ข้ามไปเนื้อหา

พอลินีเชีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พอลินีเซีย)
โดยทั่วไป พอลินีเชียมักระบุเป็นหมู่เกาะในสามเหี่ยมพอลินีเชีย
สามพื้นที่วัฒนธรรมที่สำคัญในมหาสมุทรแปซิฟิก: เมลานีเชีย, ไมโครนีเชีย และพอลินีเชีย

พอลินีเชีย (อังกฤษ: Polynesia)[a][b] คืออนุภูมิภาคของโอเชียเนีย ประกอบด้วยเกาะมากกว่า 1,000 เกาะ กระจายทั่วมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางถึงตอนใต้ ชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะพอลินีเชียมีชื่อเรียกว่าชาวพอลินีเชีย ทั้งหมดมีความคล้ายกันหลายอย่าง เช่น ภาษา, วัฒนธรรม และความเชื่อพื้นเมือง[1] ในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา พวกเขามีประเพณีการเดินเรือที่คล่องแคล่วและการใช้ดาวนำทางในเวลากลางคืน[2][3] ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในพอลินีเชียคือนิวซีแลนด์

ศัพท์ Polynésie ใช้ครั้งแรกใน ค.ศ. 1756 โดยชาร์ล เดอ บรอส นักเขียนชาวฝรั่งเศส ที่เดิมใช้เรียกเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมด ต่อมาใน ค.ศ. 1831 Jules Dumont d'Urville เสนอตำนิยามที่แคบกว่าเดิมในช่วงบรรยายที่ Geographical Society of Paris ตามธรรมเนียม เกาะที่ตั้งอยู่ในแปซิฟิกตอนใต้มักเรียกเป็น หมู่เกาะแปซิฟิกใต้[4] และผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ถูกเรียกเป็นชาวเกาะทะเลใต้ (South Sea Islanders) หมู่เกาะฮาวายมักถูกจัดเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ เนื่องจากความใกล้ชิดกับหมู่เกาะแปซิฟิกตอนใต้ ถึงแม้ว่าที่จริงเกาะนี้ตั้งอยู่ในแปซิฟิกตอนเหนือก็ตาม ส่วนอีกคำหนึ่งคือ "สามเหลี่ยมพอลินีเชีย" (รูปทรงที่สร้างขึ้นตามแผนผังของหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก) มีไว้เพื่อหลีกเลี่ยงความไม่สอดคล้องกัน โดยรวมหมู่เกาะฮาวายที่ตั้งอยู่ทางเหนือของจุดยอดของ "สามเหลี่ยม" นั้น

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ธรณีวิทยา

[แก้]
Cook's Bay ที่โมโอเรอา เฟรนช์พอลินีเชีย
เกาะเล็กโมโกลิอีใกล้เกาะโอวาฮู รัฐฮาวาย

พอลินีเชียมีลักษณะเป็นพื้นที่เล็ก ๆ แผ่กระจายไปทั่วส่วนใหญ่ของมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางถึงล่าง ประกอบด้วยส่วนพื้นดินประมาณ 300,000 ถึง 310,000 ตารางกิโลเมตร (117,000 ถึง 118,000 ตารางไมล์) ซึ่งในจำนวนนี้ มากกว่า 270,000 ตารางกิโลเมตร (103,000 ตารางไมล์) อยู่ในนิวซีแลนด์

เกาะและกลุ่มเกาะส่วนใหญ่ของพอลินีเชีย (รวมหมู่เกาะฮาวายและหมู่เกาะซามัว) เป็นเกาะภูเขาไฟที่เกิดจากจุดร้อน (ภูเขาไฟ) ส่วนพื้นดินส่วนอื่นในพอลินีเชีย (นิวซีแลนด์, เกาะนอร์ฟอล์ก และอูเวอา ซึ่งอยู่ใกล้นิวแคลิโดเนีย) เป็นส่วนที่โผล่จากทวีปซีแลนเดียที่จมน้ำเสียส่วนใหญ่[5]

เชื่อกันว่าพื้นที่ซีแลนเดียส่วนใหญ่จมลงใต้ระดับน้ำทะเลเมื่อ 23 ล้านปีก่อน และเพิ่งโผล่ขึ้นมาใหม่บางส่วนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนตัวของแผ่นแปซิฟิกกับแผ่นอินโด-ออสเตรเลีย[6] ในอดีต แผ่นแปซิฟิกเคลื่อนที่ลงไปใต้แผ่นออสเตรเลีย แต่หลังการเปลี่ยนแปลงนั้น จึงก่อให้เกิดพื้นทวีปที่ปัจจุบันคือนิวซีแลนด์

ไหล่ทวีปซีแลนเดียมีพื้นที่รวมประมาณ 3,600,000 ตารางกิโลเมตร (1,400,000 ตารางไมล์) หินที่เก่าแก่ที่สุดในพอลินีเชียเชื่อว่ามีอายุประมาณ 510 ล้านปีก่อน

กลุ่มเกาะ

[แก้]

รายการหมู่เกาะและกลุ่มเกาะข้างล่างนี้อาจเป็นรัฐเอกราชหรือดินแดนของอดีตเจ้าอาณานิคม ซึ่งมีวัฒนธรรมพอลินีเชีนพื้นเมืองหรือมีหลักฐานทางโบราณคดีว่ามีการตั้งถิ่นฐานของชาวพอลินีเชียในอดีต[7] หมู่เกาะบางส่วนที่มีต้นกำเนิดจากชาวพอลินีเชียอยู่นอกสามเหลี่ยมทั้วไปที่ถือเป็นจุดแบ่งภูมิภาค

