โรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การสร้างภาพประสาทอาจเป็นเทคนิคที่มีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคทางจิตเวชต่าง ๆ ร่วมทั้งโรคซึมเศร้า[1]

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่แพทย์วินิจฉัยมากที่สุดโรคหนึ่ง[2][3] และเป็นโรคที่ยังเกิดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในกลุ่มประชากรต่าง ๆ ทั่วโลก[4][5] ในประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว คนอเมริกันเกิดโรค 17.6 ล้านคนทุกปี หรือในอัตราประชากร 1 ใน 6 คนไข้ซึมเศร้าเสี่ยงสูงขึ้นต่อโรคเบาหวานประเภท 2, โรคหลอดเลือดหัวใจ และการฆ่าตัวตาย อีกภายใน 20 ปีข้างหน้า โรคซึมเศร้าคาดว่าจะเป็นเหตุความพิการเป็นอันดับ 2 ของโลกและเป็นอันดับแรกในประเทศที่มีรายได้สูงรวมทั้งสหรัฐอเมริกา ในบางถิ่น 75% ของคนที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ บุคคลนั้นได้ไปหาแพทย์ภายในปีหนึ่งก่อนที่จะเสียชีวิต และ 45-66% ภายในเดือนก่อนเสียชีวิต แต่เพียง 33-41% ได้ติดต่อกับบริการทางสุขภาพจิตภายในปีหนึ่ง และ 20% ภายในเดือนหนึ่ง[6][7][8][9][10]

มีอาการทางจิตเวชและทางการแพทย์หลายอย่างที่เหมือนอาการบางอย่างหรือทั้งหมดของโรคซึมเศร้า หรืออาจจะเกิดร่วมกันกับโรค[11][12][13] การวินิจฉัยโรคไม่ว่าจะเป็นทางจิตเวชหรือทางการแพทย์ทั่วไปที่มีอาการและลักษณะเหมือนกับของอีกโรคหนึ่ง และอาจจะเป็นสาเหตุจริง ๆ ของอาการที่ปรากฏเรียกว่า การวินิจฉัยแยกโรค[14] (อังกฤษ: differential diagnosis)[15] โรคจิตเวชหลายอย่างเช่นโรคซึมเศร้าบางครั้งจะวินิจฉัยโดยผู้ทำการที่ไม่ได้ฝึกหัดเพียงพอ[16] และวินิจฉัยอาศัยอาการที่ปรากฏโดยไม่พิจารณาเหตุที่เป็นมูล และบ่อยครั้งไม่ได้วินิจฉัยแยกโรคอย่างเพียงพอ[17][18][19][20][21][22] ตามงานศึกษางานหนึ่ง "ผู้ที่ให้บริการสุขภาพที่ไม่ใช่แพทย์อาจเสี่ยงสูงขึ้นต่อการไม่รู้จักความเจ็บป่วยที่อำพรางในคนไข้ของตน"[23]

การวินิจฉัยผิดพลาดอาจทำให้ไม่ได้การรักษา ได้การรักษาที่ไม่มีผล หรือได้การรักษาที่เป็นอันตรายเพราะอาจทำโรคที่เป็นเหตุให้แย่ลง[24][25] ค่าประเมินอย่างต่ำก็คือ 10% ของอาการโรคจิตอาจมาจากเหตุการแพทย์อื่น ๆ[26] และมีงานศึกษาหนึ่งที่เสนอว่า 50% ของคนที่ป่วยทางจิตขั้นหนัก "มีภาวะทางการแพทย์ทั่วไปที่โดยมากไม่ได้วินิจฉัยและไม่ได้รักษา และอาจเป็นเหตุต่อหรือทำอาการทางจิตเวชให้แย่ลง"[27][28]

มีรายงานข่าวบทความหนึ่งในนิตยสารรายสัปดาห์ Newsweek ที่ผู้เขียนได้การรักษาโรคซึมเศร้าเป็นปี ๆ และใน 10 ปีสุดท้าย อาการของเธอก็แย่ลง มีผลเป็นการพยายามฆ่าตัวตายและเข้าโรงพยาบาลเหตุจิตเวชหลายครั้ง ในที่สุดเมื่อมีการสร้างภาพทางสมองด้วย MRI ก็พบว่ามีเนื้องอกในสมองก้อนหนึ่ง แต่ประสาทแพทย์บอกเธอว่าไม่ใช่เนื้อร้าย แต่หลังจากที่อาการแย่ลง และหลังจากพบประสาทแพทย์อีกคนหนึ่ง เธอก็ผ่าตัดเอาเนื้องอกออก และหลังจากการผ่าตัดนั้น เธอก็ไม่มีอาการ "โรคซึมเศร้า" อีกต่อไป[29]

ภาวะภูมิต้านตนเอง[แก้]

"งานวิจัยล่าสุดเน้นว่า มีอาการทางประสาทมากมายมายหลายหลากที่อาจเป็นอาการไวกลูเตนนอกระบบทางเดินอาหาร โดยมีหรือไม่มีอาการทางลำไส้"[30]
การสร้างภาพทางสมองด้วย MRI แสดงโรคจากไข่พยาธิตัวตืดในประสาท (Neurocysticercosis)

การติดเชื้อ/ปรสิต[แก้]

ในประเทศสหรัฐอเมริกา "เพราะการเพิ่มขึ้นของโรคไลม์อย่างรวดเร็วทั่วประเทศ และความจำเป็นต้องได้การรักษาโดยยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันความเสียหายทางประสาทอย่างรุนแรง มืออาชีพทางสุขภาพจิตพึงสำนึกถึงอาการที่อาจปรากฏเป็นโรคทางจิตเวชของมัน"[37]
  • ซิฟิลิส เป็นโรคที่ความชุกยังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นโรคอีกอย่างหนึ่งที่เป็น "นักเลียนแบบผู้ยิ่งใหญ่" และถ้าไม่ได้รักษาอาจกลายเป็นซิฟิลิสประสาท (neurosyphilis) และมีผลต่อสมอง และปรากฏโดยเป็นอาการทางประสาท-จิตเวชเพียงเท่านั้น
"กรณีนี้เน้นว่า ซิฟิลิสประสาทจะต้องพิจารณาเมื่อวินิจฉัยแยกโรคเมื่อพบอาการหรือโรคทางจิตเวช เนื่องจากปัจจุบันมีข้อมูลทางระบาดวิทยาที่ไม่สมบูรณ์และปัญหาในการวินิจฉัยซิฟิลิส การตรวจคัดกรองเป็นกิจวัตร (routine screening) ในสาขาจิตเวชเป็นเรื่องจำเป็น"[38]
"แม้โรคจากไข่พยาธิตัวตืดจะเป็นโรคประจำถิ่นในลาตินอเมริกา แต่ก็เป็นโรคที่กำลังชุกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในสหรัฐอเมริกา"[40]
"อัตราความซึมเศร้าของผู้ที่มี NCC สูงกว่าในกลุ่มประชากรปกติ"[41]
  • Toxoplasmosis เป็นโรคจากการติดโพรโทซัว Toxoplasma gondii ที่เข้าไปอยู่ในเซลล์ โดยมนุษย์สามารถติดได้ผ่าน 3 วิธี คือ ทานซีสต์ที่อยู่ในเนื้อ (tissue cysts) ทาน oocysts หรือการติดโพรโทซัวในระยะ tachyzoites ในมดลูกแม่ วิธีหลักอย่างหนึ่งที่มนุษย์ติดโรคก็คือถูกอุจจาระของสัตว์ถูกเบียน เช่น แมวบ้าน[42] มนุษย์ในโลกประมาณ 30% ติดเชื้อประเภทนี้ แต่มีส่วนน้อยที่อาการโรคปรากฏในระดับคลินิก การติดโพรโทซัวโดยไม่มีอาการของโรค Toxoplasmosis แต่ตรวจเจอในเลือด พิสูจน์แล้วว่า สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมหลายอย่างของมนุษย์ และเป็นเหตุโรคซึมเศร้าในบางกรณี[43][44] นอกจากนั้นแล้ว งานศึกษายังสัมพันธ์การตรวจเจอโรคในเลือด กับอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้น[45]
  • ไวรัสเวสต์ไนล์ (WNV) ซึ่งสามารถทำให้สมองอักเสบ (encephalitis) รายงานว่าเป็นเหตุของอาการซึมเศร้า 31% ของคนที่ติดเชื้อในงานศึกษาที่ทำในเมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส แล้วรายงานไปยังศูนย์ควบคุมโรค (CDC) ตัวนำโรคของมนุษย์หลักก็คือ ยุงหลายชนิด[46][47] WNV เป็นโรคประจำถิ่นของยุโรปใต้ แอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย[48] ซึ่งระบุเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาในปี 2542 ระหว่างปี 2542-2549 มีคนไข้ที่ติดโรค 20,000 คนแบบมีอาการที่ได้ยืนยันแล้วรายงานในสหรัฐอเมริกา โดยประเมินว่าอาจมีคนติดเชื้อถึง 1 ล้านคน
"WNV เป็นเหตุสมองอักเสบเหตุไวรัสแบบระบาดที่สามัญที่สุดในสหรัฐอเมริกา และจะคงยืนเป็นเหตุสำคัญของโรคทางประสาทในอนาคตที่ยังมองเห็นได้"[49]

โรคเลือด[แก้]

กลุ่มอาการล้าเรื้อรังเหตุไวรัส[แก้]

ชาวอเมริกันระหว่าง 1-4 ล้านคนเชื่อว่ามี กลุ่มอาการล้าเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome ตัวย่อ CFS) แต่ว่ามีเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ปรึกษาแพทย์เพราะอาการ นอกจากนั้นแล้ว บุคคลที่มีอาการ CFS บ่อยครั้งมีความผิดปกติทางการแพทย์หรือทางจิตเวชอื่น ๆ ที่ไม่ได้วินิจฉัย เช่น โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ หรือการเสพสารเสพติด (substance abuse) ในอดีต CFS เคยพิจารณาว่าเป็นโรคที่ออกอาการทางกายเหตุจิตใจ (psychosomatic) แต่ปัจจุบันพิจารณาว่าเป็นโรคทางกายจริง ๆ ซึ่งถ้าได้วินิจฉัยและการรักษาที่ทันการสามารถช่วยบรรเทาหรือแก้อาการทั้งหมด[54] แต่บ่อยครั้งวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคซึมเศร้า[55] แต่ปรากฏความแตกต่างที่อัตราการเดินโลหิตในสมอง (cerebral blood flow)[56]

ในบรรดาคนที่เป็นโรค 80% จะไม่ได้การวินิจฉัย และบ่อยครั้งได้วินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคซึมเศร้า[57]

โรคเกี่ยวกับการดูดซึมอาหาร[แก้]

"การดูดซึมฟรักโทสผิดปกติอาจมีบทบาทต่อการเกิดอารมณ์ซึมเศร้า (ดังนั้น) การดูดซึมฟรักโทสผิดปกติควรจะพิจารณาในคนไข้ที่มีโรคซึมเศร้า"[59]
"การลดฟรักโทสและซอร์บิทอลในอาหารของคนไข้ที่ดูดซึมฟรักโทสผิดปกติ ไม่เพียงแต่ลดอาการทางเดินอาหาร แต่ยังปรับอารมณ์และอาการเบื้องต้นของความซึมเศร้าอีกด้วย"[60]

โรคระบบต่อมไร้ท่อ[แก้]

การทำงานผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่ออาจทำให้เกิดอาการทางประสาท-จิตเวชต่าง ๆ เช่น ความผิดปกติของการทำงานในส่วนสมองแกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัล (HPA) และแกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-ไทรอยด์ (HPT) ปรากฏในคนไข้โรคซึมเศร้าบางส่วน[61]

แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ (CPG-MDD-GP) ปี 2553 ของกรมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยสรุปโรคที่อาจเป็นในหมวดนี้ว่า disorder of cortisol, thyroxin orparathormone production คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ[50], และ hypopituitarism[62]

ความผิดปกติของ HPT and HPA axes ที่พบในคนไข้โรคซึมเศร้า
(Musselman DL, Nemeroff CB. 1996)
ความผิดปกติของ HPT axes:
  • การตอบสนองต่อ thyrotropin-releasing hormone (TRH) โดยการหลั่ง thyroid-stimulating hormone (TSH) ที่ผิดปกติ
  • อัตรา antithyroid antibodies ที่สูงผิดปกติ
  • ระดับความเข้มข้นที่สูงขึ้นของ TRH ในน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (CSF)

ความผิดปกติของ HPA axes:

ต่อมหมวกไต[แก้]

"Addison's disease ที่มีอาการทางจิตเวชในระยะเบื้องต้นมักจะมองข้ามและวินิจฉัยผิด"[63]
  • กลุ่มอาการคุชชิง (Cushing's Syndrome หรือ hypercortisolism) เป็นโรคระบบต่อไร้ท่อที่ผลิตฮอร์โมนกลุ่มสเตอรอยด์ คือ cortisol เกิน ถ้าไม่ใช่กำลังใช้ยาสเตอรอยด์อยู่ จะมีเหตุมาจากเนื้องอกในต่อมใต้สมองหรือต่อมหมวกไต หรือในกรณีที่น้อยกว่า จากเนื้องอกที่หลั่ง ectopic hormone ความซึมเศร้าเป็นลักษณะที่สามัญของคนไข้และบ่อยครั้งจะดีขึ้นเมื่อได้รักษาเหตุของโรค[64]

ต่อมไทรอยด์และพาราไทรอยด์[แก้]

ตำแหน่งของต่อมไทรอยด์และพาราไทรอยด์หน้ากล่องเสียง
  • โรคคอพอกตาโปน เป็นโรคภูมิต้านตนเองที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป มีผลเป็นอาการไฮเปอร์ไทรอยด์และโรคไทรอยด์เป็นพิษ (thyrotoxicosis)
  • Hashimoto's thyroiditis (ต่อไทรอยด์อักเสบแบบภูมิต้านตนเอง หรือเรียกอีกอย่างว่า chronic lymphocytic thyroiditis) เป็นภาวะภูมิต้านตนเองซึ่งต่อมไทรอยด์ค่อย ๆ ถูกทำลายโดยเซลล์และสารภูมิต้านทาน ที่อำนวยโดยระบบภูมิคุ้มกัน และสัมพันธ์กับสารภูมิต้านตนเอง คือ thyroid peroxidase และ thyroglobulin[65]
  • Hashitoxicosis
  • ภาวะไทรอยต์ฮอร์โมนน้อย (Hypothyroidism)
  • ภาวะไทรอยต์ฮอร์โมนเกิน (Hyperthyroidism)
  • ภาวะพาราไทรอยต์ฮอร์โมนเกิน (Hypoparathyroidism) สามารถมีผลต่อภาวะธำรงดุลของแคลเซียม มีกรณีโรคซึมเศร้าที่หายโดยสิ้นเชิงเมื่อให้อาหารเสริมคือแคลเซียม ซึ่งเป็นโรคเหตุ Hypoparathyroidism โดยส่วนเดียว[66]

เนื้องอกในต่อมหมวกไต[แก้]

