เหตุผลวิบัตินักแม่นปืนชาวเท็กซัส
เหตุผลวิบัตินักแม่นปืนชาวเท็กซัส[1] (อังกฤษ: Texas sharpshooter fallacy) เป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัยที่เกิดขึ้นเมื่อเราไม่ใส่ใจในความต่าง ๆ กันของข้อมูล แต่สนใจแต่ความคล้ายคลึงกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการสรุปข้อมูลอย่างผิดพลาด[2] เป็นเหตุผลวิบัติที่สัมพันธ์กับ clustering illusion ซึ่งหมายถึงความโน้มเอียงของระบบประชานของมนุษย์ ที่จะตีความข้อมูลว่า มีรูปแบบ ทั้ง ๆ ที่ความจริงไม่มี
ส่วนชื่อมาจากเรื่องตลกเกี่ยวกับชาวเท็กซัสที่ยิงปืนเข้าที่ฝาของยุ้งข้าว แล้ววาดเป้ายิงปืนที่ตรงกลางของจุดที่มีลูกปืนยิงถูกมากที่สุด แล้วคุยว่า ตนเป็นนักแม่นปืน[3][4]
โครงสร้าง
[แก้]เหตุผลวิบัตินี้มักเกิดขึ้นเมื่อเรามีข้อมูลเป็นจำนวนมาก แล้วเพ่งความสนใจไปที่เพียงกลุ่มน้อย ๆ ของข้อมูลที่มีนั้น กลุ่มที่เพ่งดูนั้นอาจจะมีลักษณะอะไรบางอย่างที่เหมือนกัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นเพราะเหตุอะไรอย่างอื่น ซึ่งไม่ตรงกับเหตุที่เราเสนอ ดังนั้น โดยสาระก็คือ ถ้าเราพยายามที่จะอธิบายเหตุของลักษณะข้อมูลที่เหมือนกันกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนของข้อมูลที่มีมาก โดยแสดงเหตุที่ไม่เป็นจริง (เช่นแสดงกลุ่มลูกปืนที่ยิงเข้าใกล้ ๆ กันโดยบังเอิญว่ามีเหตุจากความที่เราเป็นนักแม่นปืน) เราก็อาจจะกำลังสร้างเหตุผลวิบัตินี้อยู่
เหตุผลวิบัตินี้มีลักษณะเฉพาะเป็นการไม่มีสมมุติฐานที่เฉพาะเจาะจงก่อนที่จะเริ่มรวบรวมข้อมูล หรือว่าเป็นการตั้งสมมุติฐานภายหลังจากเริ่มเก็บและตรวจดูข้อมูลแล้วเท่านั้น[5] ดังนั้น จะไม่ใช่เหตุผลวิบัตินี้ถ้าเรามีสมมุติฐาน (หรือความคาดหมาย) เกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เป็นประเด็นการศึกษา ก่อนที่จะเริ่มตรวจสอบข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น ถ้าก่อนที่จะตรวจสอบข้อมูล เรามีกลไกทางกายภาพอยู่ในใจที่เป็นกระบวนการที่ทำให้เหตุนำมาซึ่งผล ดังนั้น เราก็จะสามารถใช้ข้อมูลที่ได้ เพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านว่า มีกลไกทางกายภาพนั้นจริง ๆ หรือไม่ อีกอย่างหนึ่ง ถ้าข้อมูลเพิ่มเติมสามารถหาได้โดยวิธีการเดียวกันกับการหาข้อมูลดั้งเดิม เราสามารถใช้ข้อมูลดั้งเดิมในการตั้งสมมุติฐาน แล้วใช้ข้อมูลที่ได้เพิ่มเติมในการตรวจสอบสมมุติฐานนั้น สิ่งที่เราไม่ควรทำก็คือ การใช้ข้อมูลเดียวกันทั้งในการตั้งสมมุติฐานทั้งในการตรวจสอบ เพราะว่าการทำเช่นนั้นเป็นกระบวนการสร้างเหตุผลวิบัตินักแม่นปืนชาวเท็กซัส
ตัวอย่าง
