เลขฐานแปด
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ |
ระบบเลข |
---|
รายชื่อระบบเลข |
เลขฐานแปด หรือ อัฐนิยม (อังกฤษ: Octal) หมายถึง ระบบตัวเลขที่มีตัวเลขแปดตัว คือ 0 - 7 เลขฐานแปดนี้สร้างขึ้นจากเลขฐานสอง โดยการจัดกลุ่มเลขฐานสองออกเป็นกลุ่มละสามตัว (เริ่มจากขวา) ตัวอย่างเช่น เลขฐานสองที่แทนเลข 74 ในฐานสิบ คือ 1001010 เมื่อจัดเป็นกลุ่มละสาม จากขวาไปซ้าย ก็จะได้ 1 001 010 — เลขฐานแปดก็คือ 112 (1 ฐานสองตัวแรก เท่ากับ 1 ฐานแปด, 001 ฐานสอง เท่ากับ 1 ฐานแปด และ 010 ฐานสอง เท่ากับ 2 ฐานแปด)
บางครั้งมีการใช้เลขฐานแปด ในการคำนวณและการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แทนที่การใช้เลขฐานสิบหก
× | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 10 |
1 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 10 |
2 | 2 | 4 | 6 | 10 | 12 | 14 | 16 | 20 |
3 | 3 | 6 | 11 | 14 | 17 | 22 | 25 | 30 |
4 | 4 | 10 | 14 | 20 | 24 | 30 | 34 | 40 |
5 | 5 | 12 | 17 | 24 | 31 | 36 | 43 | 50 |
6 | 6 | 14 | 22 | 30 | 36 | 44 | 52 | 60 |
7 | 7 | 16 | 25 | 34 | 43 | 52 | 61 | 70 |
10 | 10 | 20 | 30 | 40 | 50 | 60 | 70 | 100 |
การใช้งาน
[แก้]โดยชาวอเมริกันพื้นเมือง
[แก้]ภาษายูกิในแคลิฟอร์เนียและภาษาตระกูลปาเม[1] ในเม็กซิโกมีระบบเลขฐานแปดเพราะว่าผู้ใช้ภาษานับโดยใช้ง่ามนิ้วแทนที่จะใช้นิ้วมือ[2]
การเปลี่ยนระหว่างฐาน
[แก้]การเปลี่ยนจำนวนจากฐานสิบเป็นฐานแปด
[แก้]วิธีหารด้วย 8
[แก้]วิธีเปลี่ยนจำนวนฐานสิบเป็นจำนวนฐานแปด ให้หารจำนวนที่ต้องการเปลี่ยนด้วยกำลังที่สูงสุดของ และหารเศษด้วยกำลังของแปดที่เลขชี้กำลังต่ำลงจนถึงเลขยกกำลังเป็น เลขฐานแปดได้จากผลหารเหล่านี้ เรียงตามลำดับของขั้นตอนวิธีนี้ เช่น เปลี่ยน เป็นเลขฐานแปด:
ดังนั้น
อีกตัวอย่างหนึ่ง:
ดังนั้น
วิธีการคูณต่อเนื่องด้วย 8
[แก้]การเปลี่ยนเศษส่วนฐานสิบ (ทศนิยม) เป็นฐานแปด คูณด้วย จะได้ภาคจำนวนเต็ม ซึ่งเป็นหลักแรกของเศษส่วนฐานแปด ทำซ้ำกับภาคเศษส่วนฐานสิบที่เหลืออยู่จนส่วนเศษส่วนเป็นศูนย์ หรืออยู่ในช่วงที่ยอมรับได้
ตัวอย่าง: เปลี่ยน เป็นฐานแปด:
ดังนั้น
วิธีทั้งสองนี้เมื่อใช้รวมกัน เลขฐานสิบทั้งภาคจำนวนเต็มและภาคเศษส่วนสามารถแปลงเป็นฐานแปดได้ โดยใช้วิธีแรกกับภาคจำนวนเต็ม วิธีที่สองกับภาคเศษส่วน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Avelino, Heriberto (2006). "The typology of Pame number systems and the limits of Mesoamerica as a linguistic area" (PDF). Linguistic Typology. 10 (1): 41–60. doi:10.1515/LINGTY.2006.002.
- ↑ Marcia Ascher. "Ethnomathematics: A Multicultural View of Mathematical Ideas". The College Mathematics Journal. สืบค้นเมื่อ 2007-04-13.