ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรครวมไทยสร้างชาติ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
DMS WIKI (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33: บรรทัด 33:


ในงานดังกล่าว พลเอกประยุทธ์ได้สมัครเป็นสมาชิกตลอดชีพของพรรค และได้กล่าววิสัยทัศน์ต่อหน้าสมาชิกพร้อมด้วยผู้สนับสนุนพรรค<ref>{{Cite web|date=2023-01-09|title=นักการเมืองเต็มตัว 'บิ๊กตู่' สมัครสมาชิก รทสช. ขึ้นเวทีร่ายยาวภารกิจเพื่อคนไทยทั้งชาติ|url=https://www.thaipost.net/hi-light/299540/|language=th}}</ref> โดยช่วงหนึ่งเขากล่าวถึงนโยบายของพรรค ได้แก่ การปรับปรุงกฏหมาย ลดค่าครองชีพของประชาชน และเสริมสร้างความสามัคคีภายในชาติ รวมถึงสานต่อนโยบายของรัฐบาลที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก่อนหน้านี้พีระพันธุ์ระบุว่างานดังกล่าวนอกจากเป็นการเปิดตัวพลเอกประยุทธ์แล้ว ยังเป็นการคัดเลือกผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคอีกด้วย<ref>{{Cite web|title=‘พล.อ.ประยุทธ์’ สมัครสมาชิก ‘รวมไทยสร้างชาติ’ เปิดใจต้องพาประเทศไทยไปต่อ|url=https://workpointtoday.com/politics-prayut0901/|website=workpointTODAY|language=th}}</ref> แต่ยังไม่มีการประกาศแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคแต่อย่างใด<ref>{{Cite web|last=Ltd.Thailand|first=VOICE TV|date=2023-01-09|title='รทสช.' ยังไม่เคาะแคนดิเดต 'ประยุทธ์' แค่สมัครสมาชิกพรรค|url=https://www.voicetv.co.th/read/SlH5xRT1L|website=VoiceTV|language=th}}</ref>
ในงานดังกล่าว พลเอกประยุทธ์ได้สมัครเป็นสมาชิกตลอดชีพของพรรค และได้กล่าววิสัยทัศน์ต่อหน้าสมาชิกพร้อมด้วยผู้สนับสนุนพรรค<ref>{{Cite web|date=2023-01-09|title=นักการเมืองเต็มตัว 'บิ๊กตู่' สมัครสมาชิก รทสช. ขึ้นเวทีร่ายยาวภารกิจเพื่อคนไทยทั้งชาติ|url=https://www.thaipost.net/hi-light/299540/|language=th}}</ref> โดยช่วงหนึ่งเขากล่าวถึงนโยบายของพรรค ได้แก่ การปรับปรุงกฏหมาย ลดค่าครองชีพของประชาชน และเสริมสร้างความสามัคคีภายในชาติ รวมถึงสานต่อนโยบายของรัฐบาลที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก่อนหน้านี้พีระพันธุ์ระบุว่างานดังกล่าวนอกจากเป็นการเปิดตัวพลเอกประยุทธ์แล้ว ยังเป็นการคัดเลือกผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคอีกด้วย<ref>{{Cite web|title=‘พล.อ.ประยุทธ์’ สมัครสมาชิก ‘รวมไทยสร้างชาติ’ เปิดใจต้องพาประเทศไทยไปต่อ|url=https://workpointtoday.com/politics-prayut0901/|website=workpointTODAY|language=th}}</ref> แต่ยังไม่มีการประกาศแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคแต่อย่างใด<ref>{{Cite web|last=Ltd.Thailand|first=VOICE TV|date=2023-01-09|title='รทสช.' ยังไม่เคาะแคนดิเดต 'ประยุทธ์' แค่สมัครสมาชิกพรรค|url=https://www.voicetv.co.th/read/SlH5xRT1L|website=VoiceTV|language=th}}</ref>

