ปฏิบัติการเอนเทบเบ

พิกัด: 0°02′42.8784″N 32°27′13.1616″E / 0.045244000°N 32.453656000°E / 0.045244000; 32.453656000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิบัติการเอนเทบเบ
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล

หน่วยคอมมานโดของอิสราเอลจากหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการหลังจากปฏิบัติการ
วันที่4 กรกฎาคม ค.ศ. 1976
สถานที่
ท่าอากาศยานเอนเทบเบ ประเทศยูกันดา
ผล

ภารกิจประสบความสำเร็จ

  • ตัวประกัน 102 คนจากทั้งหมด 106 คนได้รับการช่วยชีวิต[1]
  • หนึ่งในสี่ของกองทัพอากาศยูกันดาถูกทำลาย[2]
คู่สงคราม
 อิสราเอล พีเอฟแอลพี-อีโอ
หน่วยลับคอมมิวนิสต์ปฏิวัติ
 ยูกันดา
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อิสราเอล แดน ชอมรอน
อิสราเอล เยกูเทียล อดัม
อิสราเอล เบนจามิน เปเลด
อิสราเอล โยนาทัน เนทันยาฮู 
วะดี ฮัดดัด
วินฟรีด เบอเซ 
ยูกันดา อีดี อามิน
กำลัง
ป.หน่วยคอมมานโด 100 คน,
รวมทั้งลูกเรือบนเครื่องบินและกำลังพลสนับสนุน
สลัดอากาศ 7 คน
ทหารยูกันดากว่า 100 คน
ความสูญเสีย
ถูกสังหาร 1 คน
ได้รับบาดเจ็บ 5 คน

สลัดอากาศ:
ถูกสังหาร 7 คน

ยูกันดา:
ถูกสังหาร 45 คน[3]
เครื่องบินถูกทำลาย 11–30 ลำ[4]
ตัวประกันถูกสังหาร 3 คน[5][6]
ตัวประกันได้รับบาดเจ็บ 10 คน
สถานที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการเอนเทบเบ

ปฏิบัติการเอนเทบเบ (อังกฤษ: Operation Entebbe) หรือ ปฏิบัติการธันเดอร์โบลต์ (อังกฤษ: Operation Thunderbolt) เป็นภารกิจช่วยเหลือตัวประกันในการต่อต้านการก่อการร้ายที่ประสบความสำเร็จ ดำเนินการโดยคอมมานโดของกองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) ที่ท่าอากาศยานเอนเทบเบในประเทศยูกันดาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1976[7]

โดยในวันที่ 27 มิถุนายน ซึ่งเป็นหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้า เครื่องบินของแอร์ฟรานซ์ซึ่งมีผู้โดยสาร 248 คนถูกจี้โดยสองสมาชิกของฝ่ายปฏิบัติการภายนอกแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PFLP-EO) ภายใต้คำสั่งของวะดี ฮัดดัด (ผู้ที่ได้แตกหักก่อนหน้านี้จากองค์การพีเอฟแอลพี ของจอร์จ ฮาบาช)[8] และสองสมาชิกของหน่วยลับคอมมิวนิสต์ปฏิวัติเยอรมัน สลัดอากาศมีเป้าหมายที่จะปลดปล่อยชาวปาเลสไตน์และผู้ทำสงครามที่อยู่ในสังกัด 40 คนที่ถูกคุมขังในอิสราเอลและนักโทษอีก 13 คนในอีก 4 ประเทศเพื่อแลกกับตัวประกัน[9] เที่ยวบินที่มาจากเทลอาวีฟเดิมมีจุดหมายปลายทางที่กรุงปารีส ถูกเบี่ยงเบนไปหลังจากหยุดพักระหว่างทางในกรุงเอเธนส์ผ่านเบงกาซีสู่เอนเทบเบ ซึ่งเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศยูกันดา โดยรัฐบาลยูกันดาสนับสนุนการจี้เครื่องบิน และจอมเผด็จการอีดี อามิน ได้ต้อนรับพวกเขาเป็นการส่วนตัว[10] อามินได้รับแจ้งเรื่องการจี้เครื่องบินตั้งแต่เริ่มแรก[11] หลังจากย้ายตัวประกันทั้งหมดจากเครื่องบินไปยังอาคารสนามบินที่ไม่ได้ใช้แล้ว พวกสลัดอากาศได้แยกชาวอิสราเอล กับผู้ที่ไม่ใช่ชาวยิวอิสราเอลจำนวนมากทั้งหมดออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบังคับให้พวกเขาเข้าไปในห้องแยกต่างหาก[12][13][14] ในอีกสองวันต่อมา 148 ตัวประกันที่ไม่ใช่อิสราเอลได้รับการปล่อยตัวและบินสู่ปารีส[13][14][15] ส่วนเก้าสิบสี่คนที่เหลือ เป็นชาวอิสราเอล ที่เป็นผู้โดยสาร พร้อมกับลูกเรือ 12 คนของแอร์ฟรานซ์ยังคงเป็นตัวประกันและถูกขู่เข็ญด้วยความตาย[16][17]

กองกำลังป้องกันอิสราเอลได้ดำเนินการตามข้อมูลที่ได้รับจากมอสสาดซึ่งเป็นหน่วยสืบราชการลับของประเทศอิสราเอล ผู้ก่อการขู่ว่าจะสังหารตัวประกันหากไม่ได้ทำการปล่อยตัวนักโทษ และภัยคุกคามนี้ได้นำไปสู่การวางแผนปฏิบัติการกู้ภัย[18] แผนเหล่านี้รวมถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการต่อต้านอาวุธจากกองทหารยูกันดา[19]

การดำเนินการเกิดขึ้นในเวลากลางคืน เครื่องบินขนส่งของอิสราเอล บรรทุกคอมมานโด 100 คนกว่า 4,000 กิโลเมตร (2,500 ไมล์) ไปยังประเทศยูกันดาเพื่อดำเนินการช่วยเหลือ การปฏิบัติการ ซึ่งใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ในการวางแผน ใช้เวลา 90 นาที จากตัวประกันที่เหลือ 106 คนนั้น 102 คนได้รับการช่วยเหลือ และสามคนถูกฆ่าตาย ส่วนตัวประกันอีกรายที่อยู่ในโรงพยาบาลได้ถูกสังหารในภายหลัง คอมมานโดอิสราเอลห้าคนได้รับบาดเจ็บ และคอมมานโดยศพันโทอีกหนึ่งนายคือโยนาทัน เนทันยาฮู ถูกฆ่าตาย สลัดอากาศทั้งหมดและทหารยูกันดาสี่สิบห้ารายถูกสังหาร ส่วนมิก-17 และมิก-21 สิบเอ็ดลำ[5][6] ที่สร้างโดยโซเวียตของกองทัพอากาศยูกันดาถูกทำลาย[4] แหล่งข่าวเคนยาให้การสนับสนุนอิสราเอล และผลที่ตามมาของปฏิบัติการ อีดี อามิน ออกคำสั่งเพื่อแก้แค้นและฆ่าชาวเคนยาที่อยู่ในประเทศยูกันดาหลายร้อยคนหลังจากนั้น[20] โดยชาวเคนยาในประเทศยูกันดา 245 คนถูกฆ่าตายและ 3,000 คนได้หนีไป[21]

ปฏิบัติการเอนเทบเบ มีชื่อรหัสทางทหารคือปฏิบัติการธันเดอร์โบลต์ บางครั้งอ้างถึงในฐานะปฏิบัติการโยนาทัน เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่หัวหน้าหน่วยที่ชื่อโยนาทัน เนทันยาฮู ซึ่งเป็นพี่ชายของเบนจามิน เนทันยาฮู ผู้เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีอิสราเอล[22]

การจี้เครื่องบิน[แก้]

แอร์ฟรานซ์ เที่ยวบินที่ 139
เครื่องบินแอร์บัส เอ300 ของแอร์ฟรานซ์ ที่เกี่ยวข้อง ที่ท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ในปี ค.ศ. 1980
สรุปการจี้เครื่องบิน
วันที่27 มิถุนายน ค.ศ. 1976
สรุปการจี้เครื่องบิน
จุดเกิดเหตุน่านฟ้ากรีก
อากาศยานลำที่เกิดเหตุ
ประเภทอากาศยานแอร์บัส อา300เบ4-203
ดําเนินการโดยแอร์ฟรานซ์
ทะเบียนแอฟ-เบเวเชเช
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติเบนกูเรียน ประเทศอิสราเอล
จุดพักท่าอากาศยานนานาชาติเอเธนส์ (เอลลินิคอน) ประเทศกรีซ
ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติชาร์ล เดอ โกล ประเทศฝรั่งเศส
ผู้โดยสาร248 คน
ลูกเรือ12 คน
เสียชีวิต4 คน
บาดเจ็บ10 คน
รอดชีวิต256 คน

