โอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว 2016

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาวครั้งที่ 2
สัญลักษณ์การแข่งขันอย่างเป็นทางการ
เมืองเจ้าภาพนอร์เวย์ ลิลเลฮัมเมร์ ประเทศนอร์เวย์
คำขวัญไปด้วยความก้าวหน้า เพื่อสร้างวันพรุ่งนี้
Go beyond. Create tomorrow. (อังกฤษ)
Spreng grenser. Skap morgendagen. (นอร์เวย์)
ประเทศเข้าร่วม71 ประเทศ
นักกีฬาเข้าร่วม1,100 คน
กีฬา15 ชนิด
พิธีเปิด12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
พิธีปิด21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ประธานพิธีสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์
นักกีฬาปฏิญาณMaria Ramsfjell Stabekk
ผู้จุดคบเพลิงเจ้าหญิงอิงกริด อเล็กซันดราแห่งนอร์เวย์
สนามกีฬาหลักลิสการ์ดส์แบคเคิน (พิธีเปิด)
ศูนย์ประชุมโฮกุ้น (พิธีปิด)

กีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว 2016 (อังกฤษ: 2016 Winter Youth Olympic Games; นอร์เวย์: Vinter-OL for ungdom 2016) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า กีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาวครั้งที่ 2 (อังกฤษ: II Winter Youth Olympic Games; YOG) เป็นการแข่งขันกีฬาหลายชนิดระหว่างประเทศสำหรับเยาวชนซึ่งจัดขึ้นในเมืองลิลเลฮัมเมร์ ประเทศนอร์เวย์ ระหว่างวันที่ 12 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 การแข่งขันครั้งนี้เป็นการแข่งขันครั้งที่ 4 ของกีฬาโอลิมปิกเยาวชนและครั้งที่ 2 ของโอลิมปิกฤดูหนาว เมืองลีลแฮมเมอร์ได้รับไว้วางใจในการจัดการแข่งขันในครั้งนี้เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554 โดยใช้สถานที่ที่มีอยู่เดิมและเคยใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 1994

การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ[แก้]

สัญลักษณ์ของการเสนอตัวจัดการแข่งขันในครั้งนี้
สัญลักษณ์ของการเสนอตัวจัดการแข่งขันในครั้งนี้

การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว 2016 ได้ประกาศผลเมื่อ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งมีเมืองลิลเลฮัมเมร์ ประเทศนอร์เวย์เป็นเมืองที่เสนอจัดการแข่งขันอยู่เมืองเดียว โดยเมืองลีลแฮมเมอร์เคยเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกของฤดูหนาว 1994 และได้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว 2012 แต่ไม่ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล โดยเมืองอินส์บรุค ประเทศออสเตรีย ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพในครั้งนั้น

องค์ประกอบ[แก้]

สถานที่จัดการแข่งขัน[แก้]

โอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว 2016 มีสถานที่จัดการแข่งขันทั้งหมด 20 แห่ง แบ่งเป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬา 9 แห่ง และสถานที่จัดกิจกรรม 11 แห่ง โดยการแข่งขันครั้งนี้จัดขึ้นทั้งหมดใน 4 เมือง คือ ลิลเลฮัมเมร์ ,ฮามาร์ ,Gjøvik และØyer ซึ่ง 3 เมืองที่จัดการแข่งขันนั้นตั้งอยู่ใกล้ทะเลสาบ Mjøsa และมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 27,000 คน ขณะที่เมือง Øyer มีผู้อยู่อาศัยประมาณ 5,000 คน และตั้งอยู่ในหุบเขา Gudbrandsdalen

ลีลแฮมเมอร์[แก้]

