนเอี้ยคัง ทายาทสกุลเอี้ยได้รับการเลี้ยงดูจากประมุขแห่งเมืองกิม ทั้งเอี้ยคังและก๊วยเจ๋งได้รู้จักกัน และสืบรู้ว่าประมุขแห่งเมืองกิมนั้มคือฆาตกรที่สังหารครอบครัวสกุลก๊วยและสกุลเอี้ย แต่ทว่าเอี้ยคังเห็นแก่ลาภยศ ยอมเป็นลูกของศัตรูที่ฆ่าพ่อบังเกิดเกล้า เอี้ยคังบังเอิญได้รู้ว่า ก๊วยเจ๋งมีคัมภีร์นพเก้าและคัมภีร์เยี่ยมยุทธ จึงร่วมมือกับ อาวเอี๊ยงฮงแย่งชิงคัมภีร์ทั้งสองเล่มจากก๊วยเจ๋ง โดยกำจัดเจ็ดผู้กล้าแห่งกังหนำ ซึ่งเป็นอาจารย์ของก๊วยเจ๋ง แล้วป้ายความผิดให้อึ้งเอี๊ยะซือ เพื่อก๊วยเจ๋งและอึ้งเอี๊ยะซือจะได้เข่นฆ่ากันเอง จนเป็นเหตุให้ก๊วยเจ๋งเกือบเอาชีวิตไม่รอด ขณะเดียวกัน การประลองยุทธที่เขาหัวซานใกล้มาถึง ทุกคนในยุทธภพต่างวางแผนที่จะแย่งชิงคัมภีร์ล้ำค่าทั้งสองเล่ม เป็นเหตุให้ก๊วยเจ๋งตกเป็นเป้าหมายที่ทุกคนต้องการ

นักแสดงนำ

ผลตอบรับ

ถึงแม้ว่าวรรณกรรม "มังกรหยก" เรื่องนี้จะเคยได้รับการนำมาสร้างเป็น ภาพยนตร์ และ ละครทีวี มาแล้วหลายครั้งก็ตาม แต่ไม่เคยมีครั้งไหนที่จะได้รับความนิยมมากเท่าเวอร์ชัน มังกรหยก 2526 (มากกว่า เวอร์ชันที่นำแสดงโดย ไป่เปียว และ หมีเซียะ) สิ่งที่ทำให้ "มังกรหยก" ผลงานการกำกับฯ ของ "หวังเทียนหลิน" ฉบับนี้เป็นเวอร์ชันที่ได้รับการกล่าวขานว่า "ดี" และ "โด่งดัง" มากที่สุด จนกลายมาเป็น "ความคลาสสิค" มาจากหลายปัจจัยด้วยกันอาทิ ฉากที่ดูสมจริง (เนื่องจากไม่ได้ถ่ายแต่แค่เพียงอยู่ในสตูดิโอ),เทคนิคการต่อสู้ในแบบกำลังภายในที่ดูแข็งแรง มีชั้นเชิง,เพลงประกอบอันไพเราะจากเสียงร้องของ 2 ศิลปิน "หลอเหวิน" และ "เจินหนี" (ภรรยาของซูเปอร์สตาร์หนุ่มแห่ง ชอว์ บราเดอร์ส "ฟู่เซิง") และ การคัดเลือกตัวผู้แสดงที่มีความลงตัวอย่างแท้จริง โดยเฉพาะ 2 นักแสดงนำอย่างดาราหนุ่ม "หวงเย่อหัว" ในบท "ก๊วยเจ๋ง" และ นางเอกสาวผู้ล่วงลับ "องเหม่ยหลิง" ในบท "อึ้งย้ง".จนได้รับการยกย่องจากผู้ชมละครและสื่อต่างๆ มากมายว่า เป็น มังกรหยกภาค1 ที่ดีที่สุดในแง่ของบทหนัง และตัวของนักแสดง และถึงแม้ "มังกรหยก" ชุดนี้จะไม่มีเทคนิคในการถ่ายทำเท่าเวอร์ชัน รุ่นต่อมา, แต่การแสดงที่ยอดเยี่ยมของนักแสดงเช่น อง เหม่ยหลิง,หวง เย่อหัว และเหมียว เฉียวเหว่ย ก็สามารถเอาชนะใจผู้ชมจำนวนมากได้ องเหม่ยหลิง เธอสวมจิตวิญญาณในการเล่นเป็นอึ้งย้งออกมาอย่างเต็มที่ อึ้งย้งในแบบฉบับเธอ ดูเผิน ๆ จะเป็นคนเอาแต่ใจและไม่ค่อยมีเหตุผล แต่เธอสามารถตีความในส่วนดี สามส่วนของอึ้งย้งออกมานั่นคือความฉลาด, น่ารักและมีเสน่ห์ และเธอก็ใช้ความสามารถของเธอถ่ายทอด ตัวละครอึ้งย้ง ออกมาในแบบฉบับของตัวเธอเอง ด้วยไม่ได้เลียนแบบการแสดงของ หมีเซียะ เลย และกลายมาเป็นตำนานอึ้งย้งที่โด่งดังที่สุดบนหน้าจอทีวีจนถึงทุกวันนี้. หวง เย่อหัว ตีความบทตัวละคร "ก๊วยเจ๋ง" ว่าเป็นคนซื่อสัตย์ และมีความมุ่งมั่น อดทน และหวงเย่อหัว ก็ประสบความสำเร็จมากกับบทนี้ ซึ่งในขณะเดียวกันเขาก็สามารถเล่นเป็น ก๊วยเจ๋ง ที่น่ารักและน่านับถือในตัวคน ๆ เดียวกันได้อย่างดีเยี่ยม. เอี้ยคัง รับบทโดยเหมียว เฉียวเหว่ย, เขาสามารถเล่นบทนี้ได้เหมือน เอี้ยคังตามบทประพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นบุคลิกลักษณะของเอี้ยคังหรือด้านความร้ายกาจและความสับสนในตัวเอง ซึ่งเขาถ่ายทอดอารมณ์ทั้งหมดออกมาได้ดีมาก.

