กีฬากระโดดน้ำในโอลิมปิกฤดูร้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬากระโดดน้ำในโอลิมปิกฤดูร้อน
สัญลักษณ์กีฬากระโดดน้ำ
หน่วยงานฟีน่า
รายการ8 (ชาย: 4; หญิง: 4)
การแข่งขัน

กีฬากระโดดน้ำในโอลิมปิก เป็นชนิดกีฬาที่จัดแข่งขันหลักในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน กีฬากระโดดน้ำถูกบรรจุในโอลิมปิกเป็นครั้งแรก ในปี 1904 ที่เซนต์หลุยส์ สหรัฐอเมริกา มีสองรายการและเป็นประเภทชายทั้งสิ้น ได้แก่

  • การกระโดดน้ำจากชานกระโดด (Platform)
  • การแข่งขันดำน้ำระยะไกล (Plunge for distance) เป็นการกระโดดลงไปในน้ำแล้วดำไปให้ไกลกว่าคู่แข่งคนอื่นๆ ซึ่งผู้ชมจะไม่ได้เห็นอะไรเลย เพราะนักกีฬาอยู่ใต้น้ำ ทำให้ถูกถอดออกจากกีฬาโอลิมปิกทันที
  • การกระโดดน้ำจากกระดานสปริงบอร์ดเข้าสู่โอลิมปิกในครั้งแรกในโอลิมปิกที่กรุงลอนดอน ปี 1908
  • ประเภทหญิงนั้นเริ่มที่แพล็ตฟอร์มก่อน ในปี 1912 ที่กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน แล้วในโอลิมปิกครั้งที่ 7 ในปี 1920 ที่เมืองแอนท์เวิร์ป ประเทศเบลเยี่ยม จึงมีรายการสปริงบอร์ด ต่อมาการกระโดดน้ำมีการพัฒนาท่าทางต่างๆเพิ่มมากขึ้น ด้วยเทคนิคการพับตัว ม้วนตัว ตลอดจนการตีลังกาหลายตลบ ซึ่งก็เป็นช่วงที่นักกระโดดน้ำจากสหรัฐอเมริกา เริ่มเข้ามาช่วงชิงความเป็นจ้าวในกีฬากระโดดน้ำจากสวีเดนและเยอรมนีไป และครอบครองไว้จนถึงยุคปี 1980 ก่อนที่ดารานักกระโดดน้ำจากจีนจะฉายแสงแทนที่

นับตั้งแต่ปี 1924 จนถึงปัจจุบัน กระโดดน้ำไม่ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบในการแข่งขันไปเลย จนกระทั่งโอลิมปิกครั้งที่ 27 ที่ เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย มีการเพิ่มรายการกระโดดน้ำคู่เข้าไปด้วย เรียกว่า ซิงโครไนซ์ ไดวิ่ง (Synchronized Diving) เป็นการกระโดดน้ำเป็นคู่ เหมือนกับการกระโดดน้ำประเภทเดี่ยว แต่นักกระโดดน้ำทั้งสองคนต้องทำทุกอย่างให้พร้อมกัน ตั้งแต่ตำแหน่งที่เริ่มต้นจนกระทั่งถึงท่าจบในการลงสู่พื้นน้ำ

นักกีฬาที่โดดเด่น[แก้]

  • แพท แม็คคอร์มิค (Pat McCormick) ได้เหรียญทองทั้งสองรายการประเภทหญิงทั้งสปริงบอร์ดและแพล็ตฟอร์มจากกีฬาโอลิมปิก 2 ครั้งซ้อน ที่เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ปี 1952 และที่เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ปี 1956 โดยเฉพาะที่เมลเบิร์นนั้น เธอได้รับชันชนะหลังจากคลอดบุตรได้เพียง 8 เดือนเท่านั้น
  • เกร๊ก ลูกานิส (Greg Louganis) คว้าเหรียญทองจากทั้งสองรายการ จากโอลิมปิก 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 23 ที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา ปี 1984 และ ที่โซล ประเทศเกาหลีใต้ ปี 1988 ซึ่งที่โซลนั้นเขาได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุศีรษะฟาดกับขอบกระดานในระหว่างการแข่งขันรายการสปริงบอร์ด ทำให้ต้องไปทำการเย็บแผลก่อนที่จะกลับมาแข่งต่อรอบแรกจนจบ และในรอบชิงชนะเลิศเขาสามารถทำคะแนนไล่จนทันและในที่สุดก็แซงเอาชนะคู่แข่งไปได้ ในภายหลังมีการเปิดเผยว่าเขาติดเชื้อ HIV

สรุปเหรียญกีฬากระโดดน้ำในโอลิมปิกตลอดกาล[แก้]

อันดับที่ ประเทศ ทอง เงิน ทองแดง รวม
1 สหรัฐ สหรัฐ (USA) 49 42 44 135
2 ประเทศจีน จีน (CHN) 33 17 9 59
3 ประเทศสวีเดน สวีเดน (SWE) 6 8 7 21
4 ประเทศรัสเซีย รัสเซีย (RUS) 4 8 6 18
5 สหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต (URS) 4 4 6 14
6 ประเทศอิตาลี อิตาลี (ITA) 3 4 2 9
7 ประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย (AUS) 3 3 6 12
8 ทีมรวมเยอรมนี เยอรมนี (EUA) 3 1 0 4
9 ประเทศเยอรมนี เยอรมนี (GER) 2 8 10 20
10 สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี เยอรมนีตะวันออก (GDR) 2 2 3 7
11 ประเทศเม็กซิโก เม็กซิโก (MEX) 1 6 6 13
12 ประเทศแคนาดา แคนาดา (CAN) 1 4 6 12
13 ประเทศเชโกสโลวาเกีย เชโกสโลวาเกีย (TCH) 1 1 0 2
14 ประเทศเดนมาร์ก เดนมาร์ก (DEN) 1 0 1 2
15 ประเทศกรีซ กรีซ (GRE) 1 0 0 1
16 สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร (GBR) 0 2 5 7
17 ทีมรวมเฉพาะกิจเครือรัฐเอกราช ทีมรวม (EUN) 0 2 1 3
18 ประเทศอียิปต์ อียิปต์ (EGY) 0 1 1 2
19 ประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส (FRA) 0 1 0 1
20 ประเทศยูเครน ยูเครน (UKR) 0 0 2 2
21 ประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย (MAS) 0 0 1 1
รวม 114 114 116 344

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]