ข้ามไปเนื้อหา

คำพูน บุญทวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำพูน บุญทวี
เกิด26 มิถุนายน พ.ศ. 2471
ตำบลทรายมูล จังหวัดยโสธร
เสียชีวิต4 เมษายน พ.ศ. 2546 (74 ปี)
นามปากกาคำพูน บุญทวี
คร้าม ควนเปลว
พงศ์พริ้ง
อาชีพนักเขียน
สัญชาติไทย
ผลงานที่สำคัญลูกอีสาน
คู่สมรสประพิศ ณ พัทลุง (2504 - ?)
ลันนา เจริญสิทธิชัย (? - 2546)

คำพูน บุญทวี (26 มิถุนายน พ.ศ. 2471 – 4 เมษายน พ.ศ. 2546) นักเขียนสารคดี เรื่องสั้น และนวนิยายเกี่ยวกับชีวิตของชาวไทอีสานและชีวิตคนในคุก ได้รับรางวัลซีไรต์เป็นคนแรกของไทยเมื่อ พ.ศ. 2522 จากนวนิยายเรื่อง ลูกอีสาน และได้รับยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ประจำปี พ.ศ. 2544

ประวัติ

คำพูน บุญทวี เดิมชื่อ คูน เกิดเมื่อ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2471 ที่บ้านทรายมูล ตำบลทรายมูล อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็นตำบลทรายมูล อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร) เป็นบุตรคนโตจากทั้งหมด 7 คนของนายสนิทและนางลุน บุญทวี

คำพูนเรียนหนังสือที่บ้านเกิดจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนปรีชาบัณฑิต จากนั้นจึงเริ่มทำงานหลายอย่างในจังหวัดภาคอีสาน เป็นหัวหน้าคณะรำวง และขายยาเร่ ต่อมาเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เป็นกรรมกรรับจ้างรายวันที่ท่าเรือคลองเตย เป็นคนเลี้ยงม้าแข่ง เป็นสารถีสามล้อ จนกระทั่งสอบเป็นครูได้บรรจุที่ภาคใต้ ต่อมาแต่งงานกับ นางประพิศ ณ พัทลุง เมื่อ พ.ศ. 2493 มีบุตรกับ นางประพิส 8 คน แล้วมี ภรรยาอีกคนที่เป็นคน จังหวัดยะโสธร มีลูกด้วยกัน 1 คน บุตรของคำพูน บุญทวี มีดังนี้

  1. นางสาวพงค์พริ้ง บุญทวีมีบุตร 3 คน
  2. นางพัทธยา กมลานนท์ มีบุตร 2 คน
  3. นายขุนพล บุญทวี ภรรยาชื่อ ธิดา (ก้านบัว) บุญทวี มีลูก1 คน แล้วเสียชีวิตตอนที่ลูกยังไม่คลอด
  4. นางพรพนา สมิท แต่งงาน กับ ชาว อังกฤษ ไม่มีบุตร
  5. นายเฉลิมพล บุญทวี ภรรยาชื่อ วันเพ็ญ มีบุตรสาว 1 คน
  6. นางสาวพวงผกา บุญทวีเบเกอร์ (หย่าร้าง) มีบุตร 3 คน
  7. นายรัฐไทย บุญทวี แต่งงาน กับ ภรรยา ชื่อ อี้ด ที่บ้นหล่อยูง มี บุตรสาวด้วยกัน 3 คน
  8. นางสาว พูนพิสมัย บุญทวี หย่าร้าง มีบุตร 2 คน

และ มีลูกชาย จากภรรยา ก่อนจะมาอยู่กินกับนาง ลันนาอีก 1 คน รวม บุตรธิดา 9คน

ภรรยา คนแรก นางประพิส ณ พัทลุง เสียอายุ เมื่อ อายุแค่ 46 ปี

สอนหนังสืออยู่ 9 ปี จึงเปลี่ยนไปเป็นผู้คุมเรือนจำ ลาออกมาจากงานราชการนี้เมื่ออายุได้ 48 ปี เศษๆ แล้วไปมาระหว่างระนอง กรุงเทพ แล้วได้ พบกับ นาง ลันนา เจริญสิทธิชัย ซึ่งภายหลังได้เขียนนวนิยายเรื่อง "เจ๊กบ้านนอก" โดยใช้นามปากกาว่า กิมหลั่น และร่วมกันทำสำนักพิมพ์โป๊ยเซียน เพื่อพิมพ์หนังสือของครอบครัว