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1976 สายการบินแอร์ฟรานซ์ เที่ยวบินที่ 139 ซึ่งเป็นเครื่องบินแอร์บัส อา300เบ4-203 ทะเบียนแอฟ-เบเวเชเช (c/n 019) ได้ออกจากเมืองเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล ได้พาผู้โดยสาร 246 คนที่ส่วนใหญ่เป็นชาวยิวและชาวอิสราเอล กับลูกเรืออีก 12 คน[23][24] แล้วบินสู่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ซึ่งมีผู้โดยสารเพิ่มอีก 58 คน ที่รวมถึงสลัดอากาศสี่คน[25][nb 1] โดยเดินทางจากปารีสเวลา 12:30 น. เพียงแค่หลังการบินขึ้นไป เที่ยวบินถูกจี้โดยชาวปาเลสไตน์สองคนจากฝ่ายปฏิบัติการภายนอกแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PFLP-EO) และโดยชาวเยอรมันสองคน ซึ่งได้แก่วินฟรีด เบอเซ และบรีกิทเท คุลมันน์ จากหน่วยลับคอมมิวนิสต์ปฏิวัติเยอรมัน พวกสลัดอากาศทำให้เที่ยวบินเขวสู่เบงกาซี ประเทศลิเบีย[26] โดยทำการจอดบนพื้นดินเป็นเวลาเจ็ดชั่วโมงสำหรับการเติมน้ำมัน ในช่วงเวลาดังกล่าวสลัดอากาศได้ปล่อยตัวแพทริเซีย มาร์เทลล์ ซึ่งเป็นพลเมืองอิสราเอลที่เกิดในอังกฤษที่แกล้งทำเป็นว่ามีการแท้งลูก[18][27] เครื่องบินออกจากเบงกาซี และเวลา 15.15 น. ในวันที่ 28 มากกว่า 24 ชั่วโมงหลังจากเที่ยวบินเดิม เครื่องบินก็มาถึงท่าอากาศยานเอนเทบเบในประเทศยูกันดา[26]

สถานการณ์ตัวประกันที่ท่าอากาศยานเอนเทบเบ[แก้]

ที่เอนเทบเบ สลัดอากาศที่เข้าร่วมอย่างน้อยสี่คน ได้รับการสนับสนุนโดยกองกำลังของประธานาธิบดียูกันดา อีดี อามิน[28] พวกสลัดอากาศย้ายผู้โดยสารไปยังฮอลล์การขนส่งของเทอร์มินัลสนามบินเก่าที่ถูกทิ้งร้าง ที่พวกเขากักขังตัวประกันไว้ภายใต้การเฝ้าระวังสำหรับวันต่อ ๆ ไป อามินมาเยี่ยมตัวประกันเกือบทุกวัน มีข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับความคืบหน้าของพวกเขา และสัญญาว่าจะใช้ความพยายามของเขาเพื่อให้พวกตัวประกันเป็นอิสระผ่านข้อต่อรอง[23]

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน สลัดอากาศพีเอฟแอลพี-อีโอ ได้ออกแถลงการณ์และตั้งข้อเรียกร้องของพวกเขานอกเหนือจากค่าไถ่ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการปลดปล่อยเครื่องบิน พวกเขาเรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวปาเลสไตน์และกลุ่มก่อการร้ายโปรปาเลสไตน์ 53 คน ซึ่ง 40 คนเป็นนักโทษในอิสราเอล[29] พวกเขาขู่ว่าถ้าข้อเรียกร้องเหล่านี้ไม่ได้รับการตอบสนอง พวกเขาจะเริ่มฆ่าตัวประกันในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1976[30]

การแยกตัวประกันออกเป็นสองกลุ่ม[แก้]

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน หลังจากทหารยูกันดาได้เปิดทางเข้าห้องถัดจากห้องโถงรอที่แออัดโดยการทำลายกำแพงแยก สลัดอากาศได้แยกชาวอิสราเอล (รวมทั้งผู้ถือสองสัญชาติ) ออกจากตัวประกันคนอื่น ๆ[nb 2] และบอกให้ย้ายไปที่ห้องข้างเคียง[32] ขณะที่พวกเขาทำเช่นนั้น ผู้รอดชีวิตจากฮอโลคอสต์คนหนึ่งได้แสดงให้เห็นว่าสลัดอากาศวินฟรีด เบอเซ มีหมายเลขทะเบียนค่ายสักบนแขนของเขา แต่เบอเซคัดค้านว่า "ฉันไม่ใช่นาซี! ... ฉันเป็นคนที่มีอุดมการณ์"[37] นอกจากนี้ ตัวประกันที่ไม่ใช่ชาวอิสราเอลห้าคน สองคู่สมรสชาวยิวออร์ทอดอกซ์นิกายหมวกดำ[23] จากสหรัฐและเบลเยียม[8] และชาวฝรั่งเศสในประเทศอิสราเอล ได้ถูกบังคับให้เข้าร่วมกลุ่มชาวอิสราเอล[34] ตามที่โมนิค เอปสไตน์ คาเลปสกี เผย ตัวประกันชาวฝรั่งเศสในจำนวนห้าคน ผู้จับกุมได้แยกแยะพวกเขาออกเพื่อตั้งคำถามและสงสัยว่าพวกเขาซ่อนสถานะของอิสราเอลไว้[34] ในทางกลับกัน อ้างอิงจากมีแชล โกฌู-โกลแบร์ก ซึ่งเป็นตัวประกันชาวฝรั่งเศส เผยว่า ผู้จับกุมล้มเหลวในการระบุชาวอิสราเอลอย่างน้อยหนึ่งคนในหมู่ผู้โดยสารที่มีสองสัญชาติแล้วใช้หนังสือเดินทางที่ไม่ใช่อิสราเอล และเขาก็ปล่อยให้เป็นอิสระในภายหลัง ในฐานะส่วนหนึ่งของการปล่อยตัวครั้งที่สองของตัวประกันที่ไม่ใช่อิสราเอล[36] ส่วนเจเน็ต อัลม็อก ซึ่งเป็นพลเมืองสหรัฐ, โจเซลีน โมนิเยร์ ผู้หญิงชาวฝรั่งเศส (ซึ่งสามีหรือแฟนหนุ่มเป็นชาวอิสราเอล)[38][39] และฌ็อง-ฌัก มีมัวนี พลเมืองสัญชาติฝรั่งเศส-อิสราเอล ชื่อของเขาไม่ได้ถูกเรียกขึ้นมาในระหว่างการอ่านหนังสือเดินทางแบบเดิม แต่ได้รายงานเข้าร่วมกลุ่มตัวประกันอิสราเอลโดยความสมัครใจของตนเอง[40]

การปล่อยตัวตัวประกันที่ไม่ใช่อิสราเอลส่วนใหญ่[แก้]

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน สลัดอากาศได้ปล่อยตัวตัวประกัน 48 ราย กลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นชาวอิสราเอลได้รับการปลดปล่อยออกมา – ผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและผู้ป่วย และมารดาที่มีบุตร สี่สิบเจ็ดคนดังกล่าวได้บินสู่ปารีส และผู้โดยสารคนหนึ่งได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลาหนึ่งวัน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม หลังจากที่รัฐบาลอิสราเอลได้ประกาศข้อตกลงการเจรจา ผู้จับตัวประกันยื่นคำร้องถึงเที่ยงวันในวันที่ 4 กรกฎาคม และปล่อยกลุ่มผู้ถูกกักขังที่ไม่ได้เป็นชาวอิสราเอลอีก 100 คน ที่บินสู่ปารีสอีกครั้งในไม่กี่ชั่วโมงต่อมา ในบรรดา 106 ตัวประกันที่อยู่ข้างหลังกับผู้จับกุมที่ท่าอากาศยานเอนเทบเบ เป็นลูกเรือของแอร์ฟรานซ์ 12 คนผู้ปฏิเสธที่จะออกไป[41] ผู้โดยสารวัยรุ่นชาวฝรั่งเศสประมาณสิบคน และกลุ่มชาวอิสราเอลประมาณ 84 คน[1][7][26][42]

การวางแผนปฏิบัติการ[แก้]

ในสัปดาห์ก่อนการจู่โจม อิสราเอลพยายามใช้หนทางการเมืองเพื่อให้ได้รับการปลดปล่อยตัวประกัน หลายแหล่งข่าวระบุว่าคณะรัฐมนตรีอิสราเอลเตรียมที่จะปล่อยนักโทษปาเลสไตน์หากทางออกทางทหารดูเหมือนจะไม่ประสบความสำเร็จ บารุค "เบอร์กา" บาร์-เลฟ เจ้าหน้าที่ของกองกำลังป้องกันอิสราเอลที่เกษียณแล้ว รู้จักอีดี อามิน เป็นเวลาหลายปีและได้รับการพิจารณาว่ามีความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ดีกับเขา ตามคำร้องขอของคณะรัฐมนตรี เขาได้พูดคุยกับอามินทางโทรศัพท์หลายครั้ง โดยพยายามที่จะให้มีการปล่อยตัวประกัน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ[43][44] รัฐบาลอิสราเอลยังเข้าหารัฐบาลสหรัฐเพื่อส่งข้อความถึงประธานาธิบดีอียิปต์ อันวัร อัสซาดาต เพื่อขอให้เขาขอให้อามินปล่อยตัวประกัน[45] ส่วนนายกรัฐมนตรียิตซัค ราบิน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมชิมอน เปเรส ใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ว่าไม่เห็นด้วยในการให้ตามความต้องการของสลัดอากาศ (ตำแหน่งของราบิน) หรือไม่ เพื่อป้องกันการก่อการร้ายมากขึ้น (ตำแหน่งของเปเรส)[46]

