ตัวเลขญี่ปุ่น
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ |
ระบบเลข |
---|
รายชื่อระบบเลข |
ตัวเลขญี่ปุ่น เป็นตัวเลขที่ใช้ภายในประเทศญี่ปุ่น โดยรูปแบบอักษรและระบบได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนเกือบทั้งหมด เสียงอ่านของตัวเลขญี่ปุ่นมีทั้งเสียงที่ยืมมาจากประเทศจีนและเสียงที่ประเทศญี่ปุ่นคิดค้นขึ้นเอง นอกเหนือจากนี้ระบบตัวเลขของญี่ปุ่นนั้นยังสามารถออกเสียงได้มากมาย อย่างเช่น การนับสิ่งของ หรือวันที่ในปฏิทิน รูปแบบของคำอ่านก็จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
รูปแบบตัวเลขของญี่ปุ่น
[แก้]ตัวเลขญี่ปุ่นนั้นสามารถเขียนได้สองลักษณะคือตัวเลขอาหรับ (1, 2, 3) หรือตัวเลขจีน (一, 二, 三) ตัวเลขอาหรับมักใช้ในงานเขียนแนวนอน ส่วนตัวเลขจีนมักพบในงานเขียนแนวตั้ง
ตัวเลขส่วนใหญ่มีวิธีอ่านสองแบบ โดยแบบจีนใช้ในจำนวนเชิงการนับ (อ่านแบบ"อง") และแบบญี่ปุ่น (อ่านแบบ"คุง") ใช้กับตัวเลขที่ไม่ทางการถึง 10 ในบางกรณี (ดูข้างล่าง) แบบญี่ปุ่นสามารถใช้ได้ทุกรูปแบบ เสียงอ่านในอดีตกำกับด้วยสัญลักษณ์ †
ตัวเลข | อักษร | อ่านแบบอง | อ่านแบบคุง[1] | รูปอ่านที่นิยม |
---|---|---|---|---|
0 | 零 / 〇* | เร / れい | — | เซโระ / ゼロ (คำยืม, ไกไรโงะ) |
1 | 一 | อิจิ / いち | ฮิโตะ / ひと | อิจิ |
2 | 二 | นิ / に | ฟูตะ / ふた | นิ |
3 | 三 | ซัง / さん | มิต / みっ | ซัง |
4 | 四 | ชิ / し | ยง, ยต / よん、よっ | ยง |
5 | 五 | โกะ / ご | อิตสึ / いつ | โกะ |
6 | 六 | โรกุ / ろく | มุต / むっ | โรกุ |
7 | 七 | ชิจิ / しち | นานะ / なな | นานะ |
8 | 八 | ฮาจิ / はち | ยัต / やっ | ฮาจิ |
9 | 九 | คุ, คีว/ く, きゅう | โคโกโนะ / ここの | คีว |
10 | 十 | จู / じゅう | โท / とお | จู |
20 | 二十 | นิ-จู / にじゅう | (ฮาตะ / はた)† | นิ-จู |
30 | 三十 | ซัง-จู / さんじゅう | (มิโซะ / みそ)† | ซัง-จู |
40 | 四十 | ชิ-จู / しじゅう | (โยโซะ / よそ)† | ยง-จู |
50 | 五十 | โกะ-จู / ごじゅう | (อิโซะ / いそ)† | โกะ-จู |
60 | 六十 | โรกุ-จู / ろくじゅう | (มูโซะ / むそ)† | โรกุ-จู |
70 | 七十 | ชิจิ-จู / しちじゅう | (นานาโซะ / ななそ)† | นานะ-จู |
80 | 八十 | ฮาจิ-จู / はちじゅう | (ยาโซะ / やそ)† | ฮาจิ-จู |
90 | 九十 | คุ-จู / くじゅう | (โคโกโนโซะ / ここのそ)† | คีว-จู |
100 | 百 | เฮียกุ / ひゃく | (โมโมะ / もも)† | เฮียกุ |
500 | 五百 | โกะ-เฮียกุ / ごひゃく | (อิโอะ / いお)† | โกะ-เฮียกุ |
800 | 八百 | ฮัปเปียกุ / はっぴゃく | (ยาโอะ / やお)† | ฮัปเปียกุ |
1,000 | 千 | เซ็ง / せん | (ชิ / ち)† | เซ็ง |
10,000 | 万 | มัง / まん | (โยโรซุ / よろず)† | มัง |
100,000,000 | 億 | โอกุ / おく | — | โอกุ |
1,000,000,000,000 | 兆 | โช / ちょう | — | โช |
10,000,000,000,000,000 | 京 | เค / けい | — | เค |
* สามารถพบรูปเขียนพิเศษ 〇 (มารุ หมายถึง "กลม" หรือ "วงกลม") ตัวอย่างยอดนิยมคือห้างสรรพสินค้า 109 ที่เขตชิบูยะ ซึ่งอ่านเป็น อิจิ-มารุ-คีว (一〇九; บางครั้งสามารถอ่านได้เป็น 'สิบ-เก้า' (โท-คีว) ซึ่งเป็นการเล่นคำถึงชื่อห้างสรรพสินค้าโทคีว ผู้เป็นเจ้าของอาคารนี้) การใช้ มารุ เป็นเลข 0 คล้ายกับการอ่านเลข 0 ในภาษาอังกฤษเป็น oh อย่างไรก็ตาม ถ้าเขียนเป็นตัวเลข ก็จะเป็น 0 หรือ 零 นอกจากนี้ ในเลขโทรศัพท์จะอ่านเลขสองและห้าเป็นเสียงยาว (เช่น にい นี และ ごお โก)
