โอลิมปิกฤดูหนาว 2014

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 22
XXII Олимпийские зимние игры
สัญลักษณ์การแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2014
เมืองเจ้าภาพรัสเซีย โซชี ประเทศรัสเซีย
คำขวัญHot. Cool. Yours.[1]
ประเทศเข้าร่วม88 ประเทศ
นักกีฬาเข้าร่วม2,873 คน
กีฬา98 รายการใน 7 ชนิด (15 สาขา)
พิธีเปิด7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
พิธีปิด23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ประธานพิธีวลาดีมีร์ ปูติน
(ประธานาธิบดีแห่งรัสเซีย)
นักกีฬาปฏิญาณรุสลาน ซาคารอฟ[2][3]
ผู้ตัดสินปฏิญาณอนาสตาเซีย โปโปว่า[2]
ผู้จุดคบเพลิงวลาดิสลาฟ เทรเตียค
อิริน่า ร็อดนิน่า
สนามกีฬาหลักสนามกีฬาโอลิมปิกฟิชต์
โอลิมปิกฤดูหนาว 2014
IOC · ROC · SOOC

กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 22 (อังกฤษ: XXII Olympic Winter Games) เป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 22 จัดขึ้น ณ เมืองโซชี ประเทศรัสเซีย ระหว่างวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ถึง 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การแข่งขันจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-23 กุมภาพันธ์ โดยในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ มีการซ้อมพิธีเปิดทั้งกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 และพาราลิมปิกฤดูหนาว 2014 วันเดียวกัน ซึ่งสมัยประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากลที่ 119 เมื่อเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ณ กรุงกัวเตมาลาซิตี ได้เลือกให้เมืองโซชีเป็นเจ้าภาพ นับเป็นการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เป็นครั้งแรกของรัสเซีย ตั้งแต่การจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1980 ที่กรุงมอสโก ในสมัยสหภาพโซเวียต

การแข่งขันในครั้งนี้มีการแข่งขัน 98 ประเภท จากกีฬาในฤดูหนาว 7 ชนิด ซึ่งแบ่งออกเป็น 15 สาขา และมีประเภทของกีฬาชนิดใหม่เพิ่มเข้ามา 7 สาขา ซึ่งก็คือ ไบแอธลอนคู่ผสม, สกีกระโดดไกล ประเภทหญิง, ระบำสเก็ต ประเภททีมผสม, ลุจ ประเภททีมผสม, สกีบนลานโค้ง, สกี หรือสโนว์บอร์ด บนราว และ สโนว์บอร์ดลีลา ในการแข่งขันครั้งนี้ ได้สร้างอุทยานโอลิมปิก ใกล้ๆกับ ทะเลดำ และ สนามกีฬาโอลิมปิกฟิชต์ ส่วนกีฬาในร่มจัดการแข่งขันที่ รีสอร์ต แซทเทิลเมนต์

ในการเตรียมพร้อมการแข่งขันในครั้งนี้ รัสเซียได้เปลี่ยนแปลงทางด้านระบบสาธารณูปโภค ด้านระบบการเดินทาง และด้านพลังงานไฟฟ้า โดยใช้เงินลงทุนในระยะแรก 12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ในต่อมาได้กล่าวว่าใช้เงินลงทุนมากถึง 51 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ปักกิ่ง, จีน ซึ่งใช้เงินลงทุน 44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นการแข่งขันโอลิมปิกที่ลงทุนทุ่มเงินจัดการแข่งขันมากที่สุดในประวัติศาสตร์

อย่างไรก็ตาม การจัดการแข่งขันในครั้งนี้นำไปสู่การประท้วง รวมถึงมีการกล่าวหาถึงการทุจริตของเจ้าหน้าที่จนนำไปสู่การโกงเงินทุนในการจัดการแข่งขัน อีกทั้งยังมีกรณีถกเถียงในเรื่องของความปลอดภัยของนักกีฬา หรือกลุ่มเลสเบียนหรือเกย์ เนื่องจากกฎหมายของรัสเซียได้ผ่านร่างกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ไม่นาน จนอาจนำไปสู่การคุกคามหรือเหตุจลาจลในช่วงของการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งนี้

การคัดเลือกเจ้าภาพ[แก้]

ชาวรัสเซียเฉลิมฉลองกัน หลังจากได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2014

เมืองที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพโดยคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาตินั้น ๆ รับรอง และได้รับคัดเลือกรอบแรกโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ได้แก่

หลังจากล้มเหลวและพยายามที่จะเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2010 ทำให้เมืองซัลทซ์บวร์ค ประกาศแผนที่จะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2014

หลังจากล้มเหลวและพยายามที่จะเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2010 ทำให้เมืองพย็องชัง ประกาศแผนที่จะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 และ โอลิมปิกฤดูหนาว 2018 และในปัจจุบันนี้ เมืองพย็องชัง ได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เมืองโซชีได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 ในสมัยประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากลที่ 119 ที่กรุงกัวเตมาลาซิตี ประเทศกัวเตมาลา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2007 โดยสามารถเอาชนะคะแนนเสียงกับเมืองพย็องชัง ประเทศเกาหลีใต้[4]ในรอบที่ 2 ไป 51-47 คะแนน นับเป็นการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เป็นครั้งแรกของประเทศรัสเซีย ตั้งแต่การจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1980 ที่กรุงมอสโก ในสมัยสหภาพโซเวียต

ผลการตัดสินประเทศเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2014
ชื่อเมือง ประเทศ รอบที่ 1 รอบที่ 2
โซชี ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย 34 51
พย็องชัง ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 36 47
ซัลทซ์บวร์ค ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย 25 -

การจัดหาเงินทุน[แก้]

การใช้เงินลงทุน
ตั้งแต่ปี 2006 จนถึง 2014
ปี ล้านรูเบิล[5]
2006 5,000
2007 16,000
2008 32,000
2009 27,000
2010 22,000
2011 27,000
2012 26,000
2013 22,000
2014 8,000