ในเส้นตายของวันที่ 1 กรกฎาคม[47] คณะรัฐมนตรีอิสราเอลเสนอให้เจรจากับสลัดอากาศเพื่อขยายกำหนดสู่วันที่ 4 กรกฎาคม ซึ่งอามินเองก็ยังขอให้พวกเขาขยายเวลาจนถึงวันที่ดังกล่าว ซึ่งหมายความว่าเขาสามารถเดินทางทางการทูตไปยังพอร์ตลูอิส ประเทศมอริเชียส เพื่อส่งมอบตำแหน่งประธานขององค์การเอกภาพแอฟริกาแก่ซีวูซากูร์ รามกูลัม อย่างเป็นทางการ[48] การขยายเส้นตายของตัวประกันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้กองกำลังอิสราเอลมีเวลาพอที่จะเดินทางไปเอนเทบเบได้[25]

ในวันที่ 3 กรกฎาคม เวลา 18:30 น. คณะรัฐมนตรีของอิสราเอลอนุมัติภารกิจช่วยชีวิต[49] ที่นำเสนอโดยพลตรี เยกูเทียล "กูที" อดัม และพลจัตวา แดน ชอมรอน ซึ่งชอมรอนได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการปฏิบัติการ[50]

ความพยายามในการแก้ปัญหาด้านการทูต[แก้]

ขณะที่เกิดวิกฤติขึ้น มีความพยายามที่จะเจรจาปล่อยตัวประกัน ตามเอกสารทางการทูตที่ไม่เป็นความลับ รัฐบาลอียิปต์ภายใต้ซาดาต พยายามเจรจากับทั้งองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์และรัฐบาลยูกันดา[51][52] โดยประธานองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ ยัสเซอร์ อาราฟัต ได้ส่งฮานิ อัล-ฮัสซัน ซึ่งเป็นผู้ช่วยการเมืองของเขาไปยังประเทศยูกันดาในฐานะทูตพิเศษเพื่อเจรจากับผู้จับตัวประกันและอามิน[8] อย่างไรก็ตาม สลัดอากาศฝ่ายปฏิบัติการภายนอกแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้ปฏิเสธที่จะพบเขา[53]

การเตรียมการโจมตีโฉบฉวย[แก้]

เมื่อหน่วยงานของอิสราเอลล้มเหลวในการเจรจาทางการเมือง พวกเขาตัดสินใจว่าทางเลือกเดียวของพวกเขาคือการโจมตีเพื่อช่วยเหลือตัวประกัน พันโท โจชัว ชานี นักบินนำของปฏิบัติการ กล่าวในภายหลังว่าชาวอิสราเอลเริ่มคิดแผนกู้ภัยในขั้นต้น ที่เกี่ยวข้องกับการหย่อนหน่วยคอมมานโดกองทัพเรือเข้าทะเลสาบวิกตอเรีย หน่วยคอมมานโดจะต้องขี่เรือยางไปยังท่าอากาศยานที่ตั้งอยู่บริเวณริมทะเลสาบ พวกเขาวางแผนที่จะสังหารสลัดอากาศ และหลังจากปลดปล่อยตัวประกัน พวกเขาจะขอร้องอามินเพื่อเดินทางกลับบ้าน ทว่า ฝ่ายอิสราเอลละทิ้งแผนนี้เพราะมีเวลาที่จำเป็นไม่เพียงพอ และเพราะพวกเขาได้รับข่าวว่าทะเลสาบวิกตอเรียเป็นที่อยู่อาศัยของจระเข้แม่น้ำไนล์[54]

อัมนอน ไบรัน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของภารกิจ ได้ระบุในภายหลังว่าไม่ทราบรูปแบบที่ถูกต้องของท่าอากาศยาน รวมถึงตำแหน่งที่แน่นอนของตัวประกัน และไม่ทราบด้วยว่าอาคารนั้นจะเตรียมวัตถุระเบิดไว้ด้วยหรือไม่[46]

การเติมเชื้อเพลิงอากาศยาน[แก้]

ในขณะที่กำลังวางแผนการโจมตีโฉบฉวย กองกำลังอิสราเอลต้องวางแผนที่จะเติมน้ำมันเครื่องบินซี-130 เฮอร์คิวลิส ที่พวกเขาตั้งใจจะใช้ในระหว่างการเดินทางสู่เอนเทบเบ ฝ่ายอิสราเอลขาดความสามารถด้านการส่งกำลังบำรุงในการทหารเพื่อการเติมน้ำมันกลางอากาศสี่ถึงหกเที่ยวบินที่ห่างจากน่านฟ้าของประเทศอิสราเอล ในขณะที่หลายประเทศในแอฟริกาตะวันออก รวมทั้งการส่งกำลังบำรุงในการทหารประเทศเคนยาที่เข้าข้าง ต่างก็ไม่มีใครอยากให้อามินหรือชาวปาเลสไตน์โกรธแค้นโดยการอนุญาตให้ฝ่ายอิสราเอลลงจอดเครื่องบินภายในเขตแดนของตน

การโจมตีโฉบฉวยไม่สามารถดำเนินการได้หากปราศจากความช่วยเหลือจากรัฐบาลแอฟริกาตะวันออกอย่างน้อยหนึ่งแห่ง ชาวยิวเจ้าของกลุ่มบริษัทบริหารโรงแรมบล็อกในประเทศเคนยา พร้อมกับสมาชิกคนอื่น ๆ ของชุมชนชาวยิวและชาวอิสราเอลในกรุงไนโรบี อาจใช้อิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจของพวกเขาเพื่อช่วยชักชวนประธานาธิบดีเคนยา โจโม เคนยัตตา ให้ช่วยอิสราเอล ซึ่งรัฐบาลอิสราเอลได้รับอนุญาตจากเคนยาให้กองกำลังป้องกันอิสราเอลข้ามน่านฟ้าเคนยาและเติมเชื้อเพลิงที่ท่าอากาศยานนานาชาติโจโม เคนยัตตา[55]

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรเคนยา บรูซ แมคเคนซี ได้ชี้ชวนเคนยัตตาผู้เป็นประธานาธิบดีเคนยา เพื่ออนุญาตให้มอสสาดเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนปฏิบัติการ และเพื่อให้กองทัพอากาศอิสราเอลสามารถเข้าถึงท่าอากาศยานไนโรบีได้[56] ในการตอบโต้ ประธานาธิบดียูกันดา อีดี อามิน สั่งให้ตัวแทนยูกันดาลอบสังหารแมคเคนซี โดยเขาถูกสังหารเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1978 เมื่อมีการระเบิดที่ติดกับเครื่องบินของเขา[56][57][58][59] ต่อมา เมเออร์ อามิต ซึ่งเป็นผู้อำนวยการของมอสสาด ได้ปลูกป่าในประเทศอิสราเอลในชื่อของแมคเคนซี[56]

หน่วยสืบราชการลับตัวประกัน[แก้]

มอสสาดสร้างภาพที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานที่ของตัวประกัน, จำนวนของสลัดอากาศ และการมีส่วนร่วมของกองทัพยูกันดาจากการปล่อยตัวประกันในปารีส[60] นอกจากนี้ บริษัทตัวแทนอิสราเอลมีส่วนร่วมในการสร้างโครงการในแอฟริกาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1970 และในขณะที่เตรียมการโจมตีโฉบฉวยกองทัพอิสราเอลได้ปรึกษากับโซเลลโบเนห์ ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ของอิสราเอลที่สร้างเทอร์มินอลที่คุมตัวประกันไว้[61] ขณะที่กำลังวางแผนปฏิบัติการทางทหาร กองกำลังป้องกันอิสราเอลได้สร้างแบบจำลองบางส่วนของอาคารผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานโดยได้รับความช่วยเหลือจากพลเรือนผู้ช่วยสร้างต้นฉบับ

มูกิ เบตเซอร์ กล่าวในการสัมภาษณ์ในภายหลังว่า นักสืบมอสสาดได้สัมภาษณ์ตัวประกันที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาอย่างครอบคลุม เขากล่าวว่าผู้โดยสารชาวฝรั่งเศส-ยิว มีพื้นฐานทางทหารและ"ความจำยอดเยี่ยม"โดยให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับจำนวนอาวุธที่ถือโดยผู้คุมตัวประกัน[62] หลังจากที่เบตเซอร์รวบรวมข่าวกรองและวางแผนไว้หลายวันแล้ว เครื่องบินขนส่งซี-130 เฮอร์คิวลิสของกองทัพอากาศอิสราเอลสี่ลำได้ลอบบินสู่ท่าอากาศยานเอนเทบเบในตอนเที่ยงคืนโดยไม่มีการตรวจพบโดยการควบคุมการจราจรทางอากาศของเอนเทบเบ

กองกำลังพิเศษ[แก้]

กองทัพบกของอิสราเอลมีจำนวนประมาณ 100 คน และประกอบไปด้วย:[50]

