ข้ามไปเนื้อหา

กีฬาโอลิมปิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โอลิมปิค)
โอลิมปิกเกมส์
Olympic Games
ตราวงแหวนโอลิมปิก
ชื่อย่อOlympiad
คำขวัญCitius, Altius, Fortius
เร็วขึ้น, สูงขึ้น, แกร่งขึ้น
ก่อตั้งโอลิมปิก:

กรีซ เอเธนส์

ฝรั่งเศส ชามอนี

พาราลิมปิก:

อิตาลี โรม

สวีเดน เอิร์นเชิลส์วีก

เยาวชน:

สิงคโปร์ สิงคโปร์

ออสเตรีย อินส์บรุค
จัดขึ้นทุก4 ปี
ครั้งล่าสุดฤดูร้อน:

ฝรั่งเศส ปารีส

ฤดูหนาว:

จีน ปักกิ่ง

เยาวชน:

อาร์เจนตินา บัวโนสไอเรส

นอร์เวย์ ลีลแฮมเมอร์
วัตถุประสงค์กีฬาสำหรับนานาชาติ
สำนักงานใหญ่คณะกรรมการโอลิมปิกสากล
สวิตเซอร์แลนด์ โลซาน, สวิตเซอร์แลนด์
ประธานเยอรมนี โธมัส บัคช์
เว็บไซต์คณะกรรมการโอลิมปิกสากล
หมายเหตุแบ่งเป็นโอลิมปิกฤดูร้อน โอลิมปิกฤดูหนาว พาราลิมปิกเกมส์ และโอลิมปิกเยาวชน

กีฬาโอลิมปิกเกมส์ (อังกฤษ: Olympic Games, ฝรั่งเศส: les Jeux olympiques, JO) หรือกีฬาโอลิมปิกเกมส์สมัยใหม่ (อังกฤษ: Modern Olympic Games) เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศที่สำคัญ มีทั้งกีฬาฤดูร้อนและฤดูหนาว โดยมีนักกีฬากว่าพันคนเข้าร่วมการแข่งขันในหลายชนิดกีฬา กีฬาโอลิมปิกถูกมองว่าเป็นการแข่งขันกีฬาที่สำคัญที่สุดของโลก โดยมีประเทศเข้าร่วมแข่งขันกว่า 200 ประเทศ ปัจจุบัน กีฬาโอลิมปิกจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี โดยผลัดกันระหว่างโอลิมปิกฤดูร้อนกับโอลิมปิกฤดูหนาวห่างกันทุก 2 ปี

การสร้างสรรค์กีฬาโอลิมปิกได้รับแรงบันดาลใจจากกีฬาโอลิมปิกโบราณ (กรีก: Ὀλυμπιακοί Ἀγῶνες) ที่เคยจัดขึ้นในโอลิมเปีย กรีซ จากในระหว่างศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาลจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 โดย บารอน ปีแยร์ เดอ กูแบร์แต็ง ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ก่อตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) ใน พ.ศ. 2437 จนนำไปสู่การจัดโอลิมปิกสมัยใหม่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2439 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ นับแต่นั้นมาไอโอซีกลายเป็นองค์การที่ดูแลกระบวนการโอลิมปิก (Olympic Movement) โดยมีกฎบัตรโอลิมปิกนิยามโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ

วิวัฒนาการของกระบวนการโอลิมปิกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 และ 21 ได้ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อกีฬาโอลิมปิกหลายประการ การปรับแก้บางอย่างรวมไปถึง การริเริ่มโอลิมปิกฤดูหนาวเพื่อแข่งขันกีฬาน้ำแข็งและฤดูหนาว กีฬาพาราลิมปิกเพื่อนักกีฬาที่มีความพิการทางร่างกาย และกีฬาโอลิมปิกเยาวชนเพื่อนักกีฬาวัยรุ่น ไอโอซีได้ปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมืองและเทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ 20 ตามความจริง ผลคือ กีฬาโอลิมปิกได้ขยับจากลักษณะมือสมัครเล่นบริสุทธิ์ (pure amateurism) ตามแนวคิดของกูแบร์แต็ง เพื่อให้นักกีฬาอาชีพร่วมการแข่งขันได้ ความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของสื่อมวลชนได้ก่อให้เกิดปัญหาการอุปถัมภ์โดยบริษัทและการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากกีฬาโอลิมปิก สงครามโลกนำไปสู่การยกเลิกโอลิมปิกเมื่อ พ.ศ. 2459, 2483 และ 2487 มีการคว่ำบาตรครั้งใหญ่ระหว่างสงครามเย็น ซึ่งจำกัดการเข้าร่วมในโอลิมปิกเมื่อ พ.ศ. 2523 และ 2527

กระบวนการโอลิมปิกประกอบด้วยสหพันธ์กีฬาระหว่างประเทศ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ และคณะกรรมการจัดการแข่งขันของกีฬาโอลิมปิกแต่ละครั้ง เมืองเจ้าภาพเป็นผู้รับผิดชอบการจัดการแข่งขันและการจัดหาเงินทุนเพื่อสมโภช (celebrate) กีฬาตามกฎบัตรโอลิมปิก โปรแกรมโอลิมปิก ซึ่งประกอบด้วยกีฬาที่จะมีการแข่งขันในโอลิมปิก ถูกกำหนดโดยไอโอซีเช่นกัน การสมโภชกีฬาโอลิมปิกหมายรวมพิธีการและสัญลักษณ์จำนวนมาก อาทิ ธงและคบเพลิงโอลิมปิก ตลอดจนพิธีเปิดและปิด มีนักกีฬากว่า 13,000 คน เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนและฤดูหนาวใน 33 ชนิดกีฬา เกือบ 400 รายการ ผู้ที่ชนะเลิศเป็นอันดับหนึ่ง สองและสามในแต่ละรายการจะได้รับเหรียญโอลิมปิก ทอง เงินและทองแดง ตามลำดับ

กีฬาโอลิมปิกโบราณ

[แก้]
อัฒจันทร์ในโอลิมเปีย กรีซ

กีฬาโอลิมปิกโบราณ (Ancient Olympic Games) เป็นเทศกาลทางศาสนาและกรีฑาซึ่งจัดขึ้นทุกสี่ปี ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งซุสในโอลิมเปีย กรีซ โดยนครรัฐและราชอาณาจักรกรีซโบราณได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมแข่งขัน โอลิมปิกโบราณนี้เน้นกรีฑาเป็นหลัก แต่ก็มีการแข่งขันต่อสู้และรถม้าด้วย ระหว่างการแข่งขัน ความขัดแย้งระหว่างนครรัฐที่เข้าร่วมทั้งหมดจะถูกเลื่อนไปจนกว่าการแข่งขันจะเสร็จสิ้น[1] จุดกำเนิดของกีฬาโอลิมปิกเหล่านี้ยังเป็นปริศนาและตำนาน[2] เรื่องปรัมปราหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดชี้ว่า เฮราคลีสและซุสผู้เป็นบิดาเป็นแบบฉบับของกีฬาดังกล่าว[3][4][5] ตามตำนาน เฮราคลีสเป็นผู้แรกที่เรียกกีฬานี้ว่า "โอลิมปิก" และตั้งธรรมเนียมจัดการแข่งขันขึ้นทุกสี่ปี[6] ตำนานยืนยันว่า หลังจากที่เฮราคลีสสำเร็จภารกิจสิบสองประการ (twelve labors) แล้ว เขาได้ทรงสนามกีฬาโอลิมปิกเพื่อถวายเกียรติแด่ซุส หลังการแข่งขันนี้ เขาเดินเป็นเส้นตรงระยะ 200 ก้าว และเรียกระยะทางนี้ว่า "stadion" (กรีก: στάδιον, ละติน: stadium, "เวที") ซึ่งภายหลังชาวกรีกยังใช้เป็นหน่วยวัดระยะทางด้วย เรื่องปรัมปราอีกเรื่องหนึ่งเชื่อมโยงกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกกับมโนทัศน์การพักรบโอลิมปิก (กรีก: ἐκεχειρία, ekecheiria, อังกฤษ: Olympic truce) ของกรีซ[7] วันก่อตั้งกีฬาโอลิมปิกโบราณที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด คือ 776 ปีก่อนคริสตกาล ตามรอยจารึกซึ่งพบที่โอลิมเปีย และมีการระบุรายชื่อผู้ชนะการวิ่งซึ่งจัดขึ้นทุกสี่ปีเริ่มตั้งแต่ 776 ปีก่อน ค.ศ.[8] กีฬาโอลิมปิกโบราณมีรายการแข่งขันวิ่ง ปัญจกีฬา (ประกอบด้วยการกระโดด ขว้างจักร พุ่งแหลน วิ่ง และมวยปล้ำ) ชกมวย มวยปล้ำ ศิลปะป้องกันตัวแพนแครชัน (pankration) และขี่ม้า[9][10] ความเชื่อมีอยู่ว่า คอโรเอบัส (Coroebus) พ่อครัวจากนครเอลลิส (Elis) เป็นผู้ชนะโอลิมปิกคนแรก[11]