ในเดือนตุลาคม 2013 มีการประกาศออกมาว่า ใช้เงินทุนในการจัดการแข่งขันมากถึง 51,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] โดยหลังจากได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพ รัฐบาลรัสเซียได้จัดทำโครงการเพื่อเตรียมเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 ออกมาทันที โดยในแผนโครงการนั้น จะต้องปรับเปลี่ยนด้านถนน และสวนพฤกษศาสตร์ให้สวยงามตามนโยบายที่ได้เอาไว้กับคณะกรรมการโอลิมปิกสากล เฉพาะด้านนี้ลงทุนไป 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (การแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2010 ที่แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ลงทุนด้านนี้ไป 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งนั่นทำให้โอลิมปิกฤดูหนาวในครั้งนี้ใช้เงินทุนมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา แม้กระทั่งโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ปักกิ่ง ประเทศจีน[7]ซึ่งใช้เงินลงทุน 44,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นโอลิมปิกครั้งที่ 3 ซึ่งลงทุนใช้เงินกับการแข่งขันอย่างมหาศาล[8][9][10][11]

ในการจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวและพาราลิมปิกฤดูหนาว ที่เมืองโซชีในครั้งนี้ นายดิมิทรี เชอร์นีเซนโค ประธานคณะกรรมการฝ่ายจัดการแข่งขันและเป็นหุ้นส่วนทางการเงิน ได้อนุมัติการใช้งบประมาณจัดการแข่งขัน ตลอดระยะเวลาการพัฒนาในปี 2009-2010 ต้องเลื่อนสถานะเพื่อไปกู้ยืมกองทุนประกันโดยรัฐบาลของรัสเซีย ซึ่งเขายืนยันว่า คณะกรรมการจัดการแข่งขันใช้เงินลงทุนกว่า 500 ล้านรูเบิลผ่านตลาดใน 5 เดือนแรก ของปี 2009 ซึ่งกองทุนประกันเองก็มอบเงินสนับสนุนให้เกือบพันล้านรูเบิล สำหรับการพัฒนาและขยายพื้นที่ของสวนสาธารณะโอลิมปิก 192,000 ล้านรูเบิล มาจากงบประมาณของรัฐบาลกลาง และอีก 7 พันล้านรูเบิล มาจากงบประมาณของเมืองโซชี โดยคณะกรรมการจัดงานคาดว่าจะเกิน 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อสรุปเงินทุนในการจัดการแข่งขันภายหลัง

การใช้เงินลงทุนในโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งนี้ ใช้ในส่วนใหญ่ ๆ 4 ประเภท (หน่วยเงินนั้นคือหน่วยเงินรูเบิลของรัสเซีย)[12]

  • ด้านการท่องเที่ยว : 2.6 พันล้านรูเบิล
  • ด้านสนามแข่งขัน : 500,000 ล้านรูเบิล
  • ด้านการคมนาคม : 270,000 ล้านรูเบิล
  • ด้านเทคโนโลยี แสง สี เสียง : 100,000 ล้านรูเบิล

สนามแข่งขัน[แก้]

ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เมืองโซชี จะมีอุณหภูมิประมาณ 8.3 °C (42.8 °F) ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่กำลังสบายของเขตซีกโลกเหนือ ซึ่งตั้งแต่จัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวมา เมืองโซชีถือเป็นเมืองที่อุณหภูมิอบอุ่นที่สุดเท่าที่เคยวัดมา[13]และในการแข่งขันครั้งนี้ยังเป็นครั้งที่ 12 ที่ออกกฎห้ามสูบบุหรี่ในสนามแข่งขัน ในอุทยานโอลิมปิก มีสวนสาธารณะ ร้านอาหาร ที่สาธารณะ ที่สูบบุหรี่ ฯลฯ[14]

อุทยานโอลิมปิก[แก้]

ภาพพาราโนมาของอุทยานโอลิมปิก

อุทยานโอลิมปิก สร้างขึ้นให้อยู่ริมชายฝั่งทะเลดำ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ [15][16]มีพื้นที่ 4 กิโลเมตร หรือ 2.5 ไมล์ อีกทั้งยังมีอนุสรณ์เหรียญรางวัลที่น่าประทับใจในโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ผ่านมา และยังเป็นสถานที่ที่จัดพิธีเปิด-ปิดในการแข่งขันครั้งนี้อีกด้วย[17][18][19] ภายในอุทยานโอลิมปิก ประกอบด้วย

แผนผังด้านในของสวนสาธารณะโอลิมปิก โซชี 2014

คาสนายา พอลยานา (ภูเขาครัชเตอร์)[แก้]

คาสนายา พอลยานา (ภูเขาครัชเตอร์) ในปี 2012 ขณะกำลังดำเนินการก่อสร้าง
แผนที่คาสนายา พอลนายา (ภูเขาครัชเตอร์) (interactive map)

สัญลักษณ์ สินค้าและบริการ[แก้]

โลโก้และคำขวัญ[แก้]

สัญลักษณ์โอลิมปิกฤดูหนาว 2014 บนจรวดของรัสเซีย

สัญลักษณ์ของโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 ได้เปิดตัวในเดือนธันวาคม 2009 ในขณะที่การออกแบบดูเรียบง่าย ไม่มีอะไรมาก ตัวหนังสือที่ออกแบบมาเพื่อให้ คำว่า โซชี และ 2014 มาสะท้อนกับในแนวตั้ง มาบรรจบรวมกันเป็นจุดเดียว ซึ่งสะท้อนให้ถึงความแตกต่างของภูมิทัศน์ของรัสเซีย (ดังเช่น โซชีเองที่เป็นจุดศูนย์รวมของทะเลดำ กับภูมิภาคคอเคซัสตะวันตก)[20]ด้านของนักวิจารณ์ ให้ความเห็นว่ามันดูเป็นโลโก้ที่เรียบง่ายเกินไป และขาดจุดเด่นหรือเสน่ห์บางอย่างตามที่ควรจะเป็น ด้านของนักออกแบบโลโก้ของโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ให้ความเห็นว่า มันดูขาดรายละเอียด และเชื่อว่าน่าจะมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่เป็นตัวแทนของฤดูหนาวและเอกลักษณ์ประจำชาติของรัสเซียได้เป็นอย่างดี[21]