หน่วยคำสั่งพื้นดินและควบคุม
กลุ่มเล็ก ๆ นี้ประกอบด้วยผู้ปฏิบัติการและผู้บัญชาการภาคพื้นดินโดยรวม พลจัตวา แดน ชอมรอน, ตัวแทนกองทัพอากาศ พันเอก อามี อายาลอน และบุคลากรการสื่อสารรวมถึงการสนับสนุน
หน่วยโจมตี
หน่วยจู่โจม 29 คน นำโดยพันโท โยนาทัน เนทันยาฮู – กองกำลังนี้ประกอบด้วยคอมมานโดจากหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการ และได้รับภารกิจหลักในการโจมตีเทอร์มินอลเก่าและช่วยเหลือตัวประกัน พันตรีเบตเซอร์เป็นผู้นำหนึ่งในทีมโจมตีของหน่วย และรับคำสั่งหลังพันโทเนทันยาฮูถูกสังหาร
หน่วยคุ้มกัน
  1. กองกำลังพลร่ม นำโดยพันเอก มาทัน วิลไน – ได้รับมอบหมายด้านการคุ้มกันบริเวณท่าอากาศยานพลเรือน, ทำทางให้โล่งและคุ้มกันบริเวณรันเวย์ ตลอดจนการป้องกันและการเติมเชื้อเพลิงเครื่องบินอิสราเอลในเอนเทบเบ
  2. กองกำลังโกลานี นำโดยพันเอก อูรี ซากิ – ได้รับมอบหมายให้คุ้มกันเครื่องบินซี-130 เฮอร์คิวลิส สำหรับการโยกย้ายตัวประกัน โดยนำมาจอดให้ใกล้กับเทอร์มินอลให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และพาตัวประกันขึ้นเครื่อง รวมถึงทำหน้าที่เป็นกองหนุนทั่วไป
  3. กองกำลังหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการ นำโดยพันตรี ชาอูล โมฟัซ – ได้รับมอบหมายให้ทำทางขึ้นลงสำหรับเครื่องบินทหารให้โล่ง และทำลายฝูงเครื่องบินรบมิกบนพิ้นดิน เพื่อป้องกันการแทรกแซงที่เป็นไปได้โดยกองทัพอากาศยูกันดา รวมถึงกองกำลังภาคพื้นดินที่เป็นศัตรูจากเมืองเอนเทบเบ

การโจมตีโฉบฉวย[แก้]

ภาพถ่ายทางอากาศของเมืองเอนเทบเบ และท่าอากาศยานนานาชาติเอนเทบเบยามอาทิตย์อัสดง

เส้นทางการโจมตี[แก้]

สำหรับการบินออกจากชาร์ม เอล ชีค[63] กองกำลังพิเศษได้บินไปตามเส้นทางการบินระหว่างประเทศผ่านทะเลแดง ส่วนใหญ่บินที่ความสูงไม่เกิน 30 เมตร (100 ฟุต) เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับเรดาร์โดยกองกำลังอียิปต์, ซูดาน และซาอุดีอาระเบีย ครั้นใกล้ทางใต้ของทะเลแดง เครื่องบินซี-130 เฮอร์คิวลิส เลี้ยวไปทางใต้และผ่านทางใต้ของประเทศจิบูตี จากที่นั่น พวกเขาบินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของไนโรบี ประเทศเคนยา แล้วเป็นไปได้ว่าได้ทำการบินข้ามประเทศโซมาเลีย และพื้นที่โอกาเดนของประเทศเอธิโอเปีย พวกเขาเลี้ยวไปทางทิศตะวันตก ผ่านอีสต์แอฟริกันริฟต์และเหนือทะเลสาบวิกตอเรีย[64]

เครื่องบินโบอิง 707 จำนวนสองลำบินตามเครื่องบินบรรทุกสินค้า โบอิงลำแรกมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์และได้ลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติโจโม เคนยัตตา ในกรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ส่วนเยกูเทียล อดัม ซึ่งเป็นผู้บัญชาการของปฏิบัติการ ได้ขึ้นเครื่องโบอิงลำที่สอง ซึ่งวนไปรอบ ๆ ท่าอากาศยานเอนเทบเบระหว่างการโจมตี[50]

กองกำลังป้องกันอิสราเอลลงจอดที่เอนเทบเบในวันที่ 3 กรกฎาคมเวลา 23:00 น. ตามเวลามาตรฐานอิสราเอล โดยประตูบรรทุกสินค้าได้เปิดแล้ว เนื่องจากรูปแบบที่ถูกต้องของสนามบินไม่เป็นที่รู้จัก เครื่องบินลำแรกเกือบร่อนเข้าไปในคลอง[46] รถเมอร์เซเดสสีดำซึ่งดูเหมือนกับรถของประธานาธิบดี อีดี อามิน และแลนด์โรเวอร์ที่มาพร้อมกับเมอร์เซเดสของอามินถูกนำมาใช้ด้วยกัน ฝ่ายอิสราเอลหวังว่าพวกเขาสามารถใช้รถของพวกเขาเพื่อหลีกเลี่ยงจุดตรวจรักษาความปลอดภัยได้ เมื่อซี-130 เฮอร์คิวลิส ลงจอด สมาชิกของทีมโจมตีของอิสราเอลขับรถไปที่อาคารผู้โดยสารในแบบเดียวกับอามิน[19][65] ขณะที่พวกเขาเข้าใกล้เทอร์มินอล ทหารยูกันดาสองคนเกิดนึกได้ว่า เครื่องที่อามินเพิ่งซื้อมาเป็นเมอร์เซเดสสีขาว จึงได้มีการสั่งให้หยุดยานพาหนะลง[66] เนทันยาฮูสั่งหน่วยคอมมานโดยิงทหารโดยใช้ปืนพกเก็บเสียง แต่พวกเขาไม่ได้ฆ่าพวกนั้น[19] นี่เป็นการขัดกับแผนและขัดต่อคำสั่ง[46] ขณะที่พวกเขาออกไป หน่วยคอมมาโดอิสราเอลในแลนด์โรเวอร์ที่ตามหลังคันหนึ่งได้สังหารฝ่ายตรงข้ามด้วยปืนไรเฟิลที่ไม่สามารถอำพรางได้[19] จากความกลัวว่าสลัดอากาศจะตื่นตัวก่อนเวลาอันควร ทีมโจมตีจึงได้เข้าถึงเทอร์มินอลด้วยความรวดเร็ว[65]

การช่วยชีวิตตัวประกัน[แก้]

รูปถ่ายของอาคารเก่าแก่ปี ค.ศ. 1994 ที่มีซี-130 เฮอร์คิวลิส ของกองทัพอากาศสหรัฐจอดอยู่ด้านหน้า โดยที่รอยกระสุนจากการโจมตีเมื่อปี ค.ศ. 1976 ยังคงมองเห็นได้

ฝ่ายอิสราเอลทิ้งรถไว้และวิ่งไปที่เทอร์มินอล ตัวประกันอยู่ในห้องโถงใหญ่ของอาคารสนามบิน ซึ่งติดกับรันเวย์โดยตรง ในการเข้าสู่เทอร์มินอล หน่วยคอมมานโดได้ตะโกนผ่านโทรโข่ง "หมอบลง! หมอบลง! เราเป็นทหารอิสราเอล" ทั้งในภาษาฮีบรูและอังกฤษ ทว่า ฌ็อง-ฌัก มีมัวนี ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศสอพยพไปยังอิสราเอลอายุ 19 ปี ได้ลุกขึ้นยืนและถูกฆ่าตายเมื่อมูกิ เบตเซอร์ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการฝ่ายอิสราเอลและทหารอีกคนหนึ่งเข้าใจผิดว่าเขาเป็นสลัดอากาศและได้ยิงเขา[26] ส่วนปัสโก โคเอน ซึ่งเป็นตัวประกันอายุ 52 ปีอีกคนหนึ่ง ก็ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการยิงโดยหน่วยคอมมานโด[67] นอกจากนี้ ไอดา โบโรโชวิช ซึ่งเป็นตัวประกันคนที่สามที่มีอายุ 56 ปี ชาวยิวรัสเซียผู้อพยพไปยังอิสราเอล ได้ถูกสังหารโดยสลัดอากาศจากการอยู่ท่ามกลางการต่อสู้[68]

ตัวประกันชื่อไอลัน ฮาร์ทัฟ เปิดเผยว่า วินฟรีด เบอเซ เป็นสลัดอากาศเพียงคนเดียวหลังจากเริ่มปฏิบัติการ ที่ได้เข้าห้องโถงตัวประกัน ตอนแรกเขาใช้ไรเฟิลคาลาชนิคอฟส่องไปที่ตัวประกัน แต่ "ทันทีที่มาถึงความประสาทสัมผัสของเขา" ก็ได้สั่งให้พวกเขาหากำบังในห้องน้ำ ก่อนที่จะถูกสังหารโดยหน่วยคอมมานโด ตามที่ฮาร์ทัฟเปิดเผย เบอเซยิงเฉพาะทหารอิสราเอลและไม่ได้ยิงตัวประกัน[8]