เนื้องอกในต่อมหมวกไตค่อนข้างจะสามัญในกลุ่มประชากรทั่วไปโดยมีค่าประเมินสูงถึง 25%[67] เนื้องอกโดยมากพิจารณาว่าไม่ร้าย และเป็นสิ่งที่พบโดยบังเอิญเมื่อชันสูตรศพหรือเมื่อสร้างภาพสมอง ซึ่งจะเรียกเนื้องอกว่า incidentaloma แต่ว่าแม้ในกรณีที่ไม่ร้าย เนื้องอกในต่อมหมวกไตอาจมีผลต่อการรู้คิด พฤติกรรม และอารมณ์[68][69] เนื้องอกต่อม (microadenoma) ที่เล็กกว่า 10 มม. โดยทั่วไปพิจารณาว่าไม่ร้าย แต่ว่าการมีเนื้องอกเช่นนี้มีหลักฐานว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย[70][71]

"...มีคนไข้ที่มีโรคต่อหมวกไต แต่วินิจฉัยและรักษาเป็นโรคซึมเศร้าที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา"[72]

ตับอ่อน[แก้]

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ การผลิตอินซูลินเกินเป็นเหตุให้ระดับกลูโคสในเลือดลดลง ในงานศึกษาคนไข้ที่กำลังฟื้นสภาพจากความบาดเจ็บในปอดแบบฉับพลันในห้องไอซียู คนไข้ที่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเมื่อยังอยู่ใน รพ. มีอัตราความซึมเศร้าที่สูงขึ้น[73]

โรคทางประสาท[แก้]

แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ (CPG-MDD-GP) ปี 2553 ของกรมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยสรุปโรคที่อาจเป็นในหมวดนี้ว่า โรคพาร์คินสัน, โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง, เนื้องอกในสมอง (meningioma), ความบาดเจ็บทางประสาท (trauma), ลูปัสขึ้นสมอง[50], โรคสมองเสื่อม[74], โรคลมชักส่วนสมองกลีบขมับที่อยู่ในระหว่างชัก (interictal phase)[75], โรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนหน้าและซีกซ้าย จะเกิดภายในสองปีหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง, โรคเนื้องอกสมองส่วนกลีบขมับและ diencephalon[76]

เนื้องอกในระบบประสาทกลาง[แก้]

นอกจากเนื้องอกที่ต่อมหมวกไตแล้ว เนื้องอกในส่วนต่าง ๆ ของระบบประสาทกลางอาจเป็นเหตุอาการซึมเศร้า และเป็นเหตุให้ได้วินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า[29][77]

กลุ่มอาการหลังสมองถูกกระแทก[แก้]

Post-concussion syndrome (กลุ่มอาการหลังสมองถูกกระแทก ตัวย่อ PCS), เป็นอาการที่อาจมีเป็นอาทิตย์ ๆ เดือน ๆ หรือปี ๆ หลังจากการกระแทกกระเทือน (concussion) โดยมีอัตราความชุกที่ 38-80% ในการบาดเจ็บทางสมองขั้นอ่อน แต่ก็อาจเกิดขึ้นด้วยในขั้นปานกลางและรุนแรง[78] ถ้ามีอาการจากการถูกระแทกเกินกว่า 3-6 เดือน (ขึ้นอยู่กับเกณฑ์วินิจฉัย) หลังจากการบาดเจ็บ ก็จะผ่านเกณฑ์วินิจฉัยที่เรียกว่าเป็น persistent postconcussive syndrome (PPCS)[79][80][81][82][83] ในงานศึกษาความชุกของกลุ่มอาการหลังสมองถูกกระแทกในคนไข้ที่เป็นโรคซึมเศร้าโดยใช้แบบวัด British Columbia Postconcussion Symptom Inventory พบว่า "คนไข้ประมาณ 9 ใน 10 คนที่เป็นโรคซึมเศร้าผ่านเกณฑ์วินิจฉัยที่รายงานเองแบบหลวม ๆ ว่ามีกลุ่มอาการหลังสมองถูกกระแทก และมากกว่า 5 ใน 10 คน ผ่านเกณฑ์แบบเข้ม" แต่ว่าอัตราที่รายงานเองเช่นนี้สูงกว่าที่ได้จากการสอบสวนทางคลินิกตามแผนอย่างสำคัญ กลุ่มควบคุมที่ปกติก็รายงานอาการของ PCS เช่นกัน เทียบกับกลุ่มที่สืบหาบริการทางจิต มีข้อขัดแย้งอย่างพอสมควรในการวินิจฉัย PCS โดยส่วนหนึ่งก็เพราะผลทางการแพทย์-ทางกฎหมาย และผลทางการเงินที่มาจากการได้วินิจฉัยเช่นนี้[84]

การวินิจฉัยแยกโรค PBA และโรคซึมเศร้า

Pseudobulbar affect[แก้]

Pseudobulbar affect (PBA) เป็นกลุ่มอาการยับยั้งการแสดงอารมณ์ไม่ได้ ที่มักจะไม่รู้จักในสถานรักษาพยาบาลและดังนั้นบ่อยครั้งจะไม่ได้การรักษาเพราะไม่รู้อาการของโรค และอาจได้วินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคซึมเศร้า[85] โดยอาจเกิดเป็นภาวะของโรคประสาทเสื่อมอย่างอื่น ๆ เช่น amyotrophic lateral sclerosis และอาจเกิดจากการบาดเจ็บทางสมองได้ด้วย PBA กำหนดโดยการหัวเราะและร้องไห้อย่างควบคุมไม่ได้และไม่สมควร โดยมีอัตราชุกที่สูงโดยประเมินว่ามีคนเป็น 1.5-2 ล้านคนในประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว[86]

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง[แก้]

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมเรื้อรังที่ปลอกไมอีลินของเซลล์ในสมองและไขสันหลังเกิดความเสียหายอย่างฟื้นคืนไม่ได้ อาการซึมเศร้าเป็นเรื่องสามัญมากสำหรับคนไข้ที่มีโรคทุกระยะและอาจแย่ลงด้วยการรักษาโรค ที่เด่นที่สุดก็คือการรักษาด้วยอินเตอร์เฟียรอนแบบ beta-1a[87]

พิษต่อประสาท[แก้]

สารหลายประเภทมีหลักฐานว่า มีพิษต่อระบบประสาท และหลายอย่างอาจเป็นเหตุเกิดโรคซึมเศร้า

การสูบบุหรี่[แก้]

มีงานวิจัยที่แสดงสหสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่กับความซึมเศร้า งานเร็ว ๆ นี้งานหนึ่งแสดงว่า การสูบบุหรี่อาจเป็นเหตุเกิดความซึมเศร้าโดยตรง[88] และก็มีงานศึกษาหลายงานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่ กับความคิดและความพยายามฆ่าตัวตาย[89][90]

ในงานศึกษานาง/บุรุษพยาบาล ผู้ที่สูบบุหรี่ระหว่าง 1-24 ม้วนต่อวันมีโอกาสเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงกว่าถึง 2 เท่า ถ้าสูบมากกว่า 25 ม้วน มีโอกาสเสี่ยงสูงกว่า 4 เท่า เทียบกับผู้ที่ไม่ได้สูบ[91][92] ในงานศึกษาทหารบกสหรัฐชายจำนวน 300,000 นาย มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการฆ่าตัวตายกับการสูบบุหรี่โดยผู้ที่สูบมากกว่า 1 ซองต่อวัน มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่า 2 เท่าเทียบกับผู้ที่ไม่สูบ[93]

ความสัมพันธ์ระหว่างความซึมเศร้าเหตุสูบบุหรี่ กับการฆ่าตัวตาย
"การสูบบุหรี่ในปัจจุบันทุกวัน แต่ไม่ใช่การสูบบุหรี่ในอดีต พยากรณ์การเกิดความคิดหรือความพยายามฆ่าตัวตายต่อมา ๆ"[94]

"อย่างไรก็ดี ดูไม่ชาญฉลาดที่จะปฏิเสธโอกาสว่า การสูบบุหรี่อาจเป็นปัจจัยล่วงหน้าอย่างหนึ่งที่สัมพันธ์กับการเกิดขึ้นของโรคซึมเศร้า"[95]

"การอดบุหรี่เป็นระยะเวลายาวอาจสัมพันธ์กับการลดอาการความซึมเศร้า"[96]