ส่วนคำขวัญอย่างเป็นทางการในการแข่งขันครั้งนี้ก็คือ Hot. Cool. Yours. ซึ่งหมายความว่า ร้อนแรง เยือกเย็น และเป็นของคุณ ได้รับการเปิดตัวเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2012 ก่อนพิธีเปิดการแข่งขัน 500 วันนายดีมิทรี เชอร์นีเซนโค ประธานฝ่ายจัดการแข่งขัน ได้กล่าวว่า คำขวัญนี้หมายถึง ความมีน้ำใจในหมู่นักกีฬา สภาพภูมิอากาศของโซชีเอง และความรู้สึกในการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

มาสคอต[แก้]

มาสคอตของโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 บนแสตมป์ไปรษณีย์ของรัสเซีย เพื่อส่งเสริมการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว

เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โอลิมปิก ที่ใช้คะแนนเสียงของประชาชน เพื่อตัดสินใจเลือกมาสคอตประจำการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว ซึ่งมีมาสคอต 10 ตัวให้ประชาชนได้โหวตเลือกผ่านทางหน้าจอโทรทัศน์ด้วยการส่งข้อความ ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2011 มีการเปิดตัวมาสคอตอย่างเป็นทางการ ประกอบด้วย หมีขาว, กระต่าย และเสือดาวหิมะ และมันทั้ง 3 ตัวเรียกรวมกันว่า โซริส ความนิยมในช่วงเวลาที่เปิดตัวได้ไม่นาน หรือการลงคะแนนออนไลน์ ก็กลายเป็นจุดขายของการแข่งขัน[22][23][24][24][25]

วิดีโอเกม[แก้]

มาริโอ & โซนิค ได้รับเลือกเป็นวิดีโอเกมของโอลิมปิกฤดูร้อนและโอลิมปิกฤดูหนาวติดต่อกันเป็นครั้งที่ 4 ตั้งแต่ โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 เป็นต้นมา โดยบริษัทนินเทนโด เป็นบริษัทผู้คิดค้น ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2013 ได้เปิดตัวในทวีปยุโรป และวันที่ 15 พฤศจิกายน 2013 เปิดตัวในทวีปอเมริกาเหนือ ในชื่อ มาริโอแอนด์โซนิคแอตเดอะโซชี 2014 โอลิมปิกวินเทอร์เกมส์[26][27]

แสตมป์และเงิน[แก้]

ธนบัตร 100 รูเบิล แบบฉบับพิเศษ เพื่อส่งเสริมกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2014

ไปรษณีย์แห่งชาติรัสเซีย ได้จัดทำแสตมป์เกี่ยวกับโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 ทั้งรูปนักกีฬา รูปสนามแข่งขัน และรูปมาสคอต อีกทั้งธนาคารกลางแห่งประเทศรัสเซีย ได้จัดทำธนบัตร 100 รูเบิลแบบพิเศษเฉพาะกิจ ในปี 2013 เพื่อส่งเสริมกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2014[28]

สังคม การสื่อสาร และเศรษฐกิจ[แก้]

ภายหลังที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 ในปี 2009 ผู้สนับสนุนกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ได้ให้การสนับสนุนโดยส่งคนงานหลายหมื่นคน สร้างสนามแข่งขันสำหรับโอลิมปิกฤดูหนาว 2014[29] ในเดือนพฤศจิกายน 2011 จาเควร์ รอสต์ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ได้เดินทางไปที่เมืองโซซี เพื่อตรวจสอบความพร้อมของสนามแข่งขัน โดยได้กล่าวว่า เขาพึงพอใจกับสนามแข่งขันและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ และอยากให้โอลิมปิกฤดูหนาวนี้มีสีสันและยิ่งใหญ่อย่างที่เราได้คาดหวังเอาไว้ และจะกลับมาตรวจดูความพร้อมอีกครั้งในอีก 18 เดือนข้างหน้า[30]

ด้านการสื่อสาร[แก้]

ทางรัฐบาลของรัสเซียได้ลงทุนกับด้านการสื่อสารไป 580 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อความทันสมัยของการสื่อสารโทรคมนาคมภายในภูมิภาค บริษัทอวายาส์ ผู้สนับสนุนหลักในการจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการของอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม โดยให้ทั้งอุปกรณ์เครือข่ายข้อมูลรวมถึงสวิตช์, เราเตอร์, อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย, โทรศัพท์และระบบเครือข่ายการติดต่อ โดยวิศวกรและช่างเทคนิคได้อกแบบและทดสอบระบบการทำงาน กับอุปกรณ์เทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อให้นักกีฬาหรือนักท่องเที่ยวได้รู้ข้อมูลของเวลา หรือสถานที่การแข่งขัน[31] ในการจัดการแข่งขันครั้งนี้ ได้เปิดใช้งานเครือข่ายระบบฟาบิค-อนาเบิล เครือข่ายมีความสามารถที่สูงมากถึง 54,000 กิกกะบิตช์ หรือ 54 เทเลบิตช์[32] โครงสร้างพื้นฐานที่สร้างขึ้นสำหรับโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งนี้ มี 3 หลัก ดังนี้[33]

