หมู่เกาะซามัว
หมู่เกาะซามัว | |
---|---|
Samoa islands 2002.gif | |
ที่ตั้ง | พอลินีเซีย
|
ซามัว
| |
เมืองใหญ่สุด | อาปีอา (38,800) |
อเมริกันซามัว | |
เมืองใหญ่สุด | ปาโกปาโก (11,500)
|
จำนวนประชากร | 250,100 (ในปี 2001)
|
หมู่เกาะซามัว เป็นกลุ่มเกาะครอบคลุมพื้นที่ 3,030 ตารางกิโลเมตรในแปซิฟิกใต้ตอนกลาง เป็นส่วนหนึ่งของพอลินีเซีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคโอเชียเนียอีกทอดหนึ่ง ประชากรหมู่เกาะซามัวมีประมาณ 250,000 คน โดยใช้ภาษากลางร่วมกัน ตลอดจนมีวัฒนธรรมและรูปแบบการปกครองพื้นเมืองแบบเดียวกัน[1]
เนื่องจากการล่าอาณานิคม หมู่เกาะและประชากรซามัวจึงถูกแบ่งแยกโดยอำนาจตะวันตก ปัจจุบัน หมู่เกาะมีสองเขตอำนาจควบคุม (jurisdiction) คือ ประเทศเอกราชซามัวในซีกตะวันตกของหมู่เกาะ และดินแดนอเมริกันซามัว ซึ่งประกอบด้วยหมู่เกาะทางตะวันออก ภูมิภาคทั้งสองนี้แบ่งแยกโดยมหาสมุทรกว้าง 64 กิโลเมตร ชาวซามัวส่วนใหญ่เป็นสายเลือดพอลินีเซียพันธุ์แท้และเป็นหนึ่งในประชากรพอลินีเซียที่ใหญ่ที่สุดในโลก[2]
ใน ค.ศ. 1768 หมู่เกาะทางตะวันออกมีนักสำรวจชาวฝรั่งเศสชื่อ บูร์แก็งวีล เดินทางมาเยือน ผู้ตั้งชื่อว่า หมู่เกาะต้นหน ชื่อดังกล่าวมิชชันนารีใช้เรื่อยมากระทั่ง ค.ศ. 1845 และในหนังสือราชการยุโรปกระทั่งราว ค.ศ. 1870[3]
เขตอำนาจ[แก้]
ในทางการเมือง หมู่เกาะซามัวแบ่งเป็นเขตอำนาจสองเขต คือ
ซามัว เป็นชาติมีเอกราช ตั้งอยู่ซีกตะวันตกของหมู่เกาะ ได้รับเอกราชทางการเมืองใน ค.ศ. 1962 มีพื้นที่ 2,831 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 185,000 คน ในอดีตได้ชื่อว่า เยอรมันซามัว (ค.ศ. 1900-1914) และซามัวตะวันตก (ถึง ค.ศ. 1997) เมืองหลวงชื่อ อาปีอา ใช้เงินสกุลตาลาซามัว
อเมริกันซามัว ดินแดนถูกผนวกโดยสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยหมู่เกาะทางตะวันออก มีพื้นที่ 199 ตารางกิโลเมตร และประชากร 65,000 คน เมืองหลวงชื่อ ปาโกปาโก ใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ
การแบ่งแยกทางการเมือง[แก้]
ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1800 การแข่งขันกันระหว่างสหรัฐอเมริกา เยอรมนีและสหราชอาณาจักรส่งผลให้เกิดอนุสัญญาไตรภาคี (1899) ซึ่งแบ่งแยกกลุ่มเกาะซามัวอย่างเป็นทางการเป็นอาณานิคมของเยอรมนี (เยอรมันซามัว) และดินแดนของสหรัฐอเมริกา (อเมริกันซามัว) อนุสัญญาระหว่างประเทศนี้เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งใกล้อุบัติ สนธิสัญญาก่อนอนุสัญญาไตรภาคี ค.ศ. 1899 มีการประชุมวอชิงตัน ค.ศ. 1887, สนธิสัญญาเบอร์ลิน ค.ศ. 1889 และความตกลงอังกฤษ-เยอรมันว่าด้วยซามัว ค.ศ. 1899 นิวซีแลนด์ยึดครองอาณานิคมเยอรมนีตลอดคริสต์ทศวรรษ 1920 จากนั้นปกครองหมู่เกาะทางตะวันตกกระทั่งได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1962 เป็น (1) รัฐในอาณัติสันนิบาตชาติชั้นซี และ (2) ดินแดนในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติหลัง ค.ศ. 1946 ขบวนการเมานิยมเอกราชทั่วหมู่เกาะท้ายที่สุดนำไปสู่การได้รับเอกราชทางการเมืองจากนิวซีแลนด์ใน ค.ศ. 1962 ขณะที่หมู่เกาะทางตะวันออก อเมริกันซามัว ยังคงเป็นดินแดนทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา[4]
ที่ตั้ง[แก้]
หมู่เกาะซามัวตั้งอยู่ห่างจากฟิจิประมาณ 800 กิโลเมตร จากตองงา 530 กิโลเมตร จากนิวซีแลนด์ 2,900 กิโลเมตร และ 4,000 กิโลเมตรจากรัฐฮาวาย[5] หมู่เกาะตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 13 และ 14 องศาใต้ ลองติจูด 169 และ 173 องศาตะวันตก มีความยาวจากตะวันตกถึงตะวันออกราว 480 กิโลเมตร
เกาะขนาดใหญ่กว่ามีภูเขาไฟเป็นต้นกำเนิด มักเป็นภูเขาและปกคลุมด้วยป่าชื้นเขตร้อน ส่วนเกาะขนาดเล็กกว่าบางแห่งเป็นเกาะปะการังวงแหวนและมีหาดทรายสีดำ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Fana'afi Le Tagaloa, Aiono (1986). "Western Samoa: the sacred covenant". Land Rights of Pacific Women. Institute of Pacific Studies of the University of the South Pacific. p. 103. ISBN 9820200121. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010.
- ↑ Stanley, David (2004). Moon Handbooks: South Pacific. ISBN 1566914116. สืบค้นเมื่อ 20 June 2010.
- ↑ Masterman, Sylvia (1934). The Origins of International Rivalry in Samoa: 1845–1884. George Allen and Unwin Ltd, London. p. 14.
- ↑ "The rise of the Mau movement". NZ History online. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
- ↑ Robert, Kiste (1993–2002). "Microsoft Encarta Reference Library 2003". Redmond, WA: Microsoft Corporation. 60210-442-1635445-74407. Cite journal requires
|journal=
(help);|contribution=
ignored (help)CS1 maint: date format (link)