ละคร "มังกรหยกเวอร์ชันในปีพ.ศ. 2526" เป็น ละครกำลังภายในสุดคลาสสิก ที่เข้าไปนั่งอยู่ในใจผู้ชมทั่วโลก โดยเฉพาะผู้ชมในประเทศจีนมากมายหลายร้อยล้านคน อง เหม่ยหลิง ผู้สวมบทบาทเป็น "อึ้งย้ง" ได้อย่างมีชีวิตชีวาและน่ารักกลายเป็นไอดอลของเด็กและผู้ใหญ่ เธอไม่ใช่ อึ้งย้ง ที่ตรงตามบทประพันธ์ของ "กิมย้ง" แต่ในหัวใจของผู้ชมส่วนใหญ่ อึ้งย้ง คือ อง เหม่ยหลิง และ องเหม่ยหลิง ก็คือ อึ้งย้ง ส่วนคนอื่นๆ ที่เล่น เป็นอึ้งย้ง ก็แค่แสดง ในขณะที่ อง เหม่ยหลิง เธอไม่ได้แสดงเป็น อึ้งย้ง แต่เธอสามารถ ทำให้ อึ้งย้ง กลายเป็น เธอ.[4][5]

Wang Zhiping หนึ่งในผู้ดูแล บล็อกยักษ์ใหญ่ ของจีน ซินล่าง คอร์ป

หลังจาก อง เหม่ยหลิง แล้ว ก็ไม่มีใครสามารถขึ้นมาแทนที่เธอได้ เหตุผลของความสำเร็จของเธอในบท อึ้งย้ง คือการแสดงที่เป็นธรรมชาติ และเธอกับอึ้งย้ง ก็มีบุคลิกที่คล้ายกัน เธอคือ ไอดอล ในหัวใจของผู้ชมที่ทันดูในยุคของเธอ [6][7][8]