กีฬาโอลิมปิกมีความสำคัญทางศาสนาเป็นหลัก โดยมีการแข่งขันกีฬาร่วมกับพิธีกรรมบูชายัญเพื่อถวายเกียรติแด่ทั้งซุส (ซึ่งมีเทวรูปอันมีชื่อเสียงโดย ฟิเดียส ในเทวสถานของพระองค์ที่โอลิมเปีย) และฟีลอปส์ เทพวีรบุรุษและพระมหากษัตริย์ตามตำนานของโอลิมเปีย ฟีลอปส์มีชื่อเสียงในการแข่งรถม้ากับพระเจ้าอีโนมาอัส (Oenomaus) แห่งปีซาทิส (Pisatis)[12] ผู้ชนะจากการแข่งขันดังกล่าได้รับการยกย่องและมีอนุสรณ์ในบทกวีและรูปปั้น[13] กีฬาโอลิมปิกจัดขึ้นทุกสี่ปี ซึ่งคาบนี้เรียกว่า Olympiad ซึ่งชาวกรีกใช้เป็นหน่วยในการวัดเวลาอย่างหนึ่ง กีฬาโอลิมปิกเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรที่เรียกว่า กีฬาแพนเฮลลินนิค (Panhellenic Games) ซึ่งมีกีฬาไพเธียน กีฬานีเมียน และกีฬาอิสท์เมียน[14]

กีฬาโอลิมปิกรุ่งเรืองถึงขีดสุดในศตวรรษที่ 6 และ 5 ก่อนคริสตกาล จากนั้นค่อย ๆ เสื่อมความสำคัญลง เมื่อชาวโรมันมีอำนาจและอิทธิพลในกรีซ ขณะที่ยังไม่มีการเห็นพ้องต้องกันในทางวิชาการว่ากีฬาโอลิมปิกโบราณสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการเมื่อใด ส่วนใหญ่มักถือ ค.ศ. 393 เมื่อจักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 1 ทรงประกาศให้ลัทธิและการปฏิบัติตามหลักเพเกินถูกกำจัดไป[15] ส่วนการอ้างอีกอย่างหนึ่ง คือ ใน ค.ศ. 426 เมื่อผู้สืบราชบัลลังก์ จักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 2 มีพระบรมราชโองการทำลายเทวสถานกรีกทั้งหมด[16]

โอลิมปิกสมัยใหม่

[แก้]
บารอน ปิแอร์เดอ ดูเบอร์แตง ต้องการให้การพลศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศดีขึ้น สิ่งเหล่านี้รวบรวมอยู่ในกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ครั้งแรกถูกจัดขึ้นในสนามหินอ่อนในกรุงเอเธนส์, กรีซ