ในลีลแฮมเมอร์มีสถานที่จัดการแข่งขัน คือ สนาม Lysgårdsbakken เป็นสนามจัดกีฬาสกีกระโดดไกล มีความจุผู้ชม 35,000 ที่นั่ง, สนาม Birkebeineren เป็นสนามจัดกีฬามาราธอนสกี, ไบแอธลอน และสกีผสม มีความจุผู้ชม 31,000 ที่นั่ง, สนาม Kanthaugen เป็นสนามจัดกีฬาฟรีสไตล์สกี และ สโนว์บอร์ด มีความจุผู้ชม 15,000 ที่นั่ง, สนามโอลิมปิกบอบสเล เป็นสนามจัดกีฬาบอบสเล, ลุจ และสเคเลทัน และสนามคริสตินส์ ฮอลล์ เป็นสนามจัดกีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง และเคอลิ่ง

การแข่งขัน[แก้]

ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน[แก้]

รายชื่อประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว ค.ศ. 2016 พร้อมแสดงจำนวนนักกีฬาที่เข้าร่วมจากแต่ละประเทศ (ตัวเลขในวงเล็บ)

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่เข้าแข่งขัน

ชนิดกีฬาที่แข่งขัน[แก้]

กีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว มีการแข่งขันกีฬาทั้งหมด 7 ชนิดกีฬา รวมทั้งหมด 15 ประเภท[1]

ปฏิทินกำหนดการแข่งขัน[แก้]

OC พิธีเปิดการแข่งขัน การแข่งขัน 1 จำนวนเหรียญทอง EG พิธีการจัดเลี้ยง CC พิธีปิดการแข่งขัน
กุมภาพันธ์ 12
ศ.
13
ส.
14
อา.
15
จ.
16
อ.
17
พ.
18
พฤ.
19
ศ.
20
ส.
21
อา.
เหรียญทอง
พิธีการ OC CC
สกีลงเขา 2 2 1 1 1 1 1 9
แอธลอน 2 2 1 1 6
บอบสเล 2 2
สกีครอสคันทรี 2 2 2 6
เคอร์ลิ่ง 1 1 2
สเกตลีลา 2 2 1 5
สกีฟรีสไตล์ 2 2 1 1 6
ฮอกกี้น้ำแข็ง 1 1 2 4
ลูช 1 2 1 4
สกีผสม 1 1 2
สเกตความเร็วระยะสั้น 2 2 1 5
สเคเลทัน 2 2
สกีกระโดดไกล 2 1 3
สโนว์บอร์ด 2 2 1 1 1 7
สเกตความเร็ว 2 2 1 2 7
รวมเหรียญทอง 6 11 12 13 4 5 7 8 4 70
รวมการสะสมจากวันก่อน 6 17 29 42 46 51 58 66 70
กุมภาพันธ์ 12
ศ.
13
ส.
14
อา.
15
จ.
16
อ.
17
พ.
18
พฤ.
19
20
ส.
21
อา.
เหรียญทอง

สรุปเหรียญการแข่งขัน[แก้]

ประเทศเข้าร่วมที่ได้เหรียญรางวัลมากที่สุดสิบอันดับแรก โดยประเทศเจ้าภาพแสดงด้วยแถบสีเน้น

      เจ้าภาพ (นอร์เวย์)

อันดับที่ ประเทศ ทอง เงิน ทองแดง รวม
1 สหรัฐ สหรัฐ (USA) 10 6 0 16
2 ประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ (KOR) 10 3 3 16
3 ประเทศรัสเซีย รัสเซีย (RUS) 7 8 9 24
4 ประเทศเยอรมนี เยอรมนี (GER) 7 7 8 22
5 ประเทศนอร์เวย์ นอร์เวย์ (NOR) 4 9 6 19
ทีมผสม ทีมผสม (MIX) 4 4 5 13
6 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ (SUI) 4 3 4 11
7 ประเทศจีน จีน (CHN) 3 5 2 10
8 ประเทศแคนาดา แคนาดา (CAN) 3 2 1 6
9 ประเทศสวีเดน สวีเดน (SWE) 3 2 0 5
10 ประเทศสโลวีเนีย สโลวีเนีย (SLO) 3 0 2 5

อ้างอิง[แก้]

  1. "Lillehammer 2016 Preliminary Website – Sports". Lillehammer 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-21. สืบค้นเมื่อ 6 June 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]