มีอยู่ช่วงหนึ่ง หน่วยคอมมานโดอิสราเอลตะโกนเรียกเป็นภาษาฮีบรู "พวกเขาอยู่ที่ไหน ?" ซึ่งหมายถึงพวกสลัดอากาศ[69] กลุ่มตัวประกันชี้ไปที่ประตูเชื่อมต่อของห้องโถงใหญ่ของสนามบิน ซึ่งหน่วยคอมมานโดได้ขว้างระเบิดมือหลายครั้ง จากนั้น พวกเขาเข้าไปในห้องและยิงสลัดอากาศสามคนที่ยังเหลืออยู่จนเสียชีวิต เป็นอันสิ้นสุดการโจมตี[25] ในขณะเดียวกัน เครื่องบินซี-130 เฮอร์คิวลิส อีกสามลำได้จอดอยู่ และนำรถยานเกราะออกมาเพื่อเตรียมการป้องกันในช่วงเวลาที่คาดว่าจะเติมน้ำมัน ฝ่ายอิสราเอลได้ทำลายเครื่องบินรบมิกของยูกันดาเพื่อป้องกันไม่ให้ใช้ในการไล่ล่า และดำเนินการกวาดล้างสนามบินเพื่อรวบรวมข่าวกรอง[25]

การออกเดินทาง[แก้]

ผู้โดยสารที่ได้รับการช่วยเหลือได้รับการต้อนรับที่ท่าอากาศยานเบนกูเรียน

หลังจากการโจมตี ทีมโจมตีอิสราเอลกลับไปที่เครื่องบินของพวกเขาและเริ่มบรรทุกตัวประกัน ทหารยูกันดายิงใส่พวกเขาในช่วงดำเนินการ ส่วนหน่วยคอมมานโดอิสราเอลก็สวนกลับไปโดยใช้เอเค 47 ของพวกเขา[70] ก่อให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายในฝ่ายยูกันดา ในระหว่างการสู้รบสั้น ๆ แต่เข้มข้นนี้ ทหารยูกันดาได้ยิงออกมาจากหอควบคุมสนามบิน หน่วยคอมมานโดอย่างน้อยห้ารายได้รับบาดเจ็บ และโยนาทัน เนทันยาฮู ซึ่งเป็นผู้บัญชาการหน่วยของอิสราเอลถูกสังหาร หน่วยคอมมานโดของอิสราเอลยิงปืนกลเบาและอาร์พีจีกลับไปที่หอควบคุมเพื่อยับยั้งการยิงของฝ่ายยูกันดา อ้างอิงจากบุตรชายคนหนึ่งของอีดี อามิน เผยว่า ทหารที่ยิงเนทันยาฮูนั้น เป็นลูกพี่ลูกน้องของครอบครัวอามิน ได้ถูกฆ่าตายในการยิงกลับดังกล่าว[71] ต่อมา ฝ่ายอิสราเอลอพยพตัวประกันเสร็จสิ้น รวมถึงบรรทุกร่างของเนทันยาฮูในเครื่องบินลำหนึ่ง และออกจากท่าอากาศยาน[72] ปฏิบัติการทั้งหมดใช้เวลา 53 นาที – ซึ่งการโจมตีใช้เวลาเพียง 30 นาทีเท่านั้น มีสลัดอากาศทั้งหมด 7 ราย และทหารยูกันดาระหว่าง 33 ถึง 45 รายถูกสังหาร[25][ต้องการคำอ้างอิงเพื่อยืนยัน] ส่วนเครื่องบินรบมิก-17 และมิก-21 ที่สร้างขึ้นโดยโซเวียตสิบเอ็ดลำ[6] ของกองทัพอากาศยูกันดาถูกทำลายลงบนพื้นที่ท่าอากาศยานเอนเทบเบ[4][73] จากตัวประกัน 106 ราย 3 คนถูกสังหาร, 1 คนถูกทิ้งไว้ในยูกันดา (โดรา บลอค อายุ 74 ปี) และประมาณ 10 คนได้รับบาดเจ็บ ส่วนตัวประกัน 102 คนที่ได้รับการช่วยเหลือได้บินสู่ประเทศอิสราเอลผ่านกรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ไม่นานหลังจากการโจมตี[22]

ปฏิกิริยาจากฝ่ายยูกันดา[แก้]

สมาชิกในครอบครัวแสดงความเคารพโดรา บลอค วัย 75 ปีครั้งสุดท้าย หลังจากที่เธอถูกฆาตกรรมโดยเจ้าหน้าที่ของกองทัพยูกันดา

โดรา บลอค ชาวอิสราเอลวัย 74 ปีซึ่งเป็นพลเมืองของอังกฤษ ได้รับการนำตัวไปที่โรงพยาบาลมูลาโกในกัมปาลา หลังจากที่สำลักกระดูกไก่[74] หลังจากการโจมตีเธอถูกฆาตกรรมโดยเจ้าหน้าที่ของกองทัพยูกันดา เช่นเดียวกับบางส่วนของแพทย์และพยาบาลของเธอ สำหรับการพยายามที่จะเข้าไปแทรกแซงอย่างเด่นชัด[26][nb 3][76] ในเดือนเมษายนปี ค.ศ. 1987 เฮนรี เคิมบา ซึ่งเป็นอัยการสูงสุดและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของยูกันดาในเวลานั้น ได้บอกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของยูกันดาว่าบลอคถูกลากออกจากเตียงในโรงพยาบาลและถูกสังหารโดยนายทหารสองคนตามคำสั่งของอามิน[77] บลอคถูกยิงและศพของเธอถูกทิ้งไว้ในกระโปรงหลังรถที่มีแผ่นหมายเลขทะเบียนหน่วยข่าวกรองของยูกันดา ศพของเธอถูกค้นพบใกล้กับสวนน้ำตาล 20 ไมล์ (32 กม.) ทางตะวันออกของกัมปาลาในปี ค.ศ. 1979[78] หลังสงครามยูกันดา-แทนซาเนีย ที่ยุติการปกครองของอามิน[75] อามินยังสั่งให้ฆ่าชาวเคนยาหลายร้อยคนที่อาศัยอยู่ในยูกันดาเพื่อแก้แค้นที่ฝ่ายเคนยาช่วยเหลืออิสราเอลในการโจมตี มีรายงานว่าเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมมีชาวเคนยา 245 คนเสียชีวิต รวมทั้งเจ้าหน้าที่สนามบินที่เอนเทบเบ และที่หลบหนีการถูกสังหารหมู่ ชาวเคนยาประมาณ 3,000 คนหนีจากประเทศยูกันดาในฐานะผู้ลี้ภัย[21][79][80]

ผลที่ตามมา[แก้]

ที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1979 เพื่อพิจารณาคำร้องเรียนจากประธานองค์การเอกภาพแอฟริกาที่กล่าวหาอิสราเอลถึง "การกระทำของการรุกราน"[81] คณะมนตรีได้อนุญาตให้เชม เฮอร์ซอก ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำสหประชาชาติ และจูมา โอริส อับดัลลา ซึ่งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศยูกันดา เข้าร่วมโดยไม่มีสิทธิออกเสียง[81] ส่วนเคิร์ท วัลไฮม์ ซึ่งเป็นเลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวกับคณะมนตรีความมั่นคงว่า "การละเมิดอย่างร้ายแรงต่ออำนาจอธิปไตยของประเทศสมาชิกแห่งสหประชาชาติ" แม้ว่าเขาจะ "ตระหนักดีว่านี่ไม่ใช่องค์ประกอบเพียงอย่างเดียวที่เกี่ยวข้อง ... เมื่อประชาคมโลกจำเป็นต้องจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการก่อการร้ายระหว่างประเทศ"[81] อับดัลลา ผู้เป็นตัวแทนของประเทศยูกันดา อ้างว่าเรื่องนี้ใกล้จะสงบลงเมื่อไม่มีอิสราเอลเข้าแทรกแซง ขณะที่เฮอร์ซอก ผู้เป็นตัวแทนของประเทศอิสราเอล อ้างว่าฝ่ายยูกันดามีส่วนร่วมโดยตรงในการจี้เครื่องบิน[81] ส่วนสหรัฐและสหราชอาณาจักรสนับสนุนมติที่ประณามการจี้เครื่องบินและการกระทำที่คล้ายคลึงกัน โดยเสียใจกับการสูญเสียชีวิตที่เกิดขึ้นจากสลัดอากาศ (โดยไม่กล่าวโทษฝ่ายอิสราเอลหรือยูกันดา) ซึ่งยืนยันถึงความจำเป็นที่จะต้องเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของทุกรัฐ รวมทั้งเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศเพิ่มความปลอดภัยในการบินพลเรือน[82] อย่างไรก็ตาม มติไม่ได้รับจำนวนคะแนนเสียงที่ต้องการเนื่องจากมีผู้ลงคะแนนเสียงสองรายงดออกเสียงและขาดประชุมเจ็ดคน[83] ข้อยุติที่สองได้รับการสนับสนุนจากเบนิน, ลิเบีย และแทนซาเนียที่ประณามอิสราเอล โดยไม่ได้ลงคะแนนเสียง[83][84]

