โรคจากไข่พยาธิตัวตืด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคจากไข่พยาธิตัวตืด
(Cysticercosis)
ภาพการสแกนสมองด้วยวิธีเอ็มอาร์ไอของผู้ป่วยโรคพยาธิตัวตืดขึ้นสมองซึ่งแสดงภาพของถุงน้ำหลายถุงที่อยู่ในสมอง
สาขาวิชาInfectious disease
อาการ1–2 cm lumps under the skin[1]
ภาวะแทรกซ้อนNeurocysticercosis[2]
ระยะดำเนินโรคLong term[3]
สาเหตุEating tapeworm eggs (fecal oral transmission)[1]
วิธีวินิจฉัยaspiration of a cyst[2]
การป้องกันImproved sanitation, treating those with taeniasis, cooking pork well[1]
การรักษาNone, medications[2]
ยาPraziquantel, albendazole, corticosteroids, anti seizure medications[1]
ความชุก1.9 million[4]
การเสียชีวิต400[5]

โรคจากไข่พยาธิตัวตืด (อังกฤษ: cysticercosis, neurocysticercosis) เป็นโรคติดเชื้อปรสิตหรือพยาธิชนิดหนึ่ง โรคนี้เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อปรสิตในระบบประสาทส่วนกลางที่พบมากที่สุดทั่วโลก[6] ผู้ป่วยจะเป็นโรคนี้ได้จากการกินเอาไข่ของพยาธิตืดหมู Taenia solium เข้าไป แบ่งได้เป็นชนิดที่มีการติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง (neurocysticercosis) และติดเชื้อนอกระบบประสาท (extraneural cysticercosis)

การติดเชื้อของเนื้อเยื่อมีสาเหตุจาก ตัวอ่อน (cysticercus) ของพยาธิตืดหมู (Taenia solium)[7][1] อาจปรากฏอาการเพียงเล็กน้อยหรือว่าไม่มีอาการเลยเป็นปี ๆ โดยในบางคนอาจจะเกิดเป็นตุ่มที่ผิวหนังหรือกล้ามเนื้อขนาดหนึ่งหรือสองเซนติเมตรและไม่รู้สึกเจ็บปวด หากว่ามีการติดเชื้อที่สมองอาจจะเป็น อาการทางสมอง [2][3] หลังจากที่มีตุ่มขึ้นนานหลายเดือนหรือหลายปี อาจจะรู้สึกเจ็บที่ตุ่มเหล่านั้น ตุ่มจะบวมและค่อย ๆ ยุบลง  ในประเทศที่กำลังพัฒนา โรคนี้เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบได้มากที่สุดของอาการชัก[2]

โดยปกติมักเกิดจากการกินอาหารหรือน้ำที่มีไข่ของพยาธิตัวตืดปนเปื้อนอยู่  แหล่งที่พบส่วนใหญ่คือในผักที่ไม่ได้ปรุงสุก [1] ไข่ของพยาธิตัวตืดมาจาก อุจจาระของผู้ที่มีพยาธิที่โตเต็มวัยอยู่ในร่างกายซึ่งอาการนี้จะเรียกว่าโรคพยาธิตัวตืด[2][8] โรคพยาธิตัวตืดเป็นอีกโรคหนึ่งที่แตกต่างไปซึ่งเกิดจากการรับประทานถุงน้ำของตัวพยาธิซึ่งปนเปื้อนมากับเนื้อหมูที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ[1] ผู้ที่อาศัยอยู่กับผู้ที่มีพยาธิตัวตืดจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคจากไข่พยาธิตัวตืดได้มากกว่า [8] การวินิจฉัยโรคสามารถทำโดยการดูดถุงน้ำออก [2] การถ่ายภาพสมองด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์หรือซีทีสแกน  การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์หรือการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (การตรวจเอ็กซ์เรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ MRI) มีประโยชน์อย่างมากต่อการตรวจวินิจฉัยโรคทางสมอง  และยังพบว่าจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นซึ่งเรียกอาการนี้ว่าอีโอซิโนฟิลในน้ำหล่อสมองไขสันหลังและจะใช้เลือดเป็นตัวบ่งชี้[2]

