นักกีฬาผู้ลี้ภัยในโอลิมปิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทีมโอลิมปิกผู้ลี้ภัย
ในโอลิมปิก
นักกีฬาแข่งขันกันภายใต้ธงโอลิมปิก
รหัสประเทศEOR
เหรียญ
ทอง
0
เงิน
0
ทองแดง
0
รวม
0
การเข้าร่วมในกีฬาฤดูร้อน

นักกีฬาผู้ลี้ภัยในโอลิมปิก หรือ ทีมโอลิมปิกผู้ลี้ภัย (อังกฤษ: Refugee Olympic Team at the Olympics) เป็นกลุ่มที่ประกอบด้วยผู้เข้าร่วมโอลิมปิกอิสระซึ่งเป็นผู้ลี้ภัย ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) โทมัส บัค ได้ประกาศจัดตั้งทีมนักกีฬาโอลิมปิกผู้ลี้ภัย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความหวังสำหรับผู้ลี้ภัยทุกคนในโลก และสร้างความตระหนักรู้ทั่วโลกเกี่ยวกับวิกฤตผู้อพยพในยุโรป ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 ไอโอซีได้จัดตั้งมูลนิธิผู้ลี้ภัยโอลิมปิกขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในระยะยาว[1][2]

ธงโอลิมปิก และ เพลงสดุดีโอลิมปิก ป็นสัญลักษณ์ของทีมดังกล่าว นักกีฬาที่เข้าร่วมเดินขบวนในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 โดยทีมเข้าสู่สนามในฐานะคณะผู้แทนทีมสุดท้ายก่อนถึงประเทศเจ้าภาพ ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ทีมได้เข้าสู่สนามเป็นอันดับสองรองจากกรีซ

ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ทีมใช้รหัสประเทศของคณะกรรมการโอลิมปิกสากลคือ ROT แต่ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ได้เปลี่ยนเป็น EOR ย่อมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า Équipe olympique des réfugiés ในปี ค.ศ. 2022 ไม่มีนักกีฬาโอลิมปิกผู้ลี้ภัยเข้าร่วมใน โอลิมปิกฤดูหนาว

ทีมได้รับรางวัล Princess of Asturias Award ประจำปี ค.ศ. 2022 สาขากีฬา จากการเปิดโอกาสให้นักกีฬาในเขตความขัดแย้ง และสถานที่ที่สิทธิมนุษยชนถูกละเมิด ทำให้ไม่สามารถแสดงกิจกรรมกีฬาและกิจกรรมส่วนตัวของพวกเขาได้[3]

การเข้าร่วม[แก้]

กลุ่มนักกีฬานี้ได้รับการกำหนดขึ้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2016 เกณฑ์การคัดเลือกประกอบด้วยระดับกีฬา สถานะผู้ลี้ภัยอย่างเป็นทางการที่ตรวจสอบโดย สหประชาชาติ สถานการณ์ส่วนบุคคล และภูมิหลังของนักกีฬาแต่ละคน

โอลิมปิกฤดูร้อน 2016[แก้]

นักกีฬา ประเทศต้นทาง ประเทศเจ้าบ้าน ขนิดกีฬา รายการ
เจมส์ เชียงเจียก  ซูดานใต้  เคนยา กรีฑา 400 ม.
ยีช บีล  ซูดานใต้  เคนยา กรีฑา 800 ม.
เปาโล โลโคโร  ซูดานใต้  เคนยา กรีฑา 1,500 เมตร
โยนาส คินเด  เอธิโอเปีย  ลักเซมเบิร์ก กรีฑา มาราธอน
โปโปเล มิเซนก้า  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  บราซิล ยูโด 90 กก.
รามี อานิส  ซีเรีย  เบลเยียม ว่ายน้ำ ผีเสื้อ 100 เมตร
โรส โลคอนเยน  ซูดานใต้  เคนยา กรีฑา 800 ม.
แองเจลิน่า โลฮาลิธ  ซูดานใต้  เคนยา กรีฑา 1,500 เมตร
โยลันเด้ มาบิกา  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  บราซิล ยูโด 70 กก.
ยูสรา มาร์ดินี่  ซีเรีย  เยอรมนี ว่ายน้ำ ท่าผีเสื้อ 100 เมตร

อ้างอิง[แก้]

  1. "IOC Refugee Olympic Team". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 24 July 2021.
  2. "Refugee Olympic Team to Shine Spotlight On Worldwide Refugee Crisis". International Olympic Committee. 3 มิถุนายน 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2016.
  3. "Refugee Olympic team awarded prestigious Spanish prize". The Washington Post. 25 May 2022. สืบค้นเมื่อ 2 June 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]