ส่วนประเทศตะวันตกกล่าวสนับสนุนการโจมตีโฉบฉวย โดยเยอรมนีตะวันตกกล่าวถึงการโจมตีว่า "การป้องกันตัวเอง" สวิตเซอร์แลนด์และฝรั่งเศสยกย่องการปฏิบัติการ ตัวแทนจากสหราชอาณาจักรและสหรัฐให้การสรรเสริญอย่างมีนัยสำคัญ โดยเรียกการโจมตีเอนเทบเบว่า "ปฏิบัติการที่เป็นไปไม่ได้" บางคนในสหรัฐตั้งข้อสังเกตว่าตัวประกันได้รับการปลดปล่อยในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 ซึ่งตรงกับ 200 ปีหลังจากการลงนามประกาศเอกราชของสหรัฐ[85][86][87] ในการสนทนากับดีนิทซ์ ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตอิสราเอล เฮนรี คิสซินเจอร์ ได้ออกเสียงวิจารณ์สำหรับการใช้อุปกรณ์ของสหรัฐระหว่างปฏิบัติการของอิสราเอล แต่คำวิจารณ์ดังกล่าวไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนในขณะนั้น[88] นอกจากนี้ ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 1976 เรือสหรัฐเรนเจอร์ (ซีวี-61) ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดใหญ่และฝ่ายคุ้มกันเรือดังกล่าวได้เข้าสู่มหาสมุทรอินเดียและดำเนินการปิดชายฝั่งเคนยา เพื่อตอบโต้การคุกคามทางทหารโดยกองกำลังจากยูกันดา[89]

กาปิแตนบากูได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ และลูกเรือคนอื่น ๆ ก็ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งประเทศฝรั่งเศส[90][91][92][93]

ส่วนโรงแรมแฟร์มอนต์เดอะนอร์ฟอล์ก ที่เป็นเจ้าของโดยสมาชิกสำคัญของชุมชนชาวยิวในประเทศ ได้ถูกวางระเบิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1980 ระเบิดทำลายปีกตะวันตกของโรงแรม โดยสังหารผู้คนไป 20 ราย[ต้องการอ้างอิง] ของหลายเชื้อชาติ และได้รับบาดเจ็บอีก 87 ราย เชื่อกันว่าเป็นการกระทำของการแก้แค้นโดยกลุ่มก่อการร้ายโปรปาเลสไตน์สำหรับบทบาทสนับสนุนของเคนยาในปฏิบัติการเอนเทบเบ[94][95][96]

ในปีต่อ ๆ มา เบตเซอร์และพี่น้องเนทันยาฮู ได้แก่ อิดโดและเบนจามิน รวมทั้งทหารผ่านศึกหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการทั้งหมด ได้โต้เถียงในที่อภิปรายสาธารณะมากขึ้นเกี่ยวกับผู้ที่จะกล่าวโทษถึงการสู้รบในตอนต้นที่ไม่คาดฝันซึ่งเป็นเหตุให้โยนาทันเสียชีวิต และการสูญเสียบางส่วนจากยุทธวิธีที่น่าแปลกใจ[97][98]

อันเป็นผลมาจากปฏิบัติการ กองทัพสหรัฐได้พัฒนาทีมกู้ภัยที่จำลองแบบตามหน่วยที่ใช้ในการกู้ภัยเอนเทบเบ[99] หนึ่งในความพยายามที่จะเลียนแบบที่มีชื่อเสียงคือปฏิบัติการกรงเล็บอินทรี ซึ่งเป็นการช่วยชีวิตที่ล้มเหลวของเจ้าหน้าที่สถานทูตอเมริกันจำนวน 53 คนที่ถูกจับเป็นตัวประกัน ณ กรุงเตหะรานในช่วงวิกฤตการณ์ตัวประกันอิหร่าน[100][101]

ในจดหมายลงวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 เจ้าหน้าที่ผู้บัญชาการสูงสุดของกองกำลังจักรพรรดิอิหร่านได้ให้ยกย่องหน่วยคอมมานโดอิสราเอลสำหรับภารกิจ และแสดงความเสียใจต่อ "การสูญเสียและการเสียสละ" ของเนทันยาฮู[102]

อนุสรณ์[แก้]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2012 ทางการยูกันดาและอิสราเอลได้ไว้อาลัยการจู่โจมในพิธีที่ฐานของหอคอย ณ ท่าอากาศยานเอนเทบเบเก่า ที่โยนาทัน เนทันยาฮู ถูกฆ่าตาย ยูกันดาและอิสราเอลกลับมามีความมุ่งมั่นถึง "การต่อสู้กับการก่อการร้ายและการทำงานเพื่อมนุษยชาติ"[103] นอกจากนี้ ได้มีการวางพวงมาลา, จัดช่วงสงบนิ่ง, กล่าวสุนทรพจน์ และท่องบทกวี โดยมีธงของยูกันดาและอิสราเอลโบกอยู่ข้าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทวิภาคีที่แน่นแฟ้นของทั้งสองประเทศ และที่ข้าง ๆ ยังมีแผ่นจารึกแสดงประวัติการโจมตี พิธีนี้มีผู้เข้าร่วมโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมสัตว์รัฐยูกันดา ไบรท์ รวามิรามา และรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอิสราเอล ดาเนียล อายาลอน ผู้วางพวงมาลา ณ สถานที่เกิดเหตุการณ์[103] สี่สิบปีนับจากวันที่ปฏิบัติการช่วยเหลือ เบนจามิน เนทันยาฮู ผู้เป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอล และเป็นน้องชายของโยนาทัน เนทันยาฮู สมาชิกคอมมานโดหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการของอิสราเอลที่ถูกสังหาร ได้เข้าเยี่ยมเอนเทบเบกับคณะผู้แทนของอิสราเอล และวางรากฐานสำหรับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างอิสราเอล–แอฟริกาใต้สะฮาราเพิ่มเติม

การแสดงและสารคดี[แก้]

สารคดี[แก้]

  • โอเปอเรชันธันเดอร์โบลต์: เอนเทบเบ เป็นสารคดีเกี่ยวกับการจี้เครื่องบินและภารกิจช่วยชีวิตในเวลาต่อมา[104]
  • ไรส์แอนด์ฟอลออฟอีดี อามิน (ค.ศ. 1980) เป็นภาพยนตร์ชีวประวัติของเผด็จการยูกันดาซึ่งมีการโจมตี
  • การช่วยชีวิตที่เอนเทบเบ เป็นตอนที่ 12 จากชุดสารคดี อะเกนสต์ออลออดส์: อิสราเอลเซอไวส์ ปี ค.ศ. 2005 โดยไมเคิล กรีนสแปน
  • โคเฮนออนเดอะบริดจ์ (ค.ศ. 2010) เป็นสารคดีโดยผู้กำกับ แอนดรูว์ เวินรีบ ผู้ที่ได้รับการเข้าถึงหน่วยคอมมานโดและตัวประกันที่รอดตาย
  • ไลฟ์ออร์ดายอินเอนเทบเบ (ค.ศ. 2012) โดยผู้กำกับ อียัล โบเออส์ เป็นการติดตามการเดินทางของโยนาทัน คายัต เพื่อเปิดเผยสถานการณ์ของการเสียชีวิตของฌ็อง-ฌัก มีมัวนี ผู้เป็นลุงของเขาในการจู่โจม[105][106]
  • "แอสซอลท์ออนเอนเทบเบ" เป็นตอนหนึ่งของสารคดีเนชั่นแนลจีโอกราฟิกแชนแนลชุดคริติคอลซิทูเอชัน
  • โอเปอเรชันธันเดอร์โบลต์ เป็นตอนที่ห้าในชุดสารคดีมิลิทารีแชนแนล ค.ศ. 2012 ซีรีส์แบล็คออพส์[107]

การแสดง[แก้]

ภาพยนตร์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากปฏิบัติการเอนเทบเบ[แก้]

  • แฝดไม่ปรานี (ค.ศ. 1986) มีปฏิบัติการช่วยชีวิตตัวประกันโดยได้รับแรงบันดาลใจจากปฏิบัติการเอนเทบเบ[108]
  • ซามีน (ค.ศ. 2003) เป็นภาพยนตร์แอ็กชันบอลลีวูดที่นำแสดงโดยอชัย เทวคัน และอภิเษก พัจจัน ผู้วาดแผนเพื่อช่วยเหลือตัวประกันของสายการบินอินเดียที่ถูกจี้เครื่องบินโดยกลุ่มก่อการร้ายของปากีสถานที่อิงจากโครงสร้างพื้นฐานของปฏิบัติการเอนเทบเบ
  • เที่ยวบินนรกเอนเทบเบ้ (ค.ศ. 2018)

สื่ออื่น ๆ[แก้]