"อย่างไรก็ดี แบบจำลองการเหนี่ยวนำความเครียดของการสูบบุหรี่แสดงว่า การสูบบุหรี่เป็นเหตุของความเครียดและผลลบที่เกิดด้วยกัน"[97]

ยา[แก้]

ยาหลายอย่างสงสัยว่าเป็นเหตุเกิดความซึมเศร้า ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "organic mood syndrome" ยาบางกลุ่มดังเช่นที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูง รู้กันมานานเป็นทศวรรษ ๆ แล้วว่า มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนกับการเกิดความซึมเศร้า[98]

การดูแลสอดส่องผู้ที่ใช้ยาที่มีหลักฐานว่าสัมพันธ์กับความซึมเศร้าบ่อยครั้งเป็นเรื่องจำเป็น รวมทั้งการพิจารณาเรื่องนี้เมื่อวินิจฉัยโรคด้วย[99]

  • Tretinoin (Retin-A) ยาทาเฉพาะแห่ง ทำมาจากวิตามินเอ ใช้รักษาอาการหลายอย่าง เช่น เป็นยาทาสิว แต่แม้ว่าจะทาผิวข้างนอก แต่ก็อาจจะดูดซึมเข้าไปในเลือดแล้วข้ามส่วนกั้นเลือด-สมองเข้าไปได้ ในที่ที่มันอาจจะมีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxic)[100]
  • อินเตอร์เฟียรอน เป็นโปรตีนที่ผลิตในร่างกายมนุษย์ มี 3 อย่างที่ระบุแล้วคือแบบ แอลฟา บีตา และแกมมา มีแบบสังเคราะห์ที่ใช้เป็นยาเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ เช่นการใช้อินเตอร์เฟียรอน-แอลฟาเพื่อรักษาโรคมะเร็ง และตับอักเสบซี และทุกแบบอาจเป็นเหตุความซึมเศร้าหรือความคิดพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย[101]
  • ยาคุมกำเนิด ชนิด steroidal, reserpine, α-methyldopa[51]
  • ยารักษาโรคจิตกลุ่ม phenothiazine, แทลเลียม, ปรอท, cycloserine, และ vincristine[51]
  • ยาแก้ความดัน และ corticosteroids ในผู้สูงอายุ[102]

ภาวะที่กำลังถอน[แก้]

การได้รับสาร Organophosphate บ่อย ๆ[แก้]

การได้รับสาร organophosphate บ่อย ๆ (chronic exposure) อาจมีผลเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ การคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตาย ความพิการทางการรู้คิด และการอ่อนเปลี้ยเรื้อรัง[105] organophosphate เป็นเอสเทอร์ต่าง ๆ ของกรดฟอสฟอริก สารเคมี-ชีวภาพที่สำคัญที่สุดหลายอย่างเป็น organophosphate รวมทั้ง ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ cofactor ที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต แต่ organophosphate ก็ยังเป็นส่วนของยาฆ่าแมลงและสารกำจัดวัชพืชด้วย องค์กรป้องกันสิ่งแวดล้อมสหรัฐกำหนด organophosphate ว่ามีพิษในระดับสูงต่อผึ้ง สัตว์ป่า และมนุษย์[106]

โรคทางประสาท-จิตเวช[แก้]

โรคอารมณ์สองขั้ว[แก้]

  • โรคอารมณ์สองขั้วบ่อยครั้งวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคซึมเศร้า และดังนั้นจะรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้าอย่างเดียวซึ่งนอกจากไม่ได้ผลแล้ว บางครั้งยังเป็นข้อห้ามใช้อีกด้วยเพราะสามารถทำอาการเกือบฟุ้งพล่าน (hypomania) อาการฟุ้งพล่าน (mania) หรือการกลับขั้วไปมาของโรคให้แย่ลง[107][108]

จนถึงบัดนี้ก็ยังถกเถียงกันว่า นี่ควรจะวินิจฉัยเป็นโรคอีกชนิดหนึ่งเหมือนในปัจจุบันหรือไม่ เพราะว่าบุคคลที่วินิจฉัยว่ามีโรคซึมเศร้าบ่อยครั้งประสบกับอาการเกือบฟุ้งพล่าน ซึ่งแสดงว่าโรคที่จัดเป็นสองอย่างอาจจะมีอาการสืบเนื่องกัน[109]

การขาดสารอาหาร[แก้]

สารอาหารมีบทบาทกุญแจสำคัญในการรักษาความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางกายใจ การขาดสารอาหารอาจมีผลอย่างลึกซึ้งต่อสุขภาพจิต ศาสตร์ใหม่ที่กำลังพัฒนาขึ้นคือ ประสาทวิทยาศาสตร์โภชนาการ (Nutritional Neuroscience) ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับการทำงานทางประสาทและสุขภาพจิต

"เราแนะนำให้ทานกรดโฟลิก (800 ไมโครกรัม/วัน) และวิตามินบี12 (1 มิลลิกรัม/วัน) เพื่อทดลองปรับผลการรักษาโรคซึมเศร้า"[111][112]

แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ (CPG-MDD-GP) ปี 2553 ของกรมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยสรุปโรคที่อาจเป็นในหมวดนี้ว่า การขาดกรดโฟลิก, วิตามินบี12, วิตามินบี1 (ไทอามีน), วิตามินบี6[50], nicotinamide (pellagra), โรคโลหิตจางชนิด pernicious[116]

ความผิดปกติในการนอนหลับ[แก้]

  • การนอนไม่หลับบ่อยครั้งเป็นอาการของโรคซึมเศร้า แต่ในบางกรณีก็อาจเป็นตัวจุดชนวนการเกิดโรค[117][118] อาจจะเป็นความผิดปกติแบบชั่วคราว แบบฉับพลัน หรือแบบเรื้อรัง อาจเป็นโรคหลักหรือโรคที่เกิดร่วม (co-morbid)
  • กลุ่มอาการขาไม่อยู่นิ่ง (RLS) หรือเรียกชื่ออื่นว่า Wittmaack-Ekbom's syndrome มีอาการเป็นการอดขยับร่างกายเพื่อหยุดความรู้สึกที่ไม่สบายหรือแปลกไม่ได้ โดยมักจะมีผลต่อขา แต่ก็เกิดที่แขนหรือลำตัวได้เหมือนกัน หรือแม้กับแขนขาที่ถูกตัดออกไปแล้ว[119] เป็นโรคที่สัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า (MDD)
"อัตราส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ปรับแล้ว (Adjusted odds ratio) สำหรับการวินิจฉัย MDD แสดงความสัมพันธ์ที่มีกำลังระหว่าง RLS กับ MDD และ/หรือกับโรคตื่นตระหนก"[120]
  • อาการหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea) เป็นความผิดปกติที่มีการหยุดหายใจชั่วคราวเมื่อกำลังหลับ การหยุดแต่ละครั้ง ซึ่งเรียกว่า การหยุดหายใจ (apnea) จะยาวพอเวลาที่จะหายใจ 1 ครั้งหรือมากกว่านั้น และเกิดซ้ำตลอดวงจรการนอนหลับ โรคที่ไม่ได้วินิจฉัยอาจเป็นเหตุหรือมีส่วนต่อความรุนแรงของความซึมเศร้า[121]
  • ความผิดปกติของการกำหนดการหลับและตื่น (Circadian rhythm sleep disorders) ซึ่งเป็นโรคที่มืออาชีพน้อยคนจะรู้จัก บ่อยครั้งไม่ได้รักษาหรือรักษาไม่ถูกต้อง เช่นวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคนอนไม่หลับหลัก หรือเป็นภาวะของโรคทางจิตเวช[122]

มะเร็ง[แก้]

แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ (CPG-MDD-GP) ปี 2553 ของกรมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยสรุปโรคที่อาจเป็นในหมวดนี้ว่า มะเร็งตับอ่อน (pancreatic carcinoma), มะเร็งปอด (Lung carcinoma)[50]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Bhriain (2005). "Neuroimaging: a new training issue in psychiatry?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-27. สืบค้นเมื่อ 2016-11-28.
  2. Sharp LK, Lipsky MS (September 2002). "Screening for depression across the lifespan: a review of measures for use in primary care settings". American Family Physician. 66 (6): 1001–8. PMID 12358212.
  3. Torzsa P, Szeifert L, Dunai K, Kalabay L, Novák M (September 2009). "A depresszió diagnosztikája és kezelése a családorvosi gyakorlatban". Orvosi Hetilap. 150 (36): 1684–93. doi:10.1556/OH.2009.28675. PMID 19709983.
  4. College Students Exhibiting More Severe Mental Illness, Study Finds
  5. Lambert, KG (2006). "Rising rates of depression in today's society: Consideration of the roles of effort-based rewards and enhanced resilience in day-to-day functioning". Neuroscience & Biobehavioral Reviews. 30 (4): 497–510. doi:10.1016/j.neubiorev.2005.09.002. PMID 16253328.
  6. Andrew, B. "Depression and Suicide". Medscape.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. González HM; Vega WA; Williams DR; Tarraf W; West BT; Neighbors HW (January 2010). "Depression Care in the United States: Too Little for Too Few". Archives of General Psychiatry. 67 (1): 37–46. doi:10.1001/archgenpsychiatry.2009.168. PMC 2887749. PMID 20048221.
  8. Luoma JB, Martin CE, Pearson JL (June 2002). "Contact with mental health and primary care providers before suicide: a review of the evidence". The American Journal of Psychiatry. 159 (6): 909–16. doi:10.1176/appi.ajp.159.6.909. PMC 5072576. PMID 12042175.
  9. Lee HC, Lin HC, Liu TC, Lin SY (June 2008). "Contact of mental and nonmental health care providers prior to suicide in Taiwan: a population-based study". Canadian Journal of Psychiatry. 53 (6): 377–83. doi:10.1177/070674370805300607. PMID 18616858.
  10. Pirkis J, Burgess P (December 1998). "Suicide and recency of health care contacts. A systematic review". The British Journal of Psychiatry. 173 (6): 462–74. doi:10.1192/bjp.173.6.462. PMID 9926074.
  11. Busko, Marlene. "Adults Admitted to a Mood-Disorder Clinic Are Often Misdiagnosed". MedScape.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  12. Jones DR, Macias C, Barreira PJ, Fisher WH, Hargreaves WA, Harding CM (November 2004). "Prevalence, Severity, and Co-occurrence of Chronic Physical Health Problems of Persons with Serious Mental Illness". Psychiatric Services. 55 (11): 1250–7. doi:10.1176/appi.ps.55.11.1250. PMC 2759895. PMID 15534013.
  13. Felker B, Yazel JJ, Short D (December 1996). "Mortality and medical comorbidity among psychiatric patients: a review". Psychiatric Services. 47 (12): 1356–63. doi:10.1176/ps.47.12.1356. PMID 9117475.
  14. "diagnosis, differential", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, การวินิจฉัยแยกโรค
  15. "differential diagnosis definition". Merriam-Webster's Medical Dictionary. the distinguishing of a disease or condition from others presenting similar symptoms
  16. Klonoff, Elizabeth Adele; Landrine, Hope (1997). Preventing Misdiagnosis of Women: A Guide to Physical Disorders That Have Psychiatric Symptoms (Women's Mental Health and Development) (1st ed.). Sage Publications, Inc. pp. xxi. ISBN 0761900470.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  17. Singh H, Thomas EJ, Wilson L, และคณะ (July 2010). "Errors of Diagnosis in Pediatric Practice: A Multisite Survey". Pediatrics. 126 (1): 70–9. doi:10.1542/peds.2009-3218. PMC 2921702. PMID 20566604.
  18. Margolis, RL (1994). "Nonpsychiatrist house staff frequently misdiagnose psychiatric disorders in general hospital inpatients". Psychosomatics. 35 (5): 485–91. doi:10.1016/S0033-3182(94)71743-6. PMID 7972664.
  19. Oyebode, Femi (2006). "Clinical errors and medical negligence". Advances in Psychiatric Treatment. Royal College of Psychiatrists. 12 (3): 221–227.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  20. Scheinbaum, BW (1979). "Psychiatric diagnostic error". Schizophrenia bulletin. 5 (4): 560–3. doi:10.1093/schbul/5.4.560. PMID 515705.
  21. Hall, RC; Popkin, MK; Devaul, RA; Faillace, LA; Stickney, SK (November 1978). "Physical illness presenting as psychiatric disease". Archives of General Psychiatry. 35 (11): 1315–20. doi:10.1001/archpsyc.1978.01770350041003. PMID 568461.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  22. Small GW (December 2009). "Differential Diagnoses and Assessment of Depression in Elderly Patients". The Journal of Clinical Psychiatry. 70 (12): e47. doi:10.4088/JCP.8001tx20c. PMID 20141704.
  23. Grace, GD; Christensen, RC (2007). "Recognizing psychologically masked illnesses: the need for collaborative relationships in mental health care". Primary care companion to the Journal of clinical psychiatry. 9 (6): 433–6. doi:10.4088/pcc.v09n0605. PMC 2139921. PMID 18185822. non-medical mental health care providers may be at increased risk of not recognizing masked medical illnesses in their patients{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  24. Witztum E, Margolin J, Bar-On R, Levy A (1995). "Stigma, labelling and psychiatric misdiagnosis: origins and outcomes". Medicine and Law. 14 (7–8): 659–69. PMID 8668014.
  25. Margolin J, Witztum E, Levy A (June 1995). "Consequences of misdiagnosis and labeling in psychiatry". Harefuah. 128 (12): 763–7, 823. PMID 7557684.
  26. Morrison, J (1997). When Psychological Problems Mask Medical Disorders: A Guide for Psychotherapists. New York: Guilford. ISBN 1-57230-539-8.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  27. Rothbard, AB (2009). "Previously undetected metabolic syndromes and infectious diseases among psychiatric inpatients". Psychiatric Services. 60 (4): 534–537.
  28. Hall RC, Gardner ER, Stickney SK, LeCann AF, Popkin MK (September 1980). "Physical illness manifesting as psychiatric disease. II. Analysis of a state hospital inpatient population". Archives of General Psychiatry. 37 (9): 989–95. doi:10.1001/archpsyc.1980.01780220027002. PMID 7416911.
  29. 29.0 29.1 "Is It Depression--or a Tumor?". 2007-11-21.
  30. Bushara, KO (April 2005). "Neurologic presentation of celiac disease". Gastroenterology. 128 (4 Suppl 1): S92-7. doi:10.1053/j.gastro.2005.02.018. PMID 15825133. However, more recent studies have emphasized that a wider spectrum of neurologic syndromes may be the presenting extraintestinal manifestation of gluten sensitivity with or without intestinal pathology
