Post hoc ergo propter hoc

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Post hoc ergo propter hoc (จากภาษาละตินแปลว่า "เกิดหลังจากสิ่งนี้ ดังนั้น จึงเกิดเพราะสิ่งนี้") เป็นเหตุผลวิบัติเชิงตรรกะ (logical fallacy) ที่ชี้เหตุอย่างไม่น่าเชื่อถือ โดยกล่าวว่า "เนื่องจากเหตุการณ์ ข ติดตาม เหตุการณ์ ก ดังนั้น ข จึงเกิดขึ้นเพราะ ก" มักเรียกสั้นๆ ว่า post hoc และต่างกับเหตุผลวิบัติแบบ cum hoc ergo propter hoc (จากภาษาละตินแปลว่า เกิดขึ้นกับสิ่งนี้ ดังนั้น จึงเกิดขึ้นเพราะสิ่งนี้) ซึ่งจัดเป็นเหตุผลวิบัติเพราะ "การมีสหสัมพันธ์กันไม่ได้ชี้ว่าอะไรเป็นเหตุ" และเป็นเหตุการณ์ที่สิ่งสองสิ่งเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน หรือว่าลำดับที่เกิดขึ้นไม่มีนัยสำคัญหรือไม่ชัดเจน post hoc เป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ง่ายเพราะลำดับการเกิดขึ้นจริงๆ เป็นปัจจัยในการชี้เหตุ แต่จะเป็นเหตุผลวิบัติก็เพราะสรุปโดยอาศัยลำดับการเกิดขึ้นของเหตุการณ์เท่านั้น โดยไม่ใส่ใจในปัจจัยอื่นๆ ที่อาจปฏิเสธความเป็นเหตุผล

รูปแบบ[แก้]

post hoc สามารถกล่าวได้ตามแบบนี้

  • เกิดแล้ว ก็เกิด
  • ดังนั้น จึงเป็นเหตุของ

แต่ถ้าเหตุการณ์ เป็นสิ่งที่ไม่น่าพึงใจ ก็อาจกล่าวโดยกลับกันว่า ถ้าหลีกเลี่ยง ได้ ก็จะไม่เกิดขึ้น

ตัวอย่าง[แก้]

"ผมอดคิดไม่ได้ว่า คุณก่อปัญหานี้ เพราะเราไม่เคยมีปัญหาอะไรๆ กับเตาทำความร้อนจนกระทั่งคุณย้ายเข้ามาอยู่ในอะพาร์ตเมนต์ห้องนี้" คือผู้จัดการอาคาร ไม่ได้แสดงเหตุผลอื่นนอกจากลำดับเหตุการณ์การย้ายเข้ามาอยู่ของผู้เช่าแล้วกลับสรุปว่า การย้ายเข้ามาอยู่ของผู้เช่าเป็นเหตุเกิดของความเสียหายของเตาทำความร้อน[1]

ในสื่อ[แก้]

ในตอน "Fortune (ฟอจูน)" ของซีซัน 10 ในละครชุดสมอลล์วิลล์ คุณหมอแฮมิลตัน เมื่อกำลังถูกทรมานโดยอะโมส ฟอจูนเพื่อซักข้อมูล ได้กล่าวถึงเหตุผลวิบัตินี้แล้วอธิบายความหมาย

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Damer, T Edward (1995). Attacking Faulty Reasoning: A Practical Guide to Fallacy-Free Arguments (3rd. ed.). Belmont, CA: Wadsworth Publishing. p. 131. ISBN 978-0-534-21750-1. OCLC 30319422.