  • เครือข่ายของเตตร้า ในมือถือ วิทยุสื่อสาร มีความสูงถึง 100 กลุ่มผู้ใช้ (ความจุเต็มที่ 10,000 คน)
  • สร้างสายเคเบิลใยแก้วความยาว 712 กิโลเมตร ตามแนวถนนที่จะเข้าสู่เมืองโซชี
  • ระบบการกระจายเสียงดิจิตอลรวมถึงวิทยุและสถานีโทรทัศน์ (เมืองโซชี และเมืองแอนาปา เป็นสถานที่ศูนย์รวมของการกระจายภาพและเสียงไปยังต่างประเทศ ด้วยระบบ HDTV[34][35].[36]

การแข่งขันในครั้งนี้ใช้เครือข่ายหลักของ โรสเทเลคอม และ ทรานสเทเลคอม

ในเดือนมกราคม 2012 ระบบภาพใหม่ล่าสุด สำหรับการถ่ายทอดภาพและเสียงในการแข่งขันที่เตรียมเอาไว้โดยเฉพาะ ได้พัฒนาโดยทีมงานและผู้เชี่ยวชาญในระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่ให้คุณภาพของภาพระดับใหม่ของการผลิตระบบโทรทัศน์ในภูมิภาค

ในเดือนพฤศจิกายน 2013 การสร้างสายเคเบิลใยแก้วโดยรัฐบาลกลางของรัสเซีย ถูกระงับการดำเนินงาน เพราะเครือข่ายโรสเทเลคอม ปฏิเสธที่จะใช้มันในเครือข่าย ซึ่งเป็นไปตามกรรมสิทธิ์ของ รัฐองค์กรศูนย์กลางโลก

บริษัท เมกาฟอน ผู้ประกอบการโทรศัพท์รายใหญ่ของรัสเซีย กำลังขยายตัวและปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม โซชี เป็นสถานที่แรกที่ได้รับการเชื่อมต่อ 4G ความเร็ว 10MB / วินาที หลังจากนั้นก็ได้เริ่มจัดส่งเนื้อหาของเครือข่ายการส่งสัญญาณ 4G ของบริษัทเมกาฟอน ซึ่งเซิร์ฟเวอร์ 4G ที่ตั้งอยู่ในเมืองโซชีนี้ เป็นระบบเดียวที่สามารถเพิ่มข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ CDN ซึ่งเป็นเครือข่ายของเมกาฟอน ความเร็ว 250 กิกกะบิตช์

บริษัทเอ็มทีเอ ให้ความคุ้มครองด้านการสื่อสารอย่างเต็มรูปแบบ กับเมืองโซชี และดินแดนครัสโนดาร์ กับเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากเดิมในการเตรียมพร้อมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวในครั้งนี้ ด้านบริษัทเทเลทู ได้เพิ่มจำนวนสถานีใน คาสนายา พอลยานา (ภูเขาครัชเตอร์)

โรสเทเลคอม ยังสร้างเครือข่าย LTE รุ่นที่ 4 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 40 ตารางกิโลเมตร (15 ตารางไมล์) ในบริเวณภูเขา และบริเวณชายฝั่งทะเลดำอีก 50 ตารางกิโลเมตร เครือข่ายนี้สามารถใช้เชื่อมต่อได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นสนามบินแห่งชาติเมืองโซชี หรือในอุทยานโอลิมปิก กระทรวงการสื่อสารของรัสเซีย ร่วมมือกับผู้ประกอบการมือถือ จัดงานสัญจรบริเวณที่จัดการแข่งขัน ซึ่งเป็นมาตรการที่จะช่วยให้ประชาชนได้เข้าถึงผู้ประกอบการมือถือรายใหญ่ของรัสเซีย ค่าอินเทอร์เน็ตของบริษัทเมกาฟอน ซึ่งมีราคาสูงเป็นมาตรฐานของประเทศอยู่แล้ว จะถูกลดค่าลงในบริเวณที่จัดการแข่งขันโอลิมปิก

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2013 โรสเทเลคอม กล่าวว่า โครงสร้างพื้นฐานของการสื่อสารสำหรับโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งนี้ เสร็จสมบูรณ์แล้ว ความจุของเครือข่ายหลักเพิ่มขึ้นเป็น 140 กิกกะบิตช์ ต่อ วินาที ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศโอลิมปิกเป็นสถานที่หลักในการควบคุมการสื่อสารกว่า 2,000 ตารางเมตร

เมื่อเดือนมกราคม 2014 โรสเทเลคอม รายงานว่า ระบบการสื่อสารทั้งหมดได้เชื่อมต่อกับศูนย์ไอโอซี และได้จัดช่องทางการสื่อสารกับศูนย์หลักไว้เรียบร้อยแล้ว ศูนย์หลักที่ถูกสร้างขึ้น ใช้ค่าใช้จ่าย 17 ล้านรูเบิล

ด้านการคมนาคม[แก้]

โครงสร้างพื้นฐานในการขนส่งเพื่อที่จะอำนวยความสะดวกการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว โดยสร้างถนนหลายสาย อุโมงค์หลายแห่ง โดยประการสำคัญได้สร้างเส้นทาง Bypass ความยาว 367 กิโลเมตร หรือ 228 ไมล์

ทางรัฐบาลได้สร้างโซชี ไลท์ เมโทร[37] ไว้อำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง และสามารถเชื่อมต่อกับสนามบินแห่งชาติเมืองโซชี และ คาสนายา พอลยานา (ภูเขาครัชเตอร์)[38] นอกจากนี้ยังสนามบินแห่งชาติเมืองโซชี ให้เป็นสนามบินหลักในช่วงของโอลิมปิกฤดูหนาว เพื่อไม่ให้นักกีฬาลำบากที่ต้องต่อรถจากกรุงมอสโกมาที่เมืองโซชี[39] ซึ่งอยู่ห่างกัน 102 กิโลเมตร หรือ 63 ไมล์ จึงทำให้สนามบินแห่งนี้เป็นสนามบินหลักทางด้านการคมนาคมทางอากาศของรัสเซียในช่วงของการแข่งขัน โดยพื้นที่ตามแนวยาวของสนามบินแห่งนี้คือ 3.5 กิโลเมตร หรือ 2.2 ไมล์[40]