เรตติ้งและรางวัล

มังกรหยกชุดนี้ ประสบความสำเร็จทางด้านเรตติ้งมากที่สุด เท่าที่มีการสร้างเป็นละครมาทั้งหมด และยังคงเป็นเวอร์ชันที่เรตติ้งประสบความสำเร็จมากที่สุดทั่วเอเชียทั้งในประเทศฮ่องกง จีน ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย.จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่มี มังกรหยก เวอร์ชัน ไหน ทำลายสถิตินี้:-

  • 1.เรตติ้งสูงสุดในประเทศ ฮ่องกง 99% ของยอดผู้ชมทั้งประเทศ กลายเป็นมังกรหยกเวอร์ชันที่มียอดผู้ชมละคร อันดับ 1 ตลอดกาล[9][10]
  • 1.เรตติ้งสูงสุดในประเทศ จีน 90% ของยอดผู้ชมทั้งประเทศ กลายเป็นมังกรหยกเวอร์ชันที่มียอดผู้ชมละคร อันดับ 1 ตลอดกาล[11][12][13]
  • เป็นมังกรหยกเวอร์ชันที่มีเรตติ้งสูงสุด อันดับ 1 ตลอดกาลในประเทศ มาเลเซีย โดยติดอันดับ 5 จาก 100 อันดับละครซีรีส์ยอดนิยมสูงสุดตลอดกาลในประเทศมาเลเซีย
  • เป็นมังกรหยกเวอร์ชันที่มีเรตติ้งสูงสุด อันดับ 1 ตลอดกาลในประเทศสิงค์โปร์ โดยติดอันดับ 6 จาก 100 อันดับละครซีรีส์ยอดนิยมสูงสุดตลอดกาลในประเทศสิงค์โปร์[14]

มาจนถึงทุกวันนี้ ก็ยังไม่มี มังกรหยกเวอร์ชันไหนที่มียอดผู้ชมสูงเท่ากับเวอร์ชันนี้

