เหตุผลวิบัติโดยหลักฐานไม่สมบูรณ์
เหตุผลวิบัติโดยหลักฐานไม่สมบูรณ์ (อังกฤษ: fallacy of incomplete evidence) หรือ การปิดบังหลักฐาน (อังกฤษ: suppressing evidence) หรือแปลจากคำภาษาอังกฤษว่า Cherry picking คือ การเลือกเก็บเชอร์รี่ เป็นการชี้หลักฐานเป็นกรณี ๆ หรือแสดงข้อมูลที่ยืนยันความเห็นโดยเฉพาะอย่างหนึ่ง ๆ โดยที่มองข้ามกรณีหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันเป็นจำนวนมากที่อาจจะขัดแย้งกับความเห็นนั้น ๆ นี้เป็นเหตุผลวิบัติโดยการเลือกให้ความใส่ใจ และตัวอย่างที่เห็นบ่อยที่สุดก็คือความเอนเอียงเพื่อยืนยัน[1][2] เหตุผลวิบัติชนิดนี้จะเกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ เป็นปัญหาสำคัญในการอภิปรายที่เป็นสาธารณะ[3]
ชื่อที่เรียกตามภาษาอังกฤษว่า "การเลือกเก็บเชอร์รี่" มีมูลมาจากวิธีการเก็บลูกเชอร์รี่ คือ คนเก็บจะเลือกเก็บแต่ลูกที่สุกและงามที่สุด ส่วนคนที่เห็นแต่ลูกที่เก็บแล้ว อาจจะสรุปอย่างผิด ๆ ว่า ลูกเชอร์รี่โดยมากงาม
การเลือกเก็บเชอร์รี่พบได้ในเหตุผลวิบัติเชิงตรรกะหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่นเหตุผลวิบัติโดยหลักฐานเป็นเรื่องเล่ามักจะใส่ใจแต่ข้อมูลที่บุคคลต่าง ๆ เล่าให้ฟังแต่ไม่ใส่ใจหลักฐานข้อมูลอื่น ๆ ส่วน "การใช้หลักฐานแบบเลือก" (อังกฤษ: selective use of evidence) จะปฏิเสธข้อมูลที่ไม่เข้ากับประเด็นที่อ้าง ในขณะที่ "ทวิวิภาคเทียม" (อังกฤษ: false dichotomies) จะแสดงทางเลือกเพียงแค่สองอย่างแม้จะมีทางเลือกอื่น ๆ ที่ใช้ได้ การเลือกเก็บเชอร์รี่อาจหมายถึงการเลือกข้อมูลหรือเซ็ตข้อมูล ที่จะมีผลให้งานศึกษาหรืองานสำรวจ แสดงผลที่ต้องการ ซึ่งอาจจะเป็นเพียงแค่ความบิดเบือนจนกระทั่งถึงแม้แต่การคัดค้านความเป็นจริง[4]
ในวิทยาศาสตร์
[แก้]การคัดเลือกจากหลักฐานที่แสดงนัยที่คัดค้านแข่งขันกัน เพื่อที่จะขับเน้นผลที่สนับสนุนความคิดเห็นหนึ่ง ๆ โดยที่ไม่ใส่ใจหรือไม่พิจารณาหลักฐานที่ไม่สนับสนุน เป็นข้อปฏิบัติที่เรียกว่า "การเลือกเก็บเชอร์รี่" และเป็นตัวชี้บอกถึงความเป็นงานวิทยาศาสตร์ที่ไม่ดี หรือเป็นงานวิทยาศาสตร์เทียม
— ศาสตราจารย์เกียรติคุณซอมเมอร์วิลล์ ให้การกับคณะกรรมการพลังงานและการค้าของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 2011
งานวิทยาศาสตร์ที่เข้มงวดกวดขัน
- จะพิจารณาหลักฐานที่มีอยู่ทั้งหมด (ไม่ใช่เพียงแต่เลือกเก็บเชอรร์รี่ คือหลักฐานที่ชอบใจ)
- จะควบคุมตัวแปรต่าง ๆ เพื่อที่จะกำหนดได้ว่า ตัวแปรอะไรเป็นเหตุที่ให้ผลจริง ๆ
- จะใช้วิธีการสังเกตการณ์แบบบอด เพื่อลดอิทธิพลที่เกิดจากความเอนเอียงให้เหลือน้อยที่สุด
- และจะใช้การพิจารณาทางตรรกะที่ไม่ขัดแย้งกันเอง
— น.พ.ประสาทวิทยาสตีเว็น โนเว็ลลา (ผ.ศ.ที่มหาวิทยาลัยเยล) กล่าวถึงการสัมภาษณ์ในรายการแพทย์ทางเลือก[5]
ในการแพทย์
[แก้]ในงานวิจัยปี ค.ศ. 2002 นักวิจัยกลุ่มหนึ่ง
ทำงานปริทัศน์เกี่ยวกับงานทดลองทรงอิทธิผลของยาลดความซึมเศร้า 31 งาน เพื่อที่จะกำหนดกฏเกณฑ์การยกเว้น (exclusion criteria) ซึ่งเป็นหลักที่ใช้ในการตัดสินคุณสมบัติ (คนไข้) เพื่อเลือกเข้าในงานทดลอง ผลงานปริทัศน์นี้เสนอว่า คนไข้ในงานทดลองยาลดความซึมเศร้าชุดนี้ เป็นตัวแทนคนไข้เพียงส่วนน้อย ของผู้ปกติรับการรักษาทางคลินิกเพื่อโรคซึมเศร้า (และ) การยกเว้นคนไข้ที่มีลักษณะเฉพาะบางอย่างจากงานทดลองทางคลินิกชุดนั้นแสดงว่า การยกผลที่ได้จากงานทดลองยาลดความซึมเศร้าขึ้นเป็นนัยทั่วไป ขาดหลักฐานทางประสบการณ์ (empirical support)"
— จาก The Brown University Psychopharmacology Update[6]
ดูเพิ่ม
[แก้]- ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน
- การวางนัยทั่วไปเร็วเกินไป
- เหตุผลวิบัติ
- เหตุผลวิบัติอรูปนัย
- ความเอนเอียงจากการเลือก
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ Dowden, Bradley (2010). "Fallacies". The Internet Encyclopedia of Philosophy.
- ↑ "Cherry Picking".
- ↑ Klass, Gary (2008). "Just Plain Data Analysis: Common Statistical Fallacies in Analyses of Social Indicator Data" (PDF). Department of Politics and Government, Illinois State University. สืบค้นเมื่อ 2014-03-25.
- ↑ Ben Goldacre. Bad Science. Fourth Estate. pp. 97–9. ISBN 978-0-00-728487-0.
- ↑ Novella,Steven. "A Skeptic In Oz". Science-Based Medicine.
- ↑ "Typical Depression Patients Excluded from Drug Trials; exclusion criteria: is it "cherry picking?"". The Brown University Psychopharmacology Update. Wiley Periodicals. 13 (5): 1. May 2002.