ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส
(Lactose intolerance)
ชื่ออื่นLactase deficiency, hypolactasia, alactasia, lactose challenged
น้ำตาลแล็กโทส ประกอบขึ้นจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวสองชนิด
สาขาวิชาวิทยาทางเดินอาหาร
อาการปวดท้อง, แน่นท้อง, ถ่ายเหลว, ท้องอืด, คลื่นไส้[1]
ภาวะแทรกซ้อนไม่ทำความเสียหายให้กับระบบทางเดินอาหาร[2]
การตั้งต้น30–120 นาที หลังกินผลิตภัณฑ์นม[1]
สาเหตุการสูญเสียความสามารถในการย่อยแล็กโทส อาจมาจากพันธุกรรม หรือจากการบาดเจ็บต่อลำไส้เล็ก[1]
วิธีวินิจฉัยวินิจฉัยจากอาการ อาการดีขึ้นหลังงดกินแล็กโทส[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น, โรคของซีลิแอ็ก, โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง, การแพ้โปรตีนนมวัว[1]
การรักษาลดอาหารที่มีแล็กโทส, ผลิตภัณฑ์เสริมเอนไซม์แล็กเทส, รักษาที่ต้นเหตุ[1]
ความชุกประมาณร้อยละ 65 ของประชากร (ในชาวยุโรปพบได้น้อยกว่า)[3]

ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส[4] (อังกฤษ: lactose intolerance) หรือนิยมเรียกแบบไม่เป็นทางการว่าการแพ้นม เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสลายแล็กโทส เนื่องจากการขาดเอนไซม์แล็กเทสที่จำเป็นในระบบย่อยอาหาร มีการประมาณว่าผู้ใหญ่ทั่วโลกราว 75% มีการผลิตแล็กเทสลดลงในวัยผู้ใหญ่[5] ความถี่ของการลดการผลิตแล็กเทสมีแตกต่างกันตั้งแต่ 5% ในยุโรปเหนือ ไปจนถึง 71% ในซิซิลี และมากกว่า 90% ในบางประเทศทวีปแอฟริกาและเอเชีย[6]

น้ำตาลโมเลกุลคู่ไม่สามารถถูกดูดซึมผ่านผนังของลำไส้เล็กเข้าไปยังกระแสเลือดได้ ดังนั้น ในการขาดแล็กเทส แล็กโทสซึ่งมีอยู่ในผลิตภัณฑ์นมที่ย่อยแล้วจะไม่ถูกทำให้แตกตัวและผ่านไปจนถึงลำไส้ใหญ่โดยไม่มีการย่อยสลาย โอเปอร์รอนของแบคทีเรียในลำไส้จะเข้ามาสลายแล็กโทสอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้เกิดการหมักภายในร่างกายสิ่งมีชีวิต และผลิตแก๊สออกมาในปริมาณมาก (ได้แก่ ไฮโดรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทนผสมกัน) ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการบริเวณท้องได้หลายอย่าง รวมทั้ง ท้องเป็นตะคริว คลื่นไส้ เรอบ่อย กรดไหลย้อน และผายลม นอกเหนือจากนั้น แล็กโทส เช่นเดียวกับน้ำตาลที่ไม่ถูกดูดซึมอื่น ๆ (อย่างเช่น ซอร์บิทอล แมนนิทอล และไซลิทอล) การมีของแล็กโทสและผลิตภัณฑ์จากการหมักจะเพิ่มแรงดันออสโมติกในลำไส้ใหญ่

เนื่องจากภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสเกิดจากการที่ร่างกายย่อยแล็กโทสไม่ได้ จึงถือว่าไม่ได้เกิดจากกระบวนการภูมิแพ้ ไม่ถือเป็นโรคภูมิแพ้อาหาร และเป็นคนละโรคกับการแพ้โปรตีนนมวัว (cow's milk protein allergy)

ชีววิทยาแล็กเทส[แก้]

สภาวะปกติของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสำหรับตัวอ่อนของสปีชีส์เพื่อรับมือกับการผลิตแล็กเทสที่ลดลงในช่วงปลายระยะหย่านม (ซึ่งเป็นระยะเวลาที่แตกต่างกันไปในแต่ละสปีชีส์) ในมนุษย์ สังคมที่ไม่บริโภคนม การผลิตแล็กเทสมักจะลดลงถึง 90% ในช่วงสี่ปีแรกของชีวิต ถึงแม้ว่าค่าการลดลงที่แม่นยำมีความแตกต่างกันอย่างมาก[7]