รางวัลและการยกย่อง

  • ปีพ.ศ. 2526 ละครชุด "มังกรหยก" ชนะรางวัล ละครโทรทัศน์ที่มีคนดูเยอะที่สุดประจำปี ในเทศการงาน "ภาพยนตร์และโทรทัศน์" ย่านไชน่าทาวน์ ประเทศอเมริกา
  • ปีพ.ศ. 2526 "องเหม่ยหลิง" ชนะรางวัล 10 นักแสดงยอดเยี่ยมแห่งปี (จากบทอึ้งย้ง) ในประเทศฮ่องกง
  • ปีพ.ศ. 2548 อันดับ 1 จากบทอึ้งย้ง (ชนะ) ในการออกเสียงลงคะแนนทางออนไลน์ ผ่านทาง เว๊ปไซด์ยักษ์ใหญ่ของจีน Sina.com
  • ในปีพ.ศ. 2549 สำนักข่าวซินหัว ชื่อดังของ ทางการจีน ได้ยกย่อง อง เหม่ยหลิง ให้เป็น นักแสดงสาวที่สวมบทบาทตัวละครอึ้งย้งที่ดีที่สุด และไม่มีนักแสดงสาวคนไหนเทียบชั้นได้[15]
  • ปีพ.ศ. 2550 อง เหม่ยหลิง ชนะการจัดอันดับเป็น "นักแสดงที่สวมบทบาทอึ้งย้งได้ดีที่สุด" ชนะ หมีเซียะ จาก "100 นักแสดงที่สวมบทบาทเป็นตัวละครได้ดีที่สุด" จัดอันดับโดย วงการบันเทิงฮ่องกง (hk.entertainment)
  • ปีพ.ศ. 2552 ได้รับรางวัล "ท็อปเท็นละครโทรทัศน์สุดคลาสสิค ตลอดกาล" จากงาน CCTV Award
  • ปีพ.ศ. 2555 ละครชุด มังกรหยก ได้อันดับ 1 จาก 10 สุดยอดละครชุด ยุค 80s โดย เว๊ปไซด์ชื่อดัง "spcnet.tv"
  • ปีพ.ศ. 2558 ดาราสาว "องเหม่ยหลิง" ได้อันดับ 1 จาก 10 สุดยอดบทบาทละครนวนิยายกำลังภายใน โดย หนังสือพิมพ์ Chinese whispers (อ้างอิงจาก) [16][17][18] [19][20][21][22]
ปีพ.ศ. เข้าชิง งานรางวัลและการจัดอันดับ รางวัลที่ได้รับ ผล หมายเหตุ
2526 ละครชุด "มังกรหยก" งาน "เทศกาลภาพยนตร์และโทรทัศน์" ย่านไชน่าทาวน์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ละครโทรทัศน์เรตติ้งสูงสุดประจำปี (เหรียญทอง) ชนะ
ละครชุด "มังกรหยก" วงการบันเทิงฮ่องกง โดย (ทีวีบี และหนังสือพิมพ์ the Overseas Chinese Evening) ละครโทรทัศน์เรตติ้งสูงสุดประจำปี ชนะ ยังติด ท็อปเท็น "ละครชุดที่มีเรตติ้งสูงสุดตลอดกาลของประเทศฮ่องกง" อีกด้วย
"อง เหม่ยหลิง" 10 ดารานักแสดงยอดนิยมสูงสุดประจำปี (บทอึ้งย้ง) ชนะ
2528 ละครชุด "มังกรหยก" วงการบันเทิงประเทศจีน ละครโทรทัศน์เรตติ้งสูงสุดประจำปี ชนะ ยังติด ท็อปเท็น "ละครชุดที่มีเรตติ้งสูงสุดตลอดกาลของประเทศจีน" อีกด้วย
2533 ละครชุด "มังกรหยก" วงการบันเทิงฮ่องกง "10ละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยมแห่งยุค 80s" ชนะ
2548 "อง เหม่ยหลิง" Sina Award ประเทศจีน บทบาทที่ประทับใจคนจีนมากที่สุด (อึ้งย้ง) ชนะ ชนะ เจิ้ง เส้าชิว ในบท ชอลิ่วเฮียง และโจวเหวินฟะ ในเรื่อง เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้
2549 "อง เหม่ยหลิง" "สำนักข่าวซินหัว"

(China Xinhua News) ประเทศจีน

"นักแสดงสาวที่สวมบทบาทอึ้งย้งที่ดีที่สุด" ชนะ
2550 "อง เหม่ยหลิง" วงการบันเทิงฮ่องกง (hk.entertainment) "นักแสดงที่สวมบทบาทอึ้งย้งได้ดีที่สุด" ชนะ ชนะ หมีเซียะ ในบทเดียวกัน
2552 ละครชุด "มังกรหยก" งานรางวัล CCTV Awards จาก "สถานีโทรทัศน์แห่งชาติของประเทศจีน" "10ละครโทรทัศน์สุดคลาสสิค ตลอดกาล" ชนะ
2555 ละครชุด "มังกรหยก" spcnet.tv ฮ่องกง "สุดยอดละครชุด ยุค 80s" ชนะ
2557 ละครชุด "มังกรหยก" China Internet Information Center จีน "สุดยอดละครชุดฮ่องกง ยอดนิยมในต่างปรเทศ" ชนะ
2558 "อง เหม่ยหลิง" หนังสือพิมพ์ Chinese whispers จีน "สุดยอดบทบาทละครนวนิยายกำลังภายใน" (บทอึ้งย้ง) ชนะ

