การให้เหตุผลโดยอาศัยการไม่พูดถึง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หนังสือบันทึกการเดินทางของมาร์โก โปโล ไม่ได้กล่าวอะไร ๆ ถึงกำแพงเมืองจีน จึงทำให้นักวิชาการบางพวกเชื่อว่า เขาไม่เคยเดินทางไปประเทศจีน (ซึ่งไม่เข้ากับมติของนักประวัติศาสตร์) หรือว่าเป็นตัวอย่างความมีชั้นเชิงทางการพูดของเขา[1]

การให้เหตุผลโดยอาศัยการไม่พูดถึง (อังกฤษ: argument from silence, argumentum ex silentio) เป็นการสรุปเหตุการณ์โดยอาศัยการไม่กล่าวถึงเรื่องที่เป็นประเด็นในเอกสารทางประวัติศาสตร์ แต่ไม่อาศัยการกล่าวถึงเหตุการณ์[2][3] ในการศึกษาศิลปะคลาสสิก นี้มักจะหมายถึงการระบุว่า ผู้เขียนไม่รู้เรื่องนั้นเพราะไม่ได้เขียนถึงเรื่องนั้น[3]

ในการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์นิพนธ์ การไร้การอ้างอิงถึงเหตุการณ์อาจจะใช้สร้างความเคลือบแคลงใจในเหตุการณ์นั้น[4] แม้การวิเคราะห์โดยมากจะอาศัยเรื่องที่ผู้เขียนเขียนไว้ แต่การให้เหตุผลเช่นนี้กลับอาศัยสิ่งที่ผู้เขียนไม่ได้เขียนไว้[4] คือ ใช้เหตุผลว่าผู้เขียน "ควรจะได้กล่าวเรื่องนี้ไว้" แทนที่จะใช้สิ่งที่เขียนไว้จริง [4][5]

การให้เหตุผลเช่นนี้มักใช้กับเอกสารที่คิดว่า ผู้เขียนควรจะมีข้อมูลนั้น ผู้ต้องการจะเล่าถึงเหตุการณ์นั้นให้สมบูรณ์ที่สุด และเรื่องนั้นสำคัญพอหรือน่าสนใจพอ[6][7] การให้เหตุผลนี้ต่างกับการให้เหตุผลโดยอาศัยความไม่รู้ (argument from ignorance) ซึ่งอาศัยการไร้หลักฐานโดยสิ้นเชิงเพื่อเป็นเหตุผล ซึ่งทั่วไปพิจารณาว่า เชื่อถือไม่ได้ แต่การให้เหตุผลโดยอาศัยการไม่พูดถึงโดยทั่วไปก็จัดว่าเป็นหลักฐานที่อ่อน และบางครั้งก็จัดเป็นเหตุผลวิบัติเลย[1][8]

การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์นิพนธ์[แก้]

โครงสร้างการให้เหตุผล[แก้]

ก๊อปปี้ของมหากฎบัตร ค.ศ. 1287

นักวิชาการทางตรรกะ ไมเคิล ดังคัน ได้ระบุวิธีการวิเคราะห์การให้เหตุผลโดยอาศัยการไม่พูดถึง วิธีมีองค์ประกอบ 3 อย่างคือ[3][9]

  • มีเอกสาร ก ที่ไม่อ้างอิงถึงเหตุการณ์ ข
  • ชัดเจนว่าเจตนาของผู้เขียนเอกสาร ก ก็คือการระบุเหตุการณ์ทั้งหมดที่อยู่ในหมวดเดียวกันของเหตุการณ์ ข
  • เชื่อว่าเหตุการณ์ ข เป็นเหตุการณ์ที่ผู้เขียนเอกสาร ก จะไม่มองข้ามถ้าได้เกิดขึ้นจริง 

นักประวัติศาสตร์จะพิจารณาองค์ประกอบเหล่านั้นกรณีต่อกรณีตามความเชี่ยวชาญของตนโดยไม่มีกฎทางวิภาษวิธีใด [3][9] ตามแนวนี้ การให้เหตุผลโดยอาศัยการไม่พูดถึงเป็นเพียงการแสดงนัย แต่จะสรุปไม่ได้ทางตรรกะ[3][9] ส่วนนักวิชาการทางประวัติศาสตร์อีกพวกได้ระบุว่า การให้เหตุผลนี้จะเป็นหลักฐานได้ก็ต่อเมื่อบุคคลที่ไม่ได้กล่าวถึงข้อมูล อยู่ในสถานะที่ควรจะได้ข้อมูล และมีเจตนาเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกันให้สมบูรณ์ที่สุด[10] แต่ก็ยังไม่ควรเชื่อว่าผู้เขียนจะต้องบันทึกเหตุการณ์ที่มีอยู่จริง ๆ เพราะผู้เขียนอาจไม่เห็นว่าเหตุการณ์นั้นสำคัญพอ[6]

ดังคันระบุว่า มีการวิเคราะห์การให้เหตุผลเช่นนี้น้อยมาก แต่ทั่วไปมักจะมองว่าเป็นเหตุผลวิบัติ[8] โดยกล่าวเพิ่มด้วยว่า แม้ผลงานโซฟิสติคัลเรฟิวเทชันส์ของอาริสโตเติล และหนังสือเกี่ยวกับเหตุผลวิบัติ Fallacies ของนักปรัชญาชาวออสเตรเลียชาลส์ แฮมบลิน จะไม่กล่าวถึงการให้เหตุผลเช่นนี้ แต่ก็ได้กล่าวถึงเหตุผลวิบัติที่คล้าย ๆ กันคือ การให้เหตุผลโดยอาศัยความไม่รู้ (argument from ignorance) ซึ่งเป็นการให้เหตุผลว่า ข้ออ้างเป็นจริงเพราะยังไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นเท็จ หรือว่าข้ออ้างเป็นเท็จเพราะยังไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นจริง[8] ส่วนนักวิชาการทางศิลปะคลาสสิกผู้หนึ่งฟันธงเลยว่า การให้เหตุผลโดยอาศัยการไม่พูดถึงไม่สมเหตุสมผล[11] ส่วนอีกผู้หนึ่งกล่าวว่า แม้จะไม่แน่นอน แต่บางครั้งก็อาจส่องอะไรบางอย่างได้เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์[5]

ความสนใจของผู้เขียน[แก้]

ความรู้สึกว่าเหตุการณ์สำคัญหรือไม่ จะทำให้ผู้เขียนกล่าวหรือไม่กล่าวถึงเหตุการณ์ในผลงานของตน นักประวัติศาสตร์ผู้หนึ่งจึงระบุว่า การให้เหตุผลนี้จะสมเหตุผลได้ ก็จะต้องเป็นเหตุการณ์ที่ผู้เขียนสนใจและรู้สึกว่าสำคัญ ไม่เช่นนั้นแล้วก็อาจจะมองข้ามไป เช่น แม้นักประวัติศาสตร์ต่อมาภายหลังจะยกย่องว่ามหากฎบัตร (Magna Carta) เป็นเอกสารสำคัญของชาติ แต่ผู้เขียนในเวลานั้นก็ไม่ได้บันทึกว่ามันเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่ถึงปานนั้น เพราะสำหรับพวกเขา มันเป็นเพียงเอกสารเกี่ยวกับขุนนางที่ไม่สำคัญอะไร เป็นแต่เอกสารใบหนึ่งในบรรดาเอกสารที่คล้ายกันหลายอย่าง[7]

นักวิชาการทางศิลปะคลาสสิกผู้หนึ่งให้ข้อสังเกตว่า ในจักรวรรดิโรมันปลายคริสต์ศตวรรษที่หนึ่ง คริสต์ศาสนิกชนได้รับความสนใจน้อยมากจนนักเขียน เช่น Martial หรือ Juvenal ก็ไม่ได้เขียนถึงเลย แม้พวกคนคริสต์จะอยู่ในกรุงโรมมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิเกลาดิอุส (41-54 ปีหลังคริสตกาล) และนักเขียนทั้งสองต่างก็ได้กล่าวถึงศาสนายูดาห์[12][13] นักเทววิทยาผู้หนึ่งให้เหตุผลว่า ในช่วงสองคริสต์ศตวรรษแรก พวกนักเขียนอาจจะไม่กล่าวถึงคนคริสต์ในกรุงโรมส่วนหนึ่งก็เพราะคนคริสต์มักปิดบังไม่เปิดเผยตนเอง[14]

ตัวอย่างการใช้ที่ผิดพลาด[แก้]

นักประวัติศาสตร์ได้ชี้ว่า การค้นพบบันทึกภาษีศุลกากรในอียิปต์สมัยจักรพรรดิเซิร์กซีสที่ 2 และบันทึกการลงทะเบียนและภาษีเรือ ได้ล้มล้างความคิดเดิม ๆ เกี่ยวกับการค้าขายในเมืองไซดอน เป็นความคิดที่มาจากเหตุผลโดยอาศัยการไม่พูดถึงถนนหนทาง นี่ชี้ปัญหาการใช้เหตุผลประเภทนี้[15]