เหรียญรางวัล[แก้]

ตัวอย่างเหรียญรางวัลในโอลิมปิกฤดูหนาว 2014

ฝ่ายจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ปี 2014 จัดงานเปิดตัวเหรียญรางวัลสำหรับการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว และพาราลิมปิกฤดูหนาว ในพิธีการที่เมือง เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย โดยเหรียญรางวัลดังกล่าวได้ประดับด้วยลวดลายวัฒนธรรมและสัญลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ชาวรัสเซีย ภาพวาดภูมิประเทศของเมืองโซชี เจ้าภาพจัดการแข่งขันและพระอาทิตย์ส่องแสงกระทบยอดเขาหิมะบนชายฝั่งทะเลดำ จนเกิดประกายสะท้อน สำหรับเหรียญรางวัลนั้นได้จัดทำไว้ทั้งหมด 1,300 เหรียญ

พิธีการ[แก้]

พิธีเชิญคบเพลิง[แก้]

การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิก มีขึ้นระหว่างวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556 ถึง 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557[37]คบเพลิงในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 ได้ทำการเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่ศูนย์การค้าใกล้กับพระราชวังเครมลิน ในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย โดยมี นายดิมิทรี เชอร์นีเชนโก ประธานจัดการแข่งขันในครั้งนี้เป็นผู้กล่าวในพิธีเปิดตัวอย่างเป็นทางการ

ซึ่งคบเพลิงที่จะใช้วิ่งในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งนี้ ได้รับการพัฒนาโดยทีมงานนักออกแบบที่มีชื่อเสียงของรัสเซีย และมีแรงบันดาลใจมาจาก ขนนกไฟร์เบิร์ด ซึ่งเป็นตัวละครยอดนิยมของนิทานรัสเซีย โดยคบเพลิงทำขึ้นจากอะลูมิเนียมพิเศษผิวมันวาวมีขนาดความยาว 95 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม หรือราว 4 ปอนด์ มี 2 สี คือ สีแดง ที่ใช้ในการวิ่งกีฬาโอลิมปิก และ สีน้ำเงินจะเป็นส่วนของการวิ่งในกีฬาพาราลิมปิก โดยมีการผลิตขึ้นประมาณ 16,000 คบเพลิง นอกจากนั้นยังได้มีการเปิดตัวชุดที่ใช้วิ่งครั้งนี้ด้วยเช่นกัน

การวิ่งคบเพลิงครั้งนี้จะเริ่มต้นที่กรุงมอสโก และผ่าน 2,900 เมือง 83 ภูมิภาค ใช้เวลาทั้งหมด 123 วัน อีกทั้งการวิ่งคบเพลิงไปยังสถานที่ต่างๆ นั้นมีลักษณะหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นโดยเครื่องบิน, รถไฟ ,การเดินเท้า หรือแม้กระทั่งใช้รถม้าลากเลื่อน ซึ่งมีผู้ถือคบเพลิงมากกว่า 14,000 คน นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างสถิติขึ้นมาใหม่อีกด้วย[41]

พิธีเปิดการแข่งขัน[แก้]

พิธีเปิดการแข่งขัน จัดขึ้นในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ตลอดสามชั่วโมง ผู้ชมได้เห็นประวัติศาสตร์ของรัสเซีย และวัฒนธรรม รวมทั้งนักกีฬาระดับตำนาน, นักบัลเลต์ หรือแม้แต่นักบินอวกาศ โดยมีเพลงคลาสสิกของรัสเซียคอยบรรเลงประกอบเป็นฉากหลัง

ในช่วงแรกของพิธีเปิดทุกคนได้เห็นเหตุการณ์สำคัญๆ ในประวัติศาสตร์ของรัสเซียตามด้วยขบวนพาเหรดของนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันจากชาติแรกจนครบชาติที่ 87 ซึ่งมีนักกีฬาจากกรีซ ประเทศต้นตำรับกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ เดินทางสู่สนามพร้อมกับนักกีฬารัสเซียที่เป็นเจ้าภาพ โดย อเล็กซานเดอร์ ซูบคอฟ ตำนานนักกีฬาบ็อบสเลจเป็นคนถือธงชาติเข้าสนาม

หลังจากนั้น ดิมิทรี เชอร์นิเชนโก ประธานจัดการแข่งขัน เป็นคนกล่าวเปิดงานคนแรก โดยกล่าวต้อนรับนักกีฬาและผู้ชมเข้าสู่การแข่งขัน ต่อจากนั้น โธมัส บาค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล กล่าวชมฝ่ายจัดการแข่งขัน ที่เตรียมงานได้อย่างยิ่งใหญ่ รวมทั้งชาวรัสเซียที่ร่วมเป็นอาสาสมัครในการจัดการแข่งขันครั้งนี้

พร้อมกระตุ้นนักกีฬาทุกคนที่เข้าร่วมการแข่งขันให้แข่งขันอย่างสุดความสามารถ แต่ก็เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม และมีน้ำใจนักกีฬา และสุดท้ายเป็น ประธานาธิบดี วลาดีมีร์ ปูติน ของรัสเซียที่ประกาศเปิดการแข่งขันอย่างเป็นทางการโดยมี รุสลาน ซาคารอฟ นักวิ่งสเก็ตแทร็คระยะสั้นเป็นตัวแทนนักกีฬาในการกล่าวปฏิญาณตน