อ้างอิง

  1. 最新 (เผยแพร่: 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560). "อึ้งย้งที่ดังที่สุด". โดย sohu. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. 今日早报 (เผยแพร่: 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554). ""จัดอันดับอึ้งย้ง ที่เล่นดีที่สุด" โดย หนังสือพิมพ์ Apple Daily ของ ฮ่องกง และ ไต้หวัน". โดย " chinanews". สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. หมวด: บันเทิงเอเชีย (เผยแพร่: 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560). "เปรียบเทียบ อึ้งย้ง องเหม่ยหลิง". โดย "ข่าวสด ". สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. "Apollo News Network" (เผยแพร่: 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555). "อึ้งย้ง องเหม่ยหลิง เป็นเวอร์ชันที่ดีที่สุด". โดย aboluowang. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. "Christopher " (เผยแพร่: 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556). ""เปรียบเทียบ อึ้งย้ง 14 เวอร์ชัน"". โดย gamme.com.tw. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: line feed character ใน |author= ที่ตำแหน่ง 13 (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "ฝ่ายประชาสัมพันธ์" (เผยแพร่: 6 กันยายน พ.ศ. 2559). "มังกรหยก 2526 เป็นเวอร์ชันที่ดีที่สุด". โดย สยามดารา. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. 阅读 Wang Zhiping (เผยแพร่: 4 มีนาคม พ.ศ. 2560). ""อึ้งย้งในดวงใจ องเหม่ยหลิง"". โดย ซินล่าง คอร์ป. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. "มังกรหยก 2526 เป็นเวอร์ชันที่คลาสสิกที่สุด". โดย bkkclub. เผยแพร่: 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  9. Syzhgrgg (เผยแพร่: 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560). ""มังกรหยก 1983 เรตติ้งสูงสุด"". โดย Baidu. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  10. 評校網 (เผยแพร่: 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559). ""เรตติ้งสูงสุด" ของเวอร์ชันมังกรหยก". โดย Read01. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  11. "电影先锋" (เผยแพร่: 28 มีนาคม พ.ศ. 2558). "เรตติ้ง "มังกรหยก 1983 ในประเทศจีน"". โดย wenxuecity. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  12. "电影先锋" (เผยแพร่: 29 มีนาคม พ.ศ. 2558). "เรตติ้ง "มังกรหยก ในประเทศจีน"". โดย backchina. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  13. "电影先锋" (เผยแพร่: 29 มีนาคม พ.ศ. 2558). ""10 ละครโทรทัศน์ที่เรตติ้งสูงสุดตลอดกาล ในประเทศจีน"". โดย oneplusnews. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 13, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  14. ""100 ละครโทรทัศน์ที่เรตติ้งสูงสุดตลอดกาล ในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์"". โดย ตรงหมวดรางวัลในประวัติของเธอบนวิกี. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "เว๊ปผู้จัดการ" (เผยแพร่: 9 สิงหาคม พ.ศ. 2549). ""10 ยอดฝีมือบนเวทีการแสดงของโลกบันเทิงมังกร ที่หาผู้อื่นเทียบชั้นได้ยาก". โดย "สำนักข่าวซินหัวของ ทางการจีน". สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  16. 天漠孤舟 (เผยแพร่: 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557). ""รางวัลของละคร มังหยกยก2526"". โดย Hupu. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  17. 娛樂名人 (เผยแพร่: 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550). ""100 นักแสดงที่สวมบทบาทเป็นตัวละครได้ดีที่ที่สุดในวงการบันเทิง". โดย วงการบันเทิงฮ่องกง. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  18. ""บทบาทที่ประทับใจคนจีนมากที่สุด"". โดย Sina. เผยแพร่: 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  19. PETER, WANG (เผยแพร่:13 กันยายน พ.ศ. 2558). ""องเหม่ยหลิง ได้อันดับหนึ่งจาก สิบอันดับสุดยอดบทบาทละครนวนิยายกำลังภายใน". โดย หนังสือพิมพ์ Chinese whispers. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help); ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  20. ""องเหม่ยหลิง ติดหนึ่งในสิบอันดับสุดยอดนักแสดงยอดนิยมแห่งปี". โดย barbarayung. เผยแพร่: 19 ธันวาคม พ.ศ. 2526. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  21. ""ละครยอดนิยมแห่งปี2526". โดย hongkong. เผยแพร่: 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  22. ""สุดยอดละครชุดยอดนิยมสูงสุดทั่วเอเชีย"". โดย China.org.cn. เผยแพร่: 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น