ข้อสรุปนอกประเด็น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อสรุปนอกประเด็น (อังกฤษ: irrelevant conclusion, missing the point, ignoring refutation, ignoratio elenchi)[1] เป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัยที่ให้เหตุผลซึ่งสมเหตุผลทางตรรกะและดี แต่ข้อสรุปก็ไม่เกี่ยวกับประเด็นที่เป็นคำถาม เป็นเหตุผลวิบัติโดยประเด็น (relevance fallacy) อย่างหนึ่ง[2] เหตุผลวิบัติเยี่ยงนี้ไม่ควรสับสนกับเหตุผลวิบัติรูปนัย ซึ่งเป็นการให้เหตุผลที่ข้อตั้งไม่สนับสนุนข้อสรุป เพราะแม้เหตุผลวิบัตินี้จะมีรูปแบบที่ดีแต่ก็ยังไม่เข้ากับประเด็น

คำอธิบาย[แก้]

Ignoratio elenchi เป็นเหตุผลวิบัติอย่างหนึ่งที่อาริสโตเติลระบุไว้ในชุดผลงาน Organon คือ เขาอ้างโดยทั่วไปว่าเหตุวิบัติทั้งหมดเป็นรูปแบบต่างๆ ของ ignoratio elenchi[3][4]

ตามอาริสโตเติล Ignoratio Elenchi เป็นเหตุผลวิบัติที่เกิดจาก "ความไม่เข้าใจลักษณะการคัดค้าน" เพื่อจะคัดค้านข้อความ อาริสโตเติลให้พิสูจน์ว่าข้อความที่ขัดแย้งกันเป็นจริง ดังนั้น การพิสูจน์ประพจน์ที่ไม่เข้ากับประพจน์ดั้งเดิมก็จะเป็น ignoratio elenchi หลังจากสมัยของอาริสโตเติล เหตุผลวิบัตินี้ได้รวมเอาเหตุวิบัติอื่นๆ ที่พิสูจน์ผิดจุด... "ข้าพเจ้าต้องพิสูจน์ข้อสรุปอะไรอย่างหนึ่ง แต่ไม่พิสูจน์ข้อนั้น กลับพิสูจน์ข้อสรุปอีกอย่างหนึ่งซึ่งน่าจะเข้าใจผิดกันว่าเป็นข้อพิสูจน์ดั้งเดิม นี่จึงเป็นเหตุวิบัติ... เช่นแทนที่จะพิสูจน์ว่า บุคคลนี้ได้ทำการฉ้อฉลที่ร้ายกาจ กลับไปพิสูจน์ว่า การฉ้อฉลที่บุคคลนี้เป็นจำเลยร้ายกาจมาก'"... ดังนั้น ลักษณะของเหตุผลวิบัติก็คือ การแทนที่ประเด็นหนึ่งด้วยประเด็นอีกประเด็นหนึ่งที่ใกล้เคียงกันกับประเด็นเดิม แล้วให้เหตุผลแก่ประเด็นที่ใช้แทนที่นั้น เหตุผลจัดว่าวิบัติไม่ใช่เพราะเหตุผลนั้นสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนประเด็นที่ใช้แทนที่ แต่ชี้ว่าเหตุผลไม่ได้พิสูจน์ประเด็นดั้งเดิม... เป็นเหตุผลวิบัติที่เห็นยากแต่มีมาก โดยมีรูปแบบต่างๆ มากมาย แต่ไม่ว่าจะเกิดเมื่อไรหรือมีรูปแบบอย่างไร ก็จะสมมุติได้ว่าบุคคลที่ใช้เหตุผลวิบัตินี้ ได้แทนที่ประเด็นที่เป็นคำถามด้วยประเด็นอีกอย่างซึ่งใกล้เคียงกัน[5]

— Arthur Ernest Davies, "Fallacies" in A Text-Book of Logic

ตัวอย่าง 1: ก และ ข กำลังเถียงกันว่า การวิพากษ์วิจารณ์โดยอ้อมๆ มีประโยชน์อะไรหรือไม่

: การโวยวายบนสื่อสังคมในเรื่องการเมืองไม่มีประโยชน์อะไร ยังไงท่านนายกก็จะไม่ได้อ่านข้อความนั่น
: แต่นี่เป็นสื่อเพื่อสังคม เป็นที่ที่คนสามารถตกลงร่วมกันทำหนังสือฎีกา หรือระบุว่าจะเซ็นหนังสือเช่นนี้หรือไม่ตามความเป็นห่วงของตน
: อืม ผมไม่ค่อยได้ติตดามมันอยู่ดี

สำหรับประเด็นว่าไม่ควรวิพากษ์วิจารณ์การเมืองในสื่อสังคม ก ให้เหตุผลว่าผู้นำของรัฐจะไม่ได้อ่านข้อความนั้นโดยตรง แต่นี่เป็น ignoratio elenchi เพราะคนอื่นๆ เช่น ข อาจจะวิพากษ์วิจารณ์การเมืองเพื่อสื่อไปยังเพื่อนๆ ของตน หรือให้ผู้อื่นรู้ปัญหาทางการเมือง ไม่ใช่แจ้งให้แก่ผู้นำโดยตรง

ตัวอย่าง 2: ก และ ข กำลังถกเถียงกันเรื่องกฎหมาย

: กฎหมายอนุญาตให้ผมทำอย่างนั้นหรือเปล่า
: เพื่อนบ้านของผมคือ ค เชื่อว่ากฎหมายควรจะอนุญาตให้คุณทำอย่างนั้นเพราะเหตุผลเช่นนี้ๆ

ข ตอบผิดจุด คำถามไม่ใช่ว่า เพื่อนบ้านของ ข เชื่อว่ากฎหมายให้ทำหรือไม่ แต่ว่า กฎหมายจริงๆ ให้ทำหรือไม่

สำหรับข้อคิดทางอสสารนิยมของมุขนายกบาร์กลีย์ที่ระบุว่า สสารจริงๆ ไม่มี แต่เพียงดูเหมือนจะมี[6] นักพจนานุกรมซามูเอล จอห์นสันได้ปฏิเสธข้อคิดนี้โดยวิธีพิเศษที่จัดว่าเป็น ignoratio elenchi[7] คือเมื่อสนทนาอยู่กับเจมส์ บอสเวลล์ จอห์นสันได้เตะหินข้างๆ อย่างแรงแล้วค้านทฤษฎีนี้ว่า "ผมปฏิเสธมันอย่างนี้"[8]

แนวคิดที่เกี่ยวข้องกันก็คือ เรดเฮร์ริง ซึ่งเป็นการจงใจเบนความสนใจไปจากประเด็น[2] ส่วนการให้เหตุผลแบบหุ่นฟางบางครั้งจะสับสนกับ Ignoratio elenchi [2]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Bishop Whately, cited by John Stuart Mill: A System of Logic. London Colchester 1959 (first: 1843), pp. 542.
  2. 2.0 2.1 2.2 Hurley, Patrick J. (2011). A Concise Introduction to Logic. Boston, MA: Cengage Learning. pp. 131–133. ISBN 978-0-8400-3417-5.
  3. Aristotle (1878). The Organon, or Logical treatises, of Aristotle (PDF). Vol. 2. แปลโดย Octavius Freire Owen. Covent Garden: George Bell and Sons. pp. 548–553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-30. สืบค้นเมื่อ 2020-12-12.
  4. "Ignoratio Elenchi". Introduction to Logic. 2009-09-24.
  5. Davies, Arthur Ernest (1915). A Text-Book of Logic. R. G. Adams and company. pp. 569-576. LCCN 15027713.
  6. Bate 1977, p. 316
  7. Bagnall, Nicholas. Books: Paperbacks, The Sunday Telegraph, 3 March 1996
  8. Boswell 1986, p. 122

อ้างอิงอื่นๆ[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]