ข้ามไปเนื้อหา

ซาบีนา เที่ยวบินที่ 571

พิกัด: 32°00′34″N 34°52′37″E / 32.0094°N 34.8769°E / 32.0094; 34.8769
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซาบีนา เที่ยวบินที่ 571
ลำที่เกิดเหตุที่ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์
เมื่อปี ค.ศ. 1976
สรุปอุบัติการณ์
วันที่8 พฤษภาคม ค.ศ. 1972
สรุปถูกจี้เครื่องบิน
จุดเกิดเหตุท่าอากาศยานนานาชาติเทลอาวีฟ-ลอด ลอด อิสราเอล
ประเภทอากาศยานโบอิง 707-329
ดําเนินการโดยซาบีนา
ทะเบียนOO-SJG
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติวีน-ชเวชาต
ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติเทลอาวีฟ-ลอด
ผู้โดยสาร94 คน (รวมสลัดอากาศ 4 คน)
ลูกเรือ7 คน
เสียชีวิต3 คน (ผู้โดยสาร 1 คน, สลัดอากาศ 2 คน)
บาดเจ็บ3 คน (ผู้โดยสาร 2 คน, คอมมานโด 1 นาย)
รอดชีวิต98 คน (รวมสลัดอากาศ 2 คน)

ซาบีนา เที่ยวบินที่ 571 เป็นเที่ยวบินของสายการบินซาบีนา ออกเดินทางจากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ผ่านกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียถึงเมืองลอด ประเทศอิสราเอล เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1972 เที่ยวบินนี้ถูกจี้โดยสลัดอากาศที่ปลอมตัวเป็นคู่ 4 คน สลัดอากาศกลุ่มนี้เป็นสมาชิกกลุ่มกันยายนทมิฬ องค์กรก่อการร้ายของปาเลสไตน์ ทั้งหมดพกอาวุธปืน ระเบิดมือและเข็มขัดระเบิด[1]

ยี่สิบนาทีหลังออกเดินทาง พวกเขาจี้กัปตันเรจินัลด์ เลวี ชาวอังกฤษ ให้ลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติเทลอาวีฟ-ลอด[2] (ท่าอากาศยานนานาชาติเบนกูเรียนในปัจจุบัน) และแยกผู้โดยสารชาวยิวไปไว้ที่ท้ายเครื่อง[3] เมื่อเครื่องลงจอด สลัดอากาศยื่นข้อเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษชาวปาเลสไตน์ 315 คนและขู่ว่าจะระเบิดเครื่องบินพร้อมกับผู้โดยสาร[4] โมเช ดายันและซิมอน เปเรส รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมอิสราเอลตามลำดับดำเนินการเจรจากับสลัดอากาศพร้อมกับวางแผนช่วยเหลือในชื่อปฏิบัติการไอโซโทป[5]

ต่อมาเวลา 16.00 น. ของวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1972 กลุ่มคอมมานโดหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการ​ 16 นายซึ่งมีสมาชิก เช่น เอฮุด บารัคและเบนจามิน เนทันยาฮู[2] (ต่อมาทั้งคู่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอิสราเอล) ปลอมตัวเป็นช่างซ่อมเครื่องบินก่อนจะปฏิบัติการช่วยเหลือตัวประกัน[2] ปฏิบัติการนี้มีผู้เสียชีวิต 3 คน เป็นผู้โดยสาร 1 คนและสลัดอากาศชาย 2 คน ส่วนสลัดอากาศหญิงอีก 2 คนถูกจับกุม[1] หลังเหตุการณ์ดังกล่าว สลัดอากาศหญิงทั้งสองคนถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต แต่ได้รับการปล่อยตัวในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1983 โดยเป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนนักโทษหลังสงครามเลบานอน ค.ศ. 1982 ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Jeffries, Stuart (11 November 2015). "Four hijackers and three Israeli PMs: the incredible story of Sabena flight 571". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 11 November 2015.
  2. 2.0 2.1 2.2 Hevesi, Dennis (5 August 2010). "Reginald Levy Is Dead at 88; Hailed as a Hero in a '72 Hijacking". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 6 August 2010.
  3. "Two Passengers on Hijacked Plane Seriously Wounded; Terrorists Separate Jews from Non-jews on Plane". Jewish Telegraphic Agency. 1972-05-11. สืบค้นเมื่อ 2016-05-08.
  4. Klein, Aaron J. (2005). Striking Back: The 1972 Munich Olympics Massacre and Israel's Deadly Response. New York: Random House. ISBN 1-920769-80-3.
  5. Judah Ari Gross (2015-08-13). "When the prime ministers took down the hijackers". timesofisrael.com. สืบค้นเมื่อ 13 August 2015.

32°00′34″N 34°52′37″E / 32.0094°N 34.8769°E / 32.0094; 34.8769