จากหมายเหตุข้างบน ผู้คนมักนิยมอ่านเป็น ยง (4) และ นานะ (7) มากกว่า ชิ และ ชิจิ โดยมีเหตุผลอ้างว่าเป็นเพราะ ชิ พ้องเสียงกับคำว่า ความตาย (死) ซึ่งทำให้มันเป็นรูปอ่านที่โชคร้าย (ดูอาการกลัวเลขสี่) ในขณะที่ ชิจิ ออกเสียงคล้ายกับ อิจิ (1), ชิ หรือ ฮาจิ (8) อย่างไรก็ตาม ในคำและวลีจำนวนมาก จะมีกาารอ่าน ชิ และ ชิจิ นอกจากนี้ เมื่ออ่านเป็นชื่อตัวเลข (เป็น "อิจิ, นิ, ซัง, ชิ,...") ก็มีการพูดคำเหล่านี้ด้วย
หมายเลข 9 ก็ถือเป็นเลขโชคร้าย เพราะเสียง คุ ไปพ้องเสียงกับคำว่า ความทุกข์ (苦) ส่วนเลข 13 บางครั้งถือเป็นโชคร้าย ถึงแม้ว่ามันจะมาจากธรรมเนียมตะวันตกก็ตาม ในทางตรงกันช้าม เลข 7 และบางครั้งรวมเลข 8 ถือเป็นเลขนำโชคในภาษาญี่ปุ่น[2]
ตัวเลขทางการ
[แก้]
ตัวเลขญี่ปุ่นยังมีชุดอักษรคันจิสำหรับตัวเลขที่เรียกว่า ไดจิ (大字) เหมือนกับตัวเลขจีน โดยจะใช้ในเอกสารทางการหรือธุรกรรมเพื่อป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพแอบใส่ขีดเพิ่มหนึ่งหรือสองขีด ซึ่งเปลี่ยนให้เลขหนึ่งไปเป็นเลขสองหรือสาม ตัวเลขทางการมีรูปร่างเหมือนกับตัวเลขทางการจีนแต่มีขีดน้อยกว่า ปัจจุบัน เฉพาะเลขหนึ่ง สอง สาม และสิบเท่านั้นที่เขียนในเอกสารทางการในรูปทางการ (เลข 4 ถึง 9, 100, 1000 และ 10000 เขียนเหมือนกับตัวเลขทั่วไป ตามตารางข้างล่าง)[3]
ตัวเลขทางการ:
ตัวเลข | ทั่วไป | ทางการ | |
---|---|---|---|
ใช้งาน | อดีต | ||
1 | 一 | 壱 | 壹 |
2 | 二 | 弐 | 貳 |
3 | 三 | 参 | 參 |
4 | 四 | 四 | 肆 |
5 | 五 | 五 | 伍 |
6 | 六 | 六 | 陸 |
7 | 七 | 七 | 柒, 漆 |
8 | 八 | 八 | 捌 |
9 | 九 | 九 | 玖 |
10 | 十 | 拾 | 拾 |
100 | 百 | 百 | 佰 |
1000 | 千 | 千 | 阡, 仟 |
10000 | 万 | 万, 萬 | 萬 |
ธนบัตรเยนจำนวน 1000-เยน, 2000-เยน, 5000-เยน และ 10000-เยน ฉบับปัจจุบัน มีตัวเลขทางการ 千, 弐千, 五千 และ 壱万 ตามลำดับ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ スーパー大辞林 [Super Daijirin] (ภาษาญี่ปุ่น). Sanseidō.
- ↑ "The number of death: Lucky and unlucky numbers in Japan". The Science of Language Self-Study | LinguaLift Blog. สืบค้นเมื่อ 2016-03-24.
- ↑ *大正十一年大蔵省令第四十三号 (会計法規ニ基ク出納計算ノ数字及記載事項ノ訂正ニ関スル件) เก็บถาวร 2012-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 第一条: 会計法規ニ基ク出納計算ニ関スル諸書類帳簿ニ記載スル金額其ノ他ノ数量ニシテ「一」、「二」、「三」、「十」、「廿」、「卅」ノ数字ハ「壱」、「弐」、「参」、「拾」、「弐拾」、「参拾」ノ字体ヲ用ユヘシ但横書ヲ為ストキハ「アラビア」数字ヲ用ユルコトヲ得
- 戸籍法施行規則 เก็บถาวร 2012-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 第三十一条 2: 年月日を記載するには、壱、弐、参、拾の文字を用いなければならない。
- 小切手振出等事務取扱規程 เก็บถาวร 2012-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 附則 (昭和四〇年四月一日大蔵省令第二〇号) 2: 小切手の券面金額は、当分の間、所定の金額記載欄に、漢数字により表示することができる。この場合においては、「一」、「二」、「三」及び「十」の字体は、それぞれ「壱」、「弐」、「参」及び「拾」の漢字を用い、かつ、所定の金額記載欄の上方余白に当該金額記載欄に記載の金額と同額をアラビア数字で副記しなければならない。
- 商業登記規則 เก็บถาวร 2009-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 第四十八条 2: 金銭その他の物の数量、年月日及び番号を記載するには、「壱、弐、参、拾」の文字を用いなければならない。ただし、横書きをするときは、アラビヤ数字を用いることができる。
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- 大数の名前について (ในภาษาญี่ปุ่น)
- Ancient Japanese number system เก็บถาวร 2018-08-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- English exercises for learning Japanese numerals
- Audio to learn the pronunciation for Japanese numbers
- Convert kanji numerals to arabic numerals (sci.lang.Japan FAQ page)
- Convert arabic numerals to kanji numerals (sci.lang.Japan FAQ page)