ฟรานเซส วู๊ด ได้เขียนหนังสือ Did Marco Polo go to China? (มาร์โก โปโลได้ไปที่จีนหรือไม่) ที่ใช้เหตุผลโดยอาศัยการไม่กล่าวถึง[5] โดยอ้างว่า มาร์โก โปโลไม่เคยไปยังประเทศจีนแต่ได้กุเรื่องของเขาขึ้น เพราะเขาไม่ได้กล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ควรกล่าวถึง เช่น ใบชา กำแพงเมืองจีน หรือประเพณีการรัดเท้าผู้หญิง วู๊ดได้ให้เหตุผลว่าคนภายนอกไม่อาจอยู่ในประเทศจีนได้ถึง 15 ปีได้โดยไม่เห็นแล้วบันทึกถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ แต่นักประวัติศาสตร์โดยมากก็ไม่เห็นด้วยกับวู๊ด[5] นักวิชาการทางปรัชญาระบุว่า การให้เหตุผลโดยอาศัยการไม่พูดถึงโดยทั่วไปจะไม่มีน้ำหนักและสามารถผิดพลาดได้ในกรณีต่าง ๆ โดยยกตัวอย่างได้แก่การที่มาร์โก โปโลไม่สนใจกำแพงเมืองจีน และการที่พลินีผู้เยาว์ไม่พูดถึงการล่มสลายของเมืองปอมเปอีและเฮอร์คิวเลเนียมในเหตุการณ์ภูเขาไฟวิซูเวียสระเบิดในปี ค.ศ. 79[1][16]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Bernecker, Sven; Pritchard, Duncan (2011). The Routledge Companion to Epistemology. New York, London: Routledge Philosophy Companions. p. 64-65. ISBN 978-0-415-72269-8. arguments from silence are, as a rule, quite weak; there are many examples where reasoning from silence would lead us astray.
  2. Staff, Press Boulevard Company; Press, Oxford University; Staff, Oxford University Press (1999). The Oxford Essential Dictionary of Foreign Terms in English. Berkley Books. argumentum e silentio. ISBN 978-0-425-16995-7. argumentum e silentio noun phrase
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Lange, John (1966). "The Argument from Silence". History and Theory. 5 (3): 288. doi:10.2307/2504447.
  4. 4.0 4.1 4.2 Hall, David R. (1990). The Seven Pillories of Wisdom. Macon, Ga: Mercer University Press. p. 55-56. ISBN 978-0-86554-369-0.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Henige, David (2005-09-19). Historical Evidence and Argument. Madison, Wis: Univ of Wisconsin Press. p. 176. ISBN 978-0-299-21410-4.
  6. 6.0 6.1 Howell & Prevenier (2001), pp. 73–74 "Another difficulty with argument from silence is that historians cannot assume that an observer of a particular fact would have automatically recorded that fact. Authors observe all kinds of events but only record those that seem important to them."
  7. 7.0 7.1 Chitnis, K. N. (2006). Research Methodology in History. Atlantic Publishers & Dist. p. 56. ISBN 978-81-7156-121-6.
  8. 8.0 8.1 8.2 Duncan (2012), pp. 83–84: "Scholarly examinations of the Arguments From Silence (AFS) are extremely rare; when existent it is typically treated as a fallacy."
  9. 9.0 9.1 9.2 Duncan, Michael Gary (2012). "The Curious Silence of the Dog and Paul of Tarsus; Revisiting The Argument from Silence". Informal Logic. 32 (1): 85. doi:10.22329/il.v32i1.3139. ISSN 0824-2577.
  10. Howell, Martha C.; Prevenier, Walter (2001). From Reliable Sources: An Introduction to Historical Methods. Ithaca, N.Y., London: Cornell University Press. p. 74. ISBN 978-0-8014-8560-2.
  11. Bissa, Errietta M. A. (2009). Governmental Intervention in Foreign Trade in Archaic and Classical Greece. Leiden: BRILL. p. 21. ISBN 90-04-17504-0. This is a fundamental methodological issue on the validity of arguments from silence, where I wish to make my position clear: arguments from silence are not valid.
  12. Barnes, Timothy (1991). Hazlett, Ian (บ.ก.). Pagan Perceptions of Christianity. Early Christianity: Origins and Evolution to AD 600. Nashville (Tenn.): Abingdon press. p. 232. ISBN 0-687-11444-6. Most inhabitants of the Roman Empire in A.D. 100 were either unaware of or uninterested in the Christians in their midst. Even in Rome, where there had certainly been Christians since the reign of Claudius, the varied epigrams of Martial and the satires of Juvenal make no identifiable allusion to the new religion, though both authors deride Jews and Judaism.
  13. For the reign of Clausius see Swain, Hilary; Davies, Mark Everson (2010). Aspects of Roman History, 82 BC-AD 14. London: Routledge. p. 79. ISBN 978-0-415-49694-0.
  14. Lampe, Peter (2006). Christians at Rome in the First Two Centuries. A&C Black. pp. 141–42. ISBN 978-1-4411-1004-6. It was not desirable, at least for the first two centuries, for the average Christian to advertise his or her Christianity openly ... Seen in this manner, the silence of the evidence attests not only to the "plerique paupers." It also indicates how Christians wisely did not reveal their identity to every potential denunciator.
  15. Briant, Pierre (2002). From Cyrus to Alexander: A History of the Persian Empire. Winona Lake, Ind: Eisenbrauns. p. 804. ISBN 1-57506-031-0. Only rarely are we (fleetingly) informed about commercial prosperity of the sort achieved by Sidon around the middle of the fourth century ... The recent discovery of a customs memorandum from Egypt dating to the time of Xerxes reminds us of the dangers of any argument from silence.
  16. Gibson, Roy K.; Morello, Ruth (2012-03-22). Reading the Letters of Pliny the Younger. Cambridge: Cambridge University Press. p. 110. ISBN 978-0-521-84292-1. By the standards of Pliny's letters, the two accounts are remarkably precise in terms of facts and figures.