การป้องกันโรคทำได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลและการสุขาภิบาล อันได้แก่ การปรุงเนื้อหมูให้สุก ห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะและการมีแหล่งน้ำสะอาด ในการรักษาผู้ที่เป็นโรคพยาธิตัวตืดการป้องกันการแพร่กระจายเป็นเรื่องสำคัญ [1] ไม่จำเป็นต้องทำการรักษาโรคที่ไม่มีอาการเกี่ยวข้องกับระบบสมอง [2] การรักษาผู้ที่มีอาการโรคพยาธิตืดหมูขึ้นสมองอาจทำโดยการให้ยาพราซิควอนเทลหรืออัลเบนดาโซล การรักษาด้วยวิธีเหล่านี้อาจจะต้องใช้เวลายาวนาน  อาจจำเป็นต้องใช้ยาสเตียรอยด์ เพื่อป้องกันการอักเสบระหว่างการรักษาและยาป้องกันการชัก การผ่าตัดบางทีอาจใช้รักษาเพื่อตัดถุงน้ำออก [1] 

  พยาธิตัวตืดพบได้ทั่วไปในทวีปเอเชีย แอฟริกาใต้สะฮารา และละตินอเมริกา[2] ในบางพื้นที่ประมาณว่าอาจมีผู้ที่ติดเชื้อมากถึง 25%[2] ในประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ค่อยพบโรคนี้ [9] โรคนี้เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 1,200 รายในปี ค.ศ. 2010 เพิ่มจาก 700 รายที่พบในปี ค.ศ. 1990[10] โรคจากไข่ของพยาธิตัวตืดพบได้ในหมูและวัวแต่ไม่ค่อยปรากฏอาการเพราะส่วนใหญ่ตายก่อนที่จะเริ่มมีอาการ[1] มนุษย์เป็นโรคนี้มาโดยตลอดเวลาที่ผ่านมา[9] เป็นหนึ่งในโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "Taeniasis/Cysticercosis Fact sheet N°376". World Health Organization. February 2013. สืบค้นเมื่อ 18 March 2014.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 García HH; Gonzalez AE; Evans CA; Gilman RH (August 2003). "Taenia solium cysticercosis". Lancet. 362 (9383): 547–56. doi:10.1016/S0140-6736(03)14117-7. PMC 3103219. PMID 12932389.
  3. 3.0 3.1 García HH; Evans CA; Nash TE; และคณะ (October 2002). "Current consensus guidelines for treatment of neurocysticercosis". Clin. Microbiol. Rev. 15 (4): 747–56. doi:10.1128/CMR.15.4.747-756.2002. PMC 126865. PMID 12364377.
  4. GBD 2015 Disease and Injury Incidence and Prevalence, Collaborators. (8 October 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282. {{cite journal}}: |first1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ GBD2015De
  6. García HH; Evans CA; Nash TE; และคณะ (October 2002). "Current consensus guidelines for treatment of neurocysticercosis". Clin. Microbiol. Rev. 15 (4): 747–56. doi:10.1128/CMR.15.4.747-756.2002. PMC 126865. PMID 12364377. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-14. สืบค้นเมื่อ 2010-02-27.
  7. Roberts, Larry S.; Janovy, Jr., John (2009). Gerald D. Schmidt & Larry S. Roberts' Foundations of Parasitology (8 ed.). Boston: McGraw-Hill Higher Education. pp. 348–351. ISBN 978-0-07-302827-9.
  8. 8.0 8.1 "CDC - Cysticercosis".
  9. 9.0 9.1 Bobes RJ; Fragoso G; Fleury A; และคณะ (April 2014). "Evolution, molecular epidemiology and perspectives on the research of taeniid parasites with special emphasis on Taenia solium". Infect. Genet. Evol. 23: 150–60. doi:10.1016/j.meegid.2014.02.005. PMID 24560729.
  10. Lozano R; Naghavi M; Foreman K; และคณะ (December 2012). "Global and regional mortality from 235 causes of death for 20 age groups in 1990 and 2010: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010". Lancet. 380 (9859): 2095–128. doi:10.1016/S0140-6736(12)61728-0. PMID 23245604.
  11. "Neglected Tropical Diseases". cdc.gov. June 6, 2011. สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

The offline app allows you to download all of Wikipedia's medical articles in an app to access them when you have no Internet.
บทความวิกิพีเดียด้านการดูแลสุขภาพสามารถอ่านออฟไลน์ได้ทาง Medical Wikipedia app.
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก