ไพฑูรย์ ธัญญา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ธัญญา สังขพันธานนท์)
ธัญญา สังขพันธานนท์

เกิด26 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 (67 ปี)
อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
นามปากกาไพฑูรย์ ธัญญา
อาชีพกวี, อาจารย์มหาวิทยาลัย
สัญชาติไทย
คู่สมรสผศ. ดร.ลาวัณย์ สังขพันธานนท์

ไพฑูรย์ ธัญญา (เกิด 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2499) เป็นนามปากกาของ รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ เกิดที่ ต.ท่ามะเดื่อ อ.เขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวน 8 คน ของนายชู และนางคลี่ สังขพันธานนท์ บิดาเป็นครู นามสกุลเดิม คือ ชูแหละ สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษมุสลิม ปริญญาการศึกษาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยทักษิณ) ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก เคยเป็นครูสอนชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนแถวบ้านเกิดและที่จังหวัดสุโขทัย ก่อนมาเป็นอาจารย์ที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

ปี พ.ศ. 2559 ได้รับเลือกจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย รับรางวัลวรรณกรรมแม่น้ำโขง ณ เมืองคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีนและได้รับการคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์

นอกจากนี้ยังได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร[1]

ผลงาน[แก้]

เริ่มต้นงานเขียนทั้งบทกวีและเรื่องสั้น ใช้นามปากกา "ไพฑูรย์ ธัญญา" มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2521 พร้อม ๆ กับเพื่อนนักเขียนรุ่นใหม่ละแวกบ้านเกิด จนกลายมาเป็นที่มาของกลุ่มนาคร กลุ่มศิลปะ-วรรณกรรมสำคัญแห่งหัวเมืองปักษ์ใต้

เริ่มงานเขียนทั้งบทกวีและเรื่องสั้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 พร้อมกับเพื่อนนักเขียนรุ่นใหม่ในเขตปริมณฑลรอบ ๆ บ้านเกิด เป็นสมาชิกก่อตั้งของ "กลุ่มนาคร" กลุ่มศิลปวรรณกรรมที่สำคัญของหัวเมืองปักษ์ใต้

2527 “สองร้อยปีฤๅสิ้นเสดสา” ผลงานเล่มแรกในชีวิต วรรณกรรมกวีนิพนธ์เรื่องยาวที่เขียนร่วมกับเพื่อนใน กลุ่มนาคร มีประมวล มณีโรจน์ สมใจ สมคิด รัตนธาดา แก้วพรหม และโอภาส สอดจิตต์

2528 รวมเรื่องสั้นเล่มแรก "ก่อกองทราย" ได้รับรางวัล วรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี พ.ศ. 2530

2530 รวมเรื่องสั้นเล่มที่สอง “ถนนนี้กลับบ้าน”

2532 นวนิยายเล่มแรก “ผีแห้งกับโลงผุ”

2534 รวมเรื่องสั้นเล่มที่สาม “โบยบินไปจากวัยเยาว์” ได้รับ รางวัลงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

2537 รวมเรื่องสั้นเล่มที่ 4 “ตุลาคม” ได้รับรางวัลงาน สัปดาห์หนังสือแห่งชาติและเข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี 2539

2538 รวมบทความวรรณกรรมศึกษา “ปรากฏการณ์แห่ง วรรณกรรม” ในนามจริง ธัญญา สังขพันธานนท์

2539 หนังสือ “วรรณกรรมวิจารณ์”

2540 รวมบทความวรรณกรรม “นอกเหนือจินตนาการ”รวมเรื่องสั้นคัดสรร แปล ไทย-อังกฤษ ‘At the Western Battle Front : The so-sowar’ แปลโดย Tom Glass.

2544 รวมเรื่องสั้นคัดสรร แปล ไทย-อังกฤษ ในรอบ 15 ปี ‘Paradise waves’แปลโดย Tom Glass

2545 รวมเรื่องสั้นเล่มที่ 5 “โดยวิธีของเราเอง”

2546 สารคดีชีวประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ “เทพเจ้าแห่งด่านขุนทด”

2547 นวนิยายขนาดสั้น “คืนฝนไฟ”

2548 หนังสือ “การเขียนสารคดีภาคปฏิบัติ”

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ชีวประวัติ ไพฑูรย์ ธัญญา
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๙๕, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๑๑๓, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๑๔๘, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๒๖, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