ช่วงเวลาสำคัญคือการจุดคบเพลิงไฟโอลิมปิก โดยเริ่มขึ้นในเวลา 22.32 น. ตามเวลาในประเทศรัสเซีย โดยมีบุคคลที่มีชื่อเสียงของรัสเซีย 8 คนประกอบไปด้วย วาเลนติน่า เทเรชโคว่า ซึ่งเป็นนักบินอวกาศหญิงคนแรกที่เดินทางออกไปในอวกาศ, ลิดิย่า สคอบลิโคว่า อดีตแชมป์วิ่งสเก็ตทางยาวโอลิมปิก 6 สมัย, นิกิต้า มิคาอิลคิฟ ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง, ชูลปัน คามาโตว่า นักแสดงหญิงชื่อดัง, อนาสตาเซีย โปโปว่า นักข่าวชื่อดัง, วยาเชสลาฟ เฟติซอฟ ตำนาน นักฮอกกี้น้ำแข็ง, วาเลรี่ เกอร์กิเยฟ ผู้อำนวยการเพลง และ อลัน เอนิลีฟ แชมป์แข่งรถเสมือนจริง

ขณะเดียวกัน คบเพลิงไฟโอลิมปิกก็ถูกส่งต่อกันเป็นทอดๆ เริ่มจาก มาเรีย ชาราโปว่า ยอดนักเทนนิสหญิงที่ถือคบเพลิงวิ่งเข้าสู่สนาม ก่อนที่จะส่งต่อให้กับ เยเลน่า อิวินบาเยว่า นักกระโดดค้ำหญิงแชมป์โลกและแชมป์โอลิมปิก หลังจากนั้นมีการส่งต่อไปยัง อเลคซานเดอร์ คาเรลิน แชมป์โลกมวยปล้ำ และ อลิน่า คาบาเยว่า แชมป์ยิมนาสติกหญิง

และสุดท้ายเป็น อิริน่า ร็อดนิน่า อดีตนักสเกตน้ำแข็ง และ วลาดิสลาฟ เทรเตียค กัปตันทีมฮอกกี้น้ำแข็ง ซึ่งทั้งสองคนต่างก็เคยได้เหรียญทองในโอลิมปิกฤดูหนาวมา 3 สมัย ร่วมกันเป็นผู้จุดคบเพลิงไฟโอลิมปิก[42]

พิธีปิดการแข่งขัน[แก้]

สำหรับพิธีปิดการแข่งขัน จะจัดขึ้นในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ซึ่งประกอบด้วยพิธีส่งมอบธงโอลิมปิก จาก นายอนาโตลี ปัคโฮมอฟ นายกเทศมนตรีของเมืองโซชี ไปยังนาย ลี โซค แร นายกเทศมนตรีเมืองพย็องชังของเกาหลีใต้ ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกครั้งต่อไปในปี พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) ระหว่างพิธีปิดตามธรรมเนียม

ท่ามกลางการแสดงแสง สี เสียง ยังคงงดงามตระการตาเช่นเดิม รวมทั้งมีการเล่นมุก เมื่อครั้งที่เกล็ดหิมะไม่ทำงานกางเป็นวงแหวนโอลิมปิก ในพิธีเปิดการแข่งขัน ก็มาถูกล้อในพิธีปิด สร้างเสียงหัวเราะให้กับผู้ชมการแสดงอีกด้วย อีกทั้งรัฐบาลรัสเซีย ยังไม่เปิดเผยค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการจัดพิธีปิดการแข่งขันอีกด้วย

การแข่งขัน[แก้]

ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน[แก้]

ในการแข่งขันครั้งนี้ มีประเทศเข้าแข่งขันทั้งสิ้น 88 ประเทศ[43] ซึ่งมากกว่าโอลิมปิกฤดูหนาว 2010 ที่เมืองแวนคูเวอร์, แคนาดา ที่มีประเทศเข้าแข่งขัน 82 ประเทศ ในการแข่งขันครั้งนี้มีประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรก 7 ประเทศ ได้แก่ ดอมินีกา, มอลตา, ปารากวัย, ติมอร์-เลสเต, โตโก, ตองงา และซิมบับเว ในครั้งนี้มีนักกีฬาจากประเทศไทย เข้าแข่งขัน 2 คน[44]

ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2014:
  เข้าแข่งขันเป็นครั้งแรก
  เข้าแข่งขันแล้วหลายครั้ง

รายชื่อประเทศที่เข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 มีดังต่อไปนี้ (ตัวเลขในวงเล็บหมายถึงจำนวนนักกีฬา)

ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันในปี 2014
ประเทศที่เข้าแข่งขันในปี 2010 แต่ไม่ได้เข้าแข่งขันในปี 2014 ประเทศที่เข้าแข่งขันในปี 2014 แต่ไม่ได้เข้าแข่งขันในปี 2010

นักกีฬาไทยในโอลิมปิกฤดูหนาว 2014[แก้]

ทีมชาติไทยส่งนักกีฬาเข้าแข่งขัน จำนวน 2 คน คือ คเณศ สุจริตกุล และวาเนสซา วรรณกร หรือ วาเนสซ่า เมย์ (นักไวโอลินชื่อดัง) ซึ่งแม้จะไม่ได้เหรียญกลับมา แต่ก็ถือว่าทำให้ทีมชาติไทย ได้ไปร่วมแข่งขันครั้งนี้ ส่วนผลการแข่งขันของนักกีฬาไทย มีดังนี้

  • คเณศ สุจริตกุล ลงแข่งขันสกีลงเขา - ชาย ประเภท ไจแอนท์สลาลม เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ เข้าเส้นชัยเป็นอันดับที่ 65 แข่งทั้งหมด 2 รอบ โดยรอบที่ 2 ทำเวลาได้ 1:37.24 นาที
  • วาเนสซา วรรณกร ลงแข่งขันสกีลงเขา - หญิง ประเภท ไจแอนท์สลาลม เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ เข้าเส้นชัยเป็นอันดับที่ 67 ซึ่งเป็นลำดับสุดท้าย แต่ก็ยังถือว่าเข้าเส้นชัยสำเร็จ เพราะมีนักกีฬาหลายคนที่ไม่สามารถเข้าเส้นชัยได้ วาเนสซา แข่ง 2 รอบ โดยรอบที่ 2 ทำเวลาได้ 1:42.11 นาที

ชนิดกีฬาที่แข่งขัน[แก้]