หลังจากโอลิมปิกโบราณได้ล้มเลิกไปเป็นเวลาถึง 15 ศตวรรษ โอลิมปิกยุคใหม่ก็เกิดขึ้น โดยมีนักกีฬาคนสำคัญของฝรั่งเศสชื่อ ปิแอร์ เดอ ดูเบอร์แตง ท่านขุนนางผู้นี้เกิดในกรุงปารีส เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) สนใจประวัติศาสตร์ ปัญหาการเมืองและสังคม ในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) ท่านอายุได้ 26 ปี ได้เกิดความคิดที่จะฟื้นฟูการแข่งขันโอลิมปิก ซึ่งได้ล้มเลิกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 936 (ค.ศ. 393) โดยติดต่อกับบุคคลสำคัญของสหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส เป็นเวลาถึง 4 ปี ในที่สุดได้เปิดการประชุมอย่างไม่เป็นทางการขึ้น ที่ตำบลซอร์บอนน์ ในกรุงปารีส เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) และประกาศ ณ ที่นั้นว่า การแข่งขันโอลิมปิกซึ่งได้หยุดมานานกว่า 15 ศตวรรษ จักได้พื้นขึ้นใหม่เป็นการปัจจุบัน และแผนการของงานโอลิมปิกปัจจุบันนั้น ได้เป็นที่ตกลงกันในที่ประชุมจำนวน 15 ประเทศ ณ ตำบลซอร์บอนน์ ประเทศฝรั่งเศส

คณะกรรมการผู้ริเริ่มได้ลงมติว่า ให้ทำการเปิดการแข่งขันโอลิมปิกปัจจุบันขึ้น โดยกำหนด 4 ปีต่อ 1 ครั้ง โดยให้ประเทศสมาชิกหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ แต่การเปิดแข่งขันครั้งแรกให้เริ่ม ณ กรุงเอเธนส์ ใน พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการกำเนิดกีฬาโอลิมปิกเมื่อครั้งโบราณ จากนั้นเป็นต้นมาการแข่งขันและวิธีเล่นกรีฑาก็พัฒนาไปอย่างกว้างขวาง และการแข่งขันทุก ๆ ครั้ง ให้ถือเอากรีฑาเป็นกีฬาหลัก ซึ่งจะขาดเสียมิได้ในการแข่งขันแต่ละครั้ง

เจ้าภาพ

[แก้]

การกำหนดว่าประเทศใดจะได้เป็นเจ้าภาพในครั้งต่อไปนั้น กระทำขึ้น ณ สถานที่ที่การแข่งขันครั้งล่าสุดดำเนินอยู่นั้นเอง คณะกรรมการโอลิมปิกสากลจะพิจารณาบรรดาประเทศสมาชิกที่เสนอขอจัด และมีอำนาจเด็ดขาดที่จะลงมติให้ประเทศใดเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจะประกาศให้ทราบอย่างเป็นทางการ ในวันพิธีเปิดการแข่งขันครั้งล่าสุดนั้น ประเทศที่ได้รับพิจารณาให้เป็นเจ้าภาพ ถือได้ว่าเป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้รับความไว้วางใจ อันก่อให้เกิดความภาคภูมิใจต่อประชาชนทั้งประเทศ

สมาชิก

[แก้]

ในปัจจุบัน ประเทศทั่วโลกเป็นสมาชิกโอลิมปิกประมาณ 197 ประเทศ แต่บางประเทศไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน เพราะเป็นประเทศเล็ก ขาดความพร้อมในเรื่องตัวนักกีฬา บารอน ปิแอร์เดอ ดูเบอร์แตง ได้ให้นิยามการเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกว่า ผู้เข้าร่วมการแข่งขันนั้นไม่เลือกผิวพรรณ ศาสนา ลัทธิการปกครอง แต่อย่างใด ความหมายการแข่งขันเพื่อให้นักกีฬาชาติต่าง ๆ ได้มาร่วมชุมนุมกัน ตัวนักกีฬาเปรียบเสมือนทูตสันถวไมตรีส่งมาเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ ร่วมเล่นสนุกสนานด้วยความเห็นอกเห็นใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดทั้งสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน อันนำมาซึ่งความสามัคคีและเพื่อสันติภาพของโลก การแพ้หรือชนะไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การเข้าร่วม”