พื้นที่ส่วนกลาง

[แก้]
ประเทศหรือดินแดน หมายเหตุ
 อเมริกันซามัว ดินแดนไม่มีการจัดระเบียบของสหรัฐ; ปกครองตนเองภายใต้การดูแลของ Office of Insular Affairs
 หมู่เกาะคุก รัฐที่เกี่ยวข้องกับนิวซีแลนด์
 เกาะอีสเตอร์ จังหวัดและดินแดนพิเศษของชิลี
 เฟรนช์พอลินีเชีย ดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส
 รัฐฮาวาย รัฐของสหรัฐ
 นิวซีแลนด์ รัฐเอกราช
 นีวเว รัฐที่เกี่ยวข้องกับนิวซีแลนด์
 เกาะนอร์ฟอล์ก ดินแดนภายนอกของออสเตรเลีย
 หมู่เกาะพิตแคร์น ดินแดนโพ้นทะเลของอังกฤษ
โรตูมา โรตูมา ดินแดนพึ่งพาของฟิจิ
 ซามัว รัฐเอกราช
 โตเกเลา ดินแดนที่ไม่ปกครองตนเองของนิวซีแลนด์
 ตองงา รัฐเอกราช
 ตูวาลู รัฐเอกราช
 วอลิสและฟูตูนา อาณานิคมโพ้นทะเลของฝรั่งเศส

หมู่เกาะไลน์กับหมู่เกาะฟีนิกซ์ (ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ของคิริบาส) ไม่มีพลเมืองอาศํยถาวรก่อนการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป แต่มักจัดเป็นส่วนหนึ่งของสามเหลี่ยมพอลินีเชีย

ชาวพอลินีเชียเคยอาศัยอยู่ในหมู่เกาะออคแลนด์, หมู่เกาะเคอร์แมเด็ก และเกาะนอร์ฟอล์ก แต่ตอนที่นักสำรวจชาวยุโรปมาถึง ก็ไม่มีใครอาศัยอยู่บนเกาะเหล่านี้แล้ว

ในกรณีที่น้อยมาก หมู่เกาะที่อยู่ไกลจากเกาะอีสเตอร์ เช่น เกาะกลีแปร์ตอน, หมู่เกาะกาลาปาโกส และหมู่เกาะฮวน เฟร์นันเดซ ถูกจัดให้อยู่ในพอลินีเชียด้วย[8][9][10] เกาะเหล่านี้บางส่วนยังไม่มีผู้อยู่อาศัยถาวร แต่เชื่อว่าไม่มีการติดต่อกับชาวพอลินีเชียหรือชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา

หมายเหตุ

[แก้]
  1. จากกรีกโบราณ: πολύς (polys) "หลาย" กับ νῆσος (nēsos) "เกาะ"
  2. ฝรั่งเศส: Polynésie, ตองงา: Polinisia; มาวรี: Porinihia; ฮาวาย: Polenekia; ฟีจี: Polinisia; ซามัว: Polenisia; มาวรีหมู่เกาะคุก: Porinetia; ตาฮีตี: Pōrīnetia; ตูวาลู: Polenisia; โตเกเลา: Polenihia

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hiroa, Te Rangi (Sir Peter Henry Buck) (1964). Vikings of the Sunrise. NZ Electronic Text Centre, Victoria University, NZ Licence CC BY-SA 3.0 (reprint ed.). Whitcombe and Tombs Ltd. p. 67. สืบค้นเมื่อ 2 March 2010.
  2. Holmes, Lowell Don (1 June 1955). "Island Migrations (1): The Polynesian Navigators Followed a Unique Plan". XXV(11) Pacific Islands Monthly. สืบค้นเมื่อ 1 October 2021.
  3. Holmes, Lowell Don (1 August 1955). "Island Migrations (2): Birds and Sea Currents Aided Canoe Navigators". XXVI(1) Pacific Islands Monthly. สืบค้นเมื่อ 1 October 2021.
  4. Russell, Michael (1849). Polynesia: A History of the South Sea Islands, including New Zealand.
  5. Mortimer, Nick; Campbell, Hamish J. (2017). "Zealandia: Earth's Hidden Continent". GSA Today. 27: 27–35. doi:10.1130/GSATG321A.1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2017.
  6. "The sinking of Moa's Ark". New Zealand Herald. 28 September 2007. สืบค้นเมื่อ 24 June 2022.
  7. เกาะที่ไม่มีผุ้อยู่อาศัยตอนพบครั้งแรก แต่มีหลักฐานทางโบราณคดีของชาวพอลินีเชีย ได้แก่ เกาะนอร์ฟอล์ก, หมู่เกาะพิตแคร์น, หมู่เกาะเคอร์แมเด็กของนิวซีแลนด์ และหมู่เกาะขนาดเล็กใกล้ฮาวาย
  8. Stanley, David (1979). South Pacific Handbook. Moon Publications. p. 43. ISBN 9780918373298. สืบค้นเมื่อ 1 February 2022.
  9. Moncrieff, Robert Hope (1907). The World of To-day A Survey of the Lands and Peoples of the Globe as Seen in Travel and Commerce: Volume 4. Oxford University. p. 222. สืบค้นเมื่อ 28 March 2022.
  10. Udvardy, Miklos D.F. "A Classification of the Biogeographical Provinces of the World" (PDF). UNESCO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-04. สืบค้นเมื่อ 7 March 2022.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]