โอลิมปิกฤดูหนาวในครั้งนี้มีการแข่งขันทั้งหมด 98 ประเภท ใน 7 ชนิดกีฬา (15 สาขา) และในวงเล็บคือจำนวนเหรียญทองของแต่ละรายการ

8 รายการจัดอยู่ในประเภทกีฬาน้ำแข็ง ซึ่งได้แก่ บอบสเล ลุจ สเคเลทัน ฮอกกี้น้ำแข็ง ระบำสเก็ต วิ่งสเก็ตทางยาว วิ่งสเก็ตแทร็คระยะสั้น และเคอลิ่ง 3 รายการจัดอยู่ในประเภทกีฬาสกีและสโนว์บอร์ด ได้แก่ สกีลงเขา ฟรีสไตล์สกี และสโนว์บอร์ด 4 รายการจัดอยู่ในประเภทนอร์ดิก ได้แก่ ไบทลอน มาราธอนสกี สกีกระโดดไกล และสกีผสม[45][46]

ปฏิทินการแข่งขัน[แก้]

OC พิธีเปิด รอบคัดเลือก 1 รอบชิงชนะเลิศ EG รอบการกุศล CC พิธีปิด
กุมภาพันธ์ 2014 6th
พฤ.
7th
ศ.
8th
ส.
9th
อา.
10th
จ.
11th
อ.
12th
พ.
13th
พฤ.
14th
ศ.
15th
ส.
16th
อา.
17th
จ.
18th
อ.
19th
พ.
20th
พฤ.
21st
ศ.
22nd
ส.
23rd
อา.
จำนวน
เหรียญ
ทอง
พิธีการ OC CC
สกีลงเขา 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 10
ไบทลอน 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 11
บอบสเลจ 1 1 1 3
มาราธอนสกี 1 1 2 1 1 1 1 2 1 1 12
เคอลิ่ง 1 1 2
ระบำสเก็ต 1 1 1 1 1 EG 5
ฟรีสไตล์สกี 1 1 1 1 1 1 1 2 1 10
ฮอกกี้น้ำแข็ง 1 1 2
ลุจ 1 1 1 1 4
สกีผสม 1 1 1 3
วิ่งสเก็ตแทร็คระยะสั้น 1 1 2 1 3 8
สเคเลทัน 1 1 2
สกีกระโดดไกล 1 1 1 1 4
สโนว์บอร์ด 1 1 1 1 1 1 2 2 10
วิ่งสเก็ตทางยาว 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 12
จำนวนเหรียญทองแต่ละวัน 5 8 5 8 6 6 6 7 4 5 7 8 6 7 7 3 98
จำนวนเหรียญทองสะสม 5 13 18 26 32 38 44 51 55 60 67 75 81 88 95 98
กุมภาพันธ์ 2014 6th
พฤ.
7th
ศ.
8th
ส.
9th
อา.
10th
จ.
11th
อ.
12th
พ.
13th
พฤ.
14th
ศ.
15th
ส.
16th
อา.
17th
จ.
18th
อ.
19th
พ.
20th
พฤ.
21st
ศ.
22nd
ส.
23rd
อา.
จำนวน
เหรียญ
ทอง

ตารางสรุปเหรียญ[แก้]

      รัสเซีย (เจ้าภาพ)
2014 Winter Olympics medal table
อันดับที่ ประเทศ ทอง เงิน ทองแดง รวม
1 ประเทศรัสเซีย รัสเซีย (RUS) 13 11 9 33
2 ประเทศนอร์เวย์ นอร์เวย์ (NOR) 11 5 10 26
3 ประเทศแคนาดา แคนาดา (CAN) 10 10 5 25
4 สหรัฐ สหรัฐ (USA) 9 7 12 28
5 ประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ (NED) 8 7 9 24
6 สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เยอรมนี (GER) 8 6 5 19
7 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ (SUI) 6 3 2 11
8 สาธารณรัฐเบลารุส เบลารุส (BLR) 5 0 1 6
9 ประเทศออสเตรีย ออสเตรีย (AUT) 4 8 5 17
10 ประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส (FRA) 4 4 7 15

การมอบเงินอัดฉีด[แก้]

  • รัสเซีย ไม่ว่านักกีฬาจะได้เหรียญทอง เหรียญเงิน หรือเหรียญทองแดง จะได้รถยนต์รุ่นใหม่ราคาตามเหรียญรางวัลที่ได้ แต่เนื่องจาก กฎหมายของรัสเซีย บัญญัติไว้ว่า ผู้ที่มีใบขับขี่จะต้องมีอายุมากกว่า 18 ปีบริบูรณ์ แต่นักกีฬาส่วนใหญ่ที่ได้เหรียญรางวัล มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จึงได้แก้ปัญหาโดยจ่ายค่ารถ และค่าใบขับขี่ไปให้เลย นอกจากนี้ยังมีเงินสดให้อีก 4 ล้านรูเบิล หรือเป็นเงินประมาณ 36 ล้านบาท
  • เกาหลีใต้ นักกีฬาที่ได้รับเหรียญรางวัล ไม่ว่าจะเหรียญใดก็ตาม มีสิทธิเลือกว่า จะรับเงินก้อนโต หรือ จะรับเงินทุกเดือนเป็นเวลาตลอดชีวิต