[แก้]งานวิจัยในปี ค.ศ. 1992 ทำในประเทศสวีเดนมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดว่า สายไฟฟ้าเป็นเหตุทำลายสุขภาพหรือไม่ นักวิจัยได้สำรวจทุกคนที่อาศัยภายในรัศมี 300 เมตรของสายไฟฟ้าแรงสูงเป็นเวลา 25 ปี แล้วสืบหาความเจ็บไข้ที่มีอัตราสูงขึ้นโดยมีนัยสำคัญทางสถิติกว่า 800 อย่าง งานวิจัยนี้พบว่า อุบัติการณ์ของมะเร็งเม็ดเลือดขาวในวัยเด็กของผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้ ๆ สายไฟฟ้ามีอัตราสูงกว่าถึง 4 เท่า ซึ่งมีผลให้เกิดการร้องเรียกให้รัฐบาลทำการแก้ไข แต่ปัญหาเกี่ยวกับข้อสรุปนี้จริง ๆ ก็คือ ความเจ็บไข้ที่ตรวจสอบที่มีจำนวนสูงถึง 800 ซึ่งเป็นจำนวนที่มากจนกระทั่งว่า มีความน่าจะเป็นสูงที่ความเจ็บไข้อย่างใดอย่างหนึ่งจะดูเหมือนมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความจริงเป็นเรื่องบังเอิญ งานวิจัยที่ทำต่อ ๆ มาไม่พบความสัมพันธ์อะไร ๆ ระหว่างสายไฟฟ้าแรงสูงกับมะเร็งเม็ดเลือดขาวในวัยเด็ก ไม่ว่าจะโดยเหตุผลก็ดีหรือโดยสหสัมพันธ์ก็ดี[6]
เหตุผลวิบัตินี้พบบ่อยในการตีความกลอนสี่บาทที่ถือเป็นคำพยากรณ์อนาคตของนอสตราเดมัส คือกลอนของเขามักจะได้รับการแปลอย่างไม่เคร่งครัด มาจากบทความดั้งเดิมในภาษาฝรั่งเศสโบราณ โดยที่ไม่สนใจพื้นเพทางประวัติศาสตร์ แล้วใช้ในการสนับสนุนข้ออ้างว่า เขาได้พยากรณ์เหตุการณ์ปัจจุบันอย่างหนึ่ง หลังจากที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นแล้วจริง ๆ[7]
ดูเพิ่ม
[แก้]เหตุผลวิบัติที่เกี่ยวข้องกัน
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ "Lexitron พจนานุกรมไทย<=>อังกฤษ รุ่น 2.6". หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2546.
sharpshooter = [N] นักแม่นปืน
- ↑ Bennett, Bo, "Texas sharpshooter fallacy", Logically Fallacious, สืบค้นเมื่อ 21 October 2014,
description: ignoring the difference while focusing on the similarities, thus coming to an inaccurate conclusion
- ↑ Gawande, Atul (1999-08-02). "The cancer-cluster myth" (PDF). The New Yorker. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2009-10-10.
- ↑ Carroll, Robert Todd (2003). The Skeptic's Dictionary: a collection of strange beliefs, amusing deceptions, and dangerous delusions. John Wiley & Sons. p. 375. ISBN 0471272426. สืบค้นเมื่อ 2012-03-25.
The term refers to the story of the Texan who shoots holes in the side of a barn and then draws a bull's-eye around the bullet holes
- ↑ Thompson, William C. (2009-07-18). "Painting the target around the matching profile: the Texas sharpshooter fallacy in forensic DNA interpretation". Law, Probability, & Risk. 8 (3): 257–258. doi:10.1093/lpr/mgp013. สืบค้นเมื่อ 2012-03-25.
Texas sharpshooter fallacy...this article demonstrates how post hoc target shifting occurs and how it can distort the frequency and likelihood ratio statistics used to characterize DNA matches, making matches appear more probative than they actually are.
- ↑ "FRONTLINE: previous reports: transcripts: currents of fear". PBS. 1995-06-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-03. สืบค้นเมื่อ 2012-07-03.
- ↑ "Nostradamus Predicted 9/11?". snopes.com. สืบค้นเมื่อ 2012-07-03.