กีดกัน (Skyline)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"กีดกัน (Skyline)"
ซิงเกิลโดยพุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล
ภาษาไทย
วางจำหน่าย30 กันยายน พ.ศ. 2563
แนวเพลงทีป็อป
ความยาว4:29
ค่ายเพลงนาดาวมิวสิค
ผู้ประพันธ์เพลง
โปรดิวเซอร์
  • ปัณฑพล ประสารราชกิจ
  • ธิติวัฒน์ รองทอง
  • กร มหาดำรงค์กุล
ลำดับซิงเกิลของพุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล
"กอดในใจ"
(2563)
"กีดกัน (Skyline)"
(2563)
"แปลไม่ออก"
(2563)
มิวสิกวิดีโอ
"กีดกัน (Skyline)" ที่ยูทูบ

"กีดกัน (Skyline)" เป็นเพลงของพุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล สำหรับประกอบซีรีส์เรื่อง แปลรักฉันด้วยใจเธอ ของนาดาวบางกอก[1] เผยแพร่เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 ก่อนที่ซีรีส์จะออกอากาศในวันที่ 22 ตุลาคมปีเดียวกัน[2] หลังมีการเผยแพร่มิวสิกวิดีโอ เพลงนี้ถูกพูดถึงมากจนติดเทรนด์ทวิตเตอร์ในประเทศไทย[2][3][4][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] และในระยะเวลาหนึ่งเดือน มียอดผู้ชมเพลงนี้ในยูทูบ 7.4 ล้านครั้ง[5]

การประพันธ์[แก้]

เพลงนี้แต่งโดยปัณฑพล ประสารราชกิจ นักร้องนำวงค็อกเทล[2][3] ทำนองและเรียบเรียงโดยธิติวัฒน์ รองทอง โดยปัณฑพล ประสานราชกิจ ธิติวัฒน์ รองทอง และกร มหาดำรงค์กุลเป็นโปรดิวเซอร์[6] โดยท่วงทำนองอิงจากภาพยนตร์และซีรีส์จีน[7] บ้างว่าอิงจากภาพยนตร์จีนกำลังภายในยุค 90[8] ดังเช่นเนื้อเพลงท่อน "กีดกั้นด้วยแผ่นฟ้าแม้ไกลฉันยินดีจะฝ่าไป กีดกั้นด้วยภูผาสูงชันลับตาฉันไม่หวั่นไหว..."[5] พุฒิพงศ์กล่าวถึงการร้องเพลงนี้ไว้ว่า "...เพลงนี้สื่อถึงการพบความรักที่ตามหามาเนิ่นนานแต่กลับต้องพบเจออุปสรรคที่ต้องฝ่าฟันไปแม้กระทั่งอุปสรรคของโชคชะตาเป็นหนึ่งบทพิสูจน์ความรัก มีกลิ่นอายความเป็นจีนกำลังภายใน ค่อนข้างร้องยาก จะมีศัพท์มีความเป็นกวี เลยต้องมีวรรคที่ต้องแบ่งลมหายใจดี ๆ มีไดนามิกหนักเบา..."[3][4][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]

นอกจากนี้ยังมีเพลง "กีดกัน (Skyline)" ฉบับภาษาจีนใช้ชื่อว่า "หรูเหอ" (如何)[9] ซึ่งในประกอบซีรีส์เรื่องเดียวกัน ฉบับแรกร้องโดยตุลานันท์ นรเศรษฐ์พิศาล และฉบับที่สองร้องโดยกฤษฏ์ อำนวยเดชกร[5]

มิวสิกวิดีโอ[แก้]

พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล และกฤษฏ์ อำนวยเดชกร ร่วมแสดงในมิวสิกวิดีโอ ถ่ายทำที่ชายหาดแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต กำกับโดยตะวันวาด วนวิทย์ และรินรดา พรสมบัติเสถียร[3][4][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] หลังมีการเผยแพร่มิวสิกวิดีโอ เพลงนี้ถูกพูดถึงมากจนติดเทรนด์ทวิตเตอร์ในประเทศไทย[2][3][4][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] และในระยะเวลาหนึ่งเดือน มียอดผู้ชมเพลงนี้ในยูทูบ 7.4 ล้านครั้ง[5]

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

ปี รางวัล สาขา ผล อ้างอิง
2563 สยามรัฐออนไลน์อะวอร์ด 2020 เพลงประกอบยอดนิยม ชนะ [10][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กฤตพล สุธีภัทรกุล (8 ธันวาคม 2563). "เต๋ – โอ้เอ๋ว: "แปลรักฉันด้วยใจเธอ" ความรักที่ไม่มีอะไรมากีดกันได้". The People. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "'บิวกิ้น' เจอโจทย์ใหม่ สุดท้าท้าย ในเพลง 'กีดกัน (Skyline)'". แนวหน้า. 7 ตุลาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 ""บิวกิ้น" เจอโจทย์ท้าทายเพลง "กีดกัน (Skyline)" จับคู่ "พีพี"". ไทยรัฐออนไลน์. 7 ตุลาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 ""บิวกิ้น" ปล่อยเพลง กีดกัน ประกอบซีรีส์ "แปลรักฉันด้วยใจเธอ"". จีดีเอช ห้าห้าเก้า. 13 มกราคม 2564. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "รวมเนื้อเพลง โคตรพิเศษ แปลไม่ออก กีดกัน หรูเหอ 如何 เพลงเพราะ ประกอบซีรีส์ แปลรักฉันด้วยใจเธอ". ทรูไอดี. 20 พฤศจิกายน 2563. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "เพลงกีดกัน เพลงประกอบซีรีย์". highwiremusic. 15 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ""บิวกิ้น" ขึ้นแท่นศิลปินมาแรง! หลังเพลงฮิต "กีดกัน" ติด Top 3 ชาร์ต JOOX". สนุกดอตคอม. 9 พฤศจิกายน 2563. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. ""กีดกัน (Skyline)" ซิงเกิลใหม่ที่ "บิวกิ้น" ออกปากว่ายากสุด". ดาราเดลี. 5 ตุลาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "แปลเพลง หรูเหอ 如何(skyline) - แปลรักฉันด้วยใจเธอ". Minimore. 26 ตุลาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. Siamrath (19 ธันวาคม 2564). "[LIVE] Siamrath Online Award 2020 รางวัลแห่งปีจากสื่อออนไลน์". ยูทูบ. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)