แกลเลอรี่[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Sochi 2014 Reveals its Slogan". Sochi 2014 Olympic and Paralympic Games Organizing Committee. 25 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24. สืบค้นเมื่อ 29 September 2012.
  2. 2.0 2.1 "News". sochi2014.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24. สืบค้นเมื่อ 10 February 2014.
  3. "Vladislav Tretyak and Irina Rodnina lit the Olympic flame at the Fisht Stadium in Sochi". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-31. สืบค้นเมื่อ 4 March 2014.
  4. "Sochi Elected as Host City of XXII Olympic Winter Games, International Olympic Committee". Olympic.org. 4 July 2007. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014.
  5. "Interfax". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-25. สืบค้นเมื่อ 2014-03-10.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  6. Oliphant, Roland (30 October 2013). "Sochi: chaos behind the scenes of world's most expensive Winter Olympics". Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 5 February 2014.
  7. Owen Gibson (9 October 2013). "Sochi 2014: the costliest Olympics yet but where has all the money gone?". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 6 February 2014.
  8. The Waste and Corruption of Vladimir Putin's 2014 Winter Olympics, businessweek, January 02, 2014
  9. "Sochi 2014 Confirms Ability to Self-finance in 2009–10". Sochi2014.com. 2 June 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-06. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014.
  10. ""2014 Winter Olympics Create New Opportunities for U.S. Ag Exporters", from Alla Putiy & Erik W. Hansen" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2014-02-19.
  11. "Sochi 2014 Expects $300 Million Surplus". Gamesbids.com. 14 October 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-31. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014.
  12. Experts analyzed which industries are most interested in Sochi Olympics เก็บถาวร 2007-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Rosbalt.biz, 6 July 2007 (รัสเซีย)
  13. Vancouver Olympics: Embarrassed Russia looks to 2014 Sochi Olympics The Christian Science Monitor, 1 March 2010
  14. Rio Golf Course; Women's World Cup; IOC Nominee for Japan? – No Smoking in Sochi เก็บถาวร 2013-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Around the Rings, 14 July 2011
  15. "Sochi's mixed feelings over Olympics". BBC News. 26 November 2008. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014.
  16. Russian Deputy PM leads Sochi delegation to inspect Munich Olympic Park Inside the Games, 22 May 2010
  17. Madler, Mark (February 24, 2014). "WET Design Runs Rings Around Rivals". San Fernando Business Journal. Los Angles, California: California Business Journals. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-27. สืบค้นเมื่อ February 26, 2014.
  18. "California-based WET makes the waters dance at Sochi". Gizmag. สืบค้นเมื่อ February 26, 2013.
  19. Посмотрели свысока Yugopolis, 16 July 2013
  20. "Sochi 2014 Reveals its Slogan". Sochi 2014 Olympic and Paralympic Games Organizing Committee. 25 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24. สืบค้นเมื่อ 29 September 2012.
  21. "Behind Sochi's Futuristic Logo". The New Yorker. สืบค้นเมื่อ 4 February 2014.
  22. "Russian public to vote for Sochi 2014 mascot". InsideTheGames.biz. สืบค้นเมื่อ 5 February 2014.
  23. "Sochi 2014 chooses three mascots for Olympics as Father Christmas withdraws in row over property rights". InsideTheGames.biz. สืบค้นเมื่อ 5 February 2014.
  24. 24.0 24.1 "Mock mascot loses Olympic race, wins bloggers' hearts". Russia Today. สืบค้นเมื่อ 5 February 2014.
  25. "Mock mascot Zoich masterminded by Sochi 2014 organizers". Russia Today. สืบค้นเมื่อ 5 February 2014.
  26. "Mario & Sonic at the Sochi Winter Games & 3rd Sonic Nintendo Exclusive Revealed". Anime News Network.
  27. "Sochi 2014 Olympic Winter Games". Olympicvideogames.com. สืบค้นเมื่อ 2014-02-12.
  28. "The Sochi Stamp: A Sought-After Olympic Souvenir". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 11 February 2014.
  29. Как строились олимпийские объекты [How the Olympic facilities were built]. Коммерсантъ. Vol. 219. 28 November 2013. p. 1. ISSN 1561-347X.
  30. IOC Head Praises Sochi 2014 เก็บถาวร 2011-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน GamesBids.com, 24 November 2011
  31. by Bing Ads (23 April 2013). "Avaya Official supplyer of network equipment". Slideshare.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-02. สืบค้นเมื่อ 9 December 2013.
  32. "US firm Avaya named as Sochi 2014 network equipment supplier". Insidethegames.biz. 30 November 2011. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014.
  33. "Sochi 2014 Olympic Winter Games" (PDF). Avaya. 2013. สืบค้นเมื่อ 10 December 2013.
  34. "Сочи-2014 выходит на связь". Открытые системы, 2007 (รัสเซีย)
  35. "Инновационное олимпийское телевизионное оборудование впервые в Сочи". Broadcasting.ru. สืบค้นเมื่อ 9 December 2013.
  36. Fiber-optic communications in Olympic SochiMayak Radio, 28 March 2008. เก็บถาวร 2011-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (รัสเซีย)
  37. 37.0 37.1 "Sochi welcomes 2014 Winter Olympics with traditional Russian hospitality". En.itar-tass.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-24. สืบค้นเมื่อ 2014-02-07.
  38. Sochi opens new rail line for 2014 Winter Olympics Inside the Games, 17 February 2012
  39. Runway in Sochi airport will cross the river YuGA.ru, 8 July 2007 (รัสเซีย)
  40. Russia to build 3 reserve airports in country's south by 2009 RIA Novosti, 7 July 2007
  41. "Russia anti-gay law casts a shadow over Sochi's 2014 Olympics". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 29 September 2013.
  42. Sam Sheringham (February 7, 2014). "Sochi 2014: Winter Olympics opens with glittering ceremony". BBC. สืบค้นเมื่อ February 7, 2014.
  43. "Record 88 nations to participate in Winter Games". Global News. Sochi, Russia. Associated Press. 2 February 2014. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
  44. MacKenzie, Eric (16 January 2014). "Sochi Spotlight: Zimbabwe's first Winter Olympian". Pique Newsmagazine. Whistler, British Columbia, Canada. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
  45. "Discover the twelve new winter sports events for Sochi 2014!". Olympic.org. 18 December 2013. สืบค้นเมื่อ 4 February 2014.
  46. "Rogge announces three new disciplines for Sochi 2014". Russia Today. TV-Novosti. 5 July 2011. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

Wikinews
Wikinews
วิกิข่าว มีข่าวเกี่ยวกับบทความ:
2014 Winter Olympics