รางวัล

[แก้]

รางวัลของการแข่งขันในสมัยโบราณผู้ที่ชนะจะได้รับการสรรเสริญมาก รางวัลที่ให้แก่ผู้ชนะในสมัยนั้น คือ กิ่งไม้มะกอกซึ่งตัดมาจากยอดเขาโอลิมปัส อันเป็นที่สิงสถิตของซุส แล้วทำเป็นวงคล้ายมงกุฎ จักรพรรดิจะเป็นผู้พระราชทานครอบลงบนศีรษะของผู้ชนะนั้น ๆ พร้อมทั้งได้สร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้ชนรุ่นหลังศึกษาและชื่นชมต่อไป

สำหรับการแข่งขันโอลิมปิกสมัยปัจจุบันแบ่งรางวัลเป็นสามระดับ คือ เหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง ให้แก่ผู้ชนะเลิศ ผู้ชนะเลิศที่สอง และที่สามตามลำดับ ส่วนอันดับที่สี่ไปถึงอันดับที่หก จะได้ประกาศนียบัตรการเข้าร่วมการแข่งขัน

คบเพลิงโอลิมปิก

[แก้]
ก่อนกีฬาโอลิมปิกหลายเดือน จะมีผู้วิ่งถือคบเพลิงโอลิมปิกจากเขาโอลิมเปียมาสู่พิธีเปิด

โคมไฟโอลิมปิก เมื่อมีการแข่งขันโอลิมปิกจะมีการจุดไฟกองใหญ่ขึ้นบนยอดเขาโอลิมปัส เพื่อให้ความสว่างไสว และเพื่อเป็นสัญญาณประกาศให้คนทั่วไปได้ทราบว่า การเฉลิมฉลองได้เริ่มขึ้นแล้ว พิธีการจุดไฟนั้น เริ่มแรกทำบนยอดเขาโอลิมปัส โดยใช้แว่นรวมแสงอาทิตย์ไปยังเชื้อเพลิง เมื่อติดไฟแล้ว จึงนำตะเกียงต่อเอาไว้ ไฟกองใหญ่จะคงลุกโชติช่วงต่อไปจนตลอดงานฉลอง ส่วนตะเกียงนั้นจะมีการวิ่งถือไปทั่วทุกนครรัฐ ด้วยการส่งต่อกันไปเป็นทอด ๆ จากนักวิ่ง คนละ 2 ไมล์ หากผ่านทะเลหรือแม่น้ำก็จะลงเรือข้ามฟากโดยไฟไม่ดับ ไฟนี้ชาวกรีก ถือว่าเป็นไฟศักดิ์สิทธิ์ และความสงบสุขของชาวกรีก ซึ่งพระเจ้าจะทรงพระพิโรธต่อบุคคลที่ไม่สนใจในกิจการนี้

โอลิมปิกในปัจจุบัน ยังคงรักษาประเพณีเรื่องการจุดไฟไว้ดังเดิมทุกประการ กล่าวคือ ก่อนจะมีการแข่งขันจะมีพิธีจุดไฟ ณ เขาโอลิมปัส ผู้จุดคือ สาวพรหมจารีย์ผู้บริสุทธิ์ เป็นผู้ต่อไฟจากแว่นรวมแสงของดวงอาทิตย์ด้วยคบเพลิง และไฟนี้จะถูกแจกจ่ายไปยังประเทศสมาชิกทั่วโลก และข้ามน้ำข้ามทะเลไปสู่ประเทศเจ้าภาพ และมีการวิ่งถือคบเพลิงส่งต่อกันไปจุดที่กระถางใหญ่บริเวณงานในวันแรกของพิธีเปิดการแข่งขัน ไฟจะต้องไม่ดับตั้งแต่เริ่มจุด ณ ภูเขาโอลิมปัส จนกว่าจะสิ้นสุดการแข่งขันโอลิมปิกในครั้งนั้น ๆ