ระเบียงภาพ[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. แหล่งที่มาของรัฐที่แตกต่างกันต่อจำนวนผู้โดยสาร ระหว่าง 228 ถึง 246 คน; จำนวนบุคคลที่สูงขึ้นมาจากเดอะนิวยอร์กไทมส์
  2. อ้างโดยนักเขียนหลายคนระบุว่าแบ่งแยกระหว่างชาวยิวและที่ไม่ใช่ชาวยิว[31] ขัดแย้งกับคำอธิบายของพยาน[12][32][33][34][35] และต่อมาพวกเขาก็ได้รับการปฏิเสธโดยชัดแจ้ง โดยอดีตตัวประกันหลายคนในฐานะ "เรื่องจินตนาการ" หรือการจัดการโดย "ผู้สื่อข่าวและผู้ผลิตภาพยนตร์ที่มีความรู้สึกหิว"[8][23][36]
  3. ตอนนี้เอกสารที่เป็นความลับได้รับการเผยแพร่แล้วภายใต้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารเสรีภาพ แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมาธิการระดับสูงของอังกฤษในกัมปาลาได้รับรายงานจากพลเรือนยูกันดาว่านางบลอคถูกยิงและศพของเธอถูกทิ้งลงในกระโปรงหลังรถ ซึ่งมีแผ่นหมายเลขทะเบียนหน่วยข่าวกรองของยูกันดา[75]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 McRaven, Bill. "Tactical Combat Casualty Care – November 2010". MHS US Department of Defense. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2011. สืบค้นเมื่อ 15 July 2011.
  2. 1976: Israelis rescue Entebbe hostages, BBC
  3. Entebbe: The Most Daring Raid of Israel's Special Forces, The Rosen Publishing Group, 2011, by Simon Dunstan, p. 58
  4. 4.0 4.1 4.2 Brzoska, Michael; Pearson, Frederic S. Arms and Warfare: Escalation, De-escalation, and Negotiation, Univ. of S. Carolina Press (1994) p. 203
  5. 5.0 5.1 "Entebbe raid". Encyclopædia Britannica.
  6. 6.0 6.1 6.2 "BBC on This Day – 4 – 1976: Israelis rescue Entebbe hostages". BBC News.
  7. 7.0 7.1 Smith, Terence (4 July 1976). "Hostages Freed as Israelis Raid Uganda Airport; Commandos in 3 Planes Rescue 105-Casualties Unknown Israelis Raid Uganda Airport And Free Hijackers' Hostages". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 4 July 2009.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Yossi Melman (8 July 2011). "Setting the record straight: Entebbe was not Auschwitz". Haaretz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2012. สืบค้นเมื่อ 27 December 2012.
  9. "Hijacking of Air France Airbus by Followers of Popular Front for the Liberation of Palestine – Israeli Action to liberate Hostages held at Entebbe Airport ..." (PDF). Keesing's Record of World Events. 22: 27888. August 1976. สืบค้นเมื่อ 23 September 2014.
  10. "Idi Amin's Son: My Dream Is to Apologize Personally to Family of Entebbe Victims". Ha'aretz. 14 June 2016.
  11. Furst, Alan (2016). "'Operation Thunderbolt,' by Saul David". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 8 January 2018.
  12. 12.0 12.1 "Freed Hostages Tell Their Story". Jewish Telegraphic Agency. 2 July 1976. สืบค้นเมื่อ 23 September 2014.
  13. 13.0 13.1 Simon Dunstan (15 January 2011). Entebbe: The Most Daring Raid of Israel's Special Forces. The Rosen Publishing Group. pp. 20–24. ISBN 978-1-4488-1868-6. สืบค้นเมื่อ 4 July 2012.
  14. 14.0 14.1 Mark Ensalaco (2008). Middle Eastern Terrorism: From Black September to September 11. University of Pennsylvania Press. pp. 96–. ISBN 978-0-8122-4046-7. สืบค้นเมื่อ 4 July 2012.
  15. "Entebbe; Thirty Years On; miracle on the runway". Jewish Telegraph. 2006. สืบค้นเมื่อ 20 June 2011.
  16. Sol Scharfstein (1 May 1994). Understanding Israel. KTAV Publishing House, Inc. pp. 118–. ISBN 978-0-88125-428-0. สืบค้นเมื่อ 5 July 2012.
  17. Dunstan, Simon (2009). Israel's Lighting Strike, The raid on Entebbe 1976. Osprey Publishing; Osprey Raid Series No. 2. p. 24. ISBN 978-1-84603-397-1.
  18. 18.0 18.1 "Mossad took photos, Entebbe Operation was on its way". Ynetnews. 2006. สืบค้นเมื่อ 6 July 2009.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 Feldinger, Lauren Gelfond (29 June 2006). "Back to Entebbe". The Jerusalem Post. สืบค้นเมื่อ 4 July 2009.
  20. Ulrich Beyerlin: Abhandlungen: Die israelische Befreiungsaktion von Entebbe in völkerrechtlicher Sicht. (PDF-Datei; 2,3 MB) auf: zaoerv.de Max-Planck-Institut für ausländisches öffentliches Recht und Völkerrecht, 1977.
  21. 21.0 21.1 Keesing's Record of World Events Volume 22, August, 1976 Uganda, Kenya, Page 27891
  22. 22.0 22.1 "Operation Entebbe". The Knesset at Sixty. สืบค้นเมื่อ 4 July 2009.
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 Aviv Lavie (31 July 2003). "Surviving the myth". Haaretz. สืบค้นเมื่อ 23 September 2014.
  24. "How the Rescue Took Place". Jewish Telegraphic Agency. 5 July 1976. สืบค้นเมื่อ 23 September 2014.
  25. 25.0 25.1 25.2 25.3 25.4 Hamilton, Fiona (27 February 2008). "General Dan Shomron". The Times. London. สืบค้นเมื่อ 4 July 2009.
  26. 26.0 26.1 26.2 26.3 26.4 Ben, Eyal (3 July 2006). "Special: Entebbe's unsung hero". Ynetnews. สืบค้นเมื่อ 4 July 2009.
  27. "Entebbe Thirty Years On: Mancunian On Board". Jewish Telegraph. สืบค้นเมื่อ 22 September 2014.
  28. "1976: Israelis rescue Entebbe hostages". BBC News. 4 July 1976. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2012. สืบค้นเมื่อ 27 December 2012.
  29. Dunstan, Simon (2011). Entebbe: The Most Daring Raid of Israel's Special Forces. New York: Rosen. pp. 17–18.
  30. "Detailed Story Of Dramatic Israeli Raid". Sarasota Herald-Tribune. 13 July 1976. สืบค้นเมื่อ 22 September 2014.
  31. "1976 Operation Entebbe". IDF blog. Israeli Defense Forces. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-12. สืบค้นเมื่อ 23 September 2014.
  32. 32.0 32.1 Yehuda Ofer (1976). Operation Thunder: The Entebbe Raid. The Israeli's Own Story. Penguin. pp. 46–47. ISBN 0-14-052321-9.
  33. Moufflet, Claude (1976). Otages à Kampala (ภาษาฝรั่งเศส). Presses de la Cité. p. 82.
  34. 34.0 34.1 34.2 "La aventura del secuestro de Entebbe, contada por una protagonista". El País (ภาษาสเปน). 11 July 1976. สืบค้นเมื่อ 23 September 2014.
  35. Jerozolimski, Ana (13 July 2006). "Ada Lazarovitz (46), que hace 30 años fuera una de las rehenes en el avión de Air France secuestrado por terroristas en Entebbe, recuerda su liberación". Espacio Latino (ภาษาสเปน). Semanario Hebreo. สืบค้นเมื่อ 23 September 2014.
  36. 36.0 36.1 Goldberg, Michel (1984). Namesake. Corgi. p. 122.
  37. Tinnin, David (8 August 1977). "Like Father". Time. p. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2010. – A review of Hitler's children by Julian Becker,; Frum, David (2000). How We Got Here: The 70s the Decade That Brought You Modern Life – For Better or Worse. Basic Books. p. 342. ISBN 0465041965.
  38. Ross, Philip (2 August 1976). "The Illustrated Story of the Great Israeli Rescue". New York Magazine. สืบค้นเมื่อ 23 September 2014.
  39. "Almogs Retell Hijack Tale". Heritage Florida Jewish News. 10 September 1976. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-03. สืบค้นเมื่อ 23 September 2014.
  40. Eetta Prince-Gibson, Eetta (7 March 2013). "Entebbe's Forgotten Dead". Tablet. สืบค้นเมื่อ 23 September 2014.
  41. David Kaplan, "A Historic Hostage-Taking Revisited," The Jerusalem Post, 3 August 2006, Retrieved 4 July 2018.
  42. "The Entebbe Rescue Mission". Israel Defense Forces. Jewish Virtual Library. สืบค้นเมื่อ 4 July 2009.
  43. "Vindication for the Israelis" เก็บถาวร 2011-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Time. 26 July 1976.
  44. "War of Words over a Tense Border" เก็บถาวร 2011-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Time. 26 July 1976.
  45. "Conversation between Henry Kissinger and Israeli Ambassador Simch Dinitz, 30 June 1976" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-13. สืบค้นเมื่อ 24 July 2011.
  46. 46.0 46.1 46.2 46.3 Saul David (27 June 2015). "Israel's raid on Entebbe was almost a disaster". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 9 February 2018.
  47. Grimes, Paul. "Rescuing the Entebbe Hostages". The New York Times. Friday, 30 July 1976. (The Weekend, p. 51).
  48. Lipkin-Shakhak, Tali. "The Forgotten Hero of Entebbe". Historama. 16 June 2006.