คำพูน บุญทวี ได้รับการยกย่อง เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2544

วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2546 คำพูนได้เสียชีวิตลงด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน รวมอายุได้ อายุ 74 ปี และได้รับพระราชทานเพลิงศพจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ณ วัดชลประทานรังสฤษฎ์เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ปีเดียวกัน

การทำงาน

เขาเริ่มเขียนหนังสือครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2513 เมื่อครั้งยังเป็นผู้คุม ตอนนั้นมีปัญหาเศรษฐกิจในครอบครัว เขาจึงมุมานะอ่านหนังสือ และเขียนเรื่องสั้น เรื่องสั้นเรื่องแรกที่เขาเขียน คือ "ความรักในเหวลึก" ส่งไปที่นิตยสาร ฟ้าเมืองไทย ของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ อาจินต์ ปัญจพรรค์เปลี่ยนชื่อเรื่องเป็น "นิทานลูกทุ่ง" พร้อมทั้งสนับสนุนให้เขาเขียนหนังสือต่อไป เขาจึงเขียนนวนิยายเรื่องแรกคือ มนุษย์ 100 คุก

ผลงาน

จากนั้นก็เขียนเรื่อยมา เขาจึงกลายเป็นนักเขียนนวนิยาย เรื่องสั้นและสารคดี หนังสือที่ได้รับรางวัลได้แก่

  • ลูกอีสาน ได้รับรางวัลดีเด่น ประเภทนวนิยาย จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2519 และได้รับรางวัล ซีไรต์ เมื่อ พ.ศ. 2522 เป็นผลงานที่ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ ได้รับคัดเลือกเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาระดับมัธยมปลาย ลูกอีสาน ได้รับการแปลภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส
  • นายฮ้อยทมิฬ ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทนวนิยายจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2520 หลังจากนั้นเขาจึงลาออกจากผู้คุมมาเขียนหนังสือเป็นอาชีพ

นวนิยายเรื่องอื่น ๆ

  • ดอกฟ้ากับหมาคุก
  • คำสารภาพของคนขี้คุก
  • เลือดอีสาน
  • อีสานพเนจร
  • เสียงกระซิบจากโซ่ตรวน
  • ลูกลำน้ำโขง
  • วีรบุรุษเมืองใต้
  • ใหญ่ก็ตายไม่ใหญ่ก็ตาย
  • นายหน้า แมงดา อาโก โสเภณีเด็ก
  • นรกหนาวในเยอรมัน
  • ตำนานรักลูกปักษ์ใต้
  • ลูกอีสานขี่เรือบิน (บันทึกประสบการณ์ในการไปรับรางวัลซีไรต์ที่กรุงเทพฯ จากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และการเดินทางไปทัศนศึกษาที่ประเทศฟิลิปปินส์)
  • แผนชั่วเชือดอีสาน (นวนิยายเกี่ยวกับกบฏผู้มีบุญอีสานในปี พ.ศ. 2440)
  • นายฮ้อยทมิฬ ภาคสมบูรณ์

รวมเรื่องสั้น

  • หอมกลิ่นบาทา
  • นักเลงลูกทุ่ง
  • แม่หม้ายที่รัก
  • เสือกเกิดมารวย
  • พยาบาลที่รัก

สารคดี

  • ไปยิงเสือโคร่ง
  • คำพูนกลัวตาย
  • สีเด๋อย่ำเยอรมัน
  • นิทานพื้นบ้านอีสาน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  • ประทีป เหมือนนิล. 100 นักประพันธ์ไทย. กรุงเทพ : สุวีริยาสาส์น, 2542. หน้า 479. ISBN 974-8267-78-4