การอ้างคำพูดนอกบริบท
การอ้างคำพูดนอกบริบท (อังกฤษ: quoting out of context, contextomy, quote mining) เป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัยโดยยกคำพูดออกมาแต่ไม่เอาบริบทคือคำพูดที่อยู่รอบๆ มาด้วย เป็นการบิดเบือนความหมายเดิมที่ตั้งใจ[1] บริบทอาจจะถูกยกเว้นอย่างตั้งใจ หรือไม่ได้ตั้งใจโดยคิดว่าไม่จำเป็น เหตุผลวิบัตินี้ต่างกับการให้แหล่งข้อมูลผิดเพราะยังให้แหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง
การให้เหตุผลแบบยกคำพูดนอกบริบท มักจะมีรูปแบบสองอย่างคือ
- เป็นการให้เหตุผลแบบหุ่นฟาง คือยกคำพูดของฝ่ายตรงกันข้ามนอกบริบทเพื่อบิดเบือนจุดยืนของฝ่ายตรงข้าม ปกติเพื่อทำคำพูดนั้นให้เป็นเรื่องง่ายหรือสุดโต่ง เพื่อให้โต้เถียงคำพูดได้ง่าย วิธีนี้สามัญในการเมือง
- เป็นการให้เหตุผลแบบอ้างผู้มีอำนาจหรือผู้เชี่ยวชาญ คือยกคำพูดของผู้มีอำนาจหรือผู้เชี่ยวชาญนอกบริบท เพื่อให้ดูเหมือนกับว่าสนับสนุนจุดยืนอะไรบางอย่าง[2]
ตัวอย่าง
[แก้]ในเยอรมนีสมัยยุคนาซี นักบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ชื่อเสียงฉาวโฉ่ Der Stürmer คือคุณยูลีอุส ชไตรเชอร์ ได้ตัดคำพูดต่างๆ มาจากคัมภีร์โบราณของยิวคือทาลมุด เพื่อให้ปรากฏว่าศาสนายิวสนับสนุนความละโมบ ระบบทาส และการฆ่ามนุษย์โดยเป็นพิธีทางศาสนา โดยประสงค์จะให้ผู้อ่านผู้เป็นชนชั้นกรรมกรและนับถือศาสนาคริสต์เกลียดชังคนยิว[3] แม้จะไม่ค่อยทำอย่างประสงค์ร้ายสุดๆ เช่นนี้ แต่สื่อมวลชนในปัจจุบันก็ใช้วิธีนี้อย่างสามัญ มีงานศึกษาที่ได้แสดงแล้วว่า การแสดงจุดยืนผิดๆ เช่นนี้ มีผลคงยืนแม้หลังผู้รับฟังจะได้เห็นข้อความเดิมพร้อมกับบริบทที่ตัดออก[4][5]
มีตัวอย่างอื่นๆ อีกรวมทั้ง
- การโต้เถียงในเรื่องรังสรรค์นิยม-วิวัฒนาการ - ชุมชนนักวิทยาศาสตร์ใช้คำนี้กับวิธีที่นักรังสรรค์นิยมให้เหตุผลแก่ข้ออ้างว่าพระเป็นเจ้าสร้างโลก[6][7][8]
กีฬาโปรดของพวกนักรังสรรค์นิยมก็คือ การนำคำพูดนอกบริบทมาต่อๆ กัน ที่ทำอย่างระมัดระวังและบางครั้งอย่างเชี่ยวชาญ เพื่อแสดงว่า นักวิวัฒนาการไม่มี[ทฤษฎีหรือข้อมูลความจริง]อะไรที่ได้ยอมรับหรือตกลงร่วมกัน เพื่อนร่วมอาชีพและผมทั้งขำทั้งแปลกใจ เมื่อได้อ่านคำพูดของพวกผมที่ถูกอ้างด้วยวิธีที่แสดงว่า ข้างในลึกๆ พวกผมจริงๆ เป็นนักต่อต้านวิวัฒนาการ[9]
- แพทย์ทางเลือก - หลักฐานที่สมาคมโฮมีโอพาธีบริติชได้ส่งให้แก่สภาผู้แทนราษฎรล่างของอังกฤษ ใช้ข้อสรุปของงานศึกษาทางวิทยาศาสตร์โดยใช้คำพูดนอกบริบท เพื่อสนับสนุนประสิทธิศักย์ของการรักษาด้วยโฮมีโอพาธี เช่น ข้อสรุปของงานศึกษาหนึ่งถูกนำไประบุว่า "มีหลักฐานบ้างว่าการรักษาด้วยโฮมีโอพาธีมีประสิทธิผลดีกว่ายาหลอก" โดยไม่รวมคำพูดบริบทที่มีข้อยกเว้นดังนี้ว่า "แต่หลักฐานนี้มีกำลังน้อยเพราะวิธีการในงานทดลองมีคุณภาพต่ำ การทดลองที่มีคุณภาพทางวิธีการที่ดี มีโอกาสแสดงผลลบยิ่งกว่างานศึกษาคุณภาพต่ำ"[10]
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ Engel, S. Morris (1994). With Good Reason. New York, NY: St. Martin's Press. p. 106-7. ISBN 978-0-312-08479-0.
- ↑ Curtis, Gary (1981-03-26). "Logical Fallacy: Quoting Out of Context". Logical Fallacies. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-30. สืบค้นเมื่อ 2023-12-06.
- ↑ Mayer, Milton (1966-05-19). They Thought They Were Free. Chicago (Ill.): University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-51192-4.
- ↑ McGlone, M.S. (2005a). "Quoted out of context: Contextomy and its consequences". Journal of Communication. 55 (2): 330–346. doi:10.1111/j.1460-2466.2005.tb02675.x.
- ↑ McGlone, Matthew S. (2005b). "Contextomy: the art of quoting out of context". Media, Culture & Society. 27 (4): 511–522. doi:10.1177/0163443705053974. ISSN 0163-4437.
- ↑ Forrest, Barbara; Paul R. Gross (2004). Creationism's Trojan Horse: The Wedge of Intelligent Design. Oxford: Oxford University Press. p. 7. ISBN 0-19-515742-7. สืบค้นเมื่อ 2007-03-09.
In the face of the extraordinary and often highly practical twentieth-century progress of the life sciences under the unifying concepts of evolution, [creationist] "science" consists of quote-mining—minute searching of the biological literature—including outdated literature—for minor slips and inconsistencies and for polemically promising examples of internal arguments. These internal disagreements, fundamental to the working of all natural science, are then presented dramatically to lay audiences as evidence of the fraudulence and impending collapse of "Darwinism."
- ↑ "The Counter-creationism Handbook", Mark Isaak, p. 14
- ↑ Quote-Mining Comes to Ohio เก็บถาวร 2007-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Glenn Branch
- ↑ Dobzhansky, Theodosius (March 1973), "Nothing in Biology Makes Sense Except in the Light of Evolution", American Biology Teacher, 35 (3): 125–129, doi:10.2307/4444260, JSTOR 4444260, S2CID 207358177 ; reprinted in Zetterberg, J. Peter, บ.ก. (1983), Evolution versus Creationism, Phoenix, Arizona: ORYX Press
- ↑ "My Response to the British Homeopathic Association", Martin Robbins, The Lay Scientist, February 9, 2010
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Boller, Paul F. Jr. (1967). Quotemanship: The Use and Abuse of Quotations for Polemical and Other Purposes. Southern Methodist University Press. ISBN 978-1-161-40918-5.