==ข้อวิจารณ์==
[[พรรคก้าวไกล]] กล่าวว่าการสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติของพลเอกประยุทธ์นั้นเป็นเพียง "เหล้าเก่าในขวดใหม่"<ref>{{Cite web|title=“พิธา” เย้ย “บิ๊กตู่” ไร้ราคา-เข้ารวมไทยสร้างชาติ ก็แค่เหล้าเก่าในขวดใหม่|url=https://www.sanook.com/news/8731070/|website=www.sanook.com/news|language=th}}</ref> และว่างานเปิดตัวดังกล่าวใช้เงินมากแต่ประชาชนไม่เห็นทิศทางในอนาคตอย่างแท้จริง<ref>{{Cite web|date=2023-01-09|title=ก้าวไกล ซัดแรง "ประยุทธ์" ผู้นำใกล้หมดอายุ สมเพชสิ้นดี เปิดตัว รทสช.|url=https://www.thairath.co.th/news/politic/2598478|website=www.thairath.co.th|language=th}}</ref> ด้าน[[พรรคเพื่อไทย]]ระบุเหตุการณ์ดังกล่าวไม่มีผลต่อแผนการเปิดตัวแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค และยังคาดหมายว่าพรรครวมไทยสร้างชาติอาจไม่ได้ ส.ส. ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ<ref>{{Cite web|date=2023-01-08|title=จับตาบารมีประยุทธ์ ส.ส.แห่ตามสมัคร‘รวมไทยสร้างชาติ’|url=https://www.thaipost.net/one-newspaper/298977/|language=th}}</ref>

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต วิเคราะห์ว่าพรรครวมไทยสร้างชาติอาจได้ ส.ส. เพียง 20–30 ที่นั่ง ต่ำกว่าที่ทางพรรคประเมินไว้ที่ 100 ที่นั่ง ส่งผลให้โอกาสในการเป็นพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลน้อยลงตามไปด้วย<ref>{{Cite web|date=2023-01-06|title=สมรรถนะในการแข่งขันของพรรครวมไทยสร้างชาติ และโอกาสการเป็นนายกรัฐมนตรีของพล.อ.ประยุทธ์ / Phichai Ratnatilaka Na Bhuket|url=https://mgronline.com/daily/detail/9660000001549|website=mgronline.com|language=th}}</ref> ส่วน[[ปริญญา เทวานฤมิตรกุล]] กล่าวว่าการสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติของพลเอกประยุทธ์ชี้ให้เห็นว่าตัวเขานั้นกำลังอยู่ในช่วงขาลง และอาจเกิดการตัดคะแนนกับพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้งใหญ่ที่กำลังจะมาถึง<ref>{{Cite web|title=วิเคราะห์จุดเปลี่ยนการเมืองไทย 'ประยุทธ์' ขาลงสมัครเข้ารวมไทยสร้างชาติ!|url=https://www.dailynews.co.th/news/1874358/|website=เดลินิวส์|language=th}}</ref>

[[ข่าวสด]]วิเคราะห์ว่าแม้พรรครวมไทยสร้างชาติจะมีภาพลักษณ์เป็นพรรคทหารเช่นเดียวกับพรรคพลังประชารัฐ แต่ก็มีความแตกต่างจากพรรคทหารในอดีต เพราะสมาชิกส่วนหนึ่งมาจากพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเคยมีประวัติในการต่อต้านระบอบเผด็จการทหารมาก่อน<ref>{{Cite web|last=153|date=2022-12-09|title=วิเคาระห์การเมือง - รวมไทย สร้างชาติ กับ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ปฏิมา|url=https://www.khaosod.co.th/newspaper/newspaper-inside-pages/news_7407079|website=ข่าวสด|language=th}}</ref>


== คณะกรรมการบริหารพรรค ==
== คณะกรรมการบริหารพรรค ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:25, 10 มกราคม 2566

พรรครวมไทยสร้างชาติ
ผู้ก่อตั้งเสกสกล อัตถาวงศ์
หัวหน้าพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
เลขาธิการเอกนัฏ พร้อมพันธุ์
เหรัญญิกปรากรมศักดิ์ ชุณหะวัณ
นายทะเบียนสมาชิกเกรียงยศ สุดลาภา
กรรมการบริหาร
ก่อตั้ง31 มีนาคม พ.ศ. 2564 (3 ปี)
ที่ทำการ35/3 ซอยอารีย์ 5 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
สมาชิกภาพ  (ปี 2565)11,533 คน[1]
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนในปี พ.ศ. 2564 โดยเสกสกล อัตถาวงศ์ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ต่อมาในช่วงปลายปี พ.ศ. 2565 พลเอกประยุทธ์ได้ตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรค

ประวัติ

ช่วงก่อตั้งพรรค

พรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งเป็นลำดับที่ 5/2564 เมื่อวันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 โดยมีนายเสกสกล อัตถาวงศ์ เป็นผู้ก่อตั้งพรรค[2] มีที่ทำการพรรคแห่งแรกอยู่ที่ 169/98 อาคารเสริมทรัพย์ ถนนรัชดาภิเษก แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร[3]

การตัดสินใจเข้าร่วมพรรคของกลุ่มประยุทธ์

ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าตนได้ตัดสินใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ และพร้อมที่จะรับการเสนอชื่อจากสมาชิกพรรคดังกล่าวเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย ในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปี พ.ศ. 2566 ทั้งนี้ ได้มีการพูดคุยกับพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐแล้ว[4] โดยมีการคาดหมายว่าพลเอกประยุทธ์จะดำรงตำแหน่งประธานพรรครวมไทยสร้างชาติ และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงาน หรือซูเปอร์บอร์ดของพรรคด้วย[5]

หลังจากการประกาศสมัครสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติของพลเอกประยุทธ์ เสกสกล อัตถาวงศ์ หัวหน้าพรรคเทิดไท ได้ตัดสินใจลาออกจากสมาชิกพรรค และกลับมาร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเทิดไท[6] ต่อมา ชัชวาลล์ คงอุดม ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส.[7] และเปิดตัวเป็นสมาชิกของพรรคพร้อมกับ ไตรรงค์ สุวรรณคีรี และชุมพล กาญจนะ[8]

พรรครวมไทยสร้างชาติได้จัดงาน "รวมใจ รวมไทยสร้างชาติ" ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2566 ณ เอ็กซิบิชั่นฮอลล์ 1 และ 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์[9][10][11][12] ซึ่งพลเอกประยุทธ์ได้มีหนังสือแจ้งคณะรัฐมนตรีลากิจในช่วงบ่ายของวันดังกล่าว[13] ทั้งนี้ มีผู้ร่วมงานทั้งหมดประมาณ 10,000 คน[14] โดยส่วนหนึ่งเป็นนักการเมืองที่เคยสังกัดพรรคการเมืองต่าง ๆ เช่น พรรคพลังประชารัฐ, พรรคประชาธิปัตย์, พรรคพลังท้องถิ่นไท เป็นต้น[15] นอกจากนี้ยังมี ดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, รังสิมา รอดรัศมี ส.ส. สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์, เสกสรร ชัยเจริญ หรือ หนุ่มเสก และพลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาร่วมงานด้วย โดยพลตำรวจเอกอัศวินและเสกสรรให้สัมภาษณ์ว่าเตรียมสมัครเป็นสมาชิกพรรคในภายหลัง[16][17]

ในงานดังกล่าว พลเอกประยุทธ์ได้สมัครเป็นสมาชิกตลอดชีพของพรรค และได้กล่าววิสัยทัศน์ต่อหน้าสมาชิกพร้อมด้วยผู้สนับสนุนพรรค[18] โดยช่วงหนึ่งเขากล่าวถึงนโยบายของพรรค ได้แก่ การปรับปรุงกฏหมาย ลดค่าครองชีพของประชาชน และเสริมสร้างความสามัคคีภายในชาติ รวมถึงสานต่อนโยบายของรัฐบาลที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก่อนหน้านี้พีระพันธุ์ระบุว่างานดังกล่าวนอกจากเป็นการเปิดตัวพลเอกประยุทธ์แล้ว ยังเป็นการคัดเลือกผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคอีกด้วย[19] แต่ยังไม่มีการประกาศแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคแต่อย่างใด[20]

คณะกรรมการบริหารพรรค

ชุดที่ 1 (31 มีนาคม 2564 - 7 มีนาคม 2565)