อย่างไรก็ตาม ประชากรมนุษย์บางส่วนมีการกลายพันธุ์บนโครโมโซม 2 ซึ่งกำจัดการปิดการผลิตแล็กเทส ทำให้สมาชิกของประชากรเหล่านี้สามารถบริโภคนมสดและผลิตภัณฑ์จากนมได้ตลอดชีวิตโดยไม่ประสบกับความยากลำบากต่อไปได้ ซึ่งเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสมัยปัจจุบันที่มีการบริโภคนม และได้เกิดขึ้นแยกต่างหากในทั้งยุโรปเหนือและแอฟริกาตะวันออกในหมู่ประชากรที่เคยมีวิถีชีวิตด้วยการเลี้ยงปศุสัตว์[8] การผลิตแล็กเทสได้ตลอดชีวิต ทำให้การย่อยแล็กโทสสามารถดำเนินต่อไปได้จนกระทั่งเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เป็นแอลลีลเด่น ทำให้ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสเป็นลักษณะพันธุกรรมด้อย

บางวัฒนธรรม อย่างเช่น ญี่ปุ่น ที่ซึ่งมีการบริโภคนมเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบการกินอาหารแต่เดิม แสดงให้เห็นว่าการแพ้แล็กโทสมีความชุกลดลง ถึงแม้ว่าจะมีความโน้มเอียงรับโรคตามพันธุกรรมก็ตาม[9]

ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสในด้านพยาธิวิทยาสามารถเกิดได้จากการแพ้กลูเตน ซึ่งสร้างความเสียหายแก่วิลลัสในลำไส้เล็กซึ่งผลิตแล็กเทส ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสประเภทนี้จะเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสที่เกิดขึ้นจากการแพ้กลูเตนจะหายจากอาการหลังจากผู้ป่วยงดรับประทานอาหารที่มีกลูเตนเป็นระยะเวลาเพียงพอให้วิลลิสฟื้นฟู[10]

สำหรับบางคนซึ่งรายงานปัญหาเกี่ยวกับการบริโภคแล็กโทสไม่ได้มีภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสอย่างแท้จริง ในการศึกษาผู้ใหญ่ชาวซิซิลี 323 คน[11] พบว่ามีเพียง 4% ซึ่งมีทั้งภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและการย่อยแล็กโทสผิดปกติ ในขณะที่ 32.2% เป็นผู้ที่มีการย่อยแล็กโทสผิดปกติ แต่ไม่ได้มีผลสรุปออกมาว่าแพ้แล็กโทส อย่างไรก็ตามในอีกงานศึกษาหนึ่ง[12] พบว่า 72% ของชาวซิซิลี 100 คน มีภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส และชาวอิตาลีตอนเหนือ 106 คน จาก 208 คน (51%) มีภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Lactose Intolerance". NIDDK. มิถุนายน 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2016.
  2. Heyman MB (กันยายน 2006). "Lactose intolerance in infants, children, and adolescents". Pediatrics. 118 (3): 1279–86. doi:10.1542/peds.2006-1721. PMID 16951027. S2CID 2996092.
  3. Malik, TF; Panuganti, KK (มกราคม 2020). "Lactose Intolerance". (StatPearls [Internet]). StatPearls. PMID 30335318. NBK532285.
  4. บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับประเทศไทย (อังกฤษ-ไทย) ฉบับปี 2009. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2552.
  5. "Improved lactose digestion and intolerance among African-American adolescent girls fed a dairy-rich diet". Journal of the American Dietetic Association. 2000. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2009. Approximately 75% of the world's population loses the ability to completely digest a physiological dose of lactose after infancy
  6. Bulhões, A.C.; Goldani, H.A.S.; Oliveira, F.S.; Matte, U.S.; Mazzuca, R.B.; Silveira, T.R. (2007). "Correlation between lactose absorption and the C/T-13910 and G/A-22018 mutations of the lactase-phlorizin hydrolase (LCT) gene in adult-type hypolactasia". Brazilian Journal of Medical and Biological Research. 40 (11): 1441–6. doi:10.1590/S0100-879X2007001100004. PMID 17934640.
  7. "Soy and Lactose Intolerance". Soy Nutrition. WhiteWave Foods. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ธันวาคม 2007.
  8. Coles Harriet (20 มกราคม 2007). "The lactase gene in Africa: Do you take milk?". The Human Genome, Wellcome Trust. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กันยายน 2008. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2008.
  9. Yoshida Y, Sasaki G, Goto S, Yanagiya S, Takashina K (1975). "Studies on the etiology of milk intolerance in Japanese adults". Gastroenterol. Jpn. 10 (1): 29–34. PMID 1234085.
  10. Jamie Gregor; Diamond Sherin Alidina (1981). "11 Celiac Disease". ใน Emanuel Lebenthal (บ.ก.). BMJ Textbook of gastroenterology and nutrition in infancy. New York: Raven Press. ISBN 978-0-88167-522-1.
  11. Antonio Carroccio; และคณะ (มีนาคม 1998). "Sideropenic Anemia and Celiac Disease (One Study, Two Points of View)". Digestive Diseases and Sciences. 43: 673–678. eISSN 1573-2568.
  12. Burgio G. R.; และคณะ (1984). "Prevalence of primary adult lactose malabsorption and awareness of milk intolerance in Italy". American Journal of Clinical Nutrition. 39: 100–104. eISSN 1938-3207.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]


การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก