ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทัณฑฆาต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แก้ไขการสะกด
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 35: บรรทัด 35:
|}
|}


== อ้างอิง ==
สวัวา{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}


[[หมวดหมู่:อักษรไทย]]
[[หมวดหมู่:อักษรไทย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:31, 14 มิถุนายน 2560

อักษรไทย
-์
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
–ั –ํ –ิ ' "
–ุ –ู –็
ฤๅ ฦๅ
รูปวรรณยุกต์
–่ –้ –๊ –๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
–์ –๎ –ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ

ทัณฑฆาต (-์) บ้างเรียก หางกระแต[1] หรือ วัญฌการ[2] มีสัณฐานเหมือนหางกระรอก[3] ใช้เติมเหนือพยัญชนะ พร้อมด้วยสระบนและสระล่าง ที่ไม่ต้องการให้ออกเสียง แต่ต้องการคงรูปแบบตัวอักษรไว้ หรือไม่สามารถออกเสียงได้ในภาษาไทย ตัวอักษรที่เติมไม้ทัณฑฆาตเรียกว่าการันต์[4] แปลว่า "อักษรตัวสุดท้าย"[5] ส่วนใหญ่คำที่ปรากฏทัณฑฆาตจะเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศหรือคำทับศัพท์ บางคนเขียนทัณฑฆาตคล้ายเลขไทย (๙)

สำหรับสะกดคำสำหรับภาษาบาลี-สันสกฤต ก็ใช้ทัณฑฆาตในการสะกดคำ เช่นคำว่า สิน์ธู (อ่านว่า สิน-ทู) เพื่อให้ทราบว่า น เป็นตัวสะกด[6] แต่การสะกดคำบาลี-สันสกฤตส่วนใหญ่จะใช้พินทุ (-ฺ) แทน

คำที่ปรากฏทัณฑฆาตแต่ยังคงออกเสียงพยัญชนะอยู่โดยมากเป็นคำเก่า เช่น สิริกิติ์ (อ่านว่า สิ-หฺริ-กิด), โลกนิติ์ (อ่านว่า โลก-กะ-นิด) และ สุรเกียรติ์ (อ่านว่า สุ-ระ-เกียด) [7]

การใช้งาน

ทัณฑฆาตมักปรากฏในคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาอังกฤษ เป็นต้น โดยใช้ทัณฑฆาตเพื่อคงรูปการสะกดของพยัญชนะต้นแบบเอาไว้ ตัวอย่างเช่น

  • พยัญชนะทัณฑฆาตตัวเดียว เช่น ฤทธิ์ รื่นรมย์ สัมพันธ์ โทรศัพท์ อนุรักษ์ ไปป์ ฯลฯ
  • พยัญชนะทัณฑฆาตมากกว่าหนึ่งตัว เช่น ดวงจันทร์ ภาพยนตร์ วิทยาศาสตร์ พิเรนทร์ อาถรรพณ์ พระลักษมณ์ ฯลฯ
  • พยัญชนะทัณฑฆาตกลางคำ เช่น เดนมาร์ก กอล์ฟ ชอล์ก สาส์น ฯลฯ
  • พยัญชนะทัณฑฆาตร่วมกับสระ เช่น สืบพันธุ์ ต้นโพธิ์ ฤทธิ์ ฯลฯ

หลักการดูว่าคำไหนที่ควรจะใส่ทัณฑฆาต สามารถดูได้จากการออกเสียงคำนั้น ๆ ซึ่งคำที่มีทัณฑฆาตจะไม่ออกเสียงพยัญชนะที่มีทัณฑฆาตกำกับเอาไว้ เช่นคำว่า ดวงจันทร์ อ่านว่า ดวง-จัน ไม่อ่านว่า ดวง-จัน-ทอน เพราะพยัญชนะ "ทร" ข้างหลังเป็นพยัญชนะทัณฑฆาต สำหรับการอ่านพยัญชนะทัณฑฆาตที่ผิด ๆ เช่น พิ-เรน-ทอน ก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยในการเขียนให้ถูกยิ่งขึ้น เพราะจะรู้ได้ว่าเป็น "ทร์" แต่ก็ควรทราบด้วยว่าความจริงในการอ่านที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

ในภาษาอื่น

นอกจากอักษรไทยแล้ว ทัณฑฆาต ยังมีการใช้ในอักษรอื่น ได้แก่

อักษร เครื่องหมาย การใช้งาน
เขมร ใช้กำกับอักษรบางตัวที่ไม่ออกเสียง
ลาว ใช้กำกับอักษรบางตัวที่ไม่ออกเสียง

สวัวา

  1. ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร), พระยา. มูลบทบรรพกิจ CM Security pCM Security protects your pCM SecCM Security protecCM Security protects your privacytsCM Security protects yoCM Security protects your prCM SecurCM Security protects your prCM Security pCM Security protects your privacyrotects your privacyivacyity protects your privacyivacyur privacy your privacyurity protects your privacyrivacyrotects your privacyด้วยอักษรทั้ง 44. ม.ป.ท. 2452, หน้า 5
  2. กำชัย ทองหล่อ. หลักภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 53, กรุงเทพฯ : รวมสาสน์, 2554, หน้า 175
  3. อมราภิรักขิต (น้อย อมโร), พระ. อักษรนิติ แบบเรียนอักษรไทย. พิมพ์แจกในงานศพนางถนอม ปวโรลารวิทยา. พระนคร : อำนวยศิลป์, 2485, หน้า 2
  4. กำชัย ทองหล่อ. หลักภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 53, กรุงเทพฯ : รวมสาสน์, 2554, หน้า 88
  5. อุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ), พระยา. หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2541, หน้า 25-26
  6. อุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ), พระยา. หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2541, หน้า 9
  7. สุมาลี วีระวงศ์ น.ท.หญิง. (2539, พฤษภาคม). "เพราะอะไรถึงได้เพี้ยน (๑) ". สารคดี. 12:135, หน้า 67