  49. Terence, Smith (4 July 1976). "Hostages Freed as Israelis Raid Uganda Airport". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 20 May 2010.
  50. 50.0 50.1 50.2 "Israel Defense Forces – Entebbe Diary". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2008.
  51. "Herman Eilts (US Ambassador to Egypt) to Secretary of State, 6 July 1976". สืบค้นเมื่อ 24 July 2011.
  52. "Herman Eilts (US Ambassador to Egypt) to Secretary of State, 9 July 1976". สืบค้นเมื่อ 24 July 2011.
  53. Chabalier, Hervé (12 July 1976). "Israël: le prix d'un exploit" (PDF). Le Nouvel Observateur (ภาษาฝรั่งเศส). p. 25.
  54. Williams, Louis (2000). The Israel Defense Forces: A People's Army. iUniverse. p. 131. ISBN 9780595143535. สืบค้นเมื่อ 27 December 2012.
  55. Dunstan, Simon (2011). Entebbe: The Most Daring Raid of Israel's Special Forces. Rosen Publishing Group. p. 53. ISBN 9781448818686. สืบค้นเมื่อ 27 December 2012.
  56. 56.0 56.1 56.2 Melman, Yossi. "A history of cooperation between Israel and Kenya". The Jerusalem Post. สืบค้นเมื่อ 26 September 2013.
  57. Ephraim Kahana (2006). Historical Dictionary of Israeli Intelligence. สืบค้นเมื่อ 26 September 2013.
  58. "Ugandan agents killed former Cabinet minister, says dossier". Standard Digital News. สืบค้นเมื่อ 26 September 2013.
  59. Entebbe: The Most Daring Raid of Israel's Special Forces – Simon Dunstan. สืบค้นเมื่อ 26 September 2013.
  60. "The Rescue: 'We Do the Impossible'". Time. 12 July 1976. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-20. สืบค้นเมื่อ 26 July 2009.
  61. "Wars and Operations: Operation Thunderball ("Entebbe")" (ภาษาฮิบรู). Israel Air Force(official website).
  62. "Israel marks 30th anniversary of Entebbe". Associated Press in USA Today. 5 July 2006.
  63. "Operation Entebbe".
  64. Stevenson, William (1976). Ninety Minutes at Entebbe. New York: Bantam Books. p. 100. ISBN 0-553-10482-9.
  65. 65.0 65.1 "Remembering Entebbe, Larry Domnitch". The Jewish Press. 1 July 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2011. สืบค้นเมื่อ 4 July 2009.
  66. David E. Kaplan (27 December 2012). "A historic hostage-taking revisited". The Jerusalem Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2012. สืบค้นเมื่อ 27 December 2012.
  67. "Remembering Entebbe". Jerusalem Diaries. 3 July 2001. สืบค้นเมื่อ 27 December 2012.
  68. Berg, Raffi (3 July 2016). "Entebbe pilot Michel Bacos 'saw hostage murdered'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 3 July 2016.
  69. Cawthorne, Nigel (2011). Warrior Elite: 31 Heroic Special-Ops Missions from the Raid on Son Tay to the Killing of Osama Bin Laden. Ulysses Press. p. 57. ISBN 9781569759301. สืบค้นเมื่อ 27 December 2012.
  70. "The Israeli Special Forces Database". isayeret.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2016. สืบค้นเมื่อ 2 July 2016.
  71. http://www.ynetnews.com/articles/0,7340,L-4824146,00.html
  72. Dunstan, Simon (2011). Entebbe: The Most Daring Raid of Israel's Special Forces. Rosen Publishing Group. pp. 51–53. ISBN 9781448818686. สืบค้นเมื่อ 27 December 2012.
  73. "1976: Israelis rescue Entebbe hostages". BBC News. 4 July 1976. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2012. สืบค้นเมื่อ 27 December 2012.
  74. 40 years after Entebbe, Israeli hostages reflect back on a saga of survival Haaretz
  75. 75.0 75.1 Verkaik, Robert (13 February 2007). "Revealed: the fate of Idi Amin's hijack victim". The Independent. London. สืบค้นเมื่อ 4 July 2009.
  76. Verkaik, Robert (13 February 2007). "Revealed: the fate of Idi Amin's hijack victim". The Independent. London.
  77. "1976: British grandmother missing in Uganda". BBC News. 7 July 1976. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2012. สืบค้นเมื่อ 27 December 2012.
  78. "Body of Amin Victim Is Flown Back to Israel". The New York Times. 4 June 1979, Monday, p. A3.
  79. "1976: Israelis rescue Entebbe hostages". BBC – On this day. 4 July 2008. สืบค้นเมื่อ 26 July 2009.
  80. KALINAKI, DANIEL K. (3 July 2016). "Entebbe raid humiliated Amin, nearly caused East African war". สืบค้นเมื่อ 27 February 2018.
  81. 81.0 81.1 81.2 81.3 Security Council, Official Records, 1939th meeting, 9 July 1976, S/PV.1939.
  82. Security Council. United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland and United States of America: draft resolution. Document S/12138, 12 July 1976.
  83. 83.0 83.1 Security Council, Official Records, 1943th meeting, 14 July 1976, S/PV.1943, p. 18.
  84. Security Council. Benin, Libyan Arab Republic and United Republic of Tanzania: draft resolution. Document S/12139, 12 July 1976.
  85. "Age of Terror: Episode one". BBC News. 16 April 2008.
  86. "עכשיו, במבצע – תרבות ובידור". Ynet. 20 June 1995. สืบค้นเมื่อ 24 July 2011.
  87. "מבצע אנטבה". Mota.co.il. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 July 2011. สืบค้นเมื่อ 24 July 2011.
  88. "Conversation between Kissinger and Dinitz, 5 July 1976" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-09-13. สืบค้นเมื่อ 24 July 2011.
  89. USS Ranger Bicentennial Cruise Book เก็บถาวร 3 ธันวาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  90. "Entebbe Postscript", Flight International, 17 July 1976, p. 122. Retrieved from Flightglobal Archive
  91. Air et cosmos, Issues 618–634, Impr. Reaumur., 1976, p. 48 (in French)
  92. "Michel Bacos: the Air France hero of Entebbe". The Jewish Chronicle. 15 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-04. สืบค้นเมื่อ 2018-10-12.
  93. "Je dois ma vie à Tsahal". Hamodia (ภาษาฝรั่งเศส). 11 มิถุนายน 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2013.
  94. Kiruga, Morris (15 September 2013). "20 killed in bomb attack on Norfolk". Daily Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-03. สืบค้นเมื่อ 23 September 2014.
  95. "Nairobi assault: Kenyan terrorist attacks since 1980". Telegraph.co.uk. 21 September 2013.
  96. Wahome, Patrick Mutahi. "War on terror or war on human rights? Implications of the "war on terror" for human rights in Kenya" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 8 November 2012.
  97. Sharon Roffe-Ofir "Entebbe's open wound" Ynet, 7 February 2006
  98. Josh Hamerman "Battling against 'the falsification of history'" Ynetnews, 4 February 2007
  99. Dershowitz, Alan M. Preemption: A Knife that Cuts both Ways, W. W. Norton (2006) p. 91
  100. Houghton, David Patrick. U.S. Foreign Policy and the Iran Hostage Crisis, Cambridge Univ. Press (2001) pp. 86–87
  101. Nalty, Bernard C. (November 2003). Winged Shield, Winged Sword 1950–1997: A History of the United States Air Force. University Press of the Pacific. ISBN 1-4102-0902-4.
  102. Ginsburg, Mitch (8 July 2015). "In 1976 letter, Iran hailed Entebbe rescue, mourned death of Yoni Netanyahu". The Times of Israel. Jerusalem. สืบค้นเมื่อ 8 May 2016.
  103. 103.0 103.1 Candia, Steven (14 August 2012). "Uganda, Israel honor 1976 Entebbe raid". New Vision. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2012. สืบค้นเมื่อ 14 August 2012.
  104. McFadden, Robert D. (26 July 1976). "6 Film Studios Vie Over Entebbe Raid". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 27 April 2018.
  105. "Live or Die in Entebbe (2012)". IMDb.
  106. Operation Entebbe – 'Live or Die in Entebbe' Trailer. YouTube. 3 December 2012. สืบค้นเมื่อ 9 January 2013.
  107. "Amazon.com: Black OPS Season 1: Amazon Digital Services LLC".
  108. Romirowsky, Asaf (6 July 2011). "The Entebbe Raid, 35 Years Later". National Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2012. สืบค้นเมื่อ 27 December 2012.
  109. Cohen, Peter-Adrian. "theatreor.com presents A WORLD PREMIERE from an Israeli Perspective". สืบค้นเมื่อ 5 July 2009.
  110. "Untitled Theater Co #61's Fest of Jewish Theater & Ideas Runs". 20 May 2009. สืบค้นเมื่อ 5 July 2009.

เอกสารอ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

0°02′42.8784″N 32°27′13.1616″E / 0.045244000°N 32.453656000°E / 0.045244000; 32.453656000