คณะกรรมการบริหารพรรคชุดแรกมีจำนวนทั้งสิ้น 27 คนประกอบด้วย

ลำดับ ชื่อ ตำแหน่ง หมายเหตุ อ้างอิง
1 ว่าที่ร้อยโท ไกรภพ นครชัยกุล หัวหน้าพรรค ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565
2 วาสนา คำประเทือง เลขาธิการพรรค
3 ยงยุทธ พัฒนชัย เหรัญญิกพรรค
4 จีรวัฒน์ ตุลาพัฒน์ นายทะเบียนสมาชิกพรรค ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
5 วันจรัส จำเริญกุล กรรมการบริหารอื่น
6 วิไล จันตะเสน ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
7 สุภาพ พิลาเจือ
8 คณาวิทย์ ธรรมขันแข็ง
9 แคทลียา อุทัยเลิศ
10 จรัส อุปละ
11 ปิยะมาศ เอี่ยมสำอางค์
12 เยาวเรศ อาจหาญ
13 จำนงค์ ใจติขะ
14 ฐิตาภรณ์ พันธ์จรุง
15 ประจง ประสารฉ่ำ รักษาการหัวหน้าพรรคตั้งแต่วันที่ 7-31 มีนาคม พ.ศ. 2565
16 แก้วเล็ก เหลืองอุดมเลิศ
17 กรกฤช โป๊ะตะคาร
18 อาทิตย์ ตั้งธรรม
19 กุหลาบ นครชัยกุล
20 รัชนีย์ พิมพ์ประสงค์
21 ทองหลาง พิลาเจือ
22 ศศัญพิณ รัตนานุพงศ์
23 พินิจ ไกยะฝ่าย
24 อรวรรณ สารกุล
25 วรวิทย์ พัฒนชัย
26 ตรีญานุช ศรีแพงมน
27 วิไลวรรณ ทรัพย์พงษ์

ชุดที่ 2 (31 มีนาคม 2565 - 7 กรกฎาคม 2565)

ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 ที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่[21]จำนวน 12 คนประกอบด้วย

ลำดับ ชื่อ ตำแหน่ง หมายเหตุ อ้างอิง
1 ธันย์ธรณ์เทพ แย้มอุทัย หัวหน้าพรรค ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
2 ธนดี หงษ์รัตนอุทัย เลขาธิการพรรค รักษาการหัวหน้าพรรคตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565
3 ธีระพล มลิวัลย์ เหรัญญิกพรรค
4 ชัยรัตน์ จันทนดิษฐ นายทะเบียนสมาชิกพรรค
5 สิทธิศักดิ์ พัฒนชัย กรรมการบริหารพรรค
6 ว่าที่ร้อยตรี ปรพล อดิเรกสาร
7 กิตติเชษฐ์ พันธ์จรุง
8 ว่าที่ร้อยโท ไกรภพ นครชัยกุล
9 กฤติเดช พุธวัฒนาภรณ์
10 พิชิต กาลจักร
11 ศรายุทธ ยี่สุ่นเกตุ
12 วิฑูรย์ อริยะพงษ์

ชุดปัจจุบัน (3 สิงหาคม 2565 - ปัจจุบัน)

ในการประชุมใหญ่วิสามัญเมื่อวันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ที่สโมสรราชพฤกษ์เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค เปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์พรรค สำนักงานใหญ่ของพรรค และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 9 คนประกอบด้วย[22]

ลำดับ ชื่อ ตำแหน่ง หมายเหตุ อ้างอิง
1 พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรค
2 วิทยา แก้วภราดัย รองหัวหน้าพรรค
3 ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง
4 เกชา ศักดิ์สมบูรณ์
5 วิสุทธิ์ ธรรมเพชร
6 เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรค
7 สยาม บางกุลธรรม รองเลขาธิการพรรค แต่งตั้งเพิ่มในภายหลัง
8 ชื่นชอบ คงอุดม กรรมการบริหารพรรค
9 ปรากรมศักดิ์ ชุณหะวัณ เหรัญญิกพรรค
10 เกรียงยศ สุดลาภา นายทะเบียนสมาชิกพรรค
11 ศิรินันท์ ศิริพานิช กรรมการบริหารพรรค แต่งตั้งเพิ่มในภายหลัง

บุคลากร

หัวหน้าพรรค

ลำดับที่ ชื่อ เริ่มดำรงตำแหน่ง สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 ว่าที่ร้อยโท ไกรภพ นครชัยกุล 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 7 มีนาคม พ.ศ. 2565
- ประจง ประสานฉ่ำ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 รักษาการหัวหน้าพรรค
3 ธัญย์ธรณ์เทพ แย้มอุทัย 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
- ธนดี หงษ์รัตนอุทัย 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 รักษาการหัวหน้าพรรค
4 พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565

เลขาธิการพรรค

ลำดับที่ ชื่อ เริ่มดำรงตำแหน่ง สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 วาสนา คำประเทือง 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการพรรค
2 ธนดี หงษ์รัตนอุทัย 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพรรค
3 เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565

