การให้แหล่งข้อมูลเท็จ
หน้าตา
การให้แหล่งข้อมูลเท็จ (อังกฤษ: false attribution) อาจหมายถึง
- การให้แหล่งข้อมูลผิดโดยทั่วไปสำหรับผลงานหรือคำพูด เมื่อให้เครดิตผิดคนหรือผิดกลุ่มไม่ว่าจะทำโดยบังเอิญ ทำตามๆ กัน หรือเพราะมีข้อมูลผิดพลาด
- เหตุผลวิบัติโดยเฉพาะอย่างหนึ่ง ที่ผู้สนับสนุนอ้างแหล่งข้อมูลที่ไม่เข้าประเด็น หรือไม่มีคุณสมบัติ หรือระบุผู้แต่งไม่ได้ หรือมีอคติ หรือกุขึ้น เพื่อจะสนับสนุนข้ออ้าง[1]
การระบุแหล่งที่ไม่ถูกต้อง
[แก้]คำคมบางครั้งจะระบุผู้แต่งที่มีชื่อเสียงยิ่งกว่าผู้แต่งตัวจริง ซึ่งทำให้คำคมมีชื่อเสียงยิ่งขึ้น แต่ผู้แต่งจริงก็จะถูกลืมเลือนไป[2] การระบุผู้แต่งผิดเช่นนี้ เบื้องต้นอาจใช้เป็นเหตุผลแบบมีเล่ห์เหลี่ยม โดยเฉพาะเมื่อต้องการให้น่าเชื่อถือ เพราะการระบุผู้ที่มีชื่อเสียงยิ่งกว่า ไม่ว่าจะตั้งใจหรือจำผิด ก็จะทำให้น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
เหตุผลวิบัติ
[แก้]ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมอาจทำถึงกุแหล่งข้อมูลขึ้นเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตน เช่น ในปี 2009 มีการกุสถาบันหลอกลวงคือ "Levitt Institute" ขึ้นเพื่อหลอกสื่อออสเตรเลียให้รายงานว่า ซิดนีย์เป็นเมืองที่เชื่อใจคนง่ายที่สุด[3]
การอ้างคำพูดนอกบริบทเป็นรูปแบบหนึ่งของการให้แหล่งข้อมูลผิด[4]
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ Humbug! The skeptic’s field guide to spotting fallacies in thinking, a textbook on fallacies. "False Attribution": p. 56.
- ↑ Mermin, N. David (2004). "Could Feynman Have Said This?". Physics Today. 57 (5): 10–11. Bibcode:2004PhT....57e..10M. doi:10.1063/1.1768652.
- ↑ "Deception Detection Deficiency". Media Watch. 2009-09-27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-16. สืบค้นเมื่อ 2023-12-06.
- ↑ McGlone, Matthew S. (2005). "Quoted Out of Context: Contextomy and Its Consequences". Journal of Communication. 55 (2): 330–346. doi:10.1111/j.1460-2466.2005.tb02675.x.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- O'Toole, Garson (2017). Hemingway Didn't Say that. Little A. ISBN 978-1-5039-3340-8.
- "Quote Investigator® - Tracing Quotations". Quote Investigator® - Tracing Quotations. 2023-12-01. สืบค้นเมื่อ 2023-12-06.