  31. James, William; Berger, Timothy; Elston, Dirk (2005). Andrews' Diseases of the Skin: Clinical Dermatology (10th ed.). Saunders. ISBN 0-7216-2921-0.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  32. Lupus Disease Activity May Cause, Worsen Depression — Psychiatric Newsby J Arehart-Trechel - 2006 [1] เก็บถาวร มีนาคม 25, 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  33. แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ, Appendix 3, หน้า 52 อ้างอิง Malemud, CJ; Miller, AH (2008). "Pro-inflammatory cytokine-induced SAPK/MAPK and JAK/STAT in rheumatoid arthritis and the new anti-depression drugs". Expert Opin Ther Targets. 12 (2): 171–183. doi:10.1517/14728222.12.2.171.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  34. Fallon BA, Nields JA (November 1994). "Lyme disease: a neuropsychiatric illness". The American Journal of Psychiatry. 151 (11): 1571–83. doi:10.1176/ajp.151.11.1571. PMID 7943444. S2CID 22568915.
  35. Hájek T, Pasková B, Janovská D, และคณะ (February 2002). "Higher prevalence of antibodies to Borrelia burgdorferi in psychiatric patients than in healthy subjects". The American Journal of Psychiatry. 159 (2): 297–301. doi:10.1176/appi.ajp.159.2.297. PMID 11823274.
  36. Fallon BA, Kochevar JM, Gaito A, Nields JA (September 1998). "The underdiagnosis of neuropsychiatric Lyme disease in children and adults". The Psychiatric Clinics of North America. 21 (3): 693–703, viii. doi:10.1016/s0193-953x(05)70032-0. PMID 9774805.
  37. Fallon BA, Nields JA, Parsons B, Liebowitz MR, Klein DF (July 1993). "Psychiatric manifestations of Lyme borreliosis". The Journal of Clinical Psychiatry. 54 (7): 263–8. PMID 8335653.
  38. Friedrich, F; Geusau, A; Greisenegger, S; Ossege, M; Aigner, M (2009). "Manifest psychosis in neurosyphilis". General Hospital Psychiatry. 31 (4): 379–81. doi:10.1016/j.genhosppsych.2008.09.010. PMID 19555800.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  39. García HH, Evans CA, Nash TE, และคณะ (October 2002). "Current consensus guidelines for treatment of neurocysticercosis". Clin. Microbiol. Rev. 15 (4): 747–56. doi:10.1128/CMR.15.4.747-756.2002. PMC 126865. PMID 12364377.
  40. Sorvillo FJ, DeGiorgio C, Waterman SH (February 2007). "Deaths from cysticercosis, United States". Emerging Infectious Diseases. 13 (2): 230–5. doi:10.3201/eid1302.060527. PMC 2725874. PMID 17479884.
  41. Almeida SM, Gurjão SA (February 2010). "Frequency of depression among patients with neurocysticercosis". Arquivos de Neuro-Psiquiatria. 68 (1): 76–80. doi:10.1590/s0004-282x2010000100017. PMID 20339658.
  42. Carruthers VB, Suzuki Y (May 2007). "Effects of Toxoplasma gondii Infection on the Brain". Schizophrenia Bulletin. 33 (3): 745–51. doi:10.1093/schbul/sbm008. PMC 2526127. PMID 17322557.
  43. Henriquez, SA; Brett, R; Alexander, J; Pratt, J; Roberts, CW (2009). "Neuropsychiatric Disease and Toxoplasma gondii Infection". Neuroimmunomodulation. 16 (2): 122–33. doi:10.1159/000180267. PMID 19212132.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  44. Nilamadhab Karl; Baikunthanath Misra (February 2004). "Toxoplasma gondii serpositivity and depression: a case report". BMC Psychiatry. 4 (1): 1. doi:10.1186/1471-244X-4-1. PMC 356918. PMID 15018628.
  45. Yagmur, F; Yazar, S; Temel, HO; Cavusoglu, M (2010). "May Toxoplasma gondii increase suicide attempt-preliminary results in Turkish subjects?". Forensic Science International. 199 (1–3): 15–7. doi:10.1016/j.forsciint.2010.02.020. PMID 20219300.
  46. Murray, KO; Resnick, M; Miller, V (March 2007). "Depression after infection with West Nile virus (Emerg Infect Dis)". สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  47. Berg PJ, Smallfield S, Svien L (April 2010). "An investigation of depression and fatigue post West Nile virus infection". South Dakota Medicine. 63 (4): 127–9, 131–3. PMID 20397375.
  48. Zeller HG, Schuffenecker I (March 2004). "West Nile Virus: An Overview of Its Spread in Europe and the Mediterranean Basin in Contrast to Its Spread in the Americas". European Journal of Clinical Microbiology & Infectious Diseases. 23 (3): 147–56. doi:10.1007/s10096-003-1085-1. PMID 14986160. S2CID 24372103.
  49. Carson PJ, Konewko P, Wold KS, และคณะ (September 2006). "Long‐Term Clinical and Neuropsychological Outcomes of West Nile Virus Infection". Clinical Infectious Diseases. 43 (6): 723–30. doi:10.1086/506939. PMID 16912946.
  50. 50.0 50.1 50.2 50.3 50.4 50.5 50.6 แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ, Appendix 3, หน้า 43 อ้างอิง Krueger, C (2011). "Persistent pro-inflammatory cytokines following the initiation of pegylated IFN therapy in hepatitis C infection is associated with treatment-induced depression". J Viral Hepat. 18 (7): e284-91. doi:10.1111/j.1365-2893.2010.01408.x.
  51. 51.0 51.1 51.2 51.3 แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ, Appendix 3, หน้า 52
  52. "Definition of Anemia". MedicineNet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-23. สืบค้นเมื่อ 2016-11-28.
  53. Onder G, Penninx BW, Cesari M, และคณะ (September 2005). "Anemia is associated with depression in older adults: results from the InCHIANTI study". The Journals of Gerontology. Series A, Biological Sciences and Medical Sciences. 60 (9): 1168–72. doi:10.1093/gerona/60.9.1168. PMID 16183958.
  54. "Chronic Fatigue Syndrome". CDC Centers for Disease Control and Prevention. สืบค้นเมื่อ 2010-07-01.
  55. Griffith JP, Zarrouf FA (2008). "A Systematic Review of Chronic Fatigue Syndrome: Don't Assume It's Depression". Primary Care Companion to the Journal of Clinical Psychiatry. 10 (2): 120–8. doi:10.4088/pcc.v10n0206. PMC 2292451. PMID 18458765.
  56. MacHale SM, Lawŕie SM, Cavanagh JT, และคณะ (June 2000). "Cerebral perfusion in chronic fatigue syndrome and depression". The British Journal of Psychiatry. 176 (6): 550–6. doi:10.1192/bjp.176.6.550. PMID 10974961.
  57. Griffith JP, Zarrouf FA.,2008
  58. Ledochowski M, Widner B, Sperner-Unterweger B, Propst T, Vogel W, Fuchs D (July 2000). "Carbohydrate malabsorption syndromes and early signs of mental depression in females". Digestive Diseases and Sciences. 45 (7): 1255–9. doi:10.1023/A:1005527230346. PMID 10961700. S2CID 25720361.
  59. Ledochowski M, Sperner-Unterweger B, Widner B, Fuchs D (June 1998). "Fructose malabsorption is associated with early signs of mental depression". European Journal of Medical Research. 3 (6): 295–8. PMID 9620891.
  60. Ledochowski M, Widner B, Bair H, Probst T, Fuchs D (October 2000). "Fructose- and Sorbitol-reduced Diet Improves Mood and Gastrointestinal Disturbances in Fructose Malabsorbers". Scandinavian Journal of Gastroenterology. 35 (10): 1048–52. CiteSeerX 10.1.1.491.1764. doi:10.1080/003655200451162. PMID 11099057. S2CID 218909742.
  61. Musselman DL, Nemeroff CB (June 1996). "Depression and endocrine disorders: focus on the thyroid and adrenal system". The British Journal of Psychiatry. Supplement. 168 (30): 123–8. doi:10.1192/S0007125000298504. PMID 8864158.
  62. แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ, Appendix 3, หน้า 52 อ้างอิง Ghigo, E (2005). "Consensus guidelines on screening for hypopituitarism following traumatic brain injury". Brain Injury. 19 (9): 711–724.
  63. Iwata, M; Hazama, GI; Shirayama, Y; Ueta, T; Yoshioka, S; Kawahara, R (2004). "A case of Addison's disease presented with depression as a first symptom". Seishin shinkeigaku zasshi = Psychiatria et neurologia Japonica. 106 (9): 1110–6. PMID 15580869.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  64. Sonino, N (2001). "Psychiatric disorders associated with Cushing's syndrome. Epidemiology, pathophysiology and treatment". University of Padova, Padova, Italy. 15 (1172–7047): 361–73. PMID 11475942.
  65. McLachlan SM, Nagayama Y, Pichurin PN, และคณะ (December 2007). "The Link between Graves' Disease and Hashimoto's Thyroiditis: A Role for Regulatory T Cells". Endocrinology. 148 (12): 5724–33. doi:10.1210/en.2007-1024. PMID 17823263.
  66. Bohrer, T; Krannich, JH (2007). "Depression as a manifestation of latent chronic hypoparathyroidism". World Journal of Biological Psychiatry. 8 (1): 56–9. doi:10.1080/15622970600995146. PMID 17366354.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  67. "Pituitary Macroadenomas". eMedicine.
  68. Meyers CA (1998). "Neurobehavioral functioning of adults with pituitary disease". Psychotherapy and Psychosomatics. 67 (3): 168–72. doi:10.1159/000012277. PMID 9667064. S2CID 46806241.
  69. Ezzat S, Asa SL, Couldwell WT, และคณะ (August 2004). "The prevalence of pituitary adenomas". Cancer. 101 (3): 613–9. doi:10.1002/cncr.20412. PMID 15274075. S2CID 16595581.
  70. Alicja Furgal-Borzycha; และคณะ (October 2007). "Increased Incidence of Pituitary Microadenomas in Suicide Victims". Neuropsychobiology. 55 (3–4): 163–166. doi:10.1159/000106475. PMID 17657169. S2CID 34408650.
  71. Forensic Neuropathology p. 137 By Jan E. Leestma
  72. Weitzner, MA; Kanfer, S; Booth-Jones, M (2005). "Apathy and Pituitary Disease: It Has Nothing to Do With Depression". Journal of Neuropsychiatry. 17 (2): 159–66. doi:10.1176/appi.neuropsych.17.2.159. PMID 15939968. ...patients with pituitary disease were diagnosed and treated for depression and showed little response to the treatment for depression{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  73. Dowdy DW, Dinglas V, Mendez-Tellez PA, และคณะ (October 2008). "Intensive care unit hypoglycemia predicts depression during early recovery from acute lung injury*". Critical Care Medicine. 36 (10): 2726–33. doi:10.1097/CCM.0b013e31818781f5. PMC 2605796. PMID 18766087.
  74. แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ, Appendix 3, หน้า 51
  75. แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ, Appendix 3, หน้า 51 อ้างอิง Briettmann, Regula S; Hopwood, Malcolm J; Jackson, Graeme D (2007). "Major depression in temporal lobe epilepsy with Hippocampal sclerosis: clinical and imaging correlates". J Neurol Neurosurg Psychiatry. 78: 1226–1230.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  76. แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ, Appendix 3, หน้า 51 อ้างอิง Mainio, A (2005). "Depression and functional outcome in patients with brain tumors: a population-based 1-year follow-up study". J Neurosurg. 103: 841–847.
  77. Lahmeyer HW (June 1982). "Frontal lobe meningioma and depression". The Journal of Clinical Psychiatry. 43 (6): 254–5. PMID 7085582.
  78. Rao V, Lyketsos C (2000). "Neuropsychiatric sequelae of traumatic brain injury". Psychosomatics. 41 (2): 95–103. doi:10.1176/appi.psy.41.2.95. PMID 10749946. S2CID 6717589.
  79. McHugh T, Laforce R, Gallagher P, Quinn S, Diggle P, Buchanan L (2006). "Natural history of the long-term cognitive, affective, and physical sequelae of mild traumatic brain injury". Brain and Cognition. 60 (2): 209–211. doi:10.1016/j.bandc.2004.09.018. PMID 16646125. S2CID 53190838.
  80. Legome E. 2006. Postconcussive syndrome. eMedicine.com. Accessed January 1, 2007.
  81. Schnadower D, Vazquez H, Lee J, Dayan P, Roskind CG (2007). "Controversies in the evaluation and management of minor blunt head trauma in children". Current Opinion in Pediatrics. 19 (3): 258–264. doi:10.1097/MOP.0b013e3281084e85. PMID 17505183. S2CID 20231463.
  82. Bigler ED (2008). "Neuropsychology and clinical neuroscience of persistent post-concussive syndrome". Journal of the International Neuropsychological Society. 14 (1): 1–22. doi:10.1017/S135561770808017X. PMID 18078527.
  83. Evans RW (2004). "Post-traumatic headaches". Neurologic Clinics. 22 (1): 237–249. doi:10.1016/S0733-8619(03)00097-5. PMID 15062537.
  84. Iverson GL (May 2006). "Misdiagnosis of the persistent postconcussion syndrome in patients with depression". Archives of Clinical Neuropsychology. 21 (4): 303–10. doi:10.1016/j.acn.2005.12.008. PMID 16797916.
  85. Archiniegas DB, Lauterbach EC, Anderson KE, Chow TW, และคณะ (2005). "The differential diagnosis of pseudobulbar affect (PBA). Distinguishing PBA among disorders of mood and affect. Proceedings of a roundtable meeting". CNS Spectr. 10 (5): 1–16. doi:10.1017/S1092852900026602. PMID 15962457. S2CID 45811704.[2]
  86. Moore SR, Gresham LS, Bromberg MB, Kasarkis EJ, Smith RA (1997). "A self report measure of affective lability". J Neurol Neurosurg Psychiatry. 63 (1): 89–93. doi:10.1136/jnnp.63.1.89. PMC 2169647. PMID 9221973.
  87. R J Siegert; D A Abernethy (2004). "Depression in multiple sclerosis: a review". J Neurol Neurosurg Psychiatry. 76 (4): 469–475. doi:10.1136/jnnp.2004.054635. PMC 1739575. PMID 15774430.
  88. "Smoking Linked to Increased Depression Risk". Medscape. 2010-06-09.
  89. Iwasaki M, Akechi T, Uchitomi Y, Tsugane S (April 2005). "Cigarette Smoking and Completed Suicide among Middle-aged Men: A Population-based Cohort Study in Japan". Annals of Epidemiology. 15 (4): 286–92. doi:10.1016/j.annepidem.2004.08.011. PMID 15780776.
  90. Miller M, Hemenway D, Rimm E (May 2000). "Cigarettes and suicide: a prospective study of 50,000 men". American Journal of Public Health. 90 (5): 768–73. doi:10.2105/AJPH.90.5.768. PMC 1446219. PMID 10800427.
  91. Hemenway D, Solnick SJ, Colditz GA (February 1993). "Smoking and suicide among nurses". American Journal of Public Health. 83 (2): 249–51. doi:10.2105/AJPH.83.2.249. PMC 1694571. PMID 8427332.
  92. Thomas Bronischa; Michael Höflerab; Roselind Liebac (May 2008). "Smoking predicts suicidality: Findings from a prospective community study". Journal of Affective Disorders. 108 (1): 135–145. doi:10.1016/j.jad.2007.10.010. PMID 18023879.
  93. Miller M, Hemenway D, Bell NS, Yore MM, Amoroso PJ (June 2000). "Cigarette smoking and suicide: a prospective study of 300,000 male active-duty Army soldiers". American Journal of Epidemiology. 151 (11): 1060–3. doi:10.1093/oxfordjournals.aje.a010148. PMID 10873129.
  94. Breslau N, Schultz LR, Johnson EO, Peterson EL, Davis GC (March 2005). "Smoking and the Risk of Suicidal Behavior: A Prospective Study of a Community Sample". Archives of General Psychiatry. 62 (3): 328–34. doi:10.1001/archpsyc.62.3.328. PMID 15753246.
  95. Murphy JM, Horton NJ, Monson RR, Laird NM, Sobol AM, Leighton AH (September 2003). "Cigarette smoking in relation to depression: historical trends from the Stirling County Study". The American Journal of Psychiatry. 160 (9): 1663–9. doi:10.1176/appi.ajp.160.9.1663. PMID 12944343.