หมายเหตุ

อ้างอิง

  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2565
  2. "เสกสกล"ขอลุยทำพรรครวมไทยสร้างชาติ หนุน"ประยุทธ์"เป็นนายกฯ
  3. ทำความรู้จัก “รวมไทยสร้างชาติ” พรรคใหม่ หนุน “บิ๊กตู่” นั่งนายกฯ
  4. ""บิ๊กตู่" ประกาศเป็นแคนดิเดตนายกฯ "รวมไทยสร้างชาติ" ยันคุย "พี่ป้อม" แล้ว สัมพันธ์พี่น้องทหารไม่แตกหัก". mgronline.com. 2022-12-23.
  5. ""สุชาติ"จ่อนั่งซูเปอร์บอร์ดพรรครทสช. มอบ "เอกนัฏ" วางระบบพรรคใหม่". bangkokbiznews. 2022-12-19.
  6. ไปไหนไปกัน! 'แรมโบ้'ลาออกหน.พรรคเทิดไท ย้ายซบ'รทสช.'เสริมทัพ'บิ๊กตู่'
  7. 'ชัช เตาปูน' ลาออกส.ส.พลังท้องถิ่นไท จ่อซบรวมไทยสร้างชาติ
  8. "'ไตรรงค์-ชุมพล-ชัช เตาปูน' เปิดตัวซบรวมไทยสร้างชาติยก 'บิ๊กตู่' ผู้มากบารมี!". เดลินิวส์.
  9. "กกต. จับตา 'รวมไทยสร้างชาติ' เปิดตัว 'บิ๊กตู่' ชี้สวมหมวก 2 ใบต้องแยกให้ชัด". 2023-01-07.
  10. 'บิ๊กตู่' ได้ฤกษ์ 9 มกรา. สมัครสมาชิก รทสช.
  11. มาแล้วกำหนดการ 'บิ๊กตู่-ภาษาไตรรงค์' บนเวที 'รวมไทยสร้างชาติ' 9 มกรา.
  12. "เปิดอีเวนต์ "บิ๊กตู่" เข้าพรรค รทสช.9 ม.ค.ขึ้นเวทีโชว์วิสัยทัศน์กลางศูนย์สิริกิติ์". mgronline.com. 2023-01-07.
  13. ""ประยุทธ์" ยื่นลากิจครึ่งวัน ก่อนเปิดตัว "รวมไทยสร้างชาติ" เย็นนี้ คาดป้องครหาใช้เวลาราชการ". pptvhd36.com.
  14. "รวมไทยสร้างชาติ : ประยุทธ์ ขออยู่ต่อเพื่อพาชาติ "สู่ความเจริญรุ่งเรือง"". BBC News ไทย. 2023-01-09.
  15. มติชนสุดสัปดาห์ (2023-01-09). "ที่มาที่ไป รวมไทยสร้างชาติ กว่าจะมาถึง เปิดตัว 'บิ๊กตู่' กระหึ่ม วันนี้". มติชนสุดสัปดาห์.
  16. "บิ๊กตู่" สมัครสมาชิก "รสทช."เรียบร้อย "ดอน-หนุ่มเสก-รังสิมา-อัศวิน" ร่วมงาน "พีระพันธุ์"เผยมีสมาชิกกว่า 30,000 คนแล้ว
  17. 'หนุ่มเสก' มาแล้ว! ร่วมงาน รทสช. พร้อมลุยช่วยสานภารกิจ 'ลุงตู่อยู่ต่อ'
  18. "นักการเมืองเต็มตัว 'บิ๊กตู่' สมัครสมาชิก รทสช. ขึ้นเวทีร่ายยาวภารกิจเพื่อคนไทยทั้งชาติ". 2023-01-09.
  19. "'พล.อ.ประยุทธ์' สมัครสมาชิก 'รวมไทยสร้างชาติ' เปิดใจต้องพาประเทศไทยไปต่อ". workpointTODAY.
  20. Ltd.Thailand, VOICE TV (2023-01-09). "'รทสช.' ยังไม่เคาะแคนดิเดต 'ประยุทธ์' แค่สมัครสมาชิกพรรค". VoiceTV.
  21. “บิ๊กตู่”ไปต่อ! ทิ้งพปชร.-ปั้นพรรคใหม่ “รวมไทยสร้างชาติ”
  22. ประมวลภาพ 'พรรครวมใจสร้างชาติ' เปิดตัว 'บิ๊กเนม' ลุยศึกเลือกตั้ง

แหล่งข้อมูลอื่น