สัญลักษณ์โอลิมปิก

[แก้]

ธงโอลิมปิกมีผืนธงเป็นสีขาว ขนาดมาตรฐานยาว 3 เมตร กว้าง 2 เมตร ส่วนเครื่องหมายห้าห่วงคล้องกันอยู่บนกลางธง ขนาด 2 เมตร คูณ 0.60 เมตร มีสีฟ้า สีเหลือง สีดำ สีเขียว สีแดง ตามลำดับจากซ้ายไปขวา คล้องไขว้กันอยู่ตรงกลางสองแถว แถวบน 3 ห่วง แถวล่าง 2 ห่วง ห่วงสีที่คล้องกันอยู่ตรงกลางธงบนพื้นธงสีขาว รวมเป็น 6 สี โดยแท้จริงแล้ว ห้าห่วงหมายถึง ห้าส่วนของโลกที่อยู่ในโอบอ้อมของ “โอลิมปิกนิยม” มิเจาะจงเป็นห้าทวีปในโลกอย่างที่เข้าใจกัน แต่บังเอิญห้าทวีปนี้ก็เป็นห้าส่วนของโลกก็เลยอนุโลมกันไปเช่นนั้น ส่วนสีที่ห่วง 5 สี มิได้หมายถึงสีประจำทวีป ซึ่งสีทั้งหมด 6 สี รวมทั้งสีขาวที่เป็นพื้นธง หมายความว่า ธงชาติของประเทศต่าง ๆ ในโลกประกอบด้วยสีใดสีหนึ่งหรือมากกว่านั้นในจำนวนหกสีนั้น และไม่มีธงชาติของประเทศใดที่มีสีนอกเหนือไปจากหกสีนี้

ด้านล่างของห่วงมีคำอยู่ 3 คำ ซึ่งเป็นภาษาโรมัน แต่ละคำมีความหมายดังต่อไปนี้

Citius (swifter) : ความเร็ว ผู้เข้าร่วมการแข่งขันต้องวิ่งให้เร็วที่สุด
Altius (higher) : ความสูง ผู้เข้าร่วมการแข่งขันต้องทำให้สูงที่สุด
Fortius (stronger) : ความแข็งแรง ผู้เข้าร่วมการแข่งขันต้องมีความแข็งแกร่งที่สุด

สนามกีฬาโอลิมปิก

[แก้]

พิธีสำคัญ

[แก้]

พิธีปิด

[แก้]

ในพิธีปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก จะมีการแข่งขันกีฬาประเภทสุดท้าย ซึ่งจะแข่งขันในสนามกีฬาหลัก โดยมากมักจะเป็นการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศของกีฬาฟุตบอล เมื่อการแข่งขันกีฬาประเภทสุดท้ายเสร็จสิ้น ขบวนนักกีฬาจากประเทศต่าง ๆ จะเดินเข้าสนามเพื่อเข้าร่วมพิธีปิด โดยประธานในพิธีกล่าวปิด แล้วไฟในกระถางคบเพลิงก็จะเริ่มดับลง บนป้ายบอกคะแนนจะมีตัวอักษรขึ้นว่า "จนกว่าเราจะพบกันใหม่ ณ เมือง..." (สถานที่ที่จะมีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งต่อไปอีก 4 ปีข้างหน้า) สุดท้ายจึงร่วมร้องสามัคคีชุมนุมเป็นอันเสร็จสิ้น

กีฬาในโอลิมปิก

[แก้]

กระบวนการโอลิมปิก

[แก้]

กระบวนการโอลิมปิก (อังกฤษ: Olympic Movement) เป็นการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ ที่ใดที่หนึ่งของโลกทุก 4 ปี เป็นลำดับไป โดยไม่ขาดตอนหรือหยุดยั้งอยู่ที่ใดที่หนึ่ง หรือล้มเลิกไปเหมือนอย่างในอดีตกาล รวมเข้าไปด้วย องค์กรต่าง ๆ นักกีฬา และ บุคคลที่เห็นด้วยกับแนวทางของกฎบัตรโอลิมปิก

กระบวนการโอลิมปิก ประกอบไปด้วยผู้ที่เห็นด้วยกับแนวทางของกฎบัตรโอลิมปิก และผู้ที่รับรองอำนาจของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (อังกฤษ: International Olympic Committee หรือ IOC) รวมไปถึง สหพันธ์ระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Federations หรือ IF) ของกีฬาที่มีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก, คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ (อังกฤษ: National Olympic Committees หรือ NOCs), คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (อังกฤษ: Organising Committees of the Olympic Games หรือ OCOGs) นักกีฬา กรรมการผู้ตัดสิน และผู้ตัดสิน สมาคม ชมรม รวมไปถึงองค์กรและสถาบันที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล

สถานที่จัดการแข่งขันโอลิมปิกในยุคปัจจุบัน

[แก้]
แผนที่เมืองเจ้าภาพในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน
แผนที่เมืองเจ้าภาพในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว

ในด้านการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ผ่านมา จะมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนให้ประเทศสมาชิกต่าง ๆ ในแต่ละทวีปเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน และหากได้พิจารณาข้อมูลย้อนหลังนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 เป็นต้นมา ได้มีการพิจารณาตามเกณฑ์การกระจายแบบ Geographic Distribution

ปี
(ค.ศ.)
กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว กีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน กีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว
ครั้งที่ เมืองเจ้าภาพ ประเทศเจ้าภาพ ครั้งที่ เมืองเจ้าภาพ ประเทศเจ้าภาพ ครั้งที่ เมืองเจ้าภาพ ประเทศเจ้าภาพ ครั้งที่ เมืองเจ้าภาพ ประเทศเจ้าภาพ
1896 1 เอเธนส์  กรีซ
1900 2 ปารีส  ฝรั่งเศส
1904 3 เซ็นต์หลุยส์  สหรัฐ
1906 จัดพิเศษ เอเธนส์  กรีซ
1908 4 ลอนดอน  สหราชอาณาจักร
1912 5 สต็อกโฮล์ม  สวีเดน
1916 - เบอร์ลิน
(ยกเลิกเนื่องจาก WW1)
 เยอรมนี
1920 6 แอนต์เวิร์ป  เบลเยียม
1924 7 ปารีส  ฝรั่งเศส 1 ชามอนี  ฝรั่งเศส
1928 8 อัมสเตอร์ดัม  เนเธอร์แลนด์ 2 ซังคท์โมริทซ์  สวิตเซอร์แลนด์
1932 9 ลอสแอนเจลิส  สหรัฐ 3 เลคพลาซิด  สหรัฐ
1936 10 เบอร์ลิน  ไรช์เยอรมัน 4 การ์มิช-พาร์เทินเคียร์เชิน  ไรช์เยอรมัน
1940 - โตเกียวเฮลซิงกิ
(ยกเลิกเนื่องจาก WW2)
 ญี่ปุ่น
 ฟินแลนด์
- ซัปโปะโระ
ซังคท์โมริทซ์
การ์มิช-พาร์เทินเคียร์เชิน
(ยกเลิกเนื่องจาก WW2)
 ญี่ปุ่น
 สวิตเซอร์แลนด์
 ไรช์เยอรมัน
1944 - ลอนดอน
(ยกเลิกเนื่องจาก WW2)
 สหราชอาณาจักร - กอร์ตีนาดัมเปซโซ
(ยกเลิกเนื่องจาก WW2)
 อิตาลี
1948 11 ลอนดอน  สหราชอาณาจักร 5 ซังคท์โมริทซ์  สวิตเซอร์แลนด์
1952 12 เฮลซิงกิ  ฟินแลนด์ 6 ออสโล  นอร์เวย์
1956 13 เมลเบิร์น  ออสเตรเลีย 7 กอร์ตีนาดัมเปซโซ  อิตาลี
1960 14 โรม  อิตาลี 8 สควอว์วัลเลย์  สหรัฐ
1964 15 โตเกียว  ญี่ปุ่น 9 อินส์บรุค  ออสเตรีย
1968 16 เม็กซิโกซิตี  เม็กซิโก 10 เกรอนอบล์  ฝรั่งเศส
1972 17 มิวนิก  เยอรมนีตะวันตก 11 ซัปโปะโระ  ญี่ปุ่น
1976 18 มอนทรีออล  แคนาดา 12 อินส์บรุค  ออสเตรีย
1980 19 มอสโก  สหภาพโซเวียต 13 เลคพลาซิด  สหรัฐ
1984 20 ลอสแอนเจลิส  สหรัฐ 14 ซาราเยโว  ยูโกสลาเวีย
1988 21 โซล  เกาหลีใต้ 15 แคลกะรี  แคนาดา
1992 22 บาร์เซโลนา  สเปน 16 อัลแบร์วิล ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
1994 17 ลิลเลฮัมเมร์  นอร์เวย์
1996 23 แอตแลนตา  สหรัฐ
1998 18 นะงะโนะ  ญี่ปุ่น
2000 24 ซิดนีย์  ออสเตรเลีย
2002 19 ซอลต์เลกซิตี  สหรัฐ
2004 25 เอเธนส์  กรีซ
2006 20 ตูริน  อิตาลี
2008 26 ปักกิ่ง  จีน
2010 21 แวนคูเวอร์  แคนาดา 1 สิงคโปร์  สิงคโปร์
2012 27 ลอนดอน  สหราชอาณาจักร 1 อินส์บรุค  ออสเตรีย
2014 22 โซชิ  รัสเซีย 2 หนานจิง  จีน
2016 28 รีโอเดจาเนโร  บราซิล 2 ลิลเลฮัมเมร์  นอร์เวย์
2018 23 พย็องชัง  เกาหลีใต้ 3 บัวโนสไอเรส  อาร์เจนตินา
2020 29 โตเกียว
(เลื่อนการแข่งขันเป็นปี 2021 เนื่องจาก โควิด 19)
 ญี่ปุ่น 3 โลซาน  สวิตเซอร์แลนด์
2022 24 ปักกิ่ง  จีน
2024 30 ปารีส  ฝรั่งเศส 4 คังว็อน  เกาหลีใต้
2026 25 มิลาน และกอร์ตีนาดัมเปซโซ  อิตาลี 4 ดาการ์  เซเนกัล
2028 31 ลอสแอนเจลิส  สหรัฐ 5
2030 26 5
2032 32 บริสเบน  ออสเตรเลีย 6
2034 27 6
2036 33 7

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Swaddling 2000, p. 54.
  2. Young 2004, p. 12.
  3. Pausanias, "Elis 1", VII, p. 7, 9, 10; Pindar, "Olympian 10", pp. 24–77
  4. Richardson 1997, p. 227.
  5. Young 2004, pp. 12–13.
  6. Pausanias, "Elis 1", VII, p. 9; Pindar, "Olympian 10", pp. 24–77
  7. Spivey 2004, pp. 229–230.
  8. "Olympic Games" (registration required). Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 29 April 2009.
  9. Crowther 2007, pp. 59–61.
  10. "Ancient Olympic Events". Perseus Project of Tufts University. สืบค้นเมื่อ 29 April 2009.
  11. Golden 2009, p. 24.
  12. Burkert 1983, p. 95.
  13. Swaddling 1999, pp. 90–93.
  14. Olympic Museum, "The Olympic Games in Antiquity", p. 2
  15. อย่างไรก็ดี กฤษฎีกาของธีโอโดเซียสไม่มีการระบุถึงโอลิมเปียโดยเจาะจง (Crowther 2007, p. 54).
  16. Crowther 2007, p. 54.

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]