  96. Lembke A, Johnson K, DeBattista C (August 2007). "Depression and smoking cessation: does the evidence support psychiatric practice?". Neuropsychiatr Dis Treat. 3 (4): 487–93. PMC 2655079. PMID 19300577.
  97. Aronson KR, Almeida DM, Stawski RS, Klein LC, Kozlowski LT (December 2008). "Smoking is Associated with Worse Mood on Stressful Days: Results from a National Diary Study". Annals of Behavioral Medicine. 36 (3): 259–69. doi:10.1007/s12160-008-9068-1. PMC 2873683. PMID 19067100.
  98. Ried LD, Tueth MJ, Handberg E, Kupfer S, Pepine CJ (2005). "A Study of Antihypertensive Drugs and Depressive Symptoms (SADD-Sx) in Patients Treated With a Calcium Antagonist Versus an Atenolol Hypertension Treatment Strategy in the International Verapamil SR-Trandolapril Study (INVEST)". Psychosomatic Medicine. 67 (3): 398–406. doi:10.1097/01.psy.0000160468.69451.7f. PMID 15911902. S2CID 27978181.
  99. Patten, SB; Love, EJ (1993). "Can drugs cause depression? A review of the evidence". Journal of Psychiatry & Neuroscience. 18 (3): 92–102. PMC 1188504. PMID 8499431.
  100. Bremner JD, McCaffery P (February 2008). "The neurobiology of retinoic acid in affective disorders". Progress in Neuro-Psychopharmacology and Biological Psychiatry. 32 (2): 315–31. doi:10.1016/j.pnpbp.2007.07.001. PMC 2704911. PMID 17707566.
  101. Debien, C; De Chouly De Lenclave, MB; Foutrein, P; Bailly, D (2001). "Alpha-interferon and mental disorders". L'Encephale. 27 (4): 308–17. PMID 11686052.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  102. แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ, Appendix 3, หน้า 52 อ้างอิง Kotlyar, PM (2005). "Update on Drug-Induced Depression in the Elderly". The American Journal of Geriatric Pharmacotherapy. 3 (4): 288–300.
  103. แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ, Appendix 3, หน้า 52 อ้างอิง Huang, CC (2011). "Cocaine Withdrawal Impairs Metabotropic Glutamate Receptor-Dependent Long-Term Depression in the Nucleus Accumbens". The Journal of Neuroscience. 31 (11): 4194–4203.
  104. แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ, Appendix 3, หน้า 52 อ้างอิง Getachew, B (2010). "Alcohol-induced depressive-like behavior is associated with cortical norepinephrine reduction". Pharmacol Biochem Behav. 96 (4): 395–401.
  105. Robert Davies; Ghouse Ahmed; Tegwedd Freer (2000). "Chronic exposure to organophosphates: background and clinical picture". Advances in Psychiatric Treatment. 6 (3): 187–192. doi:10.1192/apt.6.3.187.
  106. "Basic Information - Clothianidin - Registration Status and Related Information". U.S. EPA. 2012-07-27.
  107. Bowden CL (January 2001). "Strategies to reduce misdiagnosis of bipolar depression". Psychiatric Services. 52 (1): 51–5. doi:10.1176/appi.ps.52.1.51. PMID 11141528.
  108. Matza LS, Rajagopalan KS, Thompson CL, de Lissovoy G (November 2005). "Misdiagnosed patients with bipolar disorder: comorbidities, treatment patterns, and direct treatment costs". The Journal of Clinical Psychiatry. 66 (11): 1432–40. doi:10.4088/jcp.v66n1114. PMID 16420081.
  109. Akiskal, HS; Benazzi, F (2006). "The DSM-IV and ICD-10 categories of recurrent [major] depressive and bipolar II disorders: Evidence that they lie on a dimensional spectrum". Journal of Affective Disorders. 92 (1): 45–54. doi:10.1016/j.jad.2005.12.035. PMID 16488021.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  110. Hvas AM, Juul S; Bech P, Nexø E (2004). "Vitamin B6 Level Is Associated with Symptoms of Depression". Psychotherapy and Psychosomatics. 73 (6): 340–3. doi:10.1159/000080386. PMID 15479988. S2CID 37706794.
  111. Coppen A, Bolander-Gouaille C (January 2005). "Treatment of depression: time to consider folic acid and vitamin B12". Journal of Psychopharmacology. 19 (1): 59–65. doi:10.1177/0269881105048899. PMID 15671130. S2CID 4828454.
  112. Rao NP, Kumar NC, Raman BR, Sivakumar PT, Pandey RS (2008). "Role of vitamin B12 in depressive disorder — a case report☆". General Hospital Psychiatry. 30 (2): 185–6. doi:10.1016/j.genhosppsych.2007.09.002. PMID 18291301.
  113. "Study Links Brain Fatty Acid Levels To Depression". ScienceDaily. Bethesda, MD: American Society For Biochemistry And Molecular Biology. 2005-05-25. สืบค้นเมื่อ 2008-01-18.
  114. Kiecolt-Glaser JK.; และคณะ (April 2007). "Depressive symptoms, omega-6:omega-3 fatty acids, and inflammation in older adults". Psychosom. Med. 69 (3): 217–224. doi:10.1097/PSY.0b013e3180313a45. PMC 2856352. PMID 17401057.
  115. Dinan T, Siggins L, Scully P, O'Brien S, Ross P, Stanton C (January 2009). "Investigating the inflammatory phenotype of major depression: Focus on cytokines and polyunsaturated fatty acids". Journal of Psychiatric Research. 43 (4): 471–6. doi:10.1016/j.jpsychires.2008.06.003. PMID 18640689.
  116. แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ, Appendix 3, หน้า 52 อ้างอิง Andres, E (2007). "B12 deficiency: A look beyond pernicious anemia". The Journal. Of Family Practice. 56 (7): 537–542.
  117. Lustberg L, Reynolds CF (June 2000). "Depression and insomnia: questions of cause and effect". Sleep Medicine Reviews. 4 (3): 253–262. doi:10.1053/smrv.1999.0075. PMID 12531168.
  118. Wilson, S. J.; และคณะ (2010-09-02). "British Association for Psychopharmacology consensus statement on evidence-based treatment of insomnia, parasomnias and circadian rhythm disorders". J Psychopharm. Sage. 24 (11): 1577–601. doi:10.1177/0269881110379307. PMID 20813762.
  119. Skidmore, FM; Drago, V; Foster, PS; Heilman, KM (2009). "Bilateral restless legs affecting a phantom limb, treated with dopamine agonists". J Neurol Neurosurg Psychiatry. 80 (5): 569–70. doi:10.1136/jnnp.2008.152652. PMID 19372293.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  120. Lee, HB; Hening, WA; Allen, RP และคณะ (2008). "Restless Legs Syndrome is Associated with DSM-IV Major Depressive Disorder and Panic Disorder in the Community". Journal of Neuropsychiatry. 20 (1): 101–5. doi:10.1176/appi.neuropsych.20.1.101. PMID 18305292.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  121. Harris M, Glozier N, Ratnavadivel R, Grunstein RR (December 2009). "Obstructive sleep apnea and depression". Sleep Medicine Reviews. 13 (6): 437–44. doi:10.1016/j.smrv.2009.04.001. hdl:2328/26226. PMID 19596599.
  122. Dagan, Y (2002). "Circadian rhythm sleep disorders (CRSD)" (PDF). Sleep Med Rev. 6 (1): 45–54. doi:10.1053/smrv.2001.0190. PMID 12531141. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-02-27. สืบค้นเมื่อ 2007-11-08. Early onset of CRSD, the ease of diagnosis, the high frequency of misdiagnosis and erroneous treatment, the potentially harmful psychological and adjustment consequences, and the availability of promising treatments, all indicate the